ซี้ด อูย นายกฯ ลุงตู่ยอดเจ๋ง จะสร้างรถไฟเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ถึงโคราชให้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติด้วยตนเอง
“ไม่ร่วมกับจีนแล้วทำเองดีกว่า เพราะเรามีขีดความสามารถและเตรียมงบประมาณไว้แล้ว” ทั่นนาโย้กว่า
“วันนี้เอาแค่สายนี้ก่อนในความยาว ๒๕๐ กม.” จากแผนทั้งหมด ๘๐๐ กิโลเมตร “แต่โครงการดังกล่าวจะมีการต่อเพื่อเชื่อมโยงในวันข้างหน้า จากวันนี้ไปพื้นที่อีสาน วันข้างหน้าก็อาจต่อไปยังหนองคาย อาจเชื่อมโยงไปมาบตาพุด ลาว จีน ปากีสถาน อิเดีย ยุโรป อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าคุ้มทุน เรียกว่ารถไฟสายอนาคต”
“ส่วนเรื่องงบฯนั้น ขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นลักษณะของรัฐลงทุนโดยใช้เงินกู้” สงสารทั่นเนอะ ‘กู้อีกแล้ว’ ทั้งที่ “วันนี้เรามีวงเงินอยู่แล้วล้านกว่าล้านบาท จะต้องลงทุนพวกโครงสร้างพื้นฐานบ้าง แต่ออกไม่ได้ติดนู้นนี่ ติดอีเอชไอเอ”
(http://www.matichon.co.th/news/82622)
ที่ผ่านมาสองสามเดือน การเจรจากับจีนติดกึกติดกักนักแล้ว เราอยากให้จีนเข้ามาลงทุนเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมด แต่ฝ่ายตัวแทนจีนที่มาเจรจาบอกว่า แหม ถ้าจะให้จีนลงเองต้องไปถามท่านประธานาธิบดี (สี จิ้นผิง) มันยากนี้ดนึง
ฝ่ายไทยก็เลย เออวะ หยวนละมั้ง มันถึงต้องมาลงทั่นผู้นัมบ์แอ่นอกรับ “หากทำรางไว้ก่อนแบบที่เราเคยคิดไว้แล้วเอาความเร็วปานกลางมาวิ่ง วันหน้าต้องเปลี่ยนความเร็วสูงอีกอยู่ดี จึงคิดว่าการลงทุนครั้งนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงระยะเวลานี้” เห็นมั้ย วิสัยทัศน์ทั่นเป็นเลิศ ไม่ได้เอาอย่างใครนะ
แล้วจะไปกู้ที่ไหนล่ะนาย นั่นต้องไปถามเสนาบดีคมนาคม ทั้น รมว. อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เพิ่งแถลงที่กระทรวงเมื่อกี้ (ตอน ๑๐ โมงกว่าๆ วันที่ ๒๕ มี.ค.) จับความตอนระหว่างนาฑีที่ ๙ ถึง ๑๐ ได้เรื่องว่า
“ข้อที่สี่ในเรื่องของการลงทุน เป้นการลงทุนของไทยทั้งหมด ก็ชัดเจน” อย่างทั่นนายกฯ ว่า
แต่ “ข้อที่ห้า...ตรงนี้ ในเรื่องของเงินทุน เราอาจจะพิจารณาในการกู้จากจีน”
(ขอบคุณคลิปจากหน้าเฟชบุ๊คของ Wiphusa Sookmak นักข่าวไทยพีบีเอส https://www.facebook.com/wiphusa.sookmak/videos/10153606333999372/)
เอ้า ตายห่ ไหงกลับไปหาจีนอีกล่ะ กู้จากจีนเอามาจ้างจีนสร้าง แล้วจะจ้างจีนขับให้ด้วยไหมเพ่
เล่นปาหี่กันละสิ แล้วจะมีเล่นแร่แปรธาติด้วยหรือป่าว ก็ไม่รู้ได้ ต่อกรณีที่แบ๊งค์ชาติเพิ่งประกาศว่าต่อนี้ไปจะเอาเงินทุนสำรองออกมาเล่นหุ้น
“ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการแก้กฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี ๒๕๕๑ ในการขยายขอบเขตการลงทุนของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ให้สามารถลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้นได้ จากเดิมที่กำหนดให้ลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ พันธบัตร สกุลเงินตราต่างประเทศ และทองคำ”
