https://www.facebook.com/photo/?fbid=914709743357166&set=a.523964959098315
The101.world
19h ·
ย้อนไปเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563 คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ก็ได้มีมติเสียงข้างมากอนุญาตให้ 'ซีพี' ควบรวมกับ 'เทสโก้ โลตัส'อย่างไรก็ตาม กขค. ก็มีการแสดงข้อกังวลว่าการรวมธุรกิจนี้อาจส่งผลให้ตลาดกระจุกตัวสูงขึ้นและการแข่งขันลดลงได้ จึงกำหนดให้ซีพีและเทสโก้ ทำการควบรวมแบบ ‘มีเงื่อนไข’ ที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อรักษาระดับการแข่งขัน โดย กขค. ได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับกรณีนี้ไว้ทั้งหมด 7 ข้อ และเพื่อตรวจสอบว่าผู้รวมธุรกิจปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อหรือไม่ สำนักงาน กขค. จึงมีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบติดตาม และมีการเผยแพร่ ‘รายงานผลการตรวจสอบและติดตามกรณีการรวมธุรกิจระหว่าง CP และ LOTUS’S ตามคำสั่ง กขค. ที่ 93/2563’ โดยที่ผ่านมามีการออกรายงานมาแล้วทั้งสิ้น 2 ฉบับ ได้แก่ รายงานประจำปี 2564 และ 2565
.
เมื่อ 101 นำรายงานผลการตรวจสอบและติดตามมากางดูทั้ง 2 ฉบับ พบว่าผลการตรวจสอบในภาพรวมนั้นคือ ‘ไม่พบ’ การทำผิดเงื่อนไขในทั้ง 7 ข้อ แต่เมื่อเราวิเคราะห์ทบทวนเนื้อหาของรายงานผลการตรวจสอบและติดตามนี้ดูอย่างละเอียด ก็พบข้อสังเกตสำคัญอยู่หลายจุดที่บ่งชี้ว่า การดำเนินการตรวจและติดตามการปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยสำนักงาน กขค. นี้ยังมีช่องโหว่หลายจุด จนอาจทำให้การตรวจสอบกรณีนี้ของสำนักงาน กขค. 'ไม่สามารถ' บรรลุวัตถุประสงค์หลักของการกำกับดูแลเพื่อรักษาและส่งเสริมการแข่งขันได้อย่างแท้จริง
.
ช่องโหว่ของการติดตามและตรวจสอบนโดยสำนักงาน กขค. นี้คืออะไรบ้าง ชวนอ่านบทความเต็มได้ที่ (https://www.the101.world/tcct-report-cp-tesco-lotus/)
.
.
"เงื่อนไขข้อหนึ่งที่ตกเป็นข้อกังขาอย่างมากคือข้อที่ 3 ซึ่งสั่งห้ามไม่ให้ซีพีกับโลตัสใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดระหว่างกัน โดยให้ถือว่าเป็นความลับทางการค้าที่ต้องไม่เปิดเผยต่อกันและกัน...แต่จุดที่หลายคนตั้งข้อสงสัยคือ สำนักงาน กขค. จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าทั้งสองบริษัทจะไม่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจริง ในเมื่อสองบริษัทนี้ได้รวมธุรกิจกันจนมีสถานะเสมือนหน่วยธุรกิจเดียวกันไปแล้ว ขณะที่หนึ่งในคณะเจ้าหน้าที่บริหารของซีพี แอ็กซ์ตร้า (แม็คโคร) ก็ควบตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารของโลตัสในปัจจุบัน จึงเกิดคำถามว่าการหลีกเลี่ยงการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะทำได้จริงหรือไม่"
.
"สำนักงาน กขค. ทำได้เพียงให้บริษัทผู้ได้รับอนุญาตให้ควบรวม ทำรายงานส่งเท่านั้น แต่ไม่มีการบ่งบอกว่าสำนักงาน กขค. จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าบริษัทมีการฝ่าฝืนแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับระหว่างกันจริงหรือไม่ ซึ่งหากยึดตามแนวทางตรวจสอบที่ระบุไว้แล้ว ทางเดียวที่สำนักงาน กขค. จะสามารถรู้ได้ คือบริษัทต้องเป็นผู้แจ้งให้สำนักงาน กขค. ทราบเองว่าตนกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขด้วยตัวเอง"
.
