วันศุกร์, สิงหาคม 16, 2567

สื่อยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มรายงานข่าวปัญหาการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำในประเทศไทยแล้ว


Japaninfo
3 days ago
·
Nihon Keizai Shimbun สื่อยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มรายงานข่าวปัญหาการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำในประเทศไทยแล้ว
----------------------
บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหารขัดแย้งกับหน่วยงานภาครัฐสืบเนื่องจากปัญหาปลาที่มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกากำลังแพร่พันธุ์หนักในไทย
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการแพร่พันธุ์อย่างรุนแรงของปลาที่มีถิ่นฐานในอาฟริกา พวกมันกินปลาและสัตว์น้ำท้องถิ่น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและการประมงท้องถิ่น ต้นเหตุสำคัญของปัญหาถูกมองว่าอยู่ที่บริษัทอาหารในเครือไซบัตสึรายใหญ่
Black chin tilapia (ปลาหมอคางดำ) มีกำลังขยายพันธุ์สูง
ต้นตอของปัญหาอยู่ที่ปลาที่กินได้สารพัดสิ่งที่ชื่อว่า Black chin tilapia (ปลาหมอคางดำ) สามารถอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เอกลักษณ์อยู่ที่กำลังการขยายพันธุ์ที่สูงมาก เพียง 20 วันหลังวางไข่ก็สามารถฟักเป็นตัว แถมอัตราการฟักเป็นตัวยังสูงถึง 99%
จนถึงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ พบปลาหมอคางดำแล้วอย่างน้อยใน 16 จังหวัด ในฟาร์มเลี้ยงกุ้ง พบว่ามีบางแห่งที่มีรายงานความเสียหายมากกว่าแห่งละ 3 แสนบาท (ราว 1.2 ล้านเยน) และยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มอันตรายต่อผู้เกี่ยวข้องด้านประมงมากขึ้น
บริษัทอาหารรายใหญ่ที่ถูกจับตามองคือ CP Foods
ปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ถูกมองว่าอยู่ที่บริษัท CP Foods บริษัทผู้ผลิตและค้าอาหารในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ไซบัตสึรายใหญ่ของไทย สื่อหลายๆแห่งพากันรายงานว่าบริษัทดังกล่าวคือต้นเหตุของปัญหา สืบเนื่องจากการนำปลาหมอคางดำเข้ามาเพื่อการวิจัยในปี 2010 แต่บริษัทฯออกมาปฏิเสธข่าวเหล่านั้นว่าตนไม่เกี่ยวข้อง “เป็นการเข้าใจผิด”
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฏรที่ดำเนินการตรวจสอบสาเหตุของการขยายพันธุ์ปลาเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา CP Foods ไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจง นับเป็นการเพิ่มความไม่น่าเชื่อถือต่อบริษัทท่ามกลางการสันนิษฐานว่าบริษัทเกี่ยวพันกับการระบาดของปลาที่ไม่มีถิ่นฐานในไทยมาก่อน
CP Foods ชี้แจงว่าตนได้รายงานรายละเอียดของการนำเข้าปลาให้กับกรมประมงแล้วว่า บริษัทได้รับอนุญาตให้นำเข้าปลาหมอคางดำจากประเทศกาน่าจากกรมประมง แต่หลังจากนั้นเพียงหนึ่งเดือนก็ได้ระงับการวิจัย
อย่างไรก็ตาม กรมประมงได้ออกมาปฎิเสธคำชี้แจงข้างต้น และยังอธิบายว่าจากการตรวจ DNA ปลาหมอคางดำในประเทศไทย พบว่ามี DNA ตรงกับพ่อแม่ปลาเดียวกันทั้งหมด แม้กรมประมงจะไม่ได้ยืนยัน แต่ก็แย้มพรายถึงความเป็นไปได้ว่า CP Foods เกี่ยวข้องกับการแพร่พันธุ์โดยตรง
แนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลและ CP Foods
- ซื้อปลาหมอคางดำที่จับได้ในพื้นที่ๆได้รับความเสียหายจากการแพร่พันธุ์
- ปล่อยปลากระพงหรือปลาอื่นที่กินเนื้อปลาด้วยกันลงไปช่วยกำจัด
- ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย พัฒนาอาหารที่ทำจากปลาหมอคางดำ
- ปล่อยปลาหมอคางดำที่ถูกแปลง DNA ไม่ให้ขยายพันธุ์ลงน้ำ
- วางแผนการควบคุมจำนวนปลาระยะยาว
- พัฒนาอุปกรณ์จับปลาหมอคางดำโดยเฉพาะ
การลงมือแก้ปัญหาของรัฐบาล
รัฐบาลได้ออกมาประกาศ “การทำสงครามเต็มตัว” กับปลาหมอคางดำเมื่อเดือนกรกฎาคม ด้วยการลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เช่นกำลังพิจารณารับซื้อปลาหมอคางดำในราคาที่สูงกว่าตลาดราว 7-10 บาท การแปลง DNA พัฒนาปลาหมอคางดำให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ และปล่อยลงน้ำราวกว่า 250,000 ตัว ฯลฯ
ต่อแนวทางข้างต้น CP Foods ได้ออกมาแสดงความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาล เช่นจะสนับสนุนการซื้อปลาหมอคางดำเป็นจำนวน 2 ล้านกิโลกรัม การพัฒนาอาหารที่ทำจากปลาหมอคางดำ และการปล่อยปลาที่เป็นศัตรูกับมัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ณ จุดนี้ยังไม่เป็นที่กระจ่างว่าต้นเหตุของการแพร่พันธุ์อย่างหนักนั้นมาจากอะไร หากไม่สามารถหาต้นตอของการกระจายพันธุ์ปลาจากท้องถิ่นอื่นได้ท่ามกลางการแพร่ขยายอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ก็เป็นไปได้สูงว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา (รายงานโดย Mr. Inoue Kousuke/Bangkok)
ที่มา : Nihon Keizai Shimbun วันที่ 12 สิงหาคม 2024
https://www.nikkei.com/article/DGXZQOGS07DVE0X00C24A8000000/
.....