“เป็นช่องทางการบริหารความเสี่ยงและการกระจายความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.วิรไท สันติประภพ เปิดแถลงข่าวพร้อมหน้ารองหญิงทั้งสอง
“โดยหลักการสำคัญจะกระจายความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และยังคงวัตถุประสงค์เน้นการลงทุนที่มีสภาพคล่องเป็นหลักเพื่อพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ตลอดเวลา”
“สัดส่วนการลงทุนในหุ้นในช่วงแรก คาดว่าจะทยอยการลงทุนในระดับไม่เกิน ๓-๔ % ของทุนสำรองเฉพาะในส่วนกิจการธนาคารที่มีอยู่ปัจจุบัน ๑.๑๐ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจุบันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมดมีอยู่ ๑.๘ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ”
(http://www.thansettakij.com/2016/03/25/39847)
ทั่นผู้ว่าฯ อ้างด้วยว่า “ที่ผ่านมาจะเห็นว่าความเสี่ยงส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศไม่ใช่พันธบัตร หากเรามีหุ้นผสมอยู่ด้วยเล็กน้อยจะช่วยลดความเสี่ยงได้
เพราะโดยธรรมชาติสกุลเงินต่างประเทศจะมีความผันผวนประมาณ ๑๐% ต่อปี ซึ่งผันผวนกว่าพันธบัตร และการลงทุนในหุ้นจะช่วยลดการกระจุกตัวความเสี่ยงของค่าเงิน”
แม้ว่าการเล่นหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร แต่ในความรู้สึกของนักเล่นหุ้นทั่วไป ความผันผวนของหุ้นในเรื่องผลตอบแทนน่าจะมีมากกว่าพันธบัตร แต่ไหงทั่นผู้ว่าฯ แบ๊งค์ชาติบอกว่า
“แต่จะเห็นว่าเราไม่ได้ลงทุนเยอะ จึงไม่ได้ช่วยเรื่องรายได้แต่ช่วยเรื่องลดความเสี่ยง หรือการจัดพอร์ตอาจจะต้องดูภาพรวม เช่น บางปีผลตอบแทนอาจจะได้ ๑๐% แต่ผลตอบแทนในพันธบัตรอาจจะติดลบ”
นี่ตั้งใจจะบอกกันทื่อๆ เลยหรือว่า การเอาเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศไปเล่นหุ้นมีความมั่นคงมากกว่าไว้ที่พันธบัตร แบ๊งค์ชาติยุคนี้นี่เจ๋งตาม คสช. ไปด้วยละซี
หากเอออวยตามตรรกะของทั่นผู้ว่าฯ การที่ไม่ได้ลงทุนเยอะ ก็จะไม่สามารถลดความเสี่ยง (หรือเพิ่มความมั่นคง) เรื่องผลตอบแทนได้เท่าไรนัก เช่นกันใช่ไหม
แล้วทำไมต้องมาเปิดพอร์ตกันตอนนี้ มีอะไรในกอไผ่หรือเปล่า เราไม่รู้ เพราะไม่ใช่คนแถวนั้น
ooo
มีอะไรรับรองว่า 'รถไฟประยุทธ์' จะไม่ล้มเหลวเหมือน 'รถไฟไทยจีน'
by ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์25 มีนาคม 2559
Over View ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2559
การประกาศหยุดโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพ-หนองคาย-มาบตาพุด แล้วแทนที่ด้วยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช คือการทำให้โครงการเพื่อเชื่อมโยงไทยกับประเทศอื่นกลายเป็นโครงการเพื่อผู้โดยสารในประเทศอย่างเดียว ผลก็คือ "รถไฟประยุทธ์"มีความเสี่ยงมาก โดยเฉพาะการใช้งบประมาณประเทศราว 200,000 ล้านบาท โดยไม่มีความชัดเจนถึงผลตอบแทนด้านการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างที่ "ยิ่งลักษณ์" และ "ชัชชาติ" เคยทำไว้ผ่านการทำให้รถไฟเชื่อมโยงกับประเทศอื่นและการพัฒนาพื้นที่ข้างเคียง...มีอะไรเป็นหลักประกันว่าโครงการรถไฟโคราชของรัฐบาลนี้จะไม่ล้มเหลวเหมือนโครงการรถไฟไทย-จีน