นี่ถ้ายังอยู่ในรัชกาลที่ ๙ คงต้อง ‘หมอหยอง-ปากรม’ โมเดลละมัง ผู้ต้องหาไทยยศร้อยตรีค้าเฮโรอินในออสเตรเลีย
อ้างเป็นราชองครักษ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และเป็นนายทหารราชการลับไทย เพื่อขอผ่อนผันระวางโทษจำคุก
ศาลปฏิเสธคำร้องของ ร.ต.มนัส โพธิ์พรหม
ด้วยเสียงเอกฉันท์ว่าเขาเป็นคนจัดการ (ใส่ยาเสพติดในกระเป๋าและซื้อตั๋วเครื่องบิน)
ให้สตรีชาวไทย (ใช้ชื่อว่า ‘ป้า’) ลักลอบนำเฮโรอินเข้าออสเตรเลีย เมื่อกลางปี ๒๕๓๖ ทำให้มนัสและผู้สมคบคิด
(สรสาร์ท เทียมทัศน์) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของเขาถูกตัดสินคนละ ๖ ปี
“ระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำ ‘พารามัตตา’ รอการลงทัณฑ์ มนัสบอกตำรวจออสซี่ว่าเขาป็นราชองครักษ์ของมกุฏราชกุมารไทย
และเคยเป็นสายลับของกองทัพบกภายใต้ชื่อ ยุทธภูมิ โพธิ์พรหม พร้อมทั้งทำธุรกิจส่วนตัวระหว่างเป็น
ทส.ของนายพลสำคัญคนหนึ่ง”
ข้อเท็จจริงได้รับการเปิดเผยหลังจากที่
ร.ท.ธรรมนัส พรหมเผ่า หัวคะแนนคนสำคัญของพรรคพลังประชารัฐที่กำลังจะได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในขณะนั้น
แถลงปฏิเสธต่อสื่อมวลชนไทยว่าเขาไม่เคยทำการค้ายาเสพติดในออสเตรเลีย
เพียงโชคร้ายไปอยู่ในโรงแรมเดียวกับผู้ที่ถูกจับกุม
เลยถูกคุมขังหลายเดือนก่อนได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการตัดสินความผิด สองนักข่าวหนังสือพิมพ์ซิดนี่ย์
มอร์นิ่ง เฮรัลด์ จึงทำการสืบสวนและเสาะค้นเอกสารคำตัดสินของศาลอย่างละเอียดอยู่พักใหญ่
ค้นพบว่าความจริงตรงข้ามกับที่ธรรมนัสอ้างอย่างสิ้นเชิง
เมื่อเปรียบเทียบประวัติและรูปพรรณของ ‘มนัส’
และ ‘ธรรมนัส’ ชัดแจ้งว่าเป็นคนเดียวกัน
ที่ติดอยู่ในคุกพาร์คเลียเป็นเวลา ๔ ปี กระทั่งได้รับการปล่อยตัวและเนรเทศน์กลับไทยพร้อมกับคู่หูร่วมคดี
เมื่อกลางเดือนเมษายน ๒๕๔๐
ดังนั้นการแถลงปฏิเสธเมื่อ ๑๑ กรกฎาคม “ผมไม่ได้ขนยาเสพติดไปขายที่ประเทศออสเตรเลีย
ผมไม่ได้ผลิตยาเสพติด ผมไม่ได้ที่จะจำหน่ายยาที่ประเทศออสเตรเลีย”
จึงเป็นการพูดปดต่อหน้ามหาชนอย่างปราศจากความละอาย
หลักฐานคำพิพากษาของสาลพร้อมพยานหลักฐานและคำสารภาพต่างๆ
ที่ไมเคิล รัฟเฟิ่ลส์ และไมเคิล เอ็ฟแวนส์ค้นพบบ่งชัดว่าในปลายปี ๒๕๓๕ ถึงมกราคม
๒๕๓๖ ร.ต.มนัสและนายสรสาร์ทช่วยกันจัดการขอวีซ่าและซื้อตั๋วเครื่องบินควอนตัสให้ ‘ป้า’
