วันจันทร์, สิงหาคม 26, 2567

ตุ๊ดส์review เสนอ การลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาเชิงกวิกฤติให้กับประชาชน ควรจะมีองค์ประกอบที่ดี ที่มีมิติประมาณ 3-4 ข้อดังนี้


ตุ๊ดส์review
14h ·

ถอดรหัสความคิด ผ่านการสื่อสารของนักการเมือง จากวิกฤติน้ำท่วม
ถ้าเป็นประชาชนทั่วไป ก็อาจจะมองได้ว่า โอกาสของน้ำท่วมเป็นเพียงช่วงทำคะแนนหาเสียง สร้างภาพของนักการเมืองไทย ที่ลงไปช่วยเหลือประชาชนตกทุกข์ได้ยาก แต่ในมุมของครูด้านการสื่อสารการตลาด และการรณรงค์ มันเป็น campaign communication หรือโอกาสของการ raise awareness ในสังคมที่มีความหมายมากกว่าการถ่ายรูปภาพบริจาค กลับมาอวดบนหน้าสื่อเฉยๆ
เพราะจริงๆแล้ว ลักษณะของการลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาเชิงกวิกฤติให้กับประชาชน ควรจะมีองค์ประกอบที่ดี ที่มีมิติประมาณ 3-4 ข้อดังนี้ครับ
1) Time Spending : ใช้เวลาในพื้นที่มากพอที่จะเรียนรู้ปัญหาของชาวบ้านจริงๆ และสามารถขุดเจอ root cause ของปัญหานั้นๆ ไปจนถึงเจอว่า จะสามารถแก้ปัญหาอย่างไรได้ในระยะยาว มีกระบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์ไปสู่ทางออกของสังคม
2) Community Relations : งานเชื่อมสัมพันธ์กับประชาชน เพื่อสร้างพลังที่แข็งแกร่ง ให้ชุมชมสามารถเป็นสะพานของความช่วยเหลือ รับเรื่องร้องทุกข์ และทำให้เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างตัวผู้มีอำนาจ กับชาวบ้าน
3) Public Speaker : ผู้มีอำนาจที่เข้าไปในพื้นที่ ต้องมีบทบาทเป็นผู้สื่อสารประเด็นสาธารณะของประชาชน และสามารถที่จะเป็นปากเสียงแทนประชาชนได้ถึงความทุกข์ร้อน และเข้าใจปัญหาของประชาชนจริงๆ
4) Policy to Change / Problem Solution : ต้องสามารถขับเคลื่อนนโยบาย และแก้ไขเปลี่ยนแปลงปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อมีอำนาจแล้ว สามารถสร้างความยั่งยืนให้ปัญหาไม่เกิดซ้ำ ทำให้ประชาชนได้รับการบรรเทาปัญหาแบบหายขาด
ผลลัพธ์ก็คือ "ประชาชนได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถที่จะดำรงชีวิตได้ปกติสุข โดยไม่เกิดปัญหาวน loop อีก"
ขอยกตัวอย่าง
- 'ธนาธร' ตั้งใจใช้เวลาลงพื้นที่ และศึกษาข้อมูลท้องถิ่นทั้งหมด จนเขาสรุปได้ว่า ควรจะต้องเสนอตัดงบโครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว – โครงการแก้น้ำท่วมนครศรีธรรมราช งบรวมสูงถึง 9.5 พันล้านบาท แต่แก้ปัญหาไม่ได้จริง เป็นเพียงการจัดตั้งงบประมาณที่ผลาญภาษี แต่ไม่ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมโดยตรง ประชาชนจะยังเจอน้ำท่วมเหมือนเดิม ต่อให้สร้างเสร็จก็ตาม
จริงๆแล้ว พื้นที่โครงการยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้และกรมอุทยาน และการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรือ IEE ยังไม่แล้วเสร็จก่อนการมาของบประมาณ นั่นหมายความว่ายังบูรณาการระหว่างหน่วยงานไม่เรียบร้อย แต่ดันมาตั้งงบประมาณจัดทำโครงการ
เขาพบว่า บริเวณโดยรอบของโครงการที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว พื้นที่โดยรอบมีอ่างเก็บน้ำอีกจำนวนถึง 4 แห่ง คือ แห่งแรกห่างไปอีก 2 กิโลเมตรมีที่กักเก็บน้ำคลองสะตอ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ชำรุดและไม่มีการดูแลรักษา รวมถึงไม่มีการใช้ประโยชน์น้ำที่กักเก็บไว้ แห่งที่สองห่างไปอีก 3 กิโลเมตร มีอ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน ที่ปัจจุบันโครงการสร้างเสร็จแล้วแต่มีปัญหาคือไม่ได้วางระบบส่งน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำ แห่งที่สาม ห่างไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร มีฝายคลองท่ายูง โดยฝายท่ายูงสภาพทั่วไปมีสภาพชำรุดและขาดการดูแลรักษา และแห่งที่สี่มีอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง ห่างออกไปประมาณ 14 กิโลเมตร ซึ่งสภาพของอ่างเก็บน้ำแห่งนี้แม้จะสร้างเสร็จแล้วแต่ระบบส่งน้ำ ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จะเห็นได้ว่าในพื้นที่มีแหล่งเก็บน้ำอื่นๆ อยู่แล้วแต่ไม่ได้มีการบริหารจัดการที่ดีให้สามารถนำอ่างเก็บน้ำเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
- 'พิธา' ลงพื้นที่น้ำท่วม เพื่ออาศัยจังหวะนี้ บอกเล่าถึงวาระแห่งชาติ ที่เขาอยากเสนอนโยบายของพรรคก้าวไกล "สิ่งแวดล้อมก้าวหน้า"
โดยเขาสร้างภาพจำ จากการเอาโพเดียมไปวางกลางน้ำท่วม ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการแถลงการณ์ของรัฐมนตรีการต่างประเทศตูวาลู
พิธาเชื่อว่าปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องใกล้ตัว และถึงเวลาแล้วที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยนโยบายที่เปลี่ยนแปลงประเทศในระยะยาว เพื่อแก้วิกฤติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ได้แก่
- ต้องขจัดการเผาใหม้ในเกษตรกรรมของชาวบ้านใน 3 ปี
- กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- มีรถเมล์ไฟฟ้าในทุกจังหวัด ภายใน 7 ปี
- ขยะอาหารมีมูลค่า แลกสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยขยะเหลือทิ้ง 1 กิโลกรัม แลกได้ 1 บาท
- สร้างเสรี Solar Cells เปลี่ยนหลังคาเป็นรายได้ ส่งเสริมไฟฟ้าพลังงานสะอาด
- ต้นไมบำนาญ ปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างรายได้รายเดือนให้ประชาชน
- โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ เป้าลดก๊าซเรือนกระจก Net Zero ในปี 2050
จะสังเกตว่าพิธาใช้วาระนี้ในการประกาศต่อสู้กับภัยพิบัติ ด้วยการทำสิ่งแวดล้อมของประเทศให้ดีขึ้น แล้ววิกฤติน้ำท่วม จะถูกบรรเทาลงไปได้เอง ในวันที่สิ่งแวดล้อมกลับมาดูแลเราได้ เป็นวิธีคิดของผู้นำที่เห็นคุณค่าของการผลักดันเรื่องการดูแลธรรมชาติ และใส่ใจกับการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด โดยมองเรื่องความยั่งยืนเป็นหัวใจ
=====
แต่น่าเสียดายที่ ทั้งธนาธร และพิธา ต่างเป็นผู้นำที่มีแต่ไอเดียที่ดี แต่เขาไร้อำนาจที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงประเทศได้ด้วยตัวเขาเอง แม้กระทั่งจะเข้าไปอยู่ในสภา นี่แหละคือโอกาสที่สูญเสียไปของคนไทยทั้งประเทศ
สิ่งที่เราอยากจะตอกย้ำคือ การไปลงพื้นที่น้ำท่วม มันมีคุณค่ามากกว่าแค่การเข้าไปสร้างภาพเชิงอารมณ์ ที่เพียงแค่ให้ขวัญและกำลังใจ ให้การบริจาคที่ดูงดงามเป็นครั้งคราว แต่ในระยะยาวประเทศยังวน loop ติดกับดักปัญหาเดิม โดยที่ผู้คนที่เข้าไป ไม่ได้คิดแก้ปัญหาระยะยาวใดๆ ไปทั้งที่ควรถอดรหัสออกมาเป็น "Solution" ที่ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด เพื่อไม่ให้ปีหน้า ปีต่อๆไป ต้องมีภาพใครไปทำมาหากินกับภาพลักษณ์บนวิกฤติน้ำท่วมอีก
นี่คือความคิดของคนที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศจริงๆ ที่คิดไกลกว่าแค่รักษาอำนาจไว้ แต่กดหัวประชาชนให้อย่ท่ามกลางวิกฤติทุกปี วนเวียนกับการบริจาคไปเรื่อยๆ โดยไม่ใช้สมองแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด
สุดท้าย กรรมจะตกเป็นของประชาชน ที่เจอน้ำท่วมหนักไปเรื่อยๆ โดยที่สิ่งแวดล้อมของประเทศไม่ได้ดีขึ้นเลย จริงๆแล้ว เราสามารถสร้างประเด็นสาธารณะ และมีนโยบายที่แข็งแรงกว่านี้ได้ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ดีกว่าบริจาคไปวันๆ
ลองถามตัวเองว่า "ปัญหาที่ควรจะแก้ได้ แต่รัฐบาลไหนๆก็ไม่เคยแก้ให้มันดีพอ เขาจะเก็บน้ำท่วมไว้ทำไม? ก็เพราะวิกฤตินี้มันมีประโยชน์กับเขายังไงล่ะ มันเลยไม่หายขาดเสียที"
'กดให้ลำบากยากจน แล้วแจก'
Strategy เดิมๆ ที่ไม่เคยแก้ปัญหายั่งยืนเลย คนไทยก็ซาบซึ้งกันไป เสียโอกาส เสียเงินทอง และพลาดอนาคตที่ดีไปเท่าไหร่แล้ว จากน้ำท่วมที่พัดพาเอาชีวิตพังๆมาให้ประชาชน
หวังว่าพวกเราจะถอดรหัสได้เสียทีว่า นักการเมืองที่ดี คงไม่แค่อนุมัติงบเป็นพันล้านเพื่อสร้างเขื่อนกินส่วนต่างไปวันๆ แต่จะไปหาทางอนุรักษ์ และสร้างสรรค์ประเทศให้สิ่งแวดล้อมเราดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ต่างหาก
(ปล. จริงๆ ยิ่งสร้างเขื่อน น้ำยิ่งท่วม มันบริหารน้ำผิดวิธี คุณทำลายพื้นที่ป่าไปเท่าไหร่แล้ว รัฐเขารู้ดีว่ามันไม่ช่วย แต่เงินมันหอมหวาน!)
#ตุ๊ดส์review