วันศุกร์, พฤศจิกายน 15, 2562
โปรดจำเอาไว้ ท่านและลูกหลาน ต้องเป็นผู้ใช้หนี้ทุกบาททุกสตางค์ในอนาคต งบประมาณปี 63 มีวงเงินเพิ่มจากปีที่แล้ว 200,000 ล้านบาท ยังเป็น “งบขาดดุล” รายได้ไม่พอรายจ่าย รัฐบาลต้องกู้เงินมาใช้จ่ายเพิ่ม 469,000 ล้านบาท
Cr.ดร.เพียงดิน
ท่านและลูกหลาน ต้องเป็นผู้ใช้หนี้ทุกบาททุกสตางค์ในอนาคต โปรดจำเอาไว้
@@@ งบประมาณปี 63 มีวงเงินเพิ่มจากปีที่แล้ว 200,000 ล้านบาท ยังเป็น “งบขาดดุล” รายได้ไม่พอรายจ่าย รัฐบาลต้องกู้เงินมาใช้จ่ายเพิ่ม 469,000 ล้านบาท
งบที่ถูกจับตามากที่สุดคือ งบยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 428,219.2 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13.4% ของงบประมาณ และ งบกระทรวงกลาโหม 233,353.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6,226.8 ล้านบาท
3 เหล่าทัพได้รับงบเพิ่มขึ้นทุกกองทัพ กองทัพบกได้เพิ่ม 2.3 พันล้านบาท เป็น 113,677.4 ล้านบาท กองทัพเรือได้เพิ่ม 1.8 พันล้านบาท เป็น 47,277.9 ล้านบาท กองทัพอากาศได้เพิ่ม 1.2 พันล้านบาท เป็น 42,882.8 ล้านบาท
นับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้า คสช. ปฏิวัติยึดอำนาจปี 2557 งบกลาโหมเพิ่มขึ้นทุกปี จากวงเงิน 183,820 ล้านบาทในปี 2557 เพิ่มเป็น 227,126 ล้านบาทในปี 2562 และเพิ่มเป็น 233,253 ล้านบาทในปี 2563 ส่วนใหญ่ก็นำไปซื้ออาวุธ เช่น เรือดำน้ำ รถถัง รถหุ้มเกราะ แถมยังสร้าง “งบผูกพัน” ไปในอนาคตอีกหลายปี
งบอีกก้อนหนึ่งที่ถูกซ่อนเร้นไว้ นั่นก็คือวงเงินค้ำประกันหนี้เงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ เช่น หนี้เงินกู้ของ องค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.) ปี 60 มียอดหนี้ 102,000 ล้านบาท ปี 63 รัฐบาลอาจต้องค้ำหนี้เพิ่มเป็น 300,000 ล้านบาท การรถไฟฯ ก็มีหนี้ไม่น้อยกว่า 230,000 ล้านบาท ขสมก. ก็มีหนี้กว่า 100,000 ล้านบาท อีกปีสองปีข้างหน้า
ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับ “หนี้ขาดดุลงบประมาณ” ที่รัฐบาลต้องกู้มาใช้จ่ายทุกปี ไม่ต้องย้อนหลังไปไกล เอาแค่สมัย พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตั้งแต่สมัย คสช.จนถึงปัจจุบัน งบปี 58 ขาดดุล 250,000 ล้านบาท งบปี 59 ขาดดุล 390,000 ล้านบาท งบปี 60 ขาดดุล 552,000 ล้านบาท งบปี 61 ขาดดุล 550,000 ล้านบาท งบปี 62 ขาดดุล 450,000 ล้านบาท งบปี 63 จะขาดดุลอีก 469,000 ล้านบาท เบ็ดเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ 6 ปี รัฐบาลกู้เงินมาใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 2.65 ล้านล้านบาท งบปี 64 ถ้ากู้เพิ่มเท่าปัจจุบันก็เกือบเท่างบประมาณรายจ่ายพอดี ถ้าอยู่ครบเทอม 4 ปี ก็ไม่รู้ต้องกู้มาใช้จ่ายอีกเท่าไหร่
น่าเป็นห่วงนะครับ รัฐบาลใช้เงินเพิ่ม แต่เศรษฐกิจประชาชนกลับแย่ลง
เป็นเรื่องที่ คนไทยผู้เสียภาษีต้องให้ความสนใจหนี้สินเหล่านี้ ท่านและลูกหลานต้องเป็นผู้ใช้หนี้ทุกบาททุกสตางค์ในอนาคต โปรดจำไว้ให้ดี
Source: https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1683353
เครดิตจากไลน์
[ข่าวด่วน] แบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ย สู่จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์ที่ 1.25%
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา.. แบงก์ชาติมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 1.5% เหลือ 1.25%
โดยแบงก์ชาติให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
จากการส่งออกที่หดตัวลงทำให้กระทบกับการจ้างงาน
รวมถึงเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเกณฑ์
การลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ทำให้เงินเฟ้อกลับไปสู่กรอบเป้าหมาย
การลดดอกเบี้ยในครั้งนี้จะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายลดลงไปสู่ 1.25% ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์
โดยก่อนหน้านี้เคยลงไปสู่ระดับนี้มาแล้ว
ตอนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจซับไพรม์ในช่วงปี 2008
เท่ากับว่าตอนนี้แบงก์ชาติส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจที่ระดับขีดสุดเท่าที่เคยปรากฏมาในประวัติศาสตร์แล้ว..
