จิตแท้และวิญญาณขอมอบให้กับเสรีภาพของประชาชน: คุยกับ “ป้าสาคร” เจ้าของรางวัลสิทธิมนุษยชนคนธรรมดา เนื่องในวันนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงสากล
29/11/2566
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
“ป้า ๆ รู้จักนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไหม?”
“มันเป็นยังไงล่ะ คือเรารู้แต่ว่าอะไรไม่ถูกต้องเราก็ต้องแก้ไข แต่ไอ้นักปกป้องสิทธิอะไรเนี่ย เป็นยังไง ”
“เป็นแบบป้าไง”
“อ้าวเหรอ… เป็นแบบป้าคือเป็นยังไง?”
นิยามความหมายของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากเว็บไซต์ของ Amnesty ถูกเปิดออกเพื่ออ่านให้ ‘ป้าสาคร’ หญิงวัย 59 ปี ฟัง ตัวอักษรที่บรรยายคุณลักษณะต่าง ๆ ของคนที่เป็นนักปกป้องสิทธิว่ามีแบบใดบ้างที่ตรงกับสิ่งที่เป็นตัวเธอ
“โหย จะร้องไห้แล้วเนี่ยที่มีคนเห็นคุณค่าเราขนาดนี้” เธอกล่าวด้วยความตื้นตันใจหลังรู้ความหมายของนักปกป้องสิทธิที่กำลังเป็นประเด็นของบทสนทนาอยู่ในขณะนั้น และขอเล่าต่อด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า ที่เธอพยายามช่วยเหลือนักกิจกรรมไร้ญาติที่ไม่มีคนส่งข้าวส่งน้ำให้ในเรือนจำ และรวบรวมเรื่องราวของพวกเขาออกมาโพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวของตัวเอง หรือส่งข่าวให้เพื่อนนักกิจกรรมช่วยเผยแพร่ข้อมูลผู้ถูกละเมิดสิทธิ เป็นเพียงการสนับสนุนแบบคนธรรมดาเท่านั้น เธอไม่ได้คิดอะไรที่มีเบื้องลึกเบื้องหลังไปมากกว่านี้อีกแล้ว
ที่ไหนมีชุมนุม ที่นั่นมี ‘ป้าสาคร’ คงเป็นนิยามที่บ่งบอกตัวตนของผู้หญิงคนนี้ได้ดีที่สุด เธอไม่ได้มีอะไรโดดเด่นกว่าผู้ชุมนุมหรือแกนนำคนไหน เธอไม่ได้เป็นนักกิจกรรม หากแต่เป็น ‘บุคคลสำคัญ’ ของนักกิจกรรมและผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองหลาย ๆ คน ซึ่งมักจะขาดกำลังใจจากหญิงคนนี้ไปเสียมิได้
ในบรรดาเหล่าผู้ถูกดำเนินคดีการเมือง อาจคุ้นหน้าคุ้นตาหญิงวัย 59 ปี คนนี้ในลุคผมสั้นดำขลับ สวมเสื้อยืดแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เป็นรูปการ์ตูนแมวตัวส้ม มีเครื่องหมายยกเลิกมาตรา 112 กางเกงวอร์ม 5 ส่วน และรองเท้าผ้าใบที่พร้อมลุยไปทุกที่ เธอบอกว่าตัวเองยังคงแข็งแรงดี และพร้อมที่จะยืนเคียงข้างคนรุ่นใหม่ในประเทศนี้ต่อไปอีกนานแสนนาน
เนื่องในวันนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงสากล (29 พ.ย. ของทุกปี) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้มีโอกาสพูดคุยกับป้าสาคร หนึ่งในประชาชนที่ติดตามสังเกตการณ์คดีการเมืองมาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปี 2563 เธอกล่าวว่าที่ทำอยู่ในทุกวันนี้ก็เพราะ ‘ป้าก็คือป้า’ ผู้ไม่ขึ้นตรงกับสังกัดกลุ่มกิจกรรมใด ๆ ในประเทศนี้ เธอยืนยันว่าตนเองไม่ได้ฝักใฝ่กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มใดเป็นพิเศษ “ป้าไม่ชอบไปกับใคร เวลามีม็อบ เราก็ไปของเรา ไม่วุ่นวายคน ไม่ต้องรอใคร”
