วันศุกร์, ตุลาคม 03, 2557

ในแง่คนทำงาน nonviolence ม็อบฮ่องกงเป็นโมเดลน่าสนใจ “Leaderless but Orderly” New York Times บอก + ลองมาทำความเข้าใจกับเรื่องการประท้วงในฮ่องกงใน 1 นาที - BBC Thai



ในแง่คนทำงาน nonviolence ม็อบฮ่องกงเป็นโมเดลน่าสนใจ “Leaderless but Orderly” New York Times บอก เพราะเอาเข้าจริง ๆ ที่สถานีโทรทัศน์ไทยชอบรายงานผู้จัดเป็นกลุ่ม Occupy Central นั้น “ไม่จริงครับ” น้อง ๆ นุ่ง + white collar workers จัดกันเองทั้งนั้น และไม่มีแกนนำจริง ๆ จัง ๆ ด้วย การประสานงานเรื่องน้ำ อาหาร ที่พัก logistic ฯลฯ เป็นลักษณะ “กระจาย” เรียกว่าจะจับแกนนำคนใดคนหนึ่งเพื่อให้ม็อบเลิก ทำไม่ได้ ความจริงพวก Occupy Wall Street .ในสหรัฐฯ ก็พยายามทำแบบนี้แหละที่เขาเรียกว่า “consensus decision-making process” ไม่โหวต แต่ต้อง “เห็นด้วย” อย่างเป็นเอกฉันท์ถึงจะขยับเคลื่อนไหวใด ๆ ดูเหมือนม็อบฮ่องกงจะทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ

ม็อบฮ่องกงยังได้รับคำชมว่าทำให้ “civil disobedience” มัน “civil” จริง ๆ “อารยะ” มาก ขนาดปะทะโดนยิงก๊าซน้ำตา โดนตำรวจฉีดสเปรย์ไทยใส่หน้า น้อง ๆ เหล่านี้ยัง “ขอโทษ” ตำรวจ มีคนไปเขียนข้อความด่าบนรถตำรวจ ก็จะมีคนไปเอาป้ายติดไว้ “ขอโทษ” ตำรวจที่เพื่อน ๆ เขาทำอย่างนั้น พวกเขามีการ์ดกันไม่ให้คนเข้าไปนั่งในสนามหญ้า มีคนถือป้ายเตือนว่ามา “protest” ไม่ได้มา “party” อย่ามัวแต่เล่นดรตรีร้องเพลง มีการ recycle ขยะต่าง ๆ เวลาโบกรถเขาก็ทำไปขอโทษคนขับรถไปอย่างสุภาพ “Sorry for any inconvenience”

ว่าแล้วก็นึกถึงม็อบ “อารยะขัดขืน” ในบางประเทศ ซึ่งคนทั่วไปให้ฉายาว่า “ม็อบกรวยมรณะ” หรือ “ม็อบป็อปคอร์น” มากกว่า ตำรวจตายไปกี่นาย เจ็บพิการ พลเรือนถูกทำร้ายไปเท่าไรเพราะม็อบมรณะเหล่านี้ มันต่างกัน อย่าไปเปรียบเทียบเลย...

https://twitter.com/tvtomas/status/517286415336341504

http://nyti.ms/YMCOIE

http://shar.es/1aUkrQ

Pipob Udomittipong
ooo

แอพที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงในฮ่องกง  #FireChat 



ประท้วงไฮเทค นศ.ฮ่องกงหลบหลีกการเซ็นเซอร์ทางเนตด้วยการใช้แอพเชื่อมต่อเพื่อนร่วมขบวนทางบลูทูธ ยิ่งมากยิ่งต่อง่าย

นสพ.อินดีเพนเด้นท์กับการ์เดี้ยนของอังกฤษรายงานถึงการเคลื่อนไหวของผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงหนล่าสุดที่มีนศ.เป็นผู้นำว่า มีการใช้แอพพลิเคชั่นทางมือถือที่ช่วยในการเชื่อมต่อในที่คนมาก ทั้งหลบหลีกการบล็อคของทางการได้ด้วยการใช้ #FireChat ซึ่งกลายมาเป็นแอพที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงในฮ่องกง เพราะถึงแม้จะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ไม่ใช่ปัญหา เนื่องจาก FireChat เชื่อมต่อกันด้วยสัญญาณบลูทูธ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความถึงกันได้โดยไม่ต้องใช้อินเตอร์เนท และยิ่งมีผู้ใช้งานในบริเวณเดียวกันมากขึ้นเท่าไหร่ สัญญาณก็จะแรงมากขึ้นเท่านั้น เคยมีการใช้ FireChat เป็นเครือข่ายในการติดต่อสื่อสารมาแล้วในการประท้วงที่ไต้หวัน อิหร่าน และอิรัก แต่ยังไม่เคยมีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากเป็นปรากฏการณ์เท่ากับที่เกิดขึ้นในการประท้วงของฮ่องกงครั้งนี้

หลังจากที่โจชัว หว่องออกมากระตุ้นให้ผุ้เข้าร่วมชุมนุมใช้แอพนี้เพื่อติดต่อกัน มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน FireChat กว่า 1 แสนคนภายในเวลา 24 ชั่วโมง และมีข้อความสนทนากว่า 8 แสนข้อความจากนั้นมา และมีผู้ใช้งานแอพนี้มากถึง 33,000 คนในช่วงเวลาเดียวกัน

ความจริงแล้วการใช้แอพประเภทนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ระหว่างเหตุการณ์จลาจลที่ลอนดอนผู้ชุมนุมติดต่อกันผ่านทางแบล็คเบอร์รี่ เมสเซนเจอร์ ส่วนทวิตเตอร์ก็มีบทบาทสำคัญในช่วงคลื่นปฎิวัติในโลกอาหรับ หรือแม้แต่ผู้ประท้วงในตุรกีเองก็ใช้เวอร์ชวลไพรเวทเน็ตเวิร์ก หรือ VPN ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันการเซ็นเซอร์จากรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งาน FireChat ก็ยังคงต้องระวังตัวในระดับหนึ่ง เพราะทางการก็สามารถเข้ามาใช้ระบบนี้ได้ด้วย มิชา เบโนเลียล หนึ่งในผู้สร้างแอพนี้บอกว่า ผู้ใช้งานไม่ควรระบุชื่อจริงของตนเอง เขาบอกว่าเป้าหมายของผู้ออกแบบคือการให้คนมีอิสรภาพในการพูด แอพนี้จึงเหมาะสมที่สุด
...

ลองมาทำความเข้าใจกับเรื่องการประท้วงในฮ่องกงใน 1 นาที