เมื่อ 7 ชั่วโมงที่แล้ว
บีบีซีไทย
ทัศนะและความเห็นของนายอุดม สิทธิวิรัชธรรม หนึ่งในองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ที่กล่าวถึงการวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล การแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ตลอดจนกรณีวาระดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ นับเป็นการเปิดเผยความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนอกคำวินิจฉัยในที่สาธารณะครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ต่อมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
“จริง ๆ ต้องขอบคุณผมนะ มีการยุบพรรคเขา...ทำให้เขามีเงินเข้าไปตั้ง 20-30 ล้าน ใช่ไหม สมาชิกเก่าเข้าไปจดทะเบียนเป็นสมาชิกตามไปด้วยเห็นไหม ก็ไม่เห็นจะเดือดร้อนตรงไหนเลย” นี่คือบางช่วงบางตอนที่นายอุดม กล่าวถึง การยุบพรรคก้าวไกล และกระบวนการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาชน ก่อนเปิดรับบริจาคเงินจากผู้สนับสนุน
“ยุบปั๊ป เอ้าไปเปิดพรรคใหม่ได้ เอ้า ไม่ข้องใจแล้วหรือ? เมื่อวานร้องไห้อยู่ พรรคเราจะไปแล้ว อย่างนู้นอย่างนี้ โอ้ สองวันเลิก จากน้ำตาเป็นเสียงหัวเราะ 'ยักไหล่แล้วไปต่อ' เงิน 20 ล้าน”
ความเห็นดังกล่าวอยู่ในวิดีโอที่เผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊กของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ซึ่งนายอุดมร่วมเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” ที่สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา
นักกฎหมายหลายคนออกมาตั้งคำถามว่า การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวเป็นไปตาม “มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561” หรือไม่ ซึ่งเป็นมาตรฐานจริยธรรมฯ เดียวกับที่ถูกนำมาใช้เอาผิดนักการเมือง
ส่วนความเคลื่อนไหวจากฝ่ายการเมือง ล่าสุด นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่าเตรียมยื่นญัตติด้วยวาจาต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เพื่อตรวจสอบกรณีดังกล่าว
ทัศนะและความเห็นของนายอุดม สิทธิวิรัชธรรม หนึ่งในองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ที่กล่าวถึงการวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล การแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ตลอดจนกรณีวาระดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ นับเป็นการเปิดเผยความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนอกคำวินิจฉัยในที่สาธารณะครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ต่อมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
“จริง ๆ ต้องขอบคุณผมนะ มีการยุบพรรคเขา...ทำให้เขามีเงินเข้าไปตั้ง 20-30 ล้าน ใช่ไหม สมาชิกเก่าเข้าไปจดทะเบียนเป็นสมาชิกตามไปด้วยเห็นไหม ก็ไม่เห็นจะเดือดร้อนตรงไหนเลย” นี่คือบางช่วงบางตอนที่นายอุดม กล่าวถึง การยุบพรรคก้าวไกล และกระบวนการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาชน ก่อนเปิดรับบริจาคเงินจากผู้สนับสนุน
