ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องปม "ประยุทธ์" ถวายสัตย์ฯ | เนชั่นทันข่าว | NationTV22
NationTV22
Published on Sep 11, 2019
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องให้วินิจฉัยปมถวายสัตย์ไม่ครบ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ระบุเป็นการกระทำทางการเมืองโดยแท้ ไม่อยู่ในอำนาจของศาล ทั้งยังเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหาร กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบ ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องให้วินิจฉัยปมถวายสัตย์ไม่ครบ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ระบุเป็นการกระทำทางการเมืองโดยแท้ ไม่อยู่ในอำนาจของศาล ทั้งยังเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหาร กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบ ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด
ooo
[การกระทำทางรัฐบาล หรือ การกระทำทางการเมือง จะถูกตรวจสอบได้ด้วยวิธีใด]
ตามหลักกฎหมายมหาชน การกระทำทางรัฐบาล หรือ การกระทำทางการเมือง คือ การกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับรัฐบาล
การกระทำเหล่านี้อาจหลุดพ้นไปจากการตรวจสอบทางกฎหมายโดยองค์กรตุลาการ ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้องค์กรตุลาการหรือศาลได้เข้ามาตัดสินชี้ขาดประเด็นทางการเมืองหรือทางนโยบาย จนเกิดสภาพ “การปกครองโดยผู้พิพากษา” เว้นแต่ รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจการตรวจสอบการกระทำทางการเมืองเป็นของศาลรัฐธรรมนูญ
แล้วการกระทำทางรัฐบาลหรือการกระทำทางการเมืองจะถูกตรวจสอบโดยกลไกใด?
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจและการตรวจสอบถ่วงดุล จึงต้องมีการตรวจสอบทางการเมืองแทนการตรวจสอบทางกฎหมาย นั่นก็คือ สภาผู้แทนราษฎรต้องมีอำนาจในการตรวจสอบทางการเมืองต่อการกระทำทางรัฐบาลและการกระทำทางการเมืองทั้งหลาย
กรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ด้วยถ้อยคำที่ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 โดยให้เหตุผลว่า การถวายสัตย์ฯเป็น “การกระทำทางการเมือง” หรือ “การกระทำทางรัฐบาล” จึงไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบองค์กรใด
เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ยิ่งทำให้สภาผู้แทนราษฎรมีความชอบธรรมอย่างยิ่งในการทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลในทางการเมือง โดยผ่านกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา 151 ตลอดจนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง
การอภิปรายในญัตติตามมาตรา 152 ในวันที่ 18 กันยายนนี้ จึงเป็นหนทางที่ยังพอเหลืออยู่ในการตรวจสอบทางการเมืองและหาทางออกร่วมกันต่อกรณีนายกรัฐมนตรีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ
การอภิปรายในญัตติมาตรา 152 ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางในการช่วยกันขจัดปัญหาข้อสงสัยว่าคณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่โดยสมบูรณ์หรือไม่ แต่ยังเป็นไปเพื่อรักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญอีกด้วย
นี่คือภารกิจของ “ผู้แทน” ของประชาชนซึ่งเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุด
It’s worth remembering that Thailand’s constitution, drafted by Prayuth’s military government, explicitly requires him to swear a full oath of office. Yet the Constitutional Court - always happy to sack other PMs - says it cannot even rule on this violation of the constitution🤔 https://t.co/vfRvDokuL9— Jonathan Head (@pakhead) September 11, 2019
ศาลรัฐธรรมนูญไม่ยอมตอบประชาชนว่าประยุดถวายสัตย์ไม่ครบตามที่รธน.กำหนดไว้ผิดรธน.หรือไม่ บอกว่าเป็นเรื่องทางการเมือง แต่สั่งสส.หยุดทำงานได้เพราะ ‘อาจ’ ขาดคุณสมบัติเพราะถือหุ้นสื่อ เอางี้ป่ะ อย่างน้อยก็สั่งให้ปะยุดยุติบทบาทนายกฯ ชั่วคราวก่อนมั้ยอ่ะ ? #ศาลรธน— Rosie*Spokedark (@Rosie_Spokedark) September 11, 2019