"รายงานยังสะท้อนออกมาให้เห็นด้วยว่า สำนักงาน กขค. ไม่ได้มีการตรวจสอบลึกลงไปว่าการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้เหล่านี้จะทำให้บรรลุเป้าหมายอันเป็นเหตุผลเบื้องหลังเงื่อนไขแต่ละข้อได้จริงหรือไม่ ซึ่งปัญหานี้สามารถสังเกตเห็นได้ในการตรวจสอบติดตามหลายเงื่อนไข
.
"ที่เห็นได้ชัดคือเงื่อนไขข้อแรกที่สั่งห้ามไม่ให้รวมธุรกิจในตลาดค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่เป็นเวลา 3 ปี โดยที่เป้าหมายของการกำหนดเงื่อนไขข้อนี้คือการเปิดให้โอกาสให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถเข้าสู่ตลาดภายในระยะเวลา 3 ปีนี้ อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กขค. ได้ตรวจสอบเพียงว่าผู้รวมธุรกิจปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนี้หรือไม่ ด้วยวิธีการติดตามจากข้อมูลข่าวสาร รวมถึงให้ผู้รวมธุรกิจรายงานหากมีการเข้าซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์ว่าเป็นการรวมธุรกิจ แต่กลับไม่มีการตรวจสอบว่ามีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายอันเป็นเหตุผลเบื้องหลังของเงื่อนไขข้อนี้หรือไม่ และการตรวจสอบว่าการกระจุกตัวในตลาดค้าปลีกค้าส่งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างไร"
.
"จากการเปิดดูรายงานผลการตรวจสอบและติดตามของสำนักงาน กขค. นี้ทั้งหมด เห็นได้ว่าการตรวจสอบติดตามมีช่องโหว่ในแทบทุกจุด แต่หากย้อนไปอ่านข้อสังเกตบางข้ออย่างถี่ถ้วนแล้ว จะเห็นว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่ที่กระบวนการติดตามและตรวจสอบเสียทีเดียว เพราะต้นตอของปัญหาจริงนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่การกำหนดเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อนี้ขึ้นมา ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นเงื่อนไขที่ดูไม่ได้มุ่งหมายจะแก้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจนี้จริง หรืออาจเรียกว่าเป็นการตั้งเงื่อนไขแบบ ‘เกาไม่ถูกที่คัน’"
.
เรื่อง: พรเทพ เบญญาอภิกุล และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด
https://www.facebook.com/photo/?fbid=914709743357166&set=a.523964959098315
The101.world
19h ·
ย้อนไปเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563 คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ก็ได้มีมติเสียงข้างมากอนุญาตให้ 'ซีพี' ควบรวมกับ 'เทสโก้ โลตัส'อย่างไรก็ตาม กขค. ก็มีการแสดงข้อกังวลว่าการรวมธุรกิจนี้อาจส่งผลให้ตลาดกระจุกตัวสูงขึ้นและการแข่งขันลดลงได้ จึงกำหนดให้ซีพีและเทสโก้ ทำการควบรวมแบบ ‘มีเงื่อนไข’ ที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อรักษาระดับการแข่งขัน โดย กขค. ได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับกรณีนี้ไว้ทั้งหมด 7 ข้อ และเพื่อตรวจสอบว่าผู้รวมธุรกิจปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อหรือไม่ สำนักงาน กขค. จึงมีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบติดตาม และมีการเผยแพร่ ‘รายงานผลการตรวจสอบและติดตามกรณีการรวมธุรกิจระหว่าง CP และ LOTUS’S ตามคำสั่ง กขค. ที่ 93/2563’ โดยที่ผ่านมามีการออกรายงานมาแล้วทั้งสิ้น 2 ฉบับ ได้แก่ รายงานประจำปี 2564 และ 2565
.
เมื่อ 101 นำรายงานผลการตรวจสอบและติดตามมากางดูทั้ง 2 ฉบับ พบว่าผลการตรวจสอบในภาพรวมนั้นคือ ‘ไม่พบ’ การทำผิดเงื่อนไขในทั้ง 7 ข้อ แต่เมื่อเราวิเคราะห์ทบทวนเนื้อหาของรายงานผลการตรวจสอบและติดตามนี้ดูอย่างละเอียด ก็พบข้อสังเกตสำคัญอยู่หลายจุดที่บ่งชี้ว่า การดำเนินการตรวจและติดตามการปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยสำนักงาน กขค. นี้ยังมีช่องโหว่หลายจุด จนอาจทำให้การตรวจสอบกรณีนี้ของสำนักงาน กขค. 'ไม่สามารถ' บรรลุวัตถุประสงค์หลักของการกำกับดูแลเพื่อรักษาและส่งเสริมการแข่งขันได้อย่างแท้จริง
.
ช่องโหว่ของการติดตามและตรวจสอบนโดยสำนักงาน กขค. นี้คืออะไรบ้าง ชวนอ่านบทความเต็มได้ที่ (https://www.the101.world/tcct-report-cp-tesco-lotus/)
.
.
"เงื่อนไขข้อหนึ่งที่ตกเป็นข้อกังขาอย่างมากคือข้อที่ 3 ซึ่งสั่งห้ามไม่ให้ซีพีกับโลตัสใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดระหว่างกัน โดยให้ถือว่าเป็นความลับทางการค้าที่ต้องไม่เปิดเผยต่อกันและกัน...แต่จุดที่หลายคนตั้งข้อสงสัยคือ สำนักงาน กขค. จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าทั้งสองบริษัทจะไม่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจริง ในเมื่อสองบริษัทนี้ได้รวมธุรกิจกันจนมีสถานะเสมือนหน่วยธุรกิจเดียวกันไปแล้ว ขณะที่หนึ่งในคณะเจ้าหน้าที่บริหารของซีพี แอ็กซ์ตร้า (แม็คโคร) ก็ควบตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารของโลตัสในปัจจุบัน จึงเกิดคำถามว่าการหลีกเลี่ยงการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะทำได้จริงหรือไม่"
.
"สำนักงาน กขค. ทำได้เพียงให้บริษัทผู้ได้รับอนุญาตให้ควบรวม ทำรายงานส่งเท่านั้น แต่ไม่มีการบ่งบอกว่าสำนักงาน กขค. จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าบริษัทมีการฝ่าฝืนแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับระหว่างกันจริงหรือไม่ ซึ่งหากยึดตามแนวทางตรวจสอบที่ระบุไว้แล้ว ทางเดียวที่สำนักงาน กขค. จะสามารถรู้ได้ คือบริษัทต้องเป็นผู้แจ้งให้สำนักงาน กขค. ทราบเองว่าตนกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขด้วยตัวเอง"
.
"รายงานยังสะท้อนออกมาให้เห็นด้วยว่า สำนักงาน กขค. ไม่ได้มีการตรวจสอบลึกลงไปว่าการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้เหล่านี้จะทำให้บรรลุเป้าหมายอันเป็นเหตุผลเบื้องหลังเงื่อนไขแต่ละข้อได้จริงหรือไม่ ซึ่งปัญหานี้สามารถสังเกตเห็นได้ในการตรวจสอบติดตามหลายเงื่อนไข
.
"ที่เห็นได้ชัดคือเงื่อนไขข้อแรกที่สั่งห้ามไม่ให้รวมธุรกิจในตลาดค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่เป็นเวลา 3 ปี โดยที่เป้าหมายของการกำหนดเงื่อนไขข้อนี้คือการเปิดให้โอกาสให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถเข้าสู่ตลาดภายในระยะเวลา 3 ปีนี้ อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กขค. ได้ตรวจสอบเพียงว่าผู้รวมธุรกิจปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนี้หรือไม่ ด้วยวิธีการติดตามจากข้อมูลข่าวสาร รวมถึงให้ผู้รวมธุรกิจรายงานหากมีการเข้าซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์ว่าเป็นการรวมธุรกิจ แต่กลับไม่มีการตรวจสอบว่ามีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายอันเป็นเหตุผลเบื้องหลังของเงื่อนไขข้อนี้หรือไม่ และการตรวจสอบว่าการกระจุกตัวในตลาดค้าปลีกค้าส่งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างไร"
.
"จากการเปิดดูรายงานผลการตรวจสอบและติดตามของสำนักงาน กขค. นี้ทั้งหมด เห็นได้ว่าการตรวจสอบติดตามมีช่องโหว่ในแทบทุกจุด แต่หากย้อนไปอ่านข้อสังเกตบางข้ออย่างถี่ถ้วนแล้ว จะเห็นว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่ที่กระบวนการติดตามและตรวจสอบเสียทีเดียว เพราะต้นตอของปัญหาจริงนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่การกำหนดเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อนี้ขึ้นมา ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นเงื่อนไขที่ดูไม่ได้มุ่งหมายจะแก้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจนี้จริง หรืออาจเรียกว่าเป็นการตั้งเงื่อนไขแบบ ‘เกาไม่ถูกที่คัน’"
.
เรื่อง: พรเทพ เบญญาอภิกุล และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด
https://www.facebook.com/photo/?fbid=914709743357166&set=a.523964959098315