“ยุบปั๊ป เอ้าไปเปิดพรรคใหม่ได้ เอ้า ไม่ข้องใจแล้วหรือ? เมื่อวานร้องไห้อยู่ พรรคเราจะไปแล้ว อย่างนู้นอย่างนี้ โอ้ สองวันเลิก จากน้ำตาเป็นเสียงหัวเราะ 'ยักไหล่แล้วไปต่อ' เงิน 20 ล้าน”
ความเห็นดังกล่าวอยู่ในวิดีโอที่เผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊กของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ซึ่งนายอุดมร่วมเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” ที่สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา
นักกฎหมายหลายคนออกมาตั้งคำถามว่า การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวเป็นไปตาม “มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561” หรือไม่ ซึ่งเป็นมาตรฐานจริยธรรมฯ เดียวกับที่ถูกนำมาใช้เอาผิดนักการเมือง
ส่วนความเคลื่อนไหวจากฝ่ายการเมือง ล่าสุด นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่าเตรียมยื่นญัตติด้วยวาจาต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เพื่อตรวจสอบกรณีดังกล่าว
ใช้ ม.112 หาเสียง "มีเจตนาซ่อนเร้น" เปิดความเห็นอุดมกล่าวอะไรบ้าง
ความเห็นของนายอุดมที่ตกเป็นที่วิจารณ์เกิดขึ้นหลังจากผู้ดำเนินรายการตั้งคำถามระหว่างการบรรยายว่า "กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบ" คืออะไร นายอุดมตอบคำถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยบอกว่าการแก้ไขเป็นการล้มล้าง สภาแก้ไขกฎหมายได้ แต่ว่าการแก้ไขต้องผ่าน “กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบ” และการตรวจสอบกระบวนการนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญให้อำนาจและหน้าที่แก่ศาลรัฐธรรมนูญไว้ ถ้าคุณไม่สงสัยกัน คุณไม่ส่งมา เราก็ไม่ยุ่ง ก็ใช้กันไป แต่ถ้ามีคนสงสัย หรือมีคนบางคนขอใช้สิทธิซึ่งรัฐธรรมนูญเปิดไว้ ส่งมาถูกต้อง ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องทำ
"กระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบคือ คุณทำอยู่ในสภา ผ่านสภาหรือไม่สภา เขาบอกก็ทำผ่านสภา เราไม่เคยบอกว่าที่คุณทำนั้นขัดรัฐธรรมนูญ แต่ที่คุณโดน คือคุณเอานโยบายจะแก้ตรงนั้นมาหาเสียง ซึ่ง พ.ร.บ.พรรคการเมืองที่ออกระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียงมีข้อที่บอกว่า ห้ามนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ในการหาเสียง ดังนั้น ถามว่านโยบายที่คุณจะยกเลิก 112 จะแก้ไข 112 ตามโครงร่างที่คุณเสนอ มันใช่แก้ไขโดยจริงไหม คุณซ่อนอะไรไว้ไหม ไปอ่านเถอะ ศาลรัฐธรรมนูญเขียนไว้หมด ตีแผ่ความเห็นคุณไว้หมดว่า คุณมีเจตนาซ่อนเร้นอะไร" นายอุดม กล่าว
ต่อมานายอุดม ได้กล่าวเข้าสู่ประเด็นการเสนอแก้ไขมาตรา 112 โดยเริ่มต้นว่า "ผมรับผิดชอบกับคำพูดผมต่อไปนี้" ว่า “อย่างล่าสุด ยุบพรรค บางคนบอกการยุบพรรคไม่เคยเกิดขึ้น มันจะทำให้สถาบันพรรคการเมืองอ่อนแอ จริงเหรอ ยุบสามวัน ตั้งพรรค แถมไม่ใช่ตั้งพรรคใหม่ คุณไปสวมรอย ส่งคนไปฝังอยู่ในพรรคเก่า นี่คือวิธีการที่ดำเนินการทางพรรคการเมืองโดยสุจริตและชอบธรรม จริงหรือ... ใช่ไหม..."
การบรรยายของนายอุดม (คนที่ 3 จากซ้าย) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 15 ส.ค. 2567 ถูกถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊กของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
นายอุดมกล่าวต่อไปว่า ในการที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถมองเข้าไปลึกซึ้ง เห็นถึงเบื้องลึกที่แท้จริง แล้วชี้ออกมาเป็นจุด ๆ ว่า สิ่งที่พรรคอ้างว่ากำลังทำจะนำไปสู่อะไร ไม่ใช่การคาดเดา แต่เป็นสิ่งที่เห็นแล้ว และรัฐธรรมนูญ 2560 เขียนไว้ชัดเจนในมาตรา 49 ที่เขียนขึ้นมาเพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ปกป้องพระมหากษัตริย์โดยตรง เป็นการปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
“การที่คุณไปทำอะไรก็ตาม ที่ในที่สุดแล้วมันอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเป็นพระประมุขในระบอบนี้ มันก็ไม่สามารถเรียกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อาจเป็นระบอบประชาธิปไตยระบอบประธานาธิบดี ระบอบพ่อข้าเป็น ลูกข้าเป็น น้องเขยข้าเป็นก็ได้”
นอกจากนี้นายอุดมยังกล่าวถึงกรณีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ว่า คำว่า นายกฯ ควรเป็นแค่ 8 ปี "การที่คุณจะได้นายกฯ 8 ปี มันสำคัญว่าเขาปกครองได้ดีไหม ถ้าดี... [มาก]กว่า 8 ปี เราก็ให้เป็น" โดยหลังจากนั้นเขาได้ยกตัวอย่างผู้บริหารเทศบาลนครในอดีตที่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ยาวนาน ก่อนระบุว่า "แต่เบื้องหลังที่แท้จริง ถ้าผมมีเงิน ผมเป็นนายทุน ผมไม่ต้องลงไปเป็นนายกฯ เอง ผมปั้นคนนี้ ผมคุมได้ เป็น 8 ปีหยุด ปั้นคนนี้ต่อ เห็นไหมท่านทำได้ ไปอ่านคำวินิจฉัยส่วนตนในเรื่องนายกฯ 8 ปี ผมเขียนไว้"
นายอุดม อ่านคำวินิจฉัยกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน พ้นนายกฯ จากการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ขาดคุณสมบัติ เมื่อ 14 ส.ค. 2567
นักกฎหมายรุมตั้งคำถามเรื่อง "มาตรฐานจริยธรรม"
หลังจากความเห็นของนายอุดม เผยแพร่ต่อสื่อในหลายช่องทาง นักกฎหมายบางส่วนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ศ.(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ ได้โพสต์บนบัญชีเฟซบุ๊ก Tongthong Chandransu ว่า นักกฎหมายต้องระมัดระวัง ไม่ทำงานด้วยอคติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นผู้พิพากษาตุลาการ
"เมื่อตัดสินคดีความอย่างไรไปแล้ว ก็ต้องวางใจเป็นอุเบกขา เพื่อเป็นเครื่องยืนยันบอกกับตัวเองได้ว่า ได้ตัดสินคดีแล้วโดยปราศจากความลำเอียง หากไม่ได้ทำเช่นนั้น แต่ทำตรงกันข้าม ก็ชวนให้คนสงสัยว่า การพิพากษาอรรถคดีที่ผ่านมาได้กระทำโดยปราศจากอคติจริงหรือ"
นักวิชาการนิติศาสตร์อีกสองคน ได้แก่ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ยังเห็นสอดคล้องกันว่า การแสดงความเห็นภายใต้สถานะตุลาการ อยู่ภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ. 2561 หรือไม่ ซึ่งเป็นมาตรฐานจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการตัดสินให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง
"ผมได้เห็นข่าวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง พูดให้ความเห็นเรื่องพรรคที่ท่านยุบไป ในฐานะอาจารย์สอนกฎหมายผมฟังแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจ เพราะไม่เคยได้ยินว่ามีตุลาการหรือผู้พิพากษาท่านใด ตัดสินลงโทษจำเลยไปแล้วมาพูดถึงจำเลยในแบบที่อาจจะเข้าข่ายเป็นการส่อเสียดอย่างนี้มาก่อน" ผศ.ดร.ปริญญา ระบุบนบัญชี Prinya Thaewanarumitkul
ทางด้าน ผศ.ดร.พรสันต์ โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์ม "เอ็กซ์" @pornson ระบุว่า "ผมว่าครั้งนี้งานเข้าศาลรัฐธรรมนูญแล้วล่ะครับ เพราะตุลาการท่านหนึ่งไปแสดงความเห็นแบบไม่คิดเลยว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไรในสถานะความเป็นตุลาการ
อย่าลืมว่ามาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นก็มีนะครับ และที่สำคัญคือฉบับเดียวกันกับที่ท่านใช้วินิจฉัยคดีคุณเศรษฐานั่นแหละ"
นักกฎหมายรุมตั้งคำถามเรื่อง "มาตรฐานจริยธรรม"
หลังจากความเห็นของนายอุดม เผยแพร่ต่อสื่อในหลายช่องทาง นักกฎหมายบางส่วนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ศ.(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ ได้โพสต์บนบัญชีเฟซบุ๊ก Tongthong Chandransu ว่า นักกฎหมายต้องระมัดระวัง ไม่ทำงานด้วยอคติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นผู้พิพากษาตุลาการ
"เมื่อตัดสินคดีความอย่างไรไปแล้ว ก็ต้องวางใจเป็นอุเบกขา เพื่อเป็นเครื่องยืนยันบอกกับตัวเองได้ว่า ได้ตัดสินคดีแล้วโดยปราศจากความลำเอียง หากไม่ได้ทำเช่นนั้น แต่ทำตรงกันข้าม ก็ชวนให้คนสงสัยว่า การพิพากษาอรรถคดีที่ผ่านมาได้กระทำโดยปราศจากอคติจริงหรือ"
นักวิชาการนิติศาสตร์อีกสองคน ได้แก่ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ยังเห็นสอดคล้องกันว่า การแสดงความเห็นภายใต้สถานะตุลาการ อยู่ภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ. 2561 หรือไม่ ซึ่งเป็นมาตรฐานจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการตัดสินให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง
"ผมได้เห็นข่าวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง พูดให้ความเห็นเรื่องพรรคที่ท่านยุบไป ในฐานะอาจารย์สอนกฎหมายผมฟังแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจ เพราะไม่เคยได้ยินว่ามีตุลาการหรือผู้พิพากษาท่านใด ตัดสินลงโทษจำเลยไปแล้วมาพูดถึงจำเลยในแบบที่อาจจะเข้าข่ายเป็นการส่อเสียดอย่างนี้มาก่อน" ผศ.ดร.ปริญญา ระบุบนบัญชี Prinya Thaewanarumitkul
ทางด้าน ผศ.ดร.พรสันต์ โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์ม "เอ็กซ์" @pornson ระบุว่า "ผมว่าครั้งนี้งานเข้าศาลรัฐธรรมนูญแล้วล่ะครับ เพราะตุลาการท่านหนึ่งไปแสดงความเห็นแบบไม่คิดเลยว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไรในสถานะความเป็นตุลาการ
อย่าลืมว่ามาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นก็มีนะครับ และที่สำคัญคือฉบับเดียวกันกับที่ท่านใช้วินิจฉัยคดีคุณเศรษฐานั่นแหละ"
คำเตือน: บีบีซีไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่มาจากภายนอก
กลไกใดใช้ตรวจสอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ด้าน รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับบีบีซีไทยก่อนหน้านี้ ถึงบทบาทที่เพิ่มขึ้นของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญ 2560 เพราะกลไกของวุฒิสภาที่สามารถเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญถูกถอดออกไปจากรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีระบบการกำกับศาลเหมือนกับระบบศาลทั่วไปที่มี 2-3 ชั้น ซึ่งมีการตรวจสอบจากศาลในชั้นที่สูงขึ้น
แต่หากพิจารณาถึงมาตรฐานทางจริยธรรมฯ พ.ศ. 2561 ที่ถูกใช้ในการพิพากษานักการเมืองในหลายกรณีที่ผ่านมา ผศ.ดร.ปริญญา จากคณะนิติศาสตร์ มธ. ชี้ว่า "ทั้งชื่อและเจตนารมณ์ต้องการให้ใช้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเป็นหลัก"
เขาเห็นว่า มาตรฐานจริยธรรม 2 ข้อ ที่ "สำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ" ได้แก่ ข้อ 13 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม เป็นอิสระ เป็นกลาง และปราศจากอคติ โดยไม่หวั่นไหวต่ออิทธิพล กระแสสังคม หรือแรงกดดันอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคํานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมแห่งสถานภาพ และข้อ 23 ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเต็มใจ ให้บริการด้วยความรวดเร็ว เสมอภาค ถูกต้อง โปร่งใส ปราศจากอคติ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นักวิชาการกฎหมาย ยังอธิบายถึงขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญกำหนดในกรณีที่ถ้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ถูกร้องเรียนเรื่องการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม ว่าจะต้องกระทำผ่านช่องทางของมาตรา 234 (1) ซึ่ง กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในการไต่สวนและมีความเห็น โดยต้องมีผู้ร้องไปที่ ป.ป.ช. ก่อนที่ ป.ป.ช. จะลงมติด้วยเสียงข้างมากว่า จะส่งเรื่องต่อไปยังศาลฎีกาหรือไม่
"มาตรฐานจริยธรรม" กับการ “ประหารชีวิตทางการเมือง”
มาตรฐานทางจริยธรรมฯ พ.ศ. 2561 ก่อกำเนิดภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 219 ซึ่งกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ร่วมกันจัดทำขึ้น และให้ใช้บังคับรวมไปถึง สส., สว. และคณะรัฐมนตรี
นับตั้งแต่มาตรฐานจริยธรรมฯ ดังกล่าวถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2561 มาตรฐานทางจริยธรรมฯ พ.ศ. 2561 ถูกนำไปใช้ในการชี้ขาดชะตากรรมทางการเมืองของนักการเมืองมาแล้วหลายราย ทั้งจากศาลฎีกา และกรณีล่าสุด คือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำให้นายเศรษฐา ทวีสิน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในคำวินิจฉัยกรณีนายเศรษฐา ได้อ้างอิงถึงมาตรฐานจริยธรรมฯ หมวด 1 ข้อ 8 ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งมาตรฐานจริยธรรม ข้อ 27 วรรคหนึ่ง กำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 1 ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ที่ผ่านมา มีนักการเมืองอย่างน้อย 5 คน ถูก “ประหารชีวิตทางการเมือง" ตัดสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีพ ด้วยมาตรฐานจริยธรรมฯ ชุดนี้ ได้แก่
ปารีณา ไกรคุปต์ สส. พลังประชารัฐ (2565)
โทษ: ศาลฎีกาสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง สส., เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ, เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
พฤติการณ์: ถูกกล่าวหาครอบครองที่ดินปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จ.ราชบุรี โดยมิชอบ จากกรณีฟาร์มไก่
มาตรฐานจริยธรรมที่ถูกใช้พิจารณา: ข้อ 3 บังคับใช้กับ สส.
ข้อ 17 ไม่กระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดํารงตําแหน่ง (หมวด 2 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก)
ข้อ 27 วรรคสอง การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมในหมวด 2 และ 3 ที่ให้อำนาจศาลพิจารณาว่ามีลักษณะที่ร้ายแรง
กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ พรรคภูมิใจไทย (2566)
โทษ: ศาลฎีกาสั่งให้พ้นตำแหน่ง รมช.ศธ., เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ, เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
พฤติการณ์: ถูกกล่าวหาครอบครองโฉนดโดยมิชอบจากการรุกป่าเขาใหญ่ในเขต อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
มาตรฐานจริยธรรมที่ถูกใช้พิจารณา: ข้อ 8 ประกอบข้อ 27 วรรคหนึ่ง และข้อ 17 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง
ข้อ 8 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบฯ (หมวด 1 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ถือว่าเป็นความผิดที่มี "ลักษณะร้ายแรง)
ข้อ 17 ไม่กระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดํารงตําแหน่ง (หมวด 2 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก)
พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีต สส. อนาคตใหม่ (2566)
โทษ: ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งตลอดไป รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ
พฤติการณ์: ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพถ่ายพาดพิงสถาบันกษัตริย์บนโซเชียลมีเดีย โดยนายศรีสุวรรณ จรรยา เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ขณะยังเป็น สส. เมื่อปี 2562
มาตรฐานจริยธรรมที่ถูกใช้พิจารณา: ข้อ 6 ประกอบ ข้อ 27 วรรคหนึ่ง
ข้อ 6 ระบุว่า ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งอยู่ในหมวด 1 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ถือว่าเป็นความผิดที่มี "ลักษณะร้ายแรง” ตามข้อ 27 วรรคหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีกรณีของการเสียบบัตรแทนกันของ สส. จาก 2 พรรคการเมือง
น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ อดีต สส.พรรคพลังประชารัฐ และ สส.ภูมิใจไทย 3 คน ถูกศาลฎีกาสั่งให้พ้นจากการเป็น สส., เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีพ ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี โดยผิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง จากการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต และไม่กระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดํารง
นี่ยังเป็นคนละกระบวนการกับการดำเนินคดีทางอาญา โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ตัดสินโทษจำคุก 9 เดือน ไม่รอลงอาญา อดีต สส.ภูมิใจไทย ทั้ง 3 คน ส่วน น.ส.ธณิกานต์ ศาลฎีกาฯ ให้รอลงอาญา 2 ปี
ศาลรัฐธรรมนญ “กลายเป็นอำนาจสูงสุด” เหนืออำนาจอื่น
รศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ตั้งคำถามผ่านบีบีซีไทยถึงบทบาทและอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่มากล้น และก้าวล่วงไปยังอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติตามที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากในการตัดสินคดีสำคัญ ๆ รัฐบาลจะออกนโยบายอะไรก็อาจโดนขัดขวางได้ ฝ่ายนิติบัญญัติจะแก้รัฐธรรมนูญก็โดนขัดขวางได้ ทว่าเดิมยังอยู่ในพรมแดนของกฎหมาย แต่โดยการออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ไปติดอาวุธใหม่ เพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักการเมือง กระทั่งตัดสิทธิตลอดชีวิตได้ ประเทศไทยจึงอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากลัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทิศทางของประชาธิปไตยและเสถียรภาพทางการเมือง
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า ที่อันตรายขึ้นไปอีกคือกระบวนการสรรหาและที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ในโลกสมัยใหม่ อำนาจต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนไม่ว่าอำนาจไหน บริหาร นิติบัญญัติ หรือตุลาการ ต้องถูกตรวจสอบได้
“ที่เรามีศาลรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่ให้ใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ คำถามคือแล้วใครจะตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญได้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญละเมิดจริยธรรมเสียเอง หรือมีปัญหาคุณสมบัติเสียเอง ใครจะตรวจสอบได้ ถ้าไม่มี อันนี้จะกลายเป็นอำนาจสูงสุดเหนือกว่าอำนาจอื่นไปแล้ว”
ย้อนดูการลงมติของนายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
- คดีอดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน แต่งตั้งรัฐมนตรีขาดคุณสมบัติ นายอุดมเป็นหนึ่งในตุลาการเสียงข้างมาก 5 คน ที่วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐาสิ้นสุดลง ด้วยมติ 5:4 (ส.ค. 2567)
- คดี 8 ปีประยุทธ์ นายอุดมเป็นหนึ่งในตุลาการเสียงข้างมาก 6 คน ที่วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ โดยผลการลงมติคือ 6:3 (ต.ค. 2565)
- คดีชุมนุม 10 สิงหา ของธรรมศาสตร์จะไม่ทน ชุมนุม 10 สิงหา เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพียงคนเดียวที่วินิจฉัยว่าการปราศรัย ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ด้วยมติ 8:1 แต่ในความเห็นส่วนตน นายอุดมเห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 คน ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ "ขณะเกิดเหตุ" เท่านั้น แต่ "หากมีผลสำเร็จจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้"
- ส่วนคำวินิจฉัยคดีของพรรคก้าวไกล ในคดีล้มล้างการปกครองฯ ที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เสนอแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ วินิจฉัยว่าเป็นการใช้ "สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง" และสั่งให้เลิกการแก้ไข ม. 112 ส่วนคดียุบพรรคก้าวไกล ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9:0 เช่นกัน โดยสั่งให้ยุบพรรค พร้อมตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี
(https://www.bbc.com/thai/articles/c20737zw1p0o)
.....
The Politics ข่าวบ้าน การเมือง
14 hours ago
·
'จุลพงศ์' สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ตั้งคำถามจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แสดงความคิดเห็นกรณียุบพรรคก้าวไกล
วันที่ 22 สิงหาคม ที่รัฐสภา นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน แถลงตั้งคำถามถึงตุลาการทั่วประเทศว่า ตนได้ฟังคลิปการบรรยายของนายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่มีเนื้อหาที่เยาะเย้ย เสียดสีแถมด้วยทวงบุญคุณพรรคก้าวไกลหรือคือพรรคประชาชนในตอนนี้ ตนอดกังวลถึงวุฒิภาวะและสติปัญญาของคนที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะคอยตัดสินว่าใครไม่มีหรือมีจริยธรรมไม่ได้ ยิ่งเห็นได้ว่า ผมหงอกไม่ได้แสดงถึงสติปัญญาแต่อย่างใด ตนในฐานะนักกฎหมายคนหนึ่งจึงขอตั้งคำถามไปยังบรรดาตุลาการทั่วประเทศ
.
ท่านฟังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนนี้พูดแล้วท่านคิดเช่นใด บูรพตุลาการหรือตุลาการในอดีตที่เคยสั่งสอนตุลาการมาหลายชั่วคน เคยสั่งสอนตุลาการรุ่นต่อๆมาให้กล่าวเยาะเย้ยเสียดสีหรือทวงบุญคุณกับคู่ความในคดีที่ตนเองตัดสินเช่นนี้หรือไม่ ยกตัวอย่าง หากมีตุลาการที่ตัดสินคดีออกมาทวงบุญคุณกับโจทก์ที่ชนะคดีโดยตุลาการได้พูดว่าโจทก์ต้องขอบคุณตนที่ตัดสินให้โจทก์ชนะคดีได้เงินถึง 20 ล้านบาท คนฟังอาจจะเข้าใจผิดว่า ตุลาการที่พูดเช่นนี้หวังส่วนแบ่งในเงินที่ชนะคดีหรือไม่
.
นายจุลพงศ์ กล่าวต่อว่า การที่ตุลาการออกมาพูดเสียดสีหรือทวงบุญคุณตัวคู่ความเช่นนี้จะทำให้สถาบันตุลาการสั่นคลอน จริยธรรมของตุลาการจะถูกตั้งคำถามจากประชาชน ที่สำคัญต้องไม่ลืมคือ ตุลาการหรือศาลที่ทำหน้าที่ตัดสินคดีนั้นได้กระทำลงภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ตุลาการจะคะนองปากเอาคำตัดสินที่ตนตัดสินมาเสียดสีคนอื่นไม่ได้ หรือเอาการตัดสินคดีมาพูดเล่นเสียดสีตัวคู่ความนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนที่พูดไม่สนใจว่าการตัดสินคดีทุกคดีกระทำลงภายใต้พระปรมาภิไธยของพระพระมหากษัตริย์
.
“คนพูดเป็นตุลาการที่ตัดสินคดี แต่ออกมาเยาะเย้ยเสียดสีทวงบุญคุณคู่ความนอกเหนือจากเนื้อหาของคดีเช่นนี้ มันเหมาะสมในการจะยังเป็นตุลาการหรือไม่ ผมไม่กลัวที่ตั้งคำถามเช่นนี้เพราะคนที่เยาะเย้ยเสียดสีพรรคก้าวไกลและพรรคประชาชนในครั้งนี้ ในขณะที่พูด คนพูดไม่ได้กำลังกระทำในอำนาจและหน้าที่ของตุลาการแต่อย่างใด และนับวันเราจะเห็นคนบางกลุ่มที่คอยชี้ว่าคนนี้ไม่มีจริยธรรม คนนั้นไม่มีจริยธรรม ได้แสดงความคิด ความอ่านอะไรออกมาต่อสาธารณะ แทนที่จะทำให้คนนับถือและเชื่อมั่นในสถาบันที่คนพูดสังกัดมากขึ้น กลับทำลายสถาบันสำคัญของชาติที่ตนสังกัด” นายจุลพงศ์ กล่าว
.
นายจุลพงศ์ กล่าวด้วยว่า ตนจึงขอตั้งคำถามไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน จากทั้งหมด 9 คน ว่า เห็นด้วยกับการกระทำของตุลาการศาลรัฐธรรรมนูญที่ออกมาเยาะเย้ยเสียดสีคู่ความที่คุณนั่งตัดสินคดีเช่นนี้ด้วยหรือไม่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกล้าที่จะตักเตือนจริยธรรมกันเองหรือไม่ หรือระดับจริยธรรมอยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งจะยิ่งทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหรือยุบศาลนี้
#ThePolitics