ที่มา มติชนออนไลน์
22 มี.ค. 59
เสียงสะท้อน จัดระเบียบ สื่อทำเนียบรัฐบาล เพราะทั่นไม่ใช่นักการเมือง
“ด้วยทำเนียบรัฐบาลเป็นศูนย์กลางการบริหารของประเทศ เป็นสถานที่ที่ใช้ในการประชุมสำคัญ การรับรองแขกต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ที่มีภาพลักษณ์และสง่างาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี และตึกบัญชาการ จึงขอความร่วมมือข้าราชการและเจ้าหน้าที่ไม่ให้ดำเนินกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมในบริเวณดังกล่าว อาทิ การถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม การนำอาหารมารับประทานร่วมกันทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ”
นี่คือ คำสั่งล่าสุด ลงวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อจัดระเบียบสื่อมวลชน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาล ที่มักจะใช้เวลาในช่วงเย็นปั่นจักรยานและออกกำลังกาย โดยขอความร่วมมือ ให้ไปใช้พื้นที่ด้านหลังของทำเนียบรัฐบาล บริเวณตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แทน
คำสั่งนี้แม้จะไม่ใช่คำสั่งแรก ตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มีสื่อมวลชนที่เห็นด้วยกับการจัดระเบียบดังกล่าว เพราะทำเนียบรัฐบาลถือเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่ควรให้ความเคารพ และบางครั้งถือเป็นหน้าเป็นตาของบ้านเมือง
แต่ที่ผ่านมาด้วยสภาพสังคมไทยจึงมีการอะลุ่มอล่วยกับสื่อมวลชนมาตลอด และความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนกับนักการเมืองก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การจัดระเบียบไม่เคร่งครัดเท่าที่ควร
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับการจัดระเบียบดังกล่าว น.ส.ศิริวรรณ รักสัตย์ ผู้สื่อข่าวไทยรัฐทีวี บอกว่า การจัดระเบียบบางครั้งอาจจะทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยน อย่างคนทำงานหนังสือพิมพ์ที่ต้องการการผ่อนคลายในช่วงเลิกงานก็ไม่สามารถทำได้ แม้จะทำในพื้นที่โดยรอบบริเวณห้องปฏิบัติการสื่อ และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับข้าราชการ
และหากเราลองมาดูอีกหนึ่งคำสั่งการจัดระเบียบรถยนต์ของผู้สื่อข่าว และข้าราชการประจำทำเนียบรัฐบาลก่อนหน้านี้ ที่เกิดขึ้นภายหลัง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางกลับจากรัสเซีย เพื่อต้องการให้เป็นสัดส่วน จะพบว่าเสียงบ่นจากเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนถึงพื้นที่ที่หายไปจากการลดพื้นที่จอด ไม่เพียงเท่านั้น การนำรถไปจอดในพื้นที่ใกล้เคียงยังถูกห้าม และล็อกล้อด้วย
พื้นที่ที่น้อยลงจึงกลายเป็นการแข่งขันของสื่อมวลชนไปโดยปริยาย การมาทำงานแต่เช้าเพื่อชิงที่จอดรถเป็นภารกิจใหม่ของสื่อมวลชนรวมถึงข้าราชการที่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือการประชุมใหญ่อย่างแม่น้ำ 5 สาย ที่สื่อมวลชนจะเพิ่มจำนวนเป็นสองสามเท่า เมื่อรวมกับรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ที่จอดยาวเหยียดอย่างที่ลองจินตนาการว่าหากต่อแถวกันจากหน้าตึกไทยคู่ฟ้าไปรอบทำเนียบอาจจะมาบรรจบกันเลยก็ได้ ซึ่งปัญหานี้ไม่รู้จะแก้ยังไง หรือจะมีไอเดียย้ายตลาดคลองผดุงกรุงเกษมที่ใช้สถานที่จอดรถเดิมมาเป็นที่จัดงานยาวนานเกือบ 1 ปีไปไว้ที่อื่นก็ต้องลองดู
