วันอังคาร, กันยายน 24, 2562

"อย่าลืม 6 ตุลาฯ" เมื่อ “โจทก์” กลายเป็น “จำเลย” อ่านการต่อสู้ของจำเลยคดี 6 ตุลาภายใต้กระบวนการ (อ) ยุติธรรมหลังการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519




...สำหรับข้อกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางการจับกุมโดยใช้อาวุธทำให้เจ้าพนักงานเสียชีวิต และบาดเจ็บนั้น จำเลยปฏิเสธว่าพวกตนไม่ได้มีอาวุธ และความจริงแล้ว การจับกุมกรณี 6 ตุลา มิใช่เป็นการจับกุมตามครรลองของกฎหมาย หากเป็น “การล้อมสังหารแล้วจับกุมผู้รอดตาย” ต่างหาก อีกทั้งการเสียชีวิตและบาดเจ็บของเจ้าพนักงานก็ มิได้เกิดจากการ กระทำของพวกจำเลย อาวุธของกลางตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นหลักฐานเท็จที่ยัดเยียดให้แก่จำเลย เช่นเดียวกับการสร้างข่าวเท็จเรื่องอุโมงค์ใต้ดินในธรรมศาสตร์ เพื่อโน้มน้าว ประชาชนให้เกิดความเข้าใจผิดโกรธแค้น และสร้างความชอบธรรมในการล้อมสังหารหมู่ผู้บริสุทธิ์

นับแต่นั้น การพิจารณาคดี 6 ตุลาแต่ละครั้ง แทนที่จะเป็นการไต่สวนเพื่อเอาผิดนักศึกษาประชาชน จึงกลับกลายเป็นการเปิดโปงความรุนแรงของฝ่ายที่ต้องการสถาปนาระบอบเผด็จการในเหตุการณ์’ 6 ตุลาแทน รวมทั้งเป็นเงื่อนไขที่เปิดไปสู่การรณรงค์เรียก ร้องความเป็นธรรมให้แก่จำเลยในคดีและนักศึกษาประชาชนที่ถูกล้อมสังหารหมู่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

——
เมื่อ “โจทก์” กลายเป็น “จำเลย”
อ่านการต่อสู้ของจำเลยคดี 6 ตุลาภายใต้กระบวนการ (อ) ยุติธรรมหลังการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ได้ที่: https://doct6.com/archives/2205
.



Pumipant Kitsuwangul คิดถึงหมุด 2475 :)