วันพุธ, ธันวาคม 13, 2566

พิพากษาจำคุก “อติรุจ” 1 ปี 8 เดือน ข้อหา ‘#ม112 - ตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ” ใส่ขบวนเสด็จ #ก่อนศาลให้ประกันตัว (ถ้อยคำง่ายๆ แต่สะท้อนความรู้สึกของผู้คน แต่ศาลคงเห็นว่า "ไปไหนก็ไม่เป็นภาระ")


Somsak Jeamteerasakul
17h·
ถ้อยคำง่ายๆ แต่สะท้อนความรู้สึกของผู้คนได้เป็นอย่างดี: "ไปไหนก็เป็นภาระ"
แต่วชิราลงกรณ์รับไม่ได้ ติดคุกไปเลยเกือบ 2 ปี


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
11h·

#พิพากษาจำคุก “อติรุจ” 1 ปี 8 เดือน ข้อหา ‘#ม112 - ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน’ เหตุตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ” ใส่ขบวนเสด็จ #ก่อนศาลให้ประกันตัว
.
วันที่ 12 ธ.ค.​ 2566 เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดฟังคำพิพากษาในคดี ‘หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ’ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 ของ “อติรุจ” (สงวนนามสกุล) โปรแกรมเมอร์วัย 26 ปี จากกรณีถูกกล่าวหาว่าตะโกนว่า “ไปไหนก็เป็นภาระ” ใส่ขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 ขณะเคลื่อนออกจากศูนย์การประชุมสิริกิติ์ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 15 ต.ค. 2565
.
.
อติรุจถูกแจ้งความ ‘ม.112 - ขัดขวางแจ้งพนักงาน’ หลังไม่ยอมนั่งลงและตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ”
.
คดีนี้มีเหตุสืบเนื่องมาจากวันที่ 15 ต.ค. 2565 เวลาประมาณ 17.00 น. รัชกาลที่ 10 และราชินีได้เสด็จเปิดอาคารใหม่ของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หลังจากเสร็จสิ้นพิธี ได้เสด็จกลับเวลาประมาณ 18.00 น. ในขณะที่รถขบวนเสด็จผ่าน มีประชาชนคนหนึ่งตะโกนขึ้นว่า “ไปไหนก็เป็นภาระ”
.
เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่อยู่บริเวณนั้นได้เข้าควบคุมตัวโดยการอุ้มอติรุจไปยังห้องภายในศูนย์ประชุมฯ ก่อนส่งตัวต่อไปยัง สน.ลุมพินี เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานฯ ตามมาตรา 138
.
หลังจากนั้น ในวันที่ 6 ธ.ค. 2565 อติรุจได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่ สน.ลุมพินี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่า ต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือข้อหาตามมาตรา 138 วรรคสอง โดยระบุว่าอติรุจต่อสู้หรือขัดขวางไม่ให้ทำการจับกุมตัว โดยใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่โดยใช้เท้าถีบตำรวจที่ทำการจับกุมตัวจนได้รับบาดเจ็บ
.
ถัดมาหนึ่งเดือน (6 ม.ค. 2566) วรวัตร สีหะ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ได้ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยก่อนการสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยได้เปลี่ยนคำให้การ เป็นรับสารภาพเฉพาะข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 แต่ยืนยันปฏิเสธและต่อสู้คดีข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานฯ ตามมาตรา 138 สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ซึ่งมายืนประกบตัวจำเลยไม่ได้แต่งกายด้วยเครื่องแบบ และไม่สามารถสังเกตเห็นบัตรประจำตัวได้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไม่เคยตอบคำถามหรือพูดคุยกับจำเลย จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ที่มาควบคุมตัวอยู่นั้นเป็นใคร
.
ศาลได้นัดสืบพยานทั้งสิ้น 3 นัด โดยสืบพยานโจทก์ในวันที่ 24 - 25 ต.ค. 2566 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 31 ต.ค. 2566 ก่อนจะนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 12 ธ.ค. 2566
.
อ่านบันทึกการต่อสู้คดี >> https://tlhr2014.com/archives/62145
.
.
ศาลพิพากษาว่าอติรุจมีความผิดทุกข้อกล่าวหา ลงโทษจำคุกรวม 1 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา
.
วันนี้ (12 ธ.ค. 2566) เวลาประมาณ 08.30 น. อติรุจ และครอบครัว พร้อมด้วยทนายความเดินทางมาศาล โดยอติรุจได้ผูกโบว์ขาวที่ข้อมือมาด้วย นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีเจ้าหน้าที่จาก iLaw และประชาชนทั่วไปที่เดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาในวันนี้ด้วย
.
เวลาประมาณ 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 403 ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีและอ่านคำพิพากษาราว 10 นาที โดยสรุปใจความสำคัญได้ว่า
.
จากการสืบพยานโจทก์ พยานจำเลย และพิเคราะห์พยานหลักฐาน รับฟังได้ว่าในวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยเดินทางมายังศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยขณะเดินทางขากลับ จำเลยได้ตะโกนใส่ขบวนเสด็จและถูกกลุ่มชายเข้าจับกุม มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
.
ประการแรก ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 นั้นเห็นว่าการที่จำเลยตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ” เป็นคำที่มิสมควร เป็นการใส่ความว่าการเสด็จเป็นการสร้างปัญหาและภาระให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เห็นว่าจำเลยมีความผิดตามคำฟ้อง
.
ประเด็นต้องวินิจฉัยต่อมา ข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายฯ ตามมาตรา 138 วรรคสอง พยานโจทก์นำสืบว่า เมื่อรถพระที่นั่งเคลื่อนผ่าน เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาปิดปากจำเลยและตะโกนขึ้นว่ามีคนเป็นลม หลังจากนั้นมีเจ้าหน้าที่อีกประมาณ 5 นาย เข้ามาจับกุมแต่จำเลยไม่ยินยอม มีการต่อสู้ขัดขวางจนเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ จากนั้นเจ้าหน้าที่นำตัวจำเลยไปที่ศูนย์ปฏิบัติการร่วม
.
จำเลยนำสืบว่ากลุ่มคนที่้เข้ามาไม่อาจทราบได้ว่าเป็นใคร แต่พยานโจทก์ทั้งหมดเบิดความสอดคล้องกัน การนำสืบของจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ได้ โดยในขณะเกิดเหตุมีขบวนรถพระที่นั่งเคลื่อนผ่าน มีเจ้าพนักงานถวายรักษาความปลอดภัยจึงเชื่อว่าจำเลยทราบว่าผู้ที่จับกุมเป็นเจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง
.
พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดทุกข้อกล่าวหา ในข้อหามาตรา 112 ลงโทษจำคุก 3 ปี ส่วนในข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานโดยการใช้กำลังประทุษร้ายฯ ตามมาตรา 138 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 2 เดือน
.
ทั้งนี้ อติรุจให้การรับสารภาพในข้อหามาตรา 112 จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุกทั้งสิ้น 1 ปี 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
.
หลังศาลอ่านคำพิพากษา อติรุจถูกใส่กุญแจที่ข้อมือและนำตัวลงไปรอที่ใต้ถุนศาลทันที ก่อนทนายความจะยื่นคำร้องขอประกันตัว
.
หลังจากนั้นเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวอติรุจในชั้นอุทธรณ์ โดยให้วางหลักทรัพย์รวมจำนวน 300,000 บาท โดยต้องวางเพิ่มจากหลักประกันในศาลชั้นต้นจำนวน 100,000 บาท และมีเงื่อนไขการประกันตัวเช่นเดิม คือห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ทั้งนี้ หลักประกันได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์
.
.
อ่านข่าวบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/62202
.....
https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/765908662046273?ref=embed_post