แต่ถึงกระนั้น ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลของการจัดระเบียบ คือการปฏิบัติให้เป็นสากลแบบที่นานาประเทศได้ทำ ซึ่งหากเราลองเปรียบเทียบสถานที่ทำงานของรัฐบาลด้วยกันเองอย่างทำเนียบขาว ของสหรัฐอเมริกา การจัดระเบียบสื่อก็เกิดขึ้นในหลายสมัย นับตั้งแต่ ค.ศ.1929 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ได้แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าด้วยสื่อขึ้นมาในทำเนียบขาวเป็นครั้งแรก
หรือในยุคของบุช นอกจากจะไม่ให้สื่อได้เข้าใกล้แล้ว ทำเนียบขาวก็เป็นผู้กำหนดระเบียบวาระข่าวเสียเองเสียด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระทบต่ออำนาจของสื่อมวลชนที่มีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่อดคิดไม่ได้
การห้ามดักรอสัมภาษณ์ตามอาคาร และห้ามตะโกน เป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่เจ้าหน้าที่ระบุว่า ไม่เหมาะสม เพราะพลเอกประยุทธ์ ไม่ใช่นักการเมือง หากจะตะโกนถามให้รอนักการเมืองมาเป็นนายกรัฐมนตรีก่อน
คำสั่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของรัฐบาลทหาร อย่างรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จำกัดพื้นที่สื่อมวลชน โดยการกั้นเชือก การห้ามขับรถตามขบวน แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นธรรมชาติของการทำงานที่ต้องแย่งชิงแหล่งข่าวของสื่อทำเนียบ ในช่วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่อย่าลืมว่า ทหารต้องมีระเบียบวินัยและไม่ชินกับสิ่งเหล่านี้ และสื่อไม่ควรชินจนสบายเกินตัว หลงลืมกฎระเบียบ ลืมเคารพสถานที่
อย่างไรก็ดี รัฐบาลทหารก็ต้องอย่าลืมเหมือนกันด้วยว่าสื่อมวลชนก็มีสิทธิเสรีภาพในการรายงานเช่นกัน
พลเอกประยุทธ์ ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น แม้ช่วงแรกของการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่จะปล่อยให้สื่อมวลชนสามารถซักถามได้ทุกครั้งที่มีการดักตามอาคาร
แต่เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองที่ทวีความเข้มข้น เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญก่อนลงประชามติที่ลดลงทุกที กับข้อเสนอของรัฐบาลที่กระทบต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน การตอบคำถามของนายกรัฐมนตรี ยิ่งสำคัญและเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนเฝ้าจับตารอ
แม้รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะออกมาอธิบายกับสื่อมวลชนต่อท่าทีของนายกฯ ว่า “การที่นายกฯ ให้สัมภาษณ์หรือคุยกับสื่อน้อยลง ไม่ใช่เพราะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการส่งสัญญาณว่า ต่อไปจะตอบคำถามเพียงบางเรื่องที่มีสาระประโยชน์ มีความสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ลดความขัดแย้งเท่านั้น ยอมรับมีความเป็นห่วงในเรื่องของการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจของประชาชนในหลายๆ เรื่อง ทั้งร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วย เพราะถูกบิดเบือน เบี่ยงประเด็นไปในทางหวังผลประโยชน์ทางการเมืองกันมากเกินไป”
