วันศุกร์, พฤศจิกายน 01, 2562

แม่โขงพรุนแล้ว กะสร้างเขื่อนเยอะขนาดนี้ และน้ำโขงแห้งขนาดนี้เนี่ยนะ #เขื่อนฆ่าโขง




วันนี้ วันเขื่อนฆ่าแม่น้ำโขง

สภาพแม่น้ำโขงวันนี้ที่นครพนม น้ำโขงแห้ง หาดทรายกว้างลิบตา คนไปยืนราวกับยืนกลางทะเลทราย แม้ว่าช่วงนี้ของปีก่อนๆ ตามปกติแล้ว น้ำโขงยังเต็มตลิ่ง และจะเริ่มลดหลังลอยกระทง

จารึกไว้เลยว่าวันนี้คือวันเขื่อนฆ่าแม่น้ำโขง

ภาพโดย Noppadpl Thaoto




คนอนุรักษ์Like Page
October 28 at 9:32 PM ·

น้ำโขงวิบัติ
น้ำโขงตายแล้ว....
ตายในยุคสมัย 4.0

ยุคที่ว่าคนฉลาดเลิศล้ำปัญญาประดิษฐ์

แต่โลก ระบบนิเวศ แม่น้ำ ทยอยตาย....
จงจารึกไว้ว่า 29 ตุลาคม 2562 เป็น "วันฆ่าแม่น้ำโขง"
******
เห็นแก่ตัว
แม่น้ำโขงคือระบบนิเวศที่หล่อเลี้ยงคนในลุ่มน้ำโขงมากกว่า 60 ล้านคน เป็นแหล่งอาหารโปรตีนตามธรรมชาติ หาอยู่หากิน นับเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลเข่นกัน แต่เขื่อนไซยะบุรี(และเขื่อนอื่นๆ อีกมากกว่า 20 เขื่อนที่สร้างแล้ว กำลังสร้าง และวางแผนจะสร้าง) กลับเปลี่ยนแปลง ทำลายระบบนิเวศเพื่อนำมาเป็นผลประโยชน์ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
******
พลังงานสกปรก
เขื่อนชอบอ้างว่าเป็นพลังงานสะอาดเพราะไม่ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่เขื่อนได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของแม่น้ำโขง ที่นับเฉพาะปลาก็มีมากกว่า 1300 ชนิด ไม่นับกุ้ง หอย ปู นก อีกมากมายหลายชนิดพบได้ที่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลก เช่น ปลาบึก
การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนับเป็นภัยคุกคามโลกที่ไม่สามารถละเลยได้ เช่นกัน การอ้างว่าเป็นพลังงานสะอาดนั่น แท้จริงแล้วพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนเป็๋นพลังงานที่สปกรกที่สุดต่างหาก
******
ระบบนิเวศย่อยยับ
เขื่อนอ้างว่าปริมาณน้ำโขงไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว น้ำโขงได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย จากเขื่อนนั่นนิดเขื่อนนั่นหน่อย แต่ละเขื่อนต่างโยนความผิดกันไปมา ทำคนสับสน ประหนึ่งว่าการสร้างเขื่อนนั่นไม่มีผลกระทบอะไรเลยแม้แต่น้อย เขื่อนแก้ไขได้หมด จนสุดท้ายก็ไปโทษว่าเป็นความผิดปกติของภูมิอากาศโลก ฝนตกมาก ตกน้อยเอง
การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ ความเร็วน้ำ ล้วนมีผลต่อสิ่งชีวิตจำนวนมากที่ปรับตัวอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงมานับพันนับหมื่นปี
******
ผลกำไรยั่งยืน
ผลประโยชน์ของคนจำนวนมากกว่า 60 ล้าน ที่พึ่งพาอาศัยน้ำโขงมาช้านาน ยั่งยืน กำลังแปรเปลี่ยนไปเป็นประโยชน์ของเขื่อนในการผลิตไฟฟ้า ของบริษัท ของคนไม่กี่คน เพื่อสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน
******
ที่มาภาพ ดัดแปลงภาพจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 29 ตุลาคม 2562 เพื่อสะท้อนความรู้สึกอีกด้านที่สื่อไม่เคยนำเสนอขึ้นหน้าหนึ่งและเพราะเราไม่มีเงินซื้อ
*****
ชวนเพื่อนๆ โพสรูป เรื่องราว ที่เรารู้จัก/สัมผัส #แม่น้ำโขง และลงแฮชแท็ก

#รักแม่น้ำโขง
#SavetheMekong
#MekongRiverisNotforSale








เขื่อนไซยะบุรี คำถามต่อความรับผิดชอบและธรรมาภิบาล
.
๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำโขงตอนล่าง
เมื่อเขื่อนไซยะบุรีอันเป็นเขื่อนแรกที่สร้างกั้นแม่น้ำโขงสายประธาน ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เริ่มขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทยอย่างเต็มตัว ตาม “สัญญารับซื้อไฟฟ้า” ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามกับบริษัทเจ้าของเขื่อน โดยจะผลิตไฟฟ้าป้อนให้เราอีกอย่างน้อย ๓๐ ปี
.
ข้อมูลเบื้องต้นของเขื่อนไซยะบุรีตั้งอยู่ในเขตประเทศลาว บนหลักกิโลเมตรที่ ๑,๙๓๑ ของแม่น้ำโขง ห่างจาก อ.เชียงคาน จ.เลย ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร มีกำลังการผลิตติดตั้ง ๑,๒๘๕ เมกกะวัตต์ ไฟฟ้าที่ได้เกือบทั้งหมดจะถูกส่งมาขายยังฝั่งไทย เหลือให้คนลาวได้ใช้ไฟฟ้าประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์
.
ด้วยความที่นักลงทุน ผู้สร้าง ผู้รับซื้อไฟฟ้า ตลอดจนธนาคารที่ออกเงินกู้ล้วนเป็นบริษัทหรือหน่วยงานไทย จึงได้ชื่อว่า “เขื่อนลาวสัญชาติไทย”
.
แม้วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ เจ้าของเขื่อนไซยะบุรีจะซื้อหน้าประชาสัมพันธ์ของหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ พาดหัวว่า “โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี โรงไฟฟ้าแห่งแรกบนแม่น้ำโขงที่มีวิถีธรรมชาติเป็นต้นแบบ” แต่ที่ผ่านมาเขื่อนแห่งนี้กลับถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าทำลายธรรมชาติ ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และวิถีชีวิต อาทิ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ เกิดการกักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อนจนต้องอพยพผู้คนจำนวนมาก ทำให้น้ำท่วมที่ตั้งศาลเจ้าพ่อผาแดงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออาชีพประมง การเลี้ยงปลาในกระชัง ขณะที่รายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment หรือ SEA) วิเคราะห์ผลกระทบต่อประชาชนท้ายน้ำ พบว่าประชาชนประมาณ ๕,๐๐๐ คนที่อาศัยอยู่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำโขงระยะ ๑๐๐ กิโลเมตร จะได้รับผลกระทบจากความผันแปรของระดับแม่น้ำโขงแบบ “รายวัน” ไม่นับว่าค่าไฟฟ้าที่คนไทยต้องจ่ายอาจมีราคาสูงเกินจริง
.
คำถามถึงความรับผิดชอบและธรรมาภิบาลจึงดังระงมลุ่มน้ำโขงตอนล่าง หลังเขื่อนไซยะบุรีเดินเครื่อง

เรื่องและภาพ : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล