"กรุงเทพ...ชีวิตดีดีที่ลงตัว" ประโยคนี้เป็นประโยคที่คนกรุงเทพฯหลายคนถามตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเฉพาะเรื่องขนส่งมวลชน ที่เราควรได้รับความสะดวกสบายจากมัน แต่ในกรุงเทพฯ ขนส่งมวลชนคือ"ความทุกข์"ในชีวิตประจำวัน ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ขนส่ง(ไม่)มวลชน ทุกข์ของคนกรุงเทพฯ
by สุชาณี รุ่งเหมือนพร
9 มีนาคม 2560
Voice TV
ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ดิฉันเห็นความโกรธเคืองของคนกรุงเทพผ่านหน้าฟีดเฟซบุ๊กแทบทุกวัน เมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลอาจใช้มาตรา44 ปิดแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารคู่ใจคนเมืองใหญ่อย่าง"อูเบอร์" ที่ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกมาปฏิเสธแล้ว ว่าทางกระทรวงฯไม่ได้มีแนวคิดจะเสนอการใช้มาตรา 44 แต่อย่างใด
คนกรุงเทพและคนที่อาศัยในเมืองใหญ่หลายคนอาจรู้สึกโล่งใจ ว่าอย่างน้อยรัฐก็ทำให้เรารู้สึกว่าเราเหลือ"ตัวเลือก"ในการสัญจรอยู่บ้าง อย่างน้อย เราก็ไม่ถูกบีบให้ต้องใช้รถไฟใต้ดินและรถไฟฟ้า ที่ไม่รู้ว่าจะเสียหรือกำหนดเงื่อนไขแปลกๆให้เราต้องทำตามอีกเมื่อไหร่ และไม่ได้ถูกบีบให้ซื้อรถยนตร์ส่วนตัว ที่เราเองก็ไม่รู้ว่าจะรับผิดชอบมันไหวหรือไม่ เรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกสะเทือนใจไม่น้อย กับการที่ขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นบริการที่ควรจะเป็นมิตรกับเราและทุกคนควรได้รับ กลับกลายเป็น"ความทุกข์"ที่ทำให้การใช้ชีวิตของเรายากลำบากมากขึ้น
ขนส่งสาธารณะคือทุกข์ของคนกรุงเทพฯ?
ดิฉันขอพูดถึงกรุงเทพฯมากหน่อย เนื่องจากเกิดและอยู่อาศัยในกรุงเทพฯตั้งแต่เด็ก และมีโอกาสได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเกือบ30 ปีที่ผ่านมา ดิฉันเคยอยู่ในย่านเจริญนคร ซึ่งเคยเป็นย่านสำหรับที่อยู่อาศัย ไม่มีห้างใหญ่หรือแม้กระทั่งตลาดนัดฮิปสเตอร์มาตั้งอยู่อย่างกระจัดกระจายเหมือนขณะนี้
บ้านของดิฉันตั้งอยู่ติดถนนใหญ่ ที่รถเมล์น่าจะเข้าถึงแทบทุกสาย แต่มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น ในตอนเด็ก ดิฉันกลับต้องนั่งรถยนตร์สี่ล้อเล็กรับจ้าง(ที่บางคนเรียกว่า "รถซูบารุ")เดินทางระหว่างบ้านและโรงเรียนแทบทุกวัน เนื่องจากรถเมล์ไม่ตอบโจทย์เส้นทางการเดินทาง
ดิฉันนั่งรถซูบารุได้ประมาณ 4-5 ปี จนวันหนึ่งรถซูบารุก็หายไป เพราะไปวิ่งทับบางเส้นทางของรถเมล์ ดิฉันจึงต้องหันมานั่งรถเมล์เล็ก(ที่คนแถวนั้นเรียกว่า"รถเมล์ตีนผี")ที่ขับอย่างรวดเร็วและไร้ซึ่งความปลอดภัยใดๆ
นี่คือประสบการณ์ครั้งแรกในวัยเด็ก ที่รู้สึกว่าเราขนส่งสาธารณะทำให้ชีวิตของเรายากลำบาก และเป็น"ศัตรู"ในชีวิตประจำวันของเรา ที่ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่อยากจะมีความเกี่ยวข้องใดๆกับมันเลย
การซื้อ"เวลา"ในรูปแบบของที่อยู่อาศัยราคาแพง
หลายปีผ่านไป รถไฟฟ้า หรือ บีทีเอสถูกสร้างขึ้น คนกรุงเทพฯหลายคนดีใจ และหวังเล็กๆว่าต่อไปนี้ชีวิตคงดีขึ้น ไม่ต้องตื่นนอน6โมงเช้า เพื่อหลีกเลี่ยงรถติดไปทำงานอีกต่อไป เพื่อนๆแทบทุกคนของดิฉันเรียนรู้ที่จะใช้รถไฟฟ้า เพราะรู้สึกว่ามันทำให้เราประหยัดเวลาซึ่งเป็นสิ่งมีค่าอย่างมากของการเดินทางในกรุงเทพฯ จนถึงวันนี้ รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินกลายเป็นขนส่งสาธารณะหลักที่คนกรุงใช้สัญจร
และในวันนี้ เมื่อเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูของคอนโดมิเนียม คนกรุงเทพฯก็ถูกบีบให้ซื้อเวลาในการสัญจรในรูปแบบใหม่ ที่แพงกว่าตั๋วรถไฟฟ้าบีทีเอสหนึ่งแสนถึงหนึ่งล้านเท่า นั่นก็คือ" คอนโดติดรถไฟฟ้า"
Voice TV
ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ดิฉันเห็นความโกรธเคืองของคนกรุงเทพผ่านหน้าฟีดเฟซบุ๊กแทบทุกวัน เมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลอาจใช้มาตรา44 ปิดแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารคู่ใจคนเมืองใหญ่อย่าง"อูเบอร์" ที่ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกมาปฏิเสธแล้ว ว่าทางกระทรวงฯไม่ได้มีแนวคิดจะเสนอการใช้มาตรา 44 แต่อย่างใด
คนกรุงเทพและคนที่อาศัยในเมืองใหญ่หลายคนอาจรู้สึกโล่งใจ ว่าอย่างน้อยรัฐก็ทำให้เรารู้สึกว่าเราเหลือ"ตัวเลือก"ในการสัญจรอยู่บ้าง อย่างน้อย เราก็ไม่ถูกบีบให้ต้องใช้รถไฟใต้ดินและรถไฟฟ้า ที่ไม่รู้ว่าจะเสียหรือกำหนดเงื่อนไขแปลกๆให้เราต้องทำตามอีกเมื่อไหร่ และไม่ได้ถูกบีบให้ซื้อรถยนตร์ส่วนตัว ที่เราเองก็ไม่รู้ว่าจะรับผิดชอบมันไหวหรือไม่ เรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกสะเทือนใจไม่น้อย กับการที่ขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นบริการที่ควรจะเป็นมิตรกับเราและทุกคนควรได้รับ กลับกลายเป็น"ความทุกข์"ที่ทำให้การใช้ชีวิตของเรายากลำบากมากขึ้น
ขนส่งสาธารณะคือทุกข์ของคนกรุงเทพฯ?