ซึ่งการตอบคำถามของผู้นำประเทศมักจะขึ้นๆ ลงๆ ตามอารมณ์กันหลายยุคหลายสมัย เช่น สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เคยปะทะคารมกับสื่อไปมา
หรือรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้วิธีชูป้ายเตือนสื่อถามไม่สร้างสรรค์เช่นเดียวกับบุคลิกของท่านผู้นำในปัจจุบัน อาการหงุดหงิดง่ายๆ กับคำบางคำ คำถามบางคำถาม การถูกจี้ในบางเรื่องบางประเด็น จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ อย่างในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ภาพอารมณ์ฉุนเฉียวที่เริ่มตั้งแต่เช้าอันเนื่องมาจากการอ่านบทความบางคอลัมน์ ยาวไปตลอดจนการให้สัมภาษณ์ในช่วงบ่ายทำเอาสื่อมวลชนตะลึงและงงไปตามๆ กันว่าท่านนายกฯ พลเอกประยุทธ์ ไปกินรังแตนที่ไหนมา ซึ่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ออกมาให้เหตุผลว่า
“เพราะต้องแบกภาระและหน้าที่ที่หนัก ทำให้อารมณ์หงุดหงิด และได้รับแรงกดดันจากหลายฝ่าย อีกทั้งอารมณ์ขึ้นจากปมคำถามซ้ำซาก”
หลังจากนั้นไม่นาน มาตรการลดคำถามจึงออกมา แม้หลายครั้งที่การตอบและถามอาจจะดุเดือด หรืออาจจะชื่นมื่น แต่สุดท้ายทั้งนายกฯ และสื่อก็ยังคงปฏิบัติงานร่วมกัน
ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ จนถึงวันนี้ ผ่านมาเกือบ 1 เดือนแล้ว การกำหนดคำถามให้สื่อมวลชนถามได้เพียง 4 คำถามก็ยังคงอยู่ ไม่เคร่งแบบนับหนึ่ง สอง สาม สี่คำถามแล้วจบ ก็ยังคงผ่อนผัน ตามประเด็น ถามแทรก ถามจุกจิกไม่นับ แต่เมื่อไหร่ที่นายกรัฐมนตรีต้องการตัดบท จะย้ำจำนวนคำถามเหมือนเป็นการตัดบท ให้เปลี่ยนคำถามหรือยุติการสัมภาษณ์ ถึงกระนั้น ก่อนการสัมภาษณ์ก็ยังจะต้องแจ้งประเด็นที่จะถามให้ชัดเจน แจ้งชื่อ สังกัดของผู้ถามอยู่ดี
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องจับตาและเฝ้าสังเกตคือ นอกจากการ ลดคำถาม แล้ว การลดตอบคำถาม ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่พลเอกประยุทธ์ได้ปฏิบัติ จากมาตรการกั้นพื้นที่ ไม่ตอบคำถาม การเปลี่ยนสถานที่ประชุมจากตึกอื่นๆ ภายในทำเนียบรัฐบาลเป็นตึกไทยคู่ฟ้าเขตหวงห้าม พื้นที่ส่วนตัวของทุกรัฐบาล
รวมถึงการมอบหมายงานให้รองนายกรัฐมนตรีด้านต่างๆ ไปปฏิบัติหน้าที่แทน เพื่อลดการเผชิญหน้ากับสื่อมวลชน
คงเหลือไว้แค่การให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี การประชุมบางเรื่อง และการปาฐกถาที่แสดงออกถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรีคิดอยู่ในขณะนั้น ที่ยังคงระดับความยาวไม่ต่ำกว่า 40 นาที ซึ่งต่างจากแรกเริ่มมาตรการจัดระเบียบใหม่ๆ ที่สั้นกระชับ ไม่เกิน 10 นาทีก็จบการสัมภาษณ์ แต่ในมุมมองของสื่อบางครั้งก็ยังรู้สึกดีกว่างดให้สัมภาษณ์อย่างที่ผู้นำบางราย เช่น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยทำมาแล้ว