BIOTHAI
17 hours ago
·
Nikkei Asia สื่อใหญ่ญี่ปุ่นพาดหัว "ไทยเผชิญปัญหาปลานิลรุกรานจากแอฟริกา ขณะที่ซีพีปัดไม่ใช่ความผิดของตน"
++++++
รายงานข่าวกล่าวโทษบริษัทในเครือ CP Foods ที่นำ blackchin tilapia เข้ามาในประเทศไทยในปี 2553 เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัย บริษัทได้โต้แย้งสิ่งที่เรียกว่า "ข้อมูลเท็จ" เกี่ยวกับเรื่องนี้
แต่ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม CP Foods ไม่ได้เข้าร่วมการพิจารณาของคณะอนุกรรมการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตอบคำถาม ทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นท่ามกลางการคาดเดาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของบริษัทกับสัตว์รุกรานนี้ สมาชิกคณะอนุกรรมการคนหนึ่งแย้มว่าอาจมีการดำเนินคดีต่อบริษัทที่เกี่ยวข้อง
CP Foods กล่าวว่าได้รับอนุญาตจากกรมประมงของไทยให้สามารถนำเข้า blackchin tilapia จากประเทศกานาเพื่อใช้ในการวิจัย แต่การวิจัยดังกล่าวถูกยกเลิกหลังจากปลาจำนวนมากตายไปประมาณหนึ่งเดือนต่อมา ตามที่บริษัทระบุ CP Foods กล่าวว่าได้ส่งเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรถึงกรมประมงเพื่ออธิบายลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
กรมประมงได้โต้แย้งข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่าผลการทดสอบดีเอ็นเอแสดงให้เห็นว่าปลานิลดำทั้งหมดที่พบในประเทศไทยมีต้นกำเนิดจากพ่อแม่พันธุ์กลุ่มเดียวกัน
+++++
อ่านเต็มๆจากลิงค์ในคอมเม้นท์

BIOTHAI
https://asia.nikkei.com/.../Thailand-grapples-with...