เขายังไปพบมาเฟียยาเสพติดไทยนาม ‘วีระ’ ที่ร้านกาแฟคิงส์ค้อฟฟี่ตรงข้าสถานทูตออสเตรเลียในกรุงเทพฯ
และมีการติดต่อประสานงานกับวีระ มานพและพิศาล ซึ่งล้วนเป็นอดีตทหารอีกหลายครั้งก่อนการเดินทางไปออสเตรเลียของป้าและกระเป๋ายาเสพติด
๒ วัน หลังจากสรสาร์ทบินถึงซิดนี่ย์วันที่ ๘ เมษายน ๓๖
มนัสบินตามไปซิดนี่ย์คืนวันที่ ๑๔ เมษา
เมื่อทราบจากสรสาร์ทว่าป้าทิ้งกระเป๋ายาเสพติดไว้ที่ห้อง ๗๑๓ โรงแรมพ้าร์ครอแยลที่ดาร์ลิ่งฮาร์เบอร์
โดยไม่รู้ตัวว่าทั้งเขาและสรสาร์ทถูกตำรวจรัฐบาลกลางออสเตรเลียจับตาอยู่แล้ว
ก่อนที่มนัสและสรสาร์ทจะไปเอากระเป๋าจากห้อง
๗๑๓ ตำรวจออสซี่ภายใต้ปฏิบัติการโดรเวอร์ได้จัดการเปลี่ยนยาเสพติด ๓.๒
กิโลกรัมและซ่อนเครื่องดักฟังไว้ในนั้นเรียบร้อยแล้ว
เอกสารบันทึกคดีจึงปรากฏรายละเอียดคำพูดของมนัสต่อสรสาร์ท
ตอนหนึ่งบ่นว่า “สั่งให้ทำแค่นี้ยังทำไม่ได้”
อีกตอนพูดกับคู่หูระหว่างรอลูกค้าชาวออสเตรเลียไปรับของที่โรงแรมพาเลจ หาดโบได “เราถือของ
(เฮโรอิน) ไว้นานนักไม่ดีนะ” หลังเที่ยงคืนเล็กน้อยในวันนั้นเขาและคู่หูก็ถูกตำรวจออสเตรเลียบุกเข้าจับกุมคาหนังคาเขา
อ่านรายละเอียดยุบยิบยิ่งกว่านี้ได้ที่ https://www.smh.com.au/national/from-sinister-to-minister-politician-s-drug-trafficking-jail-time-revealed-20190906
และ https://www.smh.com.au/national/the-newspaper-clipping-that-confirmed-a-criminal-politician-was-bluffing-20190906-p52oue.html)
ไม่แต่เพียงคดีที่ออสเตรเลีย รายงานของ ‘สองไมเคิล’ นักข่าวออสเตรเลียยังสืบสวนไปถึงคดีในประเทศหลังจากที่
ร.ต.มนัสกลับไปไทย เข้ารับราชการทหารอีกในชื่อใหม่ว่า พัชระ พรหมเผ่า ไต่เต้าทั้งในตำแหน่งและธุรกิจการค้าควบคู่กันมา
จนกระทั่งปี ๒๕๕๑ ในชื่อใหม่อีกว่า ธรรมนัส
พรหมเผ่า เขาโดนคดีรู้เห็นกับการถูกฆ่าตายของนักวิชาการลักเพศรายหนึ่ง
(เหตุเกิดในสำนักงานที่เขาเป็นเจ้าของ) เขาถูกคุมขังอยู่ ๓
ปีจนได้รับการยกฟ้องแต่ลูกน้องถูกพิพากษาความผิดแทน
“หลังจากหลุดคดี เขาใกล้ชิดกับนายทหารที่ทรงอิทธิพล
และถูกสื่อในประเทศไทยเรียกขานว่าเป็น ‘มาเฟียคนดัง’
ชื่อเสียงเด่นที่ตัวเขาเองพยายามไม่ให้ความสำคัญ ธรรมนัสให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์คราวหนึ่งว่า
คำว่า ‘มาเฟีย’ ในสายตาของเขาไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร
มาเฟียหมายถึงคนใดคนหนึ่งที่มีเส้นสายเหนียวแน่นกับใครต่อใครมากมาย และมักทำตามที่พูด
คำไหนคำนั้น”