เหนือสิ่งอื่นใด เชื่อว่ามาตรการนี้จะยังคงอยู่ไปอีกนาน แม้จะมีข้อดีที่ทำให้การสัมภาษณ์ตรงประเด็นทั้งการถามของสื่อมวลชนและคำตอบของนายกรัฐมนตรี แต่ก็เปลี่ยนชีวิตการทำงานแบบเดิมไป อย่างที่ผู้สื่อข่าวสำนักหนึ่ง ที่ติดตามนายกรัฐมนตรี กล่าว
“หนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีบางช่วงที่มาตรการเยอะขึ้น และคงที่ แต่เชื่อว่าจะไม่ลดลง หรือผ่อนคลาย ระเบียบเป็นระเบียบไม่มีวันยกเลิก แต่ 1 เดือนที่ผ่านมา เชื่อว่านักข่าวทำเนียบอึดอัด ทำอะไรไม่ได้ เสนออะไรไม่ได้ ชีวิตการทำงานข่าวเดิมๆ ของทำเนียบหายไปครึ่งหนึ่ง ไม่มีชีวิตเดิมๆ เพราะถูกจำกัดสิทธิ์”
ทั้งนี้ การจัดระเบียบของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ไม่เพียงแต่การจัดระเบียบสื่อเท่านั้น ที่ผ่านมายังใช้มาตรา 44 ในการจัดระเบียบอื่นๆ ทั้งจัดระเบียบประเทศ จัดระเบียบรัฐธรรมนูญ จัดระเบียบสังคม จนเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลแห่งการจัดระเบียบ เพื่อให้ประเทศสงบ เดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่ติดขัด
ซึ่งก็ยังดีที่ไม่โหดร้ายเกินไปเมื่อเทียบกับการทำงานของสื่อในอดีตที่ให้สื่อทำงานอยู่นอกทำเนียบรัฐบาล อยากให้สัมภาษณ์ก็เชิญสื่อเข้ามาตามคำสั่ง
....
เสียงสะท้อน จัดระเบียบ สื่อทำเนียบรัฐบาล เพราะทั่นไม่ใช่นักการเมือง
“ด้วยทำเนียบรัฐบาลเป็นศูนย์กลางการบริหารของประเทศ เป็นสถานที่ที่ใช้ในการประชุมสำคัญ การรับรองแขกต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ที่มีภาพลักษณ์และสง่างาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตึกไทยคู่ฟ้า ตึกสันติไมตรี และตึกบัญชาการ จึงขอความร่วมมือข้าราชการและเจ้าหน้าที่ไม่ให้ดำเนินกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมในบริเวณดังกล่าว อาทิ การถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม การนำอาหารมารับประทานร่วมกันทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ”
นี่คือ คำสั่งล่าสุด ลงวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อจัดระเบียบสื่อมวลชน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาล ที่มักจะใช้เวลาในช่วงเย็นปั่นจักรยานและออกกำลังกาย โดยขอความร่วมมือ ให้ไปใช้พื้นที่ด้านหลังของทำเนียบรัฐบาล บริเวณตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แทน
คำสั่งนี้แม้จะไม่ใช่คำสั่งแรก ตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มีสื่อมวลชนที่เห็นด้วยกับการจัดระเบียบดังกล่าว เพราะทำเนียบรัฐบาลถือเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่ควรให้ความเคารพ และบางครั้งถือเป็นหน้าเป็นตาของบ้านเมือง
แต่ที่ผ่านมาด้วยสภาพสังคมไทยจึงมีการอะลุ่มอล่วยกับสื่อมวลชนมาตลอด และความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนกับนักการเมืองก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การจัดระเบียบไม่เคร่งครัดเท่าที่ควร