ดิฉันขอพูดถึงกรุงเทพฯมากหน่อย เนื่องจากเกิดและอยู่อาศัยในกรุงเทพฯตั้งแต่เด็ก และมีโอกาสได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเกือบ30 ปีที่ผ่านมา ดิฉันเคยอยู่ในย่านเจริญนคร ซึ่งเคยเป็นย่านสำหรับที่อยู่อาศัย ไม่มีห้างใหญ่หรือแม้กระทั่งตลาดนัดฮิปสเตอร์มาตั้งอยู่อย่างกระจัดกระจายเหมือนขณะนี้
บ้านของดิฉันตั้งอยู่ติดถนนใหญ่ ที่รถเมล์น่าจะเข้าถึงแทบทุกสาย แต่มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น ในตอนเด็ก ดิฉันกลับต้องนั่งรถยนตร์สี่ล้อเล็กรับจ้าง(ที่บางคนเรียกว่า "รถซูบารุ")เดินทางระหว่างบ้านและโรงเรียนแทบทุกวัน เนื่องจากรถเมล์ไม่ตอบโจทย์เส้นทางการเดินทาง
ดิฉันนั่งรถซูบารุได้ประมาณ 4-5 ปี จนวันหนึ่งรถซูบารุก็หายไป เพราะไปวิ่งทับบางเส้นทางของรถเมล์ ดิฉันจึงต้องหันมานั่งรถเมล์เล็ก(ที่คนแถวนั้นเรียกว่า"รถเมล์ตีนผี")ที่ขับอย่างรวดเร็วและไร้ซึ่งความปลอดภัยใดๆ
นี่คือประสบการณ์ครั้งแรกในวัยเด็ก ที่รู้สึกว่าเราขนส่งสาธารณะทำให้ชีวิตของเรายากลำบาก และเป็น"ศัตรู"ในชีวิตประจำวันของเรา ที่ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่อยากจะมีความเกี่ยวข้องใดๆกับมันเลย
การซื้อ"เวลา"ในรูปแบบของที่อยู่อาศัยราคาแพง
หลายปีผ่านไป รถไฟฟ้า หรือ บีทีเอสถูกสร้างขึ้น คนกรุงเทพฯหลายคนดีใจ และหวังเล็กๆว่าต่อไปนี้ชีวิตคงดีขึ้น ไม่ต้องตื่นนอน6โมงเช้า เพื่อหลีกเลี่ยงรถติดไปทำงานอีกต่อไป เพื่อนๆแทบทุกคนของดิฉันเรียนรู้ที่จะใช้รถไฟฟ้า เพราะรู้สึกว่ามันทำให้เราประหยัดเวลาซึ่งเป็นสิ่งมีค่าอย่างมากของการเดินทางในกรุงเทพฯ จนถึงวันนี้ รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินกลายเป็นขนส่งสาธารณะหลักที่คนกรุงใช้สัญจร
และในวันนี้ เมื่อเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูของคอนโดมิเนียม คนกรุงเทพฯก็ถูกบีบให้ซื้อเวลาในการสัญจรในรูปแบบใหม่ ที่แพงกว่าตั๋วรถไฟฟ้าบีทีเอสหนึ่งแสนถึงหนึ่งล้านเท่า นั่นก็คือ" คอนโดติดรถไฟฟ้า"
คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเคยกล่าวไว้ว่า การเดินทางในชีวิตประจำวันของเรา เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ชัดเจนที่สุด เพราะคนรวยในกรุงเทพฯสามารถซื้อเวลาและความสะดวกสบายในการเดินทาง ในรูปแบบของคอนโดกลางแยกอโศกฯได้ ขณะที่คนจนไม่สามารถนั่งรถไฟฟ้าไปทำงานทุกวันได้เพราะค่าตั๋วที่มีราคาแพง
รถประจำทางคือสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย
เอ็นริเก เปนาโลซา อดีตนายกเทศมนตรีและผู้พลิกโฉมขนส่งสาธารณะในกรุงโบโกตา เมืองหลวงของโคลอมเบีย กล่าวไว้ในเวที Ted Talk ในปี 2013 อย่างน่าสนใจว่าในหลายเมืองโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา เมื่อประชาชนร่ำรวยขึ้น ขนส่งสาธารณะกลับย่ำแย่ลง ปรากฏการณ์นี้ ไม่ได้สะท้อนหลักความเสมอภาคที่บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เพราะรถเมล์ที่มีผู้โดยสาร 80 คน ไม่มีสิทธิการใช้พื้นที่บนถนนมากกว่า 80 เท่าของรถยนตร์ที่มีคนเพียงหนึ่งคนเท่านั้น
Enrique Peñalosa: Why buses represent democracy in action
เปนาโลซา เป็นหนึ่งในผู้ผลักดันให้มีการสร้างเลนพิเศษสำหรับรถเมล์ในกรุงโบโกตา ซึ่งเป็นเลนที่ไม่ใช้ร่วมกับรถยนตร์ส่วนบุคคล เขาอธิบายว่า ภาพรถเมล์ที่แล่นอยู่บนเลนพิเศษ ผ่านเลนธรรมดาที่มีรถราคาแพงอยู่นับร้อยๆคันติดอยู่บนถนน เป็นเครื่องหมายทางประชาธิปไตย ที่สะท้อนความเสมอภาคได้อย่างสวยงาม
นี่คือภาพของTransMilenio เลนพิเศษสำหรับรถเมล์โดยเฉพาะในกรุงโบโกตาของโคลอมเบีย ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2000 เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการสัญจร pic.twitter.com/YDq05DG0ni— Suchanee R. (@Suchanee_R) March 9, 2017
คนเดินเท้า ถูกทำให้เป็น"พลเมืองชั้นสาม"
สำหรับเปนาโลซา การเดินทางโดยวิธีธรรมชาติของมนุษย์คือการเดิน เช่นเดียวกับปลาที่ต้องว่ายน้ำ และนกที่ต้องบิน
แต่ในระบบขนส่งสาธารณะในบางประเทศ คนเดินถนนกลับถูกทำให้เป็นพลเมืองชั้นสาม ที่ถูกเบียดเบียนด้วยพื้นที่ถนนสำหรับรถยนตร์ส่วนตัว ทำให้คนเดินเท้าเหลือพื้นที่เพียงฟุตบาทแคบๆและไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก ขณะที่รัฐกลับปรับปรุงและขยายพื้นที่ถนนครั้งแล้วครั้งเล่า จนทำให้ผู้ขับขี่รถยนตร์ส่วนตัวกลายเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งอย่างไม่ยุติธรรม
"คนเดินเท้่า"ถูกทำให้เป็นพลเมืองชั้นสาม ด้วยการถูกถนนเบียดเบียน จนแทบไม่เหลือพื้นที่ให้เดิน pic.twitter.com/EEiQClELtW— Suchanee R. (@Suchanee_R) March 9, 2017
สำหรับเปเนโลซา การที่คนเดินเท้าไม่ได้รับการดูแล ก็เหมือนกับการถูกลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะมันเป็นการตอกย้ำว่า คนเดินเท้าที่ไม่มีเงินซื้อรถ ไม่ได้รับการดูแลเท่ากับคนรวยที่มีเงินซื้อพาหนะส่วนตัว
"ถนน"คือทรัพยากรในเมืองที่มีค่าที่สุด
พื้นที่ถนน เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับเปนาโลซา มากกว่าเพชรพลอย แร่ธาตุ และทรัพยากรธรรมชาติ และจะต้องถูกกระจายอย่างเท่าเทียมกันให้กับคนทุกกลุ่ม ทั้งผู้ที่ใช้รถจักรยาน ผู้ที่ใช้ขนส่งมวลชนและผู้ใช้รถยนตร์ส่วนตัว เขายกตัวอย่างเมืองใหญ่อย่างกรุงปารีส หรือกรุงลอนดอน ที่หลายฝ่ายต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อสร้างเลนสำหรับรถจักรยานที่ปลอดภัย
เลนรถจักรยานในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
วว่า สำหรับเขา เลนสำหรับรถจักรยานไม่ใช่สถาปัตยกรรมที่น่ารัก แต่เป็นสิทธิสำหรับประชาชนทุกคนที่มีสิทธิเดินทางอย่างปลอดภัย โดยปราศจากความเสี่ยงของการถูกคร่าชีวิต
เช่นเดียวกับการกระจายพื้นที่ถนนให้กับรถเมล์และรถจักรยานอย่างเท่าเทียม เพราะสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนที่เป็นเจ้าของจักรยานหรือตั๋วรถเมล์มูลค่าไม่ถึง 100 ดอลลาร์ สำคัญเท่ากับคนที่มีรถยนตร์ราคา 30,000 เหรียญ
เช่นเดียวกับการกระจายพื้นที่ถนนให้กับรถเมล์และรถจักรยานอย่างเท่าเทียม เพราะสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนที่เป็นเจ้าของจักรยานหรือตั๋วรถเมล์มูลค่าไม่ถึง 100 ดอลลาร์ สำคัญเท่ากับคนที่มีรถยนตร์ราคา 30,000 เหรียญ