วันศุกร์, สิงหาคม 30, 2567

Hate Speech : หยกโดนหนักที่สุด ทั้งที่มีอายุน้อยที่สุด สะท้อนลักษณะสังคม ที่นิยมการกดขี่ผู้อ่อนแอที่สุด


  • hate speech ที่พบมากที่สุดคือ การโจมตีบุคลิกลักษณะ 197 ชิ้น ซึ่งเป็นการโจมตีลักษณะทางกายภาพไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา
  • บุคคลที่ถูกคอมเมนต์โจมตีด้วย hate speech ประเภทบุคลิกลักษณะมากที่สุดโดยสัดส่วน คือโพสต์ที่คาบเกี่ยวระหว่าง หยก-ธนลภย์ ผลัญชัย, บุ้ง-เนติพร เสน่ห์สังคม และ ทิชา ณ นคร
.....

ภัควดี วีระภาสพงษ์
15 hours ago
·
หยกโดนหนักที่สุด ทั้งที่การมีอายุน้อยที่สุดควรเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่น่าจะยกเว้นการบุลลี่ แต่กลับกลายเป็นเธอโดนหนักที่สุด สะท้อนลักษณะสังคมที่นิยมการกดขี่ผู้อ่อนแอที่สุด


Rocket Media Lab
16 hours ago
·
Hate Speech ที่พบเป็นอันดับสอง คือ การโจมตีอุดมการณ์ทางการเมือง
.
ประเภทของ hate speech ที่พบมากรองจากการโจมตีบุคลิกลักษณะ คือ การโจมตีอุดมการณ์ทางการเมือง 149 ครั้ง เช่น พวกลัทธิคอมมูนิส, ผลผลิตของพรรคส้ม, คิดร้ายต่อสถาบัน มันคือกบฎ ฯลฯ โดยบุคคลที่ถูกคอมเมนต์โจมตีมากที่สุดของ hate speech ประเภทนี้โดยสัดส่วนคือ ป้อง ณวัฒน์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโพสต์ที่พูดถึงป้อง ณวัฒน์ มีเพียง 1 โพสต์ จึงจะพิจารณาที่ลำดับถัดไป ได้แก่ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย จำนวน 13 จาก 16 โพสต์ ตามด้วย เฌอเอม 7 จาก 10 โพสต์ และ โพสต์ที่คาบเกี่ยวระหว่างหยก-ธนลภย์ ผลัญชัยและบุ้ง-เนติพร เสน่ห์สังคม 38 จาก 65 โพสต์ ตามด้วย อานนท์ นำภา 18 จาก 34 โพสต์ นอกจากนี้ พบว่า แพรรี่-ไพรวัลย์ วรรณบุตร ไม่ถูกโจมตีด้วย hate speech ประเภทอุดมการณ์ทางการเมืองเลย อันเนื่องมาจากประเด็นความเคลื่อนไหวของแพรรี่-ไพรวัลย์ วรรณบุตร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองโดยตรง ส่วนมากมักจะเป็นเรื่องพุทธศาสนาและสิทธิมนุษยชน
.
อย่างไรก็ตาม การที่การศึกษาครั้งนี้พบ hate speech ประเภทอุดมการณ์ทางการเมืองมากเป็นอันดับสอง อาจเป็นเพราะว่าบุคคลที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นผู้ที่สื่อสารประเด็นสาธารณะ ทั้งนักกิจกรรม องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และนักแสดง และประเด็นที่ก่อให้เกิดโพสต์เนื้อหาต่างๆ ส่วนมากก็เป็นประเด็นทางการเมือง ถึงอย่างนั้น ก็มีความน่าสนใจอยู่ว่า การโจมตีด้วยประเด็นเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง กลายมาเป็น hate speech ก็เพราะเป็นการทำให้คนเป็นอื่นด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองที่ขัดกับอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งการใช้ถ้อยคำ hate speech ในโซเชียลมีเดีย อาจนำไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพได้ ดังที่เคยมีตัวอย่างมาแล้วในอดีต
.
อ่านทั้งหมดได้ที่ https://rocketmedialab.co/hate-speech/

* Rocket Media Lab เก็บข้อมูลจากความเห็นท้ายโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่สื่อสารประเด็นสาธารณะ ทั้งนักกิจกรรม องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และนักแสดง 10 คน ใน Facebook และ TikTok จากเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงปี 2566 และก่อนหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของ hate speech ที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่สื่อสารประเด็นสาธารณะในโซเชียลมีเดีย