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับการจัดระเบียบดังกล่าว น.ส.ศิริวรรณ รักสัตย์ ผู้สื่อข่าวไทยรัฐทีวี บอกว่า การจัดระเบียบบางครั้งอาจจะทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยน อย่างคนทำงานหนังสือพิมพ์ที่ต้องการการผ่อนคลายในช่วงเลิกงานก็ไม่สามารถทำได้ แม้จะทำในพื้นที่โดยรอบบริเวณห้องปฏิบัติการสื่อ และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับข้าราชการ
และหากเราลองมาดูอีกหนึ่งคำสั่งการจัดระเบียบรถยนต์ของผู้สื่อข่าว และข้าราชการประจำทำเนียบรัฐบาลก่อนหน้านี้ ที่เกิดขึ้นภายหลัง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางกลับจากรัสเซีย เพื่อต้องการให้เป็นสัดส่วน จะพบว่าเสียงบ่นจากเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนถึงพื้นที่ที่หายไปจากการลดพื้นที่จอด ไม่เพียงเท่านั้น การนำรถไปจอดในพื้นที่ใกล้เคียงยังถูกห้าม และล็อกล้อด้วย
พื้นที่ที่น้อยลงจึงกลายเป็นการแข่งขันของสื่อมวลชนไปโดยปริยาย การมาทำงานแต่เช้าเพื่อชิงที่จอดรถเป็นภารกิจใหม่ของสื่อมวลชนรวมถึงข้าราชการที่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือการประชุมใหญ่อย่างแม่น้ำ 5 สาย ที่สื่อมวลชนจะเพิ่มจำนวนเป็นสองสามเท่า เมื่อรวมกับรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ที่จอดยาวเหยียดอย่างที่ลองจินตนาการว่าหากต่อแถวกันจากหน้าตึกไทยคู่ฟ้าไปรอบทำเนียบอาจจะมาบรรจบกันเลยก็ได้ ซึ่งปัญหานี้ไม่รู้จะแก้ยังไง หรือจะมีไอเดียย้ายตลาดคลองผดุงกรุงเกษมที่ใช้สถานที่จอดรถเดิมมาเป็นที่จัดงานยาวนานเกือบ 1 ปีไปไว้ที่อื่นก็ต้องลองดู
แต่ถึงกระนั้น ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลของการจัดระเบียบ คือการปฏิบัติให้เป็นสากลแบบที่นานาประเทศได้ทำ ซึ่งหากเราลองเปรียบเทียบสถานที่ทำงานของรัฐบาลด้วยกันเองอย่างทำเนียบขาว ของสหรัฐอเมริกา การจัดระเบียบสื่อก็เกิดขึ้นในหลายสมัย นับตั้งแต่ ค.ศ.1929 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ได้แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าด้วยสื่อขึ้นมาในทำเนียบขาวเป็นครั้งแรก
หรือในยุคของบุช นอกจากจะไม่ให้สื่อได้เข้าใกล้แล้ว ทำเนียบขาวก็เป็นผู้กำหนดระเบียบวาระข่าวเสียเองเสียด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระทบต่ออำนาจของสื่อมวลชนที่มีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่อดคิดไม่ได้
การห้ามดักรอสัมภาษณ์ตามอาคาร และห้ามตะโกน เป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่เจ้าหน้าที่ระบุว่า ไม่เหมาะสม เพราะพลเอกประยุทธ์ ไม่ใช่นักการเมือง หากจะตะโกนถามให้รอนักการเมืองมาเป็นนายกรัฐมนตรีก่อน
คำสั่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของรัฐบาลทหาร อย่างรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จำกัดพื้นที่สื่อมวลชน โดยการกั้นเชือก การห้ามขับรถตามขบวน แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นธรรมชาติของการทำงานที่ต้องแย่งชิงแหล่งข่าวของสื่อทำเนียบ ในช่วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่อย่าลืมว่า ทหารต้องมีระเบียบวินัยและไม่ชินกับสิ่งเหล่านี้ และสื่อไม่ควรชินจนสบายเกินตัว หลงลืมกฎระเบียบ ลืมเคารพสถานที่
