วันพุธ, พฤศจิกายน 22, 2566

รัฐบาล กู้วิกฤต หรือ สร้างวิกฤต ?


Thanapol Eawsakul
19h ·

หรือว่ารัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นั่นแหละที่ตั้งใจทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเสียเอง
เพื่อจะกู้เงิน 500,000 ล้านบาทให้ได้
.......
(1)
11 กันยายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รมว.คลัง แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภ
13 กันยายน 2566 ในการประชุมครั้งแรก ได่มีมติครม. ได้เพิ่มการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2567 เพิ่มขึ้นอีก 100,000 ล้านบาท จากเดิมที่ขาดดุล 593,000 ล้านบาท เป็น 693,000 ล้านบาท เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลมีเม็ดเงินไปดำเนินการตามนโยบายสำคัญ
ซึ่งถึงเวลานั้น เราก็คิดว่าเพื่อให้เป็นรัฐบาลเพื่อแก้วิกติเศณษฐกิจ รัฐบาลเศรษฐา ต้องเร่งส่ง ร่าง พรบ.งบประมาณ 2567 เข้าสู่สภาโดยพลัน
แต่ปรากฎว่าตลอดสมัยประชุมสภา จนถึงการปิดประชุมสภาผุู้แทนราษฎร 31 ตุลาคม . 2566 ก็ยังไมมี
10 พฤศจิกายน 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รมว.คลัง แถลงว่าโครงการแจกเงินประชาชน จะใช้วิธี "กู้มาแจาก" โดยลดวงเงินการแจกจาก 560,000 ล้านบาทที่ให้ไว้กับ กกต. ก่อนเลือกตั้ง ลดเหลือ 500,000 ล้านบาท
โดยจะทำเป็นทำพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องผ่านทั้ง กฤษฎีกา รัฐสภา หรือศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามีคนไปร้อง
เพราะว่าจะนัดกับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 โดยเฉพาะ มาตรา 53 ระบุชัดเจนว่า การออกกฎหมายพิเศษกู้เงินนั้นจะกระทำได้เฉพาะกรณี
- มีความจำเป็นเร่งด่วน
- ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้วิกฤตของประเทศ
- ไม่สามารถตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน
สรุปง่าย ๆ คือ
ต้องแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังประสบวิกฤติเศรษฐกิจนั่นแหละ
การกู้เงิน 500,000 ล้านบาท จึงผ่านศาลรัฐธรรมนูญไปได้
(2)
20 พฤศจิกายน 2566 สภาพัฒน์ได้ประกาศ GDP ไตรมาส 3 ของปี 2566 ว่า ขยายตัว 1.5%
"สภาพัฒน์" แถลง GDP ไตรมาส 3/66 ขยายตัว 1.5% คาดจีดีพีปี66 ขยายตัวได้ 2.5%
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1099639
เราก็เห็นนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีปรีดามากที่จะได้กู้เงิน
แต่คำถามสำคัญ อะไรที่ทำให้เศรษฐกิจหดตัว
ก็คือภาคอุตสาหกรรม (เป็น sector ที่ใหญ่ที่สุด) เกิดหดตัวลง -4% เลยดึงใน GDP ของไทยโตต่ำ ที่ติดลบหนักที่สุดคืออุตสาหกรรม "เพื่อการส่งออก" โดยเฉพาะ Hard Disk Drive และชิ้นส่วนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนภาคบริการขยายตัวได้ดีมาก ในด้านที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร โตขึ้นถึง 14.9% การค้าปลีกและค้าส่งขยายตัว 3.3% ขนส่งโต 6.8%
ส่วนฝั่งรายจ่ายที่เราคุ้นเคย คำนวณได้ตามสูตร C+I+G+X-M (การบริโภคภาคเอกชน + การลงทุนภาคเอกชน + การใช้จ่ายภาครัฐ + การส่งออก - การนำเข้า) จากตัวเลขวันนี้
เราจะเห็นว่าตัวเลขภาคเอกชนโตขึ้นถึง "8.1%" การลงทุนภาคเอกชนโต 3.1% แต่ stock สินค้าก็ลดลงมาก แสดงว่ายังไม่ได้มีการผลิตเพิ่ม ซึ่งสอดคล้องกับฝั่งการผลิตที่ภาคอุตสาหกรรมหดตัว
ภาครัฐหดตัวลงทั้งการบริโภค -4.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน (จากการที่ปีก่อนมีการเบิกค่ารักษาโควิด แต่ปีนี้ไม่มี จึงหดตัว)
การลงทุนภาครัฐก็หดตัว -2.6%
และถึงแม้การส่งออกสินค้าจะหดตัวตามคาดที่ -3.1% แต่การส่งออกภาคบริการกลับโตถึง 23% ส่วนการนำเข้าก็หดตัวแรงที่ -10.2%
https://www.facebook.com/SirikanyaOfficial/posts/pfbid02Av2fiq5aQekuehQxjcKsZcCn1xAFA6JvR3u75nHKHDGNvmxT83P5Rj9BUXVajFgvl
(3)
สิ่งที่ปฏิสธไม่ได้คือ การลงทุนภาครัฐก็หดตัว -2.6% นั้นเกิดจาการที่งบประมาณ 2567 ยังไม่ผ่านรัฐสภาเลย (กว่าจะเอาเข้าสภาก็หลังปีใหม่ 2567 ไปแล้ว)
ทำไมรัฐบาลเศรษฐา ทวีสินจึงไม่เอา พรบ.งบประมาณ 2567 เข้าสภาเสียที
หรือว่ารัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นั่นแหละที่ตั้งใจทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเสียเอง เพื่อจะกู้เงิน 500,000 ล้านบาทให้ได้
.....

Atukkit Sawangsuk
1d

.....