วันอาทิตย์, สิงหาคม 25, 2567

หลายคนคงสงสัย ประมวลน้ำก้อนนี้จากเชียงรายพะเยาน่านและแพร่ จะลงต่ำถึงภาคกลางหรือไม่ เปิดเส้นทางน้ำเหนือ มวลน้ำก่อนใหญ่จะไหลไปถึงไหน



เปิดเส้นทางน้ำเหนือ มวลน้ำก่อนใหญ่จะไหลไปถึงไหน

August 24, 2024
Local ThaiPBS

หลายคนคงสงสัย ประมวลน้ำก้อนนี้จากเชียงรายพะเยาน่านและแพร่ จะลงต่ำถึงภาคกลางหรือไม่

ชวนเข้าใจผ่านภาพอินโฟกราฟฟิกนี้

ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2567 จากศูนย์ข้อมูลด้านการจัดการน้ำ กรมชลประทาน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเชียงรายและพะเยามีสายน้ำสำคัญ น้ำกกและน้ำอิง ซึ่งสองสายน้ำนี้ไหลผ่านสองจังหวัดซึ่งอันนี้หายห่วงได้เพราะสองสายนี้จะไหลลงสู่น้ำโขงในที่สุด แต่ว่าการไหลกว่าจะถึงน้ำโขงก็ผ่านหลายพื้นที่ซึ่งก็เอ่อล้นความเสียหายตามภาพข่าวที่เห็น
.
แต่ว่าสายน้ำที่สำคัญที่อาจจะกระทบภาคเหนือตอนล่างรวมถึงภาคกลางในอนาคตนั่นก็คือลำน้ำยม กับลำน้ำน่าน
.
น้ำน่านไหลจากตอนบนของจังหวัดน่านซึ่งสร้างความเสียหายให้กับหลายอำเภอรวมถึงเมืองเมืองน่านอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเมื่อมวลน้ำไหลท่วม ตัวเมืองน่านแล้วพื้นที่รับน้ำถัดไปคืออำเภอเวียงสาซึ่งเป็นอำเภอสุดท้ายของจังหวัดน่านก่อนที่มวลน้ำนี้จะไหลลงสู่เขื่อนสิริกิติ์ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์ยังคงรับน้ำได้อยู่ล่าสุดระดับน้ำในเขื่อนสิริกิติ์อยู่ที่ 63%
.
ส่วนลำน้ำยม ที่ท่วมจังหวัดแพร่อยู่ในขณะนี้ต้นกำเนิดอยู่ในจังหวัดพะเยาและสองวันที่ผ่านมาไหลเข้าท่วมอำเภอสองจังหวัดแพร่ก่อนที่จะไหลเข้าท่วมในเขตอำเภอเมืองแพร่ ซึ่งระดับสูงสุดผ่านมาแล้วเมื่อช่วงตอนสองทุ่มที่ผ่านมา (23 กุมภาพันธุ์ 2567)
.
มวลน้ำไหลอยู่ราว 1500 ลบ.ม./วิ ขณะที่ตัวเมืองแพร่ รับน้ำได้อยู่ราว 1300 ลบ.ม./วิ มวลน้ำก้อนนี้จะไหลต่อไปยังอำเภอวังชิ้นจังหวัดแพร่ซึ่งระหว่างทางสร้างความเสียหายอีกแน่นอน

ถัดจากนี้มวลน้ำก้อนนี้จะไหลลงไปยังจังหวัดสุโขทัยซึ่งเป็นจังหวัดที่น่ากังวลมากเพราะที่ผ่านมาจังหวัดสุโขทัยถูกน้ำยมไหลเอ่อเข้าท่วมมาโดยตลอด
.
จากการคาดการณ์มวลน้ำราว 1500 ลบ.ม./วิ จะถูกตัดจำนวนบ้างส่วนออกไปสู่แม่น้ำน่านผ่านคลองผันน้ำ(สีเขียว) คลองหกบาท ทางด้านล่างของจังหวัดอุตรดิตถ์หรือตอนบนของจังหวัดพิษณุโลกโดยไม่ผ่านเขื่อนสิริกิติ์ นั่นหมายความว่ามวลน้ำก้อนนี้จะถูกแบ่ง โดยก้อนน้ำขนาดใหญ่ยังจะไหลผ่านไปยังจังหวัดจังหวัดสุโขทัย แต่การคาดการณ์ว่าการผันน้ำผ่านคลองหกบาท น่าจะทำเพียงได้ 300+++ ลบ.ม./วิ เท่านั้น
.
นั่นหมายความว่ายังเหลือมวลน้ำอีก 1200 ลบ.ม./วิ ที่จะไหลเข้าสู่ตัวเมืองสุโขทัยในที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะล้นขันกั้นน้ำที่จังหวัดสุโขทัยมีอยู่ หากใครนึกภาพไม่ออกลองนึกถึงรางริมน้ำฝน นั่นหมายความว่าหากมีปริมาณน้ำเยอะก็อาจจะล้นขันกั้นน้ำได้ ซึ่งปัจจุบัน

ข้อมูล ระดับน้ำ Y.4 สุโขทัย ข้อมูลวันที่ : 24 สิงหาคม 2567

และมวลน้ำทั้งหมดจะไปบรรจบกันบริเวณจังหวัดพิษณุโลกที่อำเภอบางระกำและเฉลี่ยไหลลงไปที่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดนครสวรรค์ในลำดับถัดไป
.
ซึ่งยังพอมีเวลาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิจิตรและจังหวัดนครสวรรค์รวมถึงจังหวัดสุโขทัยยังมีโอกาสเตรียมรับมือกันได้อยู่

(https://localsthaipbs.net/flood02/ )