อย่างไรก็ดี รัฐบาลทหารก็ต้องอย่าลืมเหมือนกันด้วยว่าสื่อมวลชนก็มีสิทธิเสรีภาพในการรายงานเช่นกัน
พลเอกประยุทธ์ ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น แม้ช่วงแรกของการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่จะปล่อยให้สื่อมวลชนสามารถซักถามได้ทุกครั้งที่มีการดักตามอาคาร
แต่เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองที่ทวีความเข้มข้น เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญก่อนลงประชามติที่ลดลงทุกที กับข้อเสนอของรัฐบาลที่กระทบต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน การตอบคำถามของนายกรัฐมนตรี ยิ่งสำคัญและเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนเฝ้าจับตารอ
แม้รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะออกมาอธิบายกับสื่อมวลชนต่อท่าทีของนายกฯ ว่า “การที่นายกฯ ให้สัมภาษณ์หรือคุยกับสื่อน้อยลง ไม่ใช่เพราะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการส่งสัญญาณว่า ต่อไปจะตอบคำถามเพียงบางเรื่องที่มีสาระประโยชน์ มีความสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ลดความขัดแย้งเท่านั้น ยอมรับมีความเป็นห่วงในเรื่องของการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจของประชาชนในหลายๆ เรื่อง ทั้งร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วย เพราะถูกบิดเบือน เบี่ยงประเด็นไปในทางหวังผลประโยชน์ทางการเมืองกันมากเกินไป”
ซึ่งการตอบคำถามของผู้นำประเทศมักจะขึ้นๆ ลงๆ ตามอารมณ์กันหลายยุคหลายสมัย เช่น สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เคยปะทะคารมกับสื่อไปมา
หรือรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้วิธีชูป้ายเตือนสื่อถามไม่สร้างสรรค์เช่นเดียวกับบุคลิกของท่านผู้นำในปัจจุบัน อาการหงุดหงิดง่ายๆ กับคำบางคำ คำถามบางคำถาม การถูกจี้ในบางเรื่องบางประเด็น จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ อย่างในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ภาพอารมณ์ฉุนเฉียวที่เริ่มตั้งแต่เช้าอันเนื่องมาจากการอ่านบทความบางคอลัมน์ ยาวไปตลอดจนการให้สัมภาษณ์ในช่วงบ่ายทำเอาสื่อมวลชนตะลึงและงงไปตามๆ กันว่าท่านนายกฯ พลเอกประยุทธ์ ไปกินรังแตนที่ไหนมา ซึ่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ออกมาให้เหตุผลว่า
“เพราะต้องแบกภาระและหน้าที่ที่หนัก ทำให้อารมณ์หงุดหงิด และได้รับแรงกดดันจากหลายฝ่าย อีกทั้งอารมณ์ขึ้นจากปมคำถามซ้ำซาก”
หลังจากนั้นไม่นาน มาตรการลดคำถามจึงออกมา แม้หลายครั้งที่การตอบและถามอาจจะดุเดือด หรืออาจจะชื่นมื่น แต่สุดท้ายทั้งนายกฯ และสื่อก็ยังคงปฏิบัติงานร่วมกัน
ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ จนถึงวันนี้ ผ่านมาเกือบ 1 เดือนแล้ว การกำหนดคำถามให้สื่อมวลชนถามได้เพียง 4 คำถามก็ยังคงอยู่ ไม่เคร่งแบบนับหนึ่ง สอง สาม สี่คำถามแล้วจบ ก็ยังคงผ่อนผัน ตามประเด็น ถามแทรก ถามจุกจิกไม่นับ แต่เมื่อไหร่ที่นายกรัฐมนตรีต้องการตัดบท จะย้ำจำนวนคำถามเหมือนเป็นการตัดบท ให้เปลี่ยนคำถามหรือยุติการสัมภาษณ์ ถึงกระนั้น ก่อนการสัมภาษณ์ก็ยังจะต้องแจ้งประเด็นที่จะถามให้ชัดเจน แจ้งชื่อ สังกัดของผู้ถามอยู่ดี
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องจับตาและเฝ้าสังเกตคือ นอกจากการ ลดคำถาม แล้ว การลดตอบคำถาม ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่พลเอกประยุทธ์ได้ปฏิบัติ จากมาตรการกั้นพื้นที่ ไม่ตอบคำถาม การเปลี่ยนสถานที่ประชุมจากตึกอื่นๆ ภายในทำเนียบรัฐบาลเป็นตึกไทยคู่ฟ้าเขตหวงห้าม พื้นที่ส่วนตัวของทุกรัฐบาล
รวมถึงการมอบหมายงานให้รองนายกรัฐมนตรีด้านต่างๆ ไปปฏิบัติหน้าที่แทน เพื่อลดการเผชิญหน้ากับสื่อมวลชน
คงเหลือไว้แค่การให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี การประชุมบางเรื่อง และการปาฐกถาที่แสดงออกถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรีคิดอยู่ในขณะนั้น ที่ยังคงระดับความยาวไม่ต่ำกว่า 40 นาที ซึ่งต่างจากแรกเริ่มมาตรการจัดระเบียบใหม่ๆ ที่สั้นกระชับ ไม่เกิน 10 นาทีก็จบการสัมภาษณ์ แต่ในมุมมองของสื่อบางครั้งก็ยังรู้สึกดีกว่างดให้สัมภาษณ์อย่างที่ผู้นำบางราย เช่น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยทำมาแล้ว
เหนือสิ่งอื่นใด เชื่อว่ามาตรการนี้จะยังคงอยู่ไปอีกนาน แม้จะมีข้อดีที่ทำให้การสัมภาษณ์ตรงประเด็นทั้งการถามของสื่อมวลชนและคำตอบของนายกรัฐมนตรี แต่ก็เปลี่ยนชีวิตการทำงานแบบเดิมไป อย่างที่ผู้สื่อข่าวสำนักหนึ่ง ที่ติดตามนายกรัฐมนตรี กล่าว
“หนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีบางช่วงที่มาตรการเยอะขึ้น และคงที่ แต่เชื่อว่าจะไม่ลดลง หรือผ่อนคลาย ระเบียบเป็นระเบียบไม่มีวันยกเลิก แต่ 1 เดือนที่ผ่านมา เชื่อว่านักข่าวทำเนียบอึดอัด ทำอะไรไม่ได้ เสนออะไรไม่ได้ ชีวิตการทำงานข่าวเดิมๆ ของทำเนียบหายไปครึ่งหนึ่ง ไม่มีชีวิตเดิมๆ เพราะถูกจำกัดสิทธิ์”
ทั้งนี้ การจัดระเบียบของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ไม่เพียงแต่การจัดระเบียบสื่อเท่านั้น ที่ผ่านมายังใช้มาตรา 44 ในการจัดระเบียบอื่นๆ ทั้งจัดระเบียบประเทศ จัดระเบียบรัฐธรรมนูญ จัดระเบียบสังคม จนเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลแห่งการจัดระเบียบ เพื่อให้ประเทศสงบ เดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่ติดขัด
ซึ่งก็ยังดีที่ไม่โหดร้ายเกินไปเมื่อเทียบกับการทำงานของสื่อในอดีตที่ให้สื่อทำงานอยู่นอกทำเนียบรัฐบาล อยากให้สัมภาษณ์ก็เชิญสื่อเข้ามาตามคำสั่ง
....
เสียงจากชาวเน็ต...
ใช่มึงไม่ใช่นักการเมืองที่มาจากเสียงของพี่น้องประชาชน แต่มึงคือโจรกบถ ที่ปล้นอำนาจประชาชน ไอ้ส้..ตีน
.....ให้ คนเอาไมค์มาจ่อถามแบบนี้ได้แล้วเหรอ ปรกติจะ มีรั้วกั้น
ต้องหมอบกราบเข้าไปเงียบๆเรียบร้อย
เลิกทำข่าวมันแล้วไปรวมกับสำนักอิสราซะนะ
ทั่นเป็นนายกนะ ไม่ใช่ยาม
กราบๆๆงามๆๆๆ
ใช่มึงไม่ใช่นักการเมืองที่มาจากเสียงของพี่น้องประชาชน แต่มึงคือโจรกบถ ที่ปล้นอำนาจประชาชน ไอ้ส้..ตีน
.....ให้ คนเอาไมค์มาจ่อถามแบบนี้ได้แล้วเหรอ ปรกติจะ มีรั้วกั้น
ต้องหมอบกราบเข้าไปเงียบๆเรียบร้อย
เลิกทำข่าวมันแล้วไปรวมกับสำนักอิสราซะนะ
ทั่นเป็นนายกนะ ไม่ใช่ยาม
กราบๆๆงามๆๆๆ