ที่มา เนชั่นออนไลน์
มือดี ยื่นคำร้อง กกต. ขอให้ "ยุบพรรคเพื่อไทย" ตั้งแต่ 19 สิงหาคม ผลพวงคำวินิจฉัยศาลรธน. มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ "ทักษิณ" ใช้ "เศรษฐา" ครอบงำพรรคแต่งตั้งรมต.
25 สิงหาคม 25667 สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2567 มีผู้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่ง"ยุบพรรคเพื่อไทย" เช่นเดียวกับที่ กกต. เคยยื่นเรื่องให้"ยุบพรรคก้าวไกล"
โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและไม่ต้องสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคเพื่อไทยยินยอมให้บุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกชี้นำกิจกรรมของพรรค อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบ
หนังสือร้องเรียนดังกล่าวระบุว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องพิจารณาที่ 17/2567 ได้ฟังข้อเท็จจริงตอนหนึ่งว่า "ข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา ทวีสิน) มีพฤติการณ์อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5) โดยกล่าวหาว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) เข้าพบ "บุคคล" ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 2 (นายพิชิต ชื่นบาน) เป็นหัวหน้าทนายความประจำตัว
มือดี ยื่นคำร้อง กกต. ขอให้ "ยุบพรรคเพื่อไทย" ตั้งแต่ 19 สิงหาคม ผลพวงคำวินิจฉัยศาลรธน. มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ "ทักษิณ" ใช้ "เศรษฐา" ครอบงำพรรคแต่งตั้งรมต.
25 สิงหาคม 25667 สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2567 มีผู้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่ง"ยุบพรรคเพื่อไทย" เช่นเดียวกับที่ กกต. เคยยื่นเรื่องให้"ยุบพรรคก้าวไกล"
โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและไม่ต้องสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคเพื่อไทยยินยอมให้บุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกชี้นำกิจกรรมของพรรค อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบ
หนังสือร้องเรียนดังกล่าวระบุว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องพิจารณาที่ 17/2567 ได้ฟังข้อเท็จจริงตอนหนึ่งว่า "ข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา ทวีสิน) มีพฤติการณ์อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5) โดยกล่าวหาว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) เข้าพบ "บุคคล" ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 2 (นายพิชิต ชื่นบาน) เป็นหัวหน้าทนายความประจำตัว
จึงเป็นมูลเหตุจูงใจทำให้ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) ต้องการเอื้อประโยชน์ให้แก่ "บุคคล" ดังกล่าว และหลังจากผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) เข้าพบ "บุคคล" ดังกล่าวแล้ว ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) นำความกราบบังคมทูลเพื่อเสนอแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ 2 (นายพิชิต) เป็นรัฐมนตรี ทั้งที่เคยถอนชื่อ หรือขอให้ผู้ถูกร้องที่ 2 (นายพิชิต) ถอนชื่อจากบัญชีเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี ในการเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566
เป็นพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง รวมทั้งรู้เห็นยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 2 (นายพิชิต) หรือ “ผู้อื่น” ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) เพื่อให้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีโดยมิชอบ....."
ผู้ร้องเรียนยังกล่าวอ้างในหนังสือว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นฐานแห่งข้อเท็จจริงที่สำคัญทำให้เห็นถึงการยินยอมของ"นายเศรษฐา ทวีสิน" ให้ผู้อื่น (นายทักษิณ ชินวัตร) ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเพื่อกระทำการโดยมิชอบ และทำให้เห็นว่า"นายทักษิณ ชินวัตร" มีเจตนาชี้นำผ่าน"นายเศรษฐา ทวีสิน"ไปยังพรรคเพื่อไทย เนื่องจากการเสนอบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย "นายเศรษฐา ทวีสิน"ไม่มีอำนาจดำเนินการได้โดยลำพัง แต่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยจะต้องรับรู้หรือเห็นชอบในการเสนอบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในโควต้าของพรรคเพื่อไทย ซึ่ง"นายทักษิณ ชินวัตร" ก็รู้ถึงขั้นตอนนี้เนื่องจากเคยเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองมาก่อน ดังนั้น การที่นาย"ทักษิณ ชินวัตร" ชี้นำ "นายเศรษฐา ทวีสิน"จึงมีเจตนาชี้นำผ่าน "นายเศรษฐา ทวีสิน"ไปยังคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญฟังข้อเท็จจริงว่า"นายเศรษฐา ทวีสิน" เสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับ "นายทักษิณ ชินวัตร" จึงเป็นการที่ "นายเศรษฐา ทวีสิน"ยินยอมดำเนินการตามที่นายทักษิณ ชินวัตร ต้องการเพื่อประโยชน์ของ"นายทักษิณ ชินวัตร"หรือยินยอมตามการชี้นำของ"นายทักษิณ ชินวัตร" แม้จะเคยเห็นว่าไม่ถูกต้อง โดยนำเอาความต้องการของ"นายทักษิณ ชินวัตร"ไปดำเนินการให้พรรคเพื่อไทยเห็นชอบตามข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยเพื่อให้บรรลุผลตามความต้องการของ"นายทักษิณ ชินวัตร" และคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยควรรู้ว่าการเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีคนดังกล่าวมาจากการชี้นำของ"นายทักษิณ ชินวัตร"เนื่องจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคือ "นางสาวแพทองธาร ชินวัตร" เป็นบุตรสาว"นายทักษิณ ชินวัตร"
โดยปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนต่าง ๆ อย่างแพร่หลายว่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 "นายเศรษฐา ทวีสิน"นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย (ในขณะนั้น) ได้เข้าพบนาย "ทักษิณ ชินวัตร" เพื่อรดน้ำขอพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า บ้านพักของ"นายทักษิณ ชินวัตร" ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่"นายเศรษฐา ทวีสิน" จะต้องตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้น"นายเศรษฐา ทวีสิน" ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อเสนอแต่งตั้ง"นายพิชิต ชื่นบาน" เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี วันที่ 27 เมษายน 2567
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงกลางระหว่างช่วงเวลาที่"นายเศรษฐา ทวีสิน" เข้าพบ"นายทักษิณ ชินวัตร" กับช่วงเวลาก่อนที่นายเศรษฐา ทวีสิน กราบบังคมทูลเสนอแต่งตั้ง "นายพิชิต ชื่นบาน" เป็นรัฐมนตรี "นายเศรษฐา ทวีสิน"จะต้องแจ้งไปยังคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยเพื่อให้ดำเนินการตามข้อบังคับของพรรคเพื่อไทยในเรื่องการคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเสียก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูล แม้ว่า "นายเศรษฐา ทวีสิน" ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะมีอำนาจในการเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี ก็ตาม
แต่ด้วยเหตุที่"นายเศรษฐา ทวีสิน"เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเสนอชื่อหรือเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ดังนั้น การคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่เป็นโควต้าของพรรคเพื่อไทย "นายเศรษฐา ทวีสิน" จะต้องดำเนินการตามข้อบังคับพรรคเพื่อไทย โดยจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
จากข้อเท็จจริงที่ศาลรัฐธรรมนูญรับฟัง แสดงให้เห็นว่า "นายเศรษฐา ทวีสิน" ยอมรับการชี้นำของ"นายทักษิณ ชินวัตร" ที่ชี้นำให้เสนอแต่งตั้ง "นายพิชิต ชื่นบาน" เป็นรัฐมนตรี แต่ไม่อาจดำเนินการได้โดยลำพัง จึงต้องนำเอาการชี้นำของ "นายทักษิณ ชินวัตร" แจ้งต่อคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ให้ยินยอมตามการชี้นำของ"นายทักษิณ ชินวัตร"ด้วย ประกอบกับคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย มี"นางสาวแพทองธาร ชินวัตร"(นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน) บุตรสาวนายทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค จึงทำให้การชี้นำพรรคเพื่อไทยของ"นายทักษิณ ชินวัตร"ไม่มีข้อติดขัด
ดังนั้นคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยจึงย่อมจะต้องรับรู้และยินยอมต่อการชี้นำของนายทักษิณ ชินวัตร" ซึ่งเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกพรรค แม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม
เรื่องนี้ "นายเศรษฐา ทวีสิน" หรือคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ได้เคยแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการเสนอแต่งตั้ง"นายพิชิต ชื่นบาน" เป็นรัฐมนตรีมาก่อน โดยในครั้งนั้นเป็นช่วงเวลาที่นายทักษิณ ชินวัตร มีสถานะเป็นผู้ต้องขังถูกควบคุมตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ จึงทำให้การชี้นำไม่สำเร็จ แต่ในครั้งนี้"นายทักษิณ ชินวัตร" ได้รับการปล่อยตัวมาอยู่ที่บ้านพักแล้วและ"นายเศรษฐา ทวีสิน" ได้เข้าไปพบที่บ้านพักและพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด
ตามที่ปรากฏภาพข่าว"นายเศรษฐา ทวีสิน" คุกเข่ารดน้ำขอพร "นายทักษิณ ชินวัตร" จึงทำให้การชี้นำประสบความสำเร็จ การชี้นำของ "นายทักษิณ ชินวัตร"ที่ทำสำเร็จครั้งนี้ ทำให้พรรคเพื่อไทยหรือสมาชิกขาดความอิสระไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ เข้ารดน้ำอวยพร ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
ผู้ร้อง ยังระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวของพรรคเพื่อไทย เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้พรรคการเมืองกระทำ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 28 จะเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) และการกระทำของ"นายทักษิณ ชินวัตร" เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตาม มาตรา 29 ที่ มีโทษปรับและจำคุก ตามมาตรา 108
นอกจากนี้ ผู้ร้องยังระบุว่ามีเหตุการณ์หรือพฤติการณ์ที่แสดงถึงการยินยอมของพรรคเพื่อไทย ให้ "นายทักษิณ ชินวัตร"ที่เป็นบุคคลอื่นที่ไม่เป็นสมาชิก ชี้นำกิจกรรมของพรรค โดยปรากฏชัดต่อสาธารณชนและสื่อมวลชนโดยทั่วไป ซึ่งทำให้วิญญูชนทั่วไปเข้าใจได้ชัดเจนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ชี้นำกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย ทำให้พรรคเพื่อไทยขาดความอิสระ ได้แก่ เหตุการณ์และพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์และการยอมรับการชี้นำจาก"นายทักษิณ ชินวัตร"ของพรรคเพื่อไทย ในช่วงเวลาหลังจาก"นายทักษิณ ชินวัตร" เดินทางกลับมาประเทศไทย
โดยที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ซึ่งตามข้อบังคับจะต้องมีองค์ประชุมประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเข้าร่วมประชุม ช่วงแรกของการประชุมได้นำวิดีโอมาฉายให้สมาชิกรับชมในที่ประชุม
โดยมีเนื้อหาสำคัญส่วนหนึ่งเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และคำกล่าวของ"นายทักษิณ ชินวัตร"ในลักษณะให้โอวาทแก่สมาชิกพรรคเพื่อไทย โดย "นายทักษิณ ชินวัตร" ได้ชี้นำต่อสมาชิกพรรคเพื่อไทยและกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยว่า 1) ต้องเข้าถึงประชาชนทั้งด้วยตนเองหรือด้วยสื่อ 2) อย่าเป็นคนที่ไม่เข้าถึงประชาชน 3) ต้องสะท้อนปัญหาในสภาแม้ไม่ใช่ผู้บริหาร 4) ส.ส.เพื่อไทยต้องเข้าถึงประชาชน 5) การทำงานในสภาต้องเข้มแข็ง 6) ต้องเป็นนักการเมืองที่รักประชาชน 7) อย่าเสแสร้งแค่ไม่กี่วันหรือหนึ่งเดือนก่อนเลือกตั้ง และ 8) ต้องอยู่กับชาวบ้านให้ได้
การที่พรรคเพื่อไทยนำวิดีโอมาเปิดในที่ประชุมใหญ่ของพรรคก่อนเริ่มกิจกรรมอื่น มีเจตนาให้สมาชิกทุกคนเชื่อฟังและปฏิบัติตามที่นายทักษิณ ชินวัตร ชี้นำ อันเป็นการยินยอมรับการชี้นำของ "นายทักษิณ ชินวัตร"ต่อกิจกรรมของพรรค ซึ่งสมาชิกอาจไม่เห็นด้วยกับแนวทางการเมืองที่ไม่ใช่อนุรักษ์นิยมใหม่และวิธีการทำงานที่"นายทักษิณ ชินวัตร"ชี้นำ แต่อาจต้องปฏิบัติตาม
เนื่องจาก"นายทักษิณ ชินวัตร" เคยเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย สืบต่อมาเป็นพรรคพลังประชาชน และปัจจุบันเป็นพรรคเพื่อไทย อีกทั้งเป็นบิดาของ"นางสาวแพทองธาร ชินวัตร"หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนปัจจุบัน ซึ่งสามารถให้คุณให้โทษต่อสมาชิกในการคัดเลือกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ จึงทำให้สมาชิกขาดความอิสระจากการชี้นำของนายทักษิณ ชินวัตร ปรากฏตามคลิปวิดีโอในเว็ปไซต์ยูทูป
ผู้ร้องเรียนระบุต่อไปว่า นอกจากนี้ "นายชวน หลีกภัย"อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสภาผู้แทนผู้แทนราษฎร เป็นนักการเมืองอาวุโสที่มีภาพลักษณ์ดีในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ได้พูดในรายการคมชัดลึก สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567 ว่า การปรับคณะรัฐมนตรีที่กำลังจะมีขึ้น ได้พูดคุยกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคยอยู่พรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันอยู่กับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะได้ตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนี้หรือไม่ ได้รับคำตอบว่าคนที่จะปรับคณะรัฐมนตรีไม่ใช่นายกรัฐมนตรีคนนี้ แต่เป็นคนนอก.....อันแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลอื่นที่มิใช่คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยครอบงำหรือมีอำนาจเหนือนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคเพื่อไทย และเหนือคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ปรากฏตามคลิปวิดีโอรายการคมชัดลึกในเว็ปไซต์ยูทูป
ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี
หนังสือร้องเรียนดังกล่าวระบุตอนท้ายว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยได้ทันที เนื่องจากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องสอบสวนอีกตามแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องพิจารณาที่ 10/2567 กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล
(https://www.nationtv.tv/politic/378947620)