สาวโรงงานเย็บผ้าจากนครสวรรค์
ปี พ.ศ. 2506 เป็นปีที่อยู่ในช่วงการปกครองบ้านเมืองของเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และเป็นปีที่ป้าสาครลืมตาขึ้นมาดูโลกในชีวิตแบบชาวนครสวรรค์ เธอกล่าวว่าตั้งแต่ลืมตาดูโลกใบนี้ในชีวิตแบบคนต่างจังหวัดก็ไม่ได้สุขสบายตั้งแต่แรก แม้ปัจจุบันสังคมจะก้าวไปข้างหน้า แต่ชีวิตคนต่างจังหวัดก็ยังดูเหมือนถูกทิ้งไว้ข้างหลังเสมอ
“ป้าเป็นคนนครสวรรค์ สมัยนั้นได้เรียนจนถึง ป.4 เอง เพราะบ้านป้าไม่ได้มีเงิน รองเท้าจะใส่ไปเรียนก็ยังไม่มีเลย แล้วสมัยนั้นโรงเรียนเราก็ต้องช่วยกันสร้างด้วยนะ ครูจะเอาตะปูให้เราคนละ 8 – 9 ตัว ไปช่วยกันตอกนู่นตอกนี่ในโรงเรียน” แม้เวลาจะล่วงเลยมานานนับ 40 ปี แต่ป้าบอกว่ายังจำเรื่องราวในสมัยเด็กได้อยู่บ้าง ทั้งในตอนพักกลางวันที่จะต้องวิ่งกลับบ้านเท้าเปล่าเพื่อไปกินข้าว และวิ่งกลับมาโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสือต่อให้ทันในช่วงบ่าย เธอกล่าวว่า ช่วงที่ลำบากที่สุดน่าจะเป็นฤดูฝนที่พื้นเปียกแฉะไปทุกสารทิศ ทั้งไม่มีรองเท้าให้ใส่เดินก็ต้องใช้วิธีหนีบเท้าให้จ้ำได้ไวขึ้น
“พอเรียนถึง ป.4 ก็ต้องออกมารับจ้างทำนู่นทำนี่ มีอะไรให้ทำเราก็ไปทำ” ป้าเริ่มทำมาหากินตั้งแต่เด็ก ๆ เธอเข้าสู่วงการเย็บผ้าด้วยการไปรับงานจากคนแถวบ้าน แล้วเริ่มเรียนรู้ไปทีละนิดละน้อยจากประสบการณ์เหล่านั้น “แต่ถ้าเอามาให้ตัดผ้า อันนี้ทำไม่ได้นะ ป้าไม่ได้เรียนมา ป้าเรียนเย็บอย่างเดียว”
พอเติบโตขึ้น สาครในวัยสาวก็มีสามี เธอบอกว่าตนเองมีลูกชาย 2 คน ซึ่งทั้งคู่ได้เติบโตแยกย้ายกันไปมีครอบครัว และมีหลานตัวน้อยให้เธอเลี้ยงดูแล้วอีก 2 คน “ป้าเคยมีสามี แต่ก็เลิกและแยกย้ายกันไป ป้าเลี้ยงดูลูกชายมาด้วยตัวคนเดียว” สาครในวัยนั้นถูกทิ้งให้เผชิญหน้ากับความท้าทายในการหาเลี้ยงครอบครัวหลังเริ่มอาชีพสาวโรงงานเย็บผ้าได้ไม่นาน
“แต่ตอนที่ทำงานโรงงาน เราก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เวลามีอะไร ป้าก็จะเป็นคนหนึ่งที่ไปร่วมเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เพราะเรารู้ว่าข้าวหนึ่งจานมันก็เป็นเรื่องการเมือง แต่สมัยนั้นก็จะไปม็อบแรงงานเป็นส่วนใหญ่นะ”
