BY BOURNE
ON MARCH 4, 2016
ISpace Thailand
ทำเอามึนกันไปหลายฝ่าย หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินคดีฟ้องทางอาญา และเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ล้มการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 จนเป็นเหตุให้การเลือกตั้งต้องเป็นโมฆะ และทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
โดย กกต. จะดำเนินการฟ้องร้องกับ 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบุคคลจำนวน 234 คน ที่ขัดขวางการเลือกตั้งทุกกลุ่ม ที่มีหลักฐานภาพถ่าย สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ว่าเป็นใคร ซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มแกนนำผู้ชุมนุม กปปส. เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. รวมถึงแกนนำอย่างนายถาวร เสนเนียม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และพระพุทธะอิสระ เป็นต้น โดยมีการเรียกค่าเสียหาย 2,400 ล้านบาท
ทำเอามึนกันไปหลายฝ่าย หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินคดีฟ้องทางอาญา และเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ล้มการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 จนเป็นเหตุให้การเลือกตั้งต้องเป็นโมฆะ และทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
โดย กกต. จะดำเนินการฟ้องร้องกับ 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบุคคลจำนวน 234 คน ที่ขัดขวางการเลือกตั้งทุกกลุ่ม ที่มีหลักฐานภาพถ่าย สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ว่าเป็นใคร ซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มแกนนำผู้ชุมนุม กปปส. เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. รวมถึงแกนนำอย่างนายถาวร เสนเนียม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และพระพุทธะอิสระ เป็นต้น โดยมีการเรียกค่าเสียหาย 2,400 ล้านบาท
ทั้งนี้ กกต.ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนของข้อกฎหมายต่อไปซึ่งคดีดังกล่าวจะมีอายุความ 10 ปี
หลังจากสื่อมวลชนได้นำเสนอมติดังกล่าวของ กกต. ก็นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย โดยนักวิชาการหลายฝ่ายมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าถือเป็นเรื่องตลก เพราะการฟ้องร้องต่ออดีตนายกฯที่สั่งการให้มีการเลือกตั้งถือเป็นการกระทำตามขั้นตอนของกฎหมาย
ด้านนายถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำ กปปส. กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า กกต. ฟ้องผิดคน เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 108 เขียนไว้ชัดเจนว่า การเลือกตั้งทั่วไปต้องกำหนดเป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ปรากฏว่า ช่วงรับสมัครผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้ง กลับไม่มีผู้สมัคร เพราะฉะนั้น ถือว่า กตต. ก็ทราบอยู่แล้วว่า ถ้ายังฝืนให้มีการเลือกตั้งต่อไป การเลือกตั้งก็จะเป็นโมฆะ
ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และสมาชิกพรรคเพื่อไทยชี้แจงว่า เมื่อประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ความรับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นของ กกต. รวมทั้งอำนาจในการตัดสินใจยกเลิกหรือดำเนินการเลือกตั้งต่อไป
อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่อมีการยุบสภาตามรัฐธรรมนูญระบุว่าต้องมีการจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันและไม่เกิน 60 วัน ดังนั้นเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯได้ประกาศยุบสภา จนมีการออกพระราชกฤษฎีการะบุวันเลือกตั้ง ทั้งหมดเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย และ กกต. คือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่โดยตรงตามมาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญ ในการจัดการ ควบคุมดูแลให้มีการเลือกตั้งตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
คำถาม คือ หาก กกต. ต้องการที่จะเลื่อนการเลือกตั้ง เหตุใดจึงไม่เสนอไปที่วุฒิสภา เพราะเรื่องดังกล่าวไม่ใช่อำนาจของรัฐบาลรักษาการ และยิ่งไม่ใช่อำนาจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯรักษาการในขณะนั้น การที่ กกต. จะฟ้องร้องทางแพ่ง โดยใช้ พรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงไม่ถูกต้อง และไม่มีความเป็นธรรม
ในทางกลับกันเมื่อ กกต. ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และสามารถเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาเรื่องการเลื่อนการเลือกตั้งตามมาตรา 184 ได้ แต่กลับไม่ทำ ปล่อยให้มีการเลือกตั้งต่อไปจนเกิดความเสียหายดังกล่าว กกต. เองก็อาจเข้าค่ายกระทำความผิดตาม พรบ.ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และ มาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ได้เช่นกัน
Reference
http://www.matichon.co.th/news/58718
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9590000022683
http://thaienews.blogspot.com/2016/03/blog-post_69.html