อ่านดีๆ สงสัย ‘ปาหี่’ นะ เรื่อง ‘รับฟ้อง ๗
กกต.’ แม้นว่าศาลอุทธรณ์ โดย ‘ประธานฯ’
วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งเจ็ดเป็น ‘องค์กรอิสระ’ ชี้ข้อกฎหมายว่าผู้เป็นโจทก์สองรายสามารถฟ้องร้องได้ก็ตาม
แต่กระบวนความถูกส่งกลับไปยังศาลเดิมให้ตัดสินว่าคำฟ้องถูกต้องหรือไม่อีก
คดีนี้
“สุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับ ๑ และเป็นบุคคลที่พรรคเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
และเกริกฤทธิ์ แจ้งพรมมา ผู้สมัคร ส.ส. เขต ๗ จังหวัดขอนแก่น” ยื่นฟ้องไว้ต่อ ‘ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง’ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒
ในข้อหาว่า
กกต.ทั้งเจ็ดได้รับคำร้องเรียนทักท้วงแล้วยัง “ไม่ดำเนินการตามหน้าที่” (ไม่) “สั่งให้ระงับยับยั้งหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย”
กลับให้
พล.อ. ประยุทธ์ (จันทร์โอชา) สามารถรณรงค์หาเสียงหรือขึ้นเวทีปราศรัย ในฐานะที่เป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐได้”
ผู้ฟ้องชี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็น ‘เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ’ ไม่มีคุณสมบัตินั้น
แล้วยังมีลักษณะต้องห้ามการเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญ ม.๑๖๐ พรป.เลือกตั้ง ม.๑๓, ๑๔ โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม
พรป.เลือกตั้ง ม.๒๓, ๑๔๙ และ พรป.ว่าด้วย กกต. ม.๒๑, ๒๒, ๓๘ ‘ประธานศาลอุทธรณ์’ จึงวินิจฉัยว่า
คดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
ซึ่งแต่แรกอ้างว่า “มีปัญหาคำฟ้อง นั้นเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไม่”
จึงได้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ชี้ชัดข้อกฎหมาย
ในที่สุดศาลอุทธรณ์ชี้ว่า
“หากจะฟ้องคดีต่อ ‘ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง’
ตาม ม.๒๓ พรป.การพิจารณาคดีอาญา ต้องให้ ปปช.หรืออัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้อง” ดังนี้จึงเห็นควรให้ศาลคดีทุจริตฯ
เช่นเดิมเป็นผู้พิจารณาคดี
ทั้งที่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนี้
เป็นบรรทัดฐาน “รับรองถึงการใช้สิทธิฟ้อง กกต. ต่อศาลอาญา” ดังที่ วิญญัติ ชาติมนตรี
ที่เคยยื่นคัดค้านการประกาศชื่อ พล.อ.ประยุทธ์เป็นผู้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ
ให้ความเห็นไว้
ทว่าการวินิจฉัยคดีว่า
‘อยู่ในเขตอำนาจ’
เช่นนี้ ศาลคดีทุจริตฯ จักต้องเริ่มการพิจารณาคดีด้วยการตรวจคำฟ้องเป็นชั้นแรกก่อน
ในวันที่ ๓ ธันวาคม “ว่าจะรับคดีไว้ไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่”
‘มูลฟ้อง’ ดังที่สุรทินและเกริกฤทธิ์ยื่นไว้ ว่านายอิทธิพร
บุญประคองและคณะ กกต. “ไม่ตรวจคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ พล.อ. ประยุทธ์...เพื่อให้เป็นคุณแก่พรรคพลังประชารัฐ”
แม้ต่อมานายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นหนังสือให้ตรวจสอบการคัดเลือกตัว
พล.อ.ประยุทธ์ กกต.กลับเมินเฉย
ซ้ำร้ายเมื่อนายวิญญัติ
ชาติมนตรี ยื่นหนังสือคัดค้านการเสนอชื่อดังกล่าว และขอให้เพิกถอนชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ออก
กกต.ทำไม่รู้ไม่ชี้ต่อไป ไม่ชี้แจงอะไร กระทั่งนายเรืองไกรยื่นคำร้องอีกครั้งกรณีความเป็น
เจ้าหน้าที่รัฐของ พล.อ.ประยุทธ์
กกต.คงปล่อยให้มีการประกาศชื่อ
พล.อ.ประยุทธ์เป็นแคนดิเดทนายกฯ จนได้ โดยไม่ยอมชี้แจง (ตามหน้าที่) ให้กระจ่างว่า
พล.อ.ประยุทธ์มีคุณสมบัติยกเว้นให้รับเป็นแคนดิเดทนายกฯ ได้อย่างไร เท่ากับ
กกต.จงใจละเลย ไม่ยอมรับฟังคำร้องค้าน
การนี้นอกจากเข้าข่ายความผิดอาญามาตรา
๘๓ และ ๙๑ แล้ว ยังเป็นความผิดตาม พรป.เลือกตั้ง และ พรป. ว่าด้วย กกต. ผู้ฟ้อง “ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ
กกต. ทั้ง ๗ คน มีกำหนด ๒๐ ปีด้วย”
เช่นนี้
กรณีคุณสมบัติ ‘เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ’ เป็นประเด็นสำคัญในข้อเรียกร้องของผู้ฟ้อง
ที่มีการตีความโยกโย้โดยเจ้าหน้าที่รัฐของ คสช. ให้เป็นประโยชน์ต่อ พล.อ.ประยุทธ์และรัฐบาล
คสช.เสมอ
คราวนี้ศาลอาญาฯ
จะเลี่ยงอย่างไร ให้ กกต.พ้นผิดได้ (ซึ่งเชื่อว่าคงเป็นเช่นนั้น)
ควรแก่การจับตาและบันทึกแปะหน้าผากเอาไว้ เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง ‘พอกหางหมู’ สำหรับปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย อันดับต่อไปจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