มุมมองแบงก์ชาติเรื่องเศรษฐกิจ
-เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสภาวะกีดกันทางการค้าของโลก
-ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลง
-การจ้างงานลดลงเร็วโดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อส่งออก
-หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง
-โครงการลงทุนของภาครัฐ เอกชน ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
มุมมองแบงก์ชาติเรื่องเงินเฟ้อต่ำ
-อัตราเงินเฟ้อต่ำเนื่องจากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าคาด
-การขยายตัวของธุรกิจ e-commerce ทำให้มีการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าไม่ปรับเพิ่ม
-เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ราคาสินค้าไม่เพิ่ม
มุมมองแบงก์ชาติเรื่องค่าเงินแข็ง
-เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง จะทำให้เกิดความเสี่ยง
-แบงก์ชาติจะสนับสนุนให้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออก ซึ่งจะช่วยให้เงินบาทอ่อนลง
แล้วมุมมองของลงทุนแมน
หลังจากแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยแล้วจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง?
อย่างแรกเลยก็คือต้นทุนทางการเงินทั้งระบบจะต่ำลงทันที..
ผู้ที่กู้ซื้อบ้าน และบริษัทที่ขอสินเชื่อ ก็จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ลดลง
ส่วนคนที่มีสินเชื่ออยู่แล้ว ถ้ามีข้อเสนอสินเชื่อใหม่ที่เหมาะสมก็ควร รีไฟแนนซ์
สำหรับค่าเงินบาท
แน่นอนว่าระยะสั้นค่าเงินบาทอ่อนลงทันทีที่ประกาศ
ล่าสุดค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเหลือ 30.33 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ จาก 30.23 บาทเมื่อวานนี้
การที่ค่าเงินบาทอ่อนลง ก็อาจทำให้การส่งออกของประเทศไทยอาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามถ้าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลอยู่แบบนี้
ค่าเงินบาทก็มีแนวโน้มที่จะกลับมาแข็งได้อีก
ส่วนเรื่องเงินเฟ้อ
หลายคนชอบบ่นว่าราคาข้าวของแพงขึ้นทุกปี
แต่ตัวเลขเงินเฟ้อวัดจาก ทั้งราคาพลังงาน ที่อยู่อาศัย อาหาร สินค้าทั่วไป
ตัวเลขพวกนี้ เขาเก็บข้อมูลกันมาจริงๆ
เงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำประมาณ 1% ต่อปีมานานแล้ว
ที่ต่ำก็เพราะราคาน้ำมันไม่เพิ่ม รวมถึงโครงสร้างค้าปลีกที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการมี e-commerce แข่งกันขายขาดทุน ทำให้เราซื้อสินค้าได้ในราคาถูก
หมดยุคการอ้างว่าเงินเฟ้อขึ้นทุกปี เราต้องลงทุนเพื่อชนะเงินเฟ้อ เพราะตอนนี้แค่ฝากประจำในธนาคารอาจจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าเงินเฟ้อแล้ว
อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยเงินฝากก็อาจต่ำลงได้อีก ถ้าดอกเบี้ยนโยบายต่ำลง
ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าเมื่อธนาคารต่างๆปรับดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงแล้ว
ธนาคารจะปรับดอกเบี้ยเงินฝากลง
เพื่อคงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษากำไรไว้หรือไม่
ปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เฉลี่ยอยู่ที่ 0.5%
ไม่แน่ว่าในอนาคต
เราอาจจะเห็นการฝากเงินในธนาคาร ได้ดอกเบี้ยใกล้เคียงศูนย์ ก็เป็นได้..