วันอาทิตย์, มกราคม 28, 2567

ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกพูดถึงอยู่ทุกวาระ สังคมเชียงใหม่เสมือนบีบบังคับ ให้ต้องขับรถเป็น แนวทางที่จะทำให้ขนส่งมวลชนพัฒนา ทำได้อย่า่งไร ชวนอ่าน "ขนส่งสาธารณะเชียงใหม่กับความหวังของเด็ก มช."


Lanner
20h
·
ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกพูดถึงอยู่ทุกวาระ ในสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งต้องให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากจำนวนของประชากร นักท่องเที่ยวและนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตามมาด้วยผลกระทบด้านการจราจรติดขัด มลภาวะทางอากาศ รวมไปถึงอุบัติเหตุ ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตพื้นฐานที่มนุษย์พึงได้รับ ดังนั้นการพัฒนาระบบรถสาธารณะเป็นสิ่งที่สำคัญที่มองข้ามไม่ได้
.
“สังคมเชียงใหม่เสมือนบีบบังคับ ผลักให้เราต้องขับรถเป็นเท่านั้น ไม่ว่าจะรถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ หรือต้องเรียกรถจากแอปพลิเคชันในราคาสูง เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ยกตัวอย่างเมืองใหญ่ ๆ ​ อย่างกรุงเทพ ฯ ถึงแม้จะมีขนส่งมวลชนที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ แต่อย่างน้อยเขาก็ยังมีตัวเลือกสำรองในการเดินทาง อีกเหตุผลหนึ่งคือ มีเพื่อน ๆ บางคนมาเที่ยวหรือใช้ชีวิตที่เชียงใหม่ เมื่อก่อนยังมีรถเมล์ล RTC CITY BUS และรถเมล์ขาว ที่จะเป็นอีกทางให้ใช้บริการได้ แต่รถเมล์เหล่านี้ก็ได้หายไป จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดตั้งกลุ่มนี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่อาจจะทำให้หลาย ๆ คน ฉุดคิดประเด็นขึ้นมาอีกรอบได้”
.
อ่าน ขนส่งสาธารณะเชียงใหม่กับความหวังของเด็ก มช. ได้ที่ (https://www.lannernews.com/27012567-01/)
.
ช่วงที่ผ่านที่ไม่มีขนส่งมวลชน แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อเด็กมช. อย่างยิ่ง ต้องยอมรับว่านักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของเรา มีจำนวนถึง 30,000 กว่าคน มีทั้งนักศึกษาที่มาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด หรือคนที่มีมอเตอร์ไซค์แต่อยู่หอนอก เนื่องด้วยปัจจัยต่างกันไป เขากล่าวอีกว่าผลกระทบที่ใกล้ตัวที่สุดคือ มหาวิทยาลัยทำเลไม่ได้อยู่ในเขตเมืองชั้นใน ทำให้ไม่เป็นทางผ่านของกลุ่มผู้ให้บริการรถรับจ้างทั่วไป ​ อาจจะพูดได้ว่านักศึกษาไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของผู้ให้บริการ
.
แนวทางที่จะทำให้ขนส่งมวลชนพัฒนามี 2 แนวทาง ได้แก่ ประการแรก คือ การพัฒนาขนส่งภาครัฐอาจจะไม่ต้องลงทุนเองทั้งหมด อาจจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ประการต่อมา คือ สำรวจเส้นทางหรืออาจจะเป็นการเก็บข้อมูลก็ได้ อย่างเช่น โซนไหนที่ต้องใช้งานจริง ๆ เพราะจะมีปัญหาตรงที่ไม่ผ่านเส้นทางตรงที่มีการใช้คมนาคมหลักก็เป็นปัญหาอีก ต้องมีการจัดระเบียบใหม่และสำรวจเส้นทางว่าควรจะจัดเส้นทางไหนที่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของผู้โดยสาร และผู้ที่ลงทุน
.
เรื่องและภาพ: กรองกาญจน์ เกี๋ยงภาลัก
.
บทความนี้เป็นผลงานผู้เข้าร่วมโครงการ Activist Journalist ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสื่อประชาธรรม (Prachatham Media Foundation) และสำนักข่าว LANNER News Media โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Citizen Accountability for Local governance Media (CALM)