“แต่ระหว่างนั้น ป้าก็ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวมาตลอดตั้งแต่ลูกยัง 3 – 4 ขวบ จะบอกว่าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวก็ได้” การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่ง่าย ภายหลังมาเธอรับรู้ว่าอดีตสามีได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ความสัมพันธ์ที่ตัดขาดกันมานาน ทำให้เธอไม่ได้อาลัยอาวรณ์ต่อกันอีกแล้ว “จะห่วงก็แต่หลาน เราก็หาเงินส่งให้หลานใช้อยู่ทุกเดือน”
เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ป้าสาครเล่าออกมาด้วยความเต็มใจ เธอกล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกอึดอัดใจที่จะเล่าเรื่องนี้ เพราะจริง ๆ ตัวเธอก็ไม่ได้มีรายได้อะไรมากมาย ปัจจุบันเธอรับเงินบำนาญจากประกันสังคมเดือนละประมาณ 2,000 – 3,000 บาท และมีรายได้จากการขายเสื้อยืดตามพื้นที่ชุมนุมต่าง ๆ “ตอนนี้อีก 1 ปี ก็จะได้เบี้ยคนชราแล้ว ก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนเสื้อที่ทำขายช่วงนี้ขายไม่ค่อยได้ แต่ก็จะมีขาประจำมาซื้ออยู่บ้าง”
สาคร ในวัย 59 ปี ยังคงหาลู่ทางหาเลี้ยงชีพพร้อมกับการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองอยู่เสมอ ในกระเป๋าเป้ใบใหญ่ที่เธอมักสะพายไปไหนมาไหน ก็จะอัดแน่นไปด้วยสินค้าที่พร้อมขายให้กับผู้คนมากหน้าหลายตา หรือในบางครั้งบางคราก็มักจะเป็นอาหารสไตล์ Homemade ที่ป้าทำมาขายให้กับผู้ชุมนุมที่มาเฝ้าให้กำลังใจผู้ต้องหาหรือนักกิจกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ
“ป้าไม่เคยเปิดรับบริจาค หรือขอความช่วยเหลือจากใครนะ อยากทำเราก็ทำของเราเอง ไม่เคยคาดหวังเอาอะไรกับใครเลย”
ปี พ.ศ. 2506 เป็นปีที่อยู่ในช่วงการปกครองบ้านเมืองของเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และเป็นปีที่ป้าสาครลืมตาขึ้นมาดูโลกในชีวิตแบบชาวนครสวรรค์ เธอกล่าวว่าตั้งแต่ลืมตาดูโลกใบนี้ในชีวิตแบบคนต่างจังหวัดก็ไม่ได้สุขสบายตั้งแต่แรก แม้ปัจจุบันสังคมจะก้าวไปข้างหน้า แต่ชีวิตคนต่างจังหวัดก็ยังดูเหมือนถูกทิ้งไว้ข้างหลังเสมอ
“ป้าเป็นคนนครสวรรค์ สมัยนั้นได้เรียนจนถึง ป.4 เอง เพราะบ้านป้าไม่ได้มีเงิน รองเท้าจะใส่ไปเรียนก็ยังไม่มีเลย แล้วสมัยนั้นโรงเรียนเราก็ต้องช่วยกันสร้างด้วยนะ ครูจะเอาตะปูให้เราคนละ 8 – 9 ตัว ไปช่วยกันตอกนู่นตอกนี่ในโรงเรียน” แม้เวลาจะล่วงเลยมานานนับ 40 ปี แต่ป้าบอกว่ายังจำเรื่องราวในสมัยเด็กได้อยู่บ้าง ทั้งในตอนพักกลางวันที่จะต้องวิ่งกลับบ้านเท้าเปล่าเพื่อไปกินข้าว และวิ่งกลับมาโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสือต่อให้ทันในช่วงบ่าย เธอกล่าวว่า ช่วงที่ลำบากที่สุดน่าจะเป็นฤดูฝนที่พื้นเปียกแฉะไปทุกสารทิศ ทั้งไม่มีรองเท้าให้ใส่เดินก็ต้องใช้วิธีหนีบเท้าให้จ้ำได้ไวขึ้น
“พอเรียนถึง ป.4 ก็ต้องออกมารับจ้างทำนู่นทำนี่ มีอะไรให้ทำเราก็ไปทำ” ป้าเริ่มทำมาหากินตั้งแต่เด็ก ๆ เธอเข้าสู่วงการเย็บผ้าด้วยการไปรับงานจากคนแถวบ้าน แล้วเริ่มเรียนรู้ไปทีละนิดละน้อยจากประสบการณ์เหล่านั้น “แต่ถ้าเอามาให้ตัดผ้า อันนี้ทำไม่ได้นะ ป้าไม่ได้เรียนมา ป้าเรียนเย็บอย่างเดียว”
พอเติบโตขึ้น สาครในวัยสาวก็มีสามี เธอบอกว่าตนเองมีลูกชาย 2 คน ซึ่งทั้งคู่ได้เติบโตแยกย้ายกันไปมีครอบครัว และมีหลานตัวน้อยให้เธอเลี้ยงดูแล้วอีก 2 คน “ป้าเคยมีสามี แต่ก็เลิกและแยกย้ายกันไป ป้าเลี้ยงดูลูกชายมาด้วยตัวคนเดียว” สาครในวัยนั้นถูกทิ้งให้เผชิญหน้ากับความท้าทายในการหาเลี้ยงครอบครัวหลังเริ่มอาชีพสาวโรงงานเย็บผ้าได้ไม่นาน
“แต่ตอนที่ทำงานโรงงาน เราก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เวลามีอะไร ป้าก็จะเป็นคนหนึ่งที่ไปร่วมเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เพราะเรารู้ว่าข้าวหนึ่งจานมันก็เป็นเรื่องการเมือง แต่สมัยนั้นก็จะไปม็อบแรงงานเป็นส่วนใหญ่นะ”
“แต่ระหว่างนั้น ป้าก็ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวมาตลอดตั้งแต่ลูกยัง 3 – 4 ขวบ จะบอกว่าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวก็ได้” การเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่ง่าย ภายหลังมาเธอรับรู้ว่าอดีตสามีได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ความสัมพันธ์ที่ตัดขาดกันมานาน ทำให้เธอไม่ได้อาลัยอาวรณ์ต่อกันอีกแล้ว “จะห่วงก็แต่หลาน เราก็หาเงินส่งให้หลานใช้อยู่ทุกเดือน”
เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ป้าสาครเล่าออกมาด้วยความเต็มใจ เธอกล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกอึดอัดใจที่จะเล่าเรื่องนี้ เพราะจริง ๆ ตัวเธอก็ไม่ได้มีรายได้อะไรมากมาย ปัจจุบันเธอรับเงินบำนาญจากประกันสังคมเดือนละประมาณ 2,000 – 3,000 บาท และมีรายได้จากการขายเสื้อยืดตามพื้นที่ชุมนุมต่าง ๆ “ตอนนี้อีก 1 ปี ก็จะได้เบี้ยคนชราแล้ว ก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนเสื้อที่ทำขายช่วงนี้ขายไม่ค่อยได้ แต่ก็จะมีขาประจำมาซื้ออยู่บ้าง”
สาคร ในวัย 59 ปี ยังคงหาลู่ทางหาเลี้ยงชีพพร้อมกับการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองอยู่เสมอ ในกระเป๋าเป้ใบใหญ่ที่เธอมักสะพายไปไหนมาไหน ก็จะอัดแน่นไปด้วยสินค้าที่พร้อมขายให้กับผู้คนมากหน้าหลายตา หรือในบางครั้งบางคราก็มักจะเป็นอาหารสไตล์ Homemade ที่ป้าทำมาขายให้กับผู้ชุมนุมที่มาเฝ้าให้กำลังใจผู้ต้องหาหรือนักกิจกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ
“ป้าไม่เคยเปิดรับบริจาค หรือขอความช่วยเหลือจากใครนะ อยากทำเราก็ทำของเราเอง ไม่เคยคาดหวังเอาอะไรกับใครเลย”
จากสาวโรงงาน สู่การเป็นสาวเสื้อแดง
ป้าสาครบอกว่า ห้วงเวลาที่บรรยากาศทางการเมืองเริ่มมีหวังที่สุดเกิดขึ้นในช่วงปี 2544 โดยรัฐบาลจากปลายปากกาของประชาชนภายใต้การนำของ ทักษิณ ชินวัตร จากพรรคไทยรักไทย ผลงานของรัฐบาลไทยรักไทยในช่วงนั้นสร้างความประทับใจให้กับคนธรรมดาอย่างเธอสุด ๆ
หลังรัฐประหารปี 2549 สาครที่เป็นสาวโรงงานเริ่มหันหน้าเข้าสู่การเป็นสาวเสื้อแดงเต็มตัว “เราเห็นแก่นายกทักษิณ เราเห็นเขาถูกทำร้ายก็รับไม่ได้ มันเลยทำให้เราต้องออกมาเคลื่อนไหว”
สาครเล่าต่อว่า พอมาปี 2552 การเมืองมันแย่ มันถอยหลังลงเรื่อย ๆ คนเสื้อแดงทุกเฉดจึงรวมเป็นแดงเดียวมุ่งสู่ใจกลางเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ประชาชนทุกภูมิภาคต่างหลั่งไหลเข้ามาชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ แต่ในช่วงเวลาเหล่านั้น ป้าสาครบอกว่ามันเป็นเหมือนความทรงจำที่เจ็บปวดอย่างสาหัสสำหรับเธอ
“มันเจ็บปวดมากนะเว้ย คือมันคืออะไรอะ การเข้าปราบประชาชนแบบนั้น”
“…”
“ตอนปี 53 ที่คนเสื้อแดงถูกปราบน่ะ เราเสียใจนะ” ป้าสาครไม่ได้บรรยายอะไรไปมากกว่าบอกว่าเธอหมดหวังกับประเทศเสียเหลือเกินในช่วงเวลานั้น
“ก่อนวันที่ 10 เมษา มันมีทหารที่ถูกยิงเสียชีวิต แล้วหลังจากนั้นเขาก็เริ่มเข้าสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ ป้าไม่ได้อยู่ในวันนั้น เพราะออกมาได้ก่อน แล้วพอจะกลับเข้าไปเขาก็ไม่ให้เราเข้าไปแล้ว การชุมนุมในสมัยนั้นมันทุลักทุเล และน่ากลัวมาก เพราะบางพื้นที่จะเข้าแล้วออกไม่ได้ หรือเข้าไปแล้วอาจจะออกไม่ได้เลยก็มี” ป้าอธิบายต่อว่า ถึงอย่างนั้นเธอก็ได้เผชิญหน้ากับแก๊สน้ำตา และกระสุนยางอยู่หลายครั้งในระหว่างที่ชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง
“ป้าไม่ได้มีเพื่อนสนิทที่ไปม็อบด้วย เพราะเราไปก็ไปคนเดียว ไปหาเพื่อนเอาข้างหน้า ไปหลายคนมันก็ต้องรอกัน” สาครบอกว่า ถึงจะเป็นคนตัวคนเดียว ไม่สังกัดกลุ่มไหน แต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 ก็สร้างความสะเทือนใจให้เธอไม่น้อยไปกว่าคนที่มีกลุ่มก้อน เพราะอย่างน้อยที่สุดเธอก็เป็นหนึ่งในประชาชนที่ยืดหยัดเพื่อประชาชนมาตลอดเหมือนกับทุก ๆ คน
“ตอนนั้นที่เราไปชุมนุม เราคิดว่ายังไงเราก็จะชนะแน่ ๆ เพราะประชาชนไม่พอใจมาก มันมีคนตายหลายศพ มันมีแต่ความโศกเศร้า”
“…”
“แล้วทุกวันนี้เรายังไม่รู้เลยว่าใครฆ่าคนเสื้อแดง”
สาวเสื้อแดงที่ผันตัวมาเป็น ‘แม่สาคร’ ของเด็กในม็อบ และการหยอดเงินวันละ 20 บาท เพื่อคนในเรือนจำ
