วันจันทร์, มกราคม 29, 2567

เคยสงสัยมั้ย... เมื่อกดสั่งสินค้าจาก Lazada และ Shopee คำถามที่ผุดขึ้นในหัวของหลายคนคือ ทำไม “ค่าส่งสินค้าจากจีน” ถึงถูกมาก หลายครั้งถูกยิ่งกว่าสั่งซื้อจากผู้ค้าไทยเสียอีก ทั้งที่เป็นการส่งข้ามประเทศ


กรุงเทพธุรกิจ
12h
·
เจาะสาเหตุ “สินค้าทางไกลจากจีน” มีค่าส่งถูกมาก หลายครั้งถูกยิ่งกว่าสั่งซื้อจากผู้ค้าไทยจนน่าประหลาดใจ แท้จริงมาจาก “ข้อตกลงระหว่างไทยกับจีนเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว” ทำให้ไทยต้องจ่ายค่าส่งในสัดส่วนมากกว่าจีน
.
เมื่อกดสั่งสินค้าจาก Lazada และ Shopee คำถามที่ผุดขึ้นในหัวของหลายคนคือ ทำไม “ค่าส่งสินค้าจากจีน” ถึงถูกมาก หลายครั้งถูกยิ่งกว่าสั่งซื้อจากผู้ค้าไทยเสียอีก ทั้งที่เป็นการส่งข้ามประเทศ
.
ด้วยเหตุนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” จึงได้สัมภาษณ์ 2 ผู้เชี่ยวชาญอีคอมเมิร์ซไทย ได้แก่ “ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” ผู้คลุกคลีในวงการอีคอมเมิร์ซและเป็นซีอีโอ ตลาดดอทคอม เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ของไทย และ “ตฤณ วุ่นกลิ่นหอม” (ชื่อเดิม ณัฐพร วุ่นกลิ่นหอม) นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทยและเคยทำงานในมูลนิธิแจ๊คหม่า อาลีบาบา ก็พบสาเหตุสำคัญ 3 ประการที่ทำให้ “ค่าส่งสินค้าจากจีน” ต่ำมาก ดังนี้
.
​สาเหตุที่ 1 ผู้ค้าจีนใช้คลังสินค้าไทยในเขตปลอดภาษี
.
ภาวุธเล่าว่า สินค้าจากจีนจะส่งมาไทยเป็น “ตู้สินค้าใหญ่” ทางรถบรรทุก รถไฟและเรือแบบเหมาค่าส่งรวม ภายในตู้เหล่านี้มีสินค้าจำนวนนับหมื่นนับแสนชิ้น โดยเมื่อแยกค่าส่งเป็นรายชิ้นแล้วจึงมีราคาต่ำมาก
.
สินค้าเหล่านี้จะถูกส่งมาพักใน “คลังสินค้าในเขตปลอดอากร” (Free Zone Warehouse) ของไทย เสมือนว่าสินค้าที่พักยังคงอยู่นอกประเทศ ไม่มีการจัดเก็บภาษี
.
เหตุผลที่ไทยมีคลังสินค้าเช่นนี้ ภาวุธเล่าว่า เพื่อเป็นจุดพักสินค้าสำหรับส่งต่อไปยังประเทศที่สาม อย่างกัมพูชาหรือเวียดนามต่อ แต่ผู้ค้าจีนใช้ช่องทางกฎหมายหนึ่งที่ระบุไว้ว่า หากสินค้านำเข้ามีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท ไม่ต้องเสียภาษีขาเข้า
.
ด้วยเหตุนี้ ผู้ขายจีนจึงเบิกสินค้าจากคลังออกมาไม่เกิน 1,500 บาทในแต่ละครั้ง เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีดังกล่าว ซึ่งของที่คนไทยสั่งในเว็บอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ก็ไม่เกินหลักพันอยู่แล้ว และการได้ที่พักสินค้าตามจุดต่าง ๆ ในไทยยังช่วยให้เวลาจัดส่งรวดเร็วอย่างมาก
.
​สาเหตุที่ 2 ไทยรับผิดชอบค่าส่งมากกว่าจีน
.
เรื่องนี้อาจคาดไม่ถึงว่า ทำไมไทยรับผิดชอบค่าส่งในสัดส่วนที่มากกว่าจีน ในเมื่อจีนส่งสินค้ามาที่ไทยมากกว่า
.
ตฤณ นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย เล่าว่า ในสมัยก่อน ช่วงที่เกิดองค์การ “สหภาพไปรษณีย์สากล” หรือ Universal Postal Union มาไม่นาน มีการตกลงร่วมกันว่า ประเทศที่เจริญมากกว่ารับผิดชอบ “ส่วนค่าขนส่ง” มากกว่าประเทศที่เจริญน้อยกว่า ซึ่งไทยกับจีนได้เซ็นข้อตกลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2512
.
ในสมัยนั้น จีนถือเป็นประเทศยากจน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ ยังไม่ครอบคลุมเท่าไทย จึงกลายมาเป็นข้อตกลงที่ไทยจ่ายส่วนค่าส่งในสัดส่วนมากกว่าจีน และยังไม่ได้ถูกปรับเปลี่ยนจนถึงปัจจุบัน
.
​สาเหตุที่ 3 รัฐจีนช่วยค่าใช้จ่ายพักสินค้า
.
สำหรับผู้ค้าไทย ก่อนจะส่งไปต่างประเทศ ก็ต้องเช่าคลังสินค้าก่อน เพื่อรอรอบส่งทางเครื่องบินหรือรถบรรทุก ค่าใช้จ่ายก็คิดตามระยะเวลาฝากและจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ ยิ่งจำนวนตู้มากและฝากนาน ก็ยิ่งเสียเงินมากขึ้นตามไปด้วย
.
ขณะที่จีนนั้น ตฤณให้ข้อมูลว่า รัฐบาลจีนช่วยอุดหนุนรายจ่ายส่วนนี้ โดยโรงงานจีนสามารถนำสินค้าไปตั้งใน “พื้นที่พักรอสินค้า” ก่อนทำพิธีศุลกากร หรือที่เรียกว่า “Cross-Border E-Commerce Park” ซึ่งในพื้นที่นี้ รัฐบาลช่วยสนับสนุนตั้งแต่ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าฝากสินค้า โดยบางสินค้าที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นการส่งออก ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนค่าฝาก
.
จะเห็นได้ว่า จากสาเหตุ 3 ข้อนี้ การใช้คลังสินค้าไทยในเขตปลอดภาษี ข้อตกลงทางไปรษณีย์สากลที่ไทยรับผิดชอบค่าส่งมากกว่า รวมถึงรัฐบาลจีนมีการอุดหนุนค่าพักสินค้าในประเทศ จึงทำให้ต้นทุนการส่งของจีนต่ำกว่าไทยนั่นเอง
.
สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่: (https://www.bangkokbiznews.com/business/1110431?anm=)
.
.
#สินค้าจีน #ค่าส่ง #ค่าส่งสินค้าจีน #ค่าส่งถูกมาก #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจBusiness