Suchart Sawadsri
11h
·
เชื่อหรือไม่ เมื่อ "เด็กพิเศษ" ถูกดำเนินคดี ม.112
เพราะแสดงความเห็นใน ฟ.บ. 4 ข้อความ
ศาลชั้นต้นเคยตัดสินจำคุก 12 ปี
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
12h
·
พรุ่งนี้ (30 ม.ค. 2567) เวลา 9.00 น. ศาลจังหวัดสมุทรปราการนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในคดีข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา #มาตรา112 ของ “ปุญญพัฒน์” (นามสมมติ) ผู้ป่วยสมาธิสั้นและพัฒนาการช้า วัย 31 ปี จากจังหวัดกำแพงเพชร ผู้ถูกประชาชนทั่วไปอีกราย ไปกล่าวหาไว้ที่ สภ.บางแก้ว จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 4 ข้อความ ลงในกลุ่ม “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส”
.
คดีนี้ ศาลชั้นต้นเคยพิพากษาจำคุก 12 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 4 ปี 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา แต่จำเลยยังได้รับการประกันตัวระหว่างอุทธรณ์
.
ก่อนฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งเลื่อนมาจากเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 ชวนฟังเรื่องราวของปุญญพัฒน์ จากแม่ผู้ดูแลเขา ตั้งแต่เกิดจนโต คอยเผชิญกับคดีที่ถูกกล่าวหาไปพร้อม ๆ กับเขา คอยรับส่งจากกำแพงเพชรมาที่จังหวัดสมุทรปราการ และคอยเฝ้าหวังว่าลูกจะผ่านพ้นภัยอันตรายนี้ไป
.
“ตอนนั้นแม่กำลังจะคลอด แล้วสะดือพันรอบคอน้อง คลอดออกมาไม่ได้เลยต้องผ่าฉุกเฉิน ในช่วงที่สะดือพันคอ น้องขาดออกซิเจนไปประมาณ 1-2 นาที พอผ่าคลอดฉุกเฉินออกมา หมอก็บอกว่าน้องอาจจะพัฒนาการช้า ช้าทุกอย่าง พูดช้า เดินช้า และจะช้าไปตลอด
.
“โดยรวม ดูภายนอกเด็กพวกนี้เหมือนปกติ แต่เราจะรู้ได้เมื่ออยู่กับเขา คือเขาจะช้าทุกอย่าง ไม่ว่องไวเหมือนคนปกติ อย่างตอนนี้เขาอายุ 31 แล้ว แต่เขาช่วยเหลือตัวเองได้บ้างบางอย่าง ชีวิตประจำวันเขาปกติทุกอย่าง แต่เขาจะออกไปไหนมาไหนเองไม่ได้ ขับรถเองไม่ได้ เวลาเขาข้ามถนนก็จะเดินตรงไปเลย ไม่ได้มองซ้ายมองขวา ไม่ได้ฉับไวหรือระแวดระวังเหมือนคนทั่วไป แม่ต้องคอยดูแลเขาตลอด
.
“แม่อยู่กับเขาตลอด 24 ชั่วโมงเลย อยู่บ้านเดียวกัน ไม่ได้ออกนอกบ้าน เว้นแต่แม่ออกไปไหน เขาก็จะออกด้วย บ้านแม่เปิดร้านขายของชำ เขาก็จะคอยช่วยแม่ใส่ของ หยิบของ เติมน้ำมันให้ลูกค้า พอเขาช่วยงานแม่เสร็จ แม่ก็จะเห็นเขาเล่นพวกคอมพิวเตอร์ แต่แม่ไม่ได้ไปดูว่าเขาเล่นอะไร
.
“น้องไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เรียนแค่ ปวช. คอมพิวเตอร์ น้องอายุจะ 31 แล้ว แต่น้องไม่ได้สมัครงาน เพราะเขาเดินทางไปทำงานด้วยตัวเองไม่ได้ ถ้าต้องไปรับส่งเขา มันก็เป็นภาระแม่ด้วย อันนี้คือเรื่องจริงที่แม่เล่าให้ศาลฟัง
.
“แม่ก็หวังว่าศาลอุทธรณ์จะเห็นถึงความผิดปกติของน้อง ซึ่งเด็กพิเศษไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ แก้ปัญหาไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปคนธรรมดาอาจจะคิดได้ว่าอันไหนควรไม่ควร แต่เด็กพิเศษจะไม่รับรู้ หมอก็บอกว่าเด็กพวกนี้จะไม่รู้ว่า การที่เขาทำอะไรไปมันจะเกิดปัญหา ความยับยั้งชั่งใจเขาไม่มีเหมือนคนปกติ”
.
.
อ่านเรื่องราวของปุญญพัฒน์บนเว็บไซต์ (https://tlhr2014.com/archives/61492)
.
ดูฐานข้อมูลคดีนี้ (https://database.tlhr2014.com/public/case/1759/lawsuit/543/)