สาครเล่าความแตกต่างของการชุมนุมในปี 2553 กับปี 2563 ด้วยคำอธิบายว่า “สังคมมันก้าวหน้าไปมาก การที่เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาทำการเมือง จัดการชุมนุมกันเองเป็นเหมือนการทำให้ประชาชนตาสว่าง”
เมื่อคดีการเมืองจำนวนมากจากการออกมาเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่เริ่มเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล สาครบอกว่า เธอติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิดังกล่าวอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งจากคนที่รู้จักในม็อบและข่าวสารบนโลกออนไลน์ สาครกล่าวว่าที่เธอยังยึดติดและไม่ปล่อยวาง แม้คนในวัยเดียวกันหรือเพื่อนที่ร่วมกิจกรรมชุมนุมมาด้วยกันจะลดละเลิกกันไปแล้วก็ด้วยเหตุผลหลายอย่าง
“ป้าเห็นว่ามันไม่ยุติธรรม เด็ก ๆ ไม่ได้ทำอะไรผิด ไม่ได้ทำให้ใครตาย แต่เอาเขาไปติดคุกติดตาราง เรื่องพวกนี้มันคืออะไรอะ พวกผู้ใหญ่ต้องคิดนะ ทุกวันนี้เราผิดหวังกับกระบวนการยุติธรรมมาก”
“หลายคนหมดศรัทธา แต่ป้าก็อยากไปให้กำลังใจพวกเขา ไปโอบกอดพวกเขา เพราะเรารักทุกคนเหมือนลูก”
เธอกล่าวว่าในทุกครั้งที่ไปติดตามสังเกตการณ์คดีการเมือง เธอมักจะเลือกไปดูคดีมาตรา 112 เพราะด้วยความสัตย์จริงเธอไม่เห็นด้วยกับข้อกฎหมายข้อนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว “เราทำอะไรได้เราก็ทำ เราไปดูได้เราก็ต้องไปดู เพราะสังคมมันไปข้างหน้า และเวลามันจะไม่มีวันย้อนกลับไปอีกแล้ว”
“คดีที่เราไปดูแล้วสะเทือนใจนี่มีเยอะมาก คือสะเทือนใจไปหมด อย่างคดีของเก็ท ที่โดนเรื่องกิจกรรมทัวร์มูล่าผัว ใจจริงป้าอยากยกมือถามศาลมากเลยนะว่า เขาผิดอะไร”
ส่วนเรื่องเวลาเตรียมตัวไปศาลในแต่ละครั้ง ป้าสาครบอกว่าเธอไม่ได้มีความลับอะไรเป็นพิเศษ “เด็กคนไหนที่โดนคดี เขาก็จะส่งข้อความมาบอกว่าเขามีนัดอะไรบ้าง ถ้าเราว่างเราก็ไป”
สาครกล่าวเชิญชวนทุกคนเพราะว่าใคร ๆ ก็เข้าไปดู ไปให้กำลังใจได้ ที่สำคัญการเดินเข้าห้องพิจารณาคดีต่าง ๆ ก็ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าตัวและหัวใจ บวกรองเท้าผ้าใบที่ดูสุภาพหน่อยก็พอแล้ว
นอกจากนี้ ป้าสาครยังบอกว่า เธอไม่เคยลืมรายชื่อของผู้ต้องขังคดีการเมืองเลยแม้แต่คนเดียว เธอยังคงจดจำชื่อของผู้ต้องขังที่น่าเป็นห่วงในความรู้สึกของเธอไว้เสมอ “ล่าสุดมีคนที่ชื่อเจมส์ ณัฐกานต์ใช่มั้ย ป้ารู้ข่าวมาว่าเขาไม่มีญาติ หาตัวครอบครัวยากมาก นี่ป้าก็ไปพัทลุงมา ไปขอเข้าเยี่ยมซื้อของใช้ของกินให้เขา แต่เรือนจำไม่ยอมให้ป้าเยี่ยมหรอก เพราะเราไม่ใช่ญาติ” หญิงในวัย 59 ปี เล่าเรื่องภารกิจทางการเมืองที่เธอทำเป็นการส่วนตัวต่อ เธอกล่าวว่า ในทุก ๆ วันจะเก็บออมเงินวันละ 20 บาท เพื่อไว้ใช้ซื้อของเข้าเรือนจำในทุก ๆ สิ้นเดือน โดยเธอมักจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะที่ราคาถูกที่สุดอย่างรถเมล์ และรถไฟ ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นอะไร แต่ก็มักจะเลือกที่ถูกไว้ก่อนเสมอ
“ผู้ต้องขังบางคนเขาไม่มีใครจริง ๆ นะ โดยเฉพาะวันแรกที่ต้องเข้าไปในเรือนจำ เรายิ่งต้องรีบไปดูว่าเขาจะมีอะไรกินไหม เขาจะมีของใช้หรือเปล่า แต่เราก็ไม่เคยขอบริจาคจากใครนะ แต่ก็มีคนมาให้ร้อยสองร้อย ป้าไม่เคยถือมาใช้ส่วนตัว เอาให้เด็ก ๆ ที่ต้องการหมด”
ในงานรำลึก 46 ปี 6 ตุลา เมื่อปี 2565 มูลนิธิศักยภาพชุมชนประกาศรางวัลสิทธิมนุษยชนคนธรรมดา หนึ่งในคนที่ได้รับเลือกก็คือป้าสาคร เธอเล่าย้อนกลับไปว่าในตอนนั้นเป็นอะไรที่ตื้นตันใจสุด ๆ เพราะสิ่งที่เธอทำมาตลอด ไม่ได้หวังให้ใครมายกย่องสรรเสริญเลยสักนิดเดียว
“ป้าบริจาคเงินรางวัลทั้งหมดให้กองทุนราษฎรประสงค์ เพื่อนำไปใช้ประกันตัวประชาชนด้วยกันที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทางการเมือง เราไม่อยากเก็บเงินไว้ใช้คนเดียว”
“ต้องบอกไว้ตรงนี้เลยนะว่า ไม่ว่าป้าจะได้รับเงินหรือรางวัลอะไรต่อจากนี้ ไม่ว่ามันจะเป็นเงินหลักร้อยหรือหลักแสนบาท ป้าจะขอบริจาคให้กองทุนราษฎรฯ ทั้งหมด”
“นี่ไม่ได้รวยเลยนะ” ป้าสาครเสริม
เมื่อถูกถามว่าภารกิจทางการเมืองที่ทำเป็นส่วนตัวอยู่ทุกวันนี้ ป้าจะทำไปถึงเมื่อไหร่ เธอก็ตอบกลับทันทีว่า “ทั้งหมดนี้ ป้าทำด้วยใจบริสุทธิ์ ทั้งจิตแท้และวิญญาณขอมอบให้กับเสรีภาพของประชาชน ตายก็คือตาย ตายก็จบกัน”
ทั้งนี้ บทสนทนาเรื่องความช่วยเหลือถูกปิดท้ายด้วยความตลกขบขัน โดยป้าสาครกล่าวว่าเธอได้เก็บใบเสร็จหรือตั๋วรถที่เดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไว้แล้ว เมื่อถามว่าทำไมเธอถึงทำแบบนั้น จึงได้คำตอบว่า “ก็เก็บไว้ก่อน วันไหนที่ประชาชนชนะ ค่อยเอาไปเบิกเงิน”
“แต่จะต้องเอาไปเบิกกับใครก็ไม่รู้หรอกนะ (หัวเราะ)”
ประชาชนต้องชนะ ประชาชนต้องได้นิรโทษกรรม
สาคร ในวัย 59 ปี บอกเล่าความฝันและจินตนาการถึงวันที่ประเทศไทยมีประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เธอกล่าวว่าเราอาจได้ปูถนนทองคำแท้สักวันหนึ่ง และขอให้วันนั้นเธอจะมีชีวิตอยู่ได้เห็นถนนสายนั้นไปกับเด็ก ๆ ในม็อบของเธอ
“ถ้าการเมืองดี ถนนเราจะปูด้วยทองแท้ก็ได้ แล้วก็ถ้าถามว่าอยากให้เป็นแบบประเทศไหนมั้ย ก็อยากให้เป็นแบบฝรั่งเศสนะ คือเขาให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน ป้าเห็นในข่าวที่เขาออกมาเผา มาชุมนุมก็ไม่เห็นใครโดนจับแบบบ้านเรา”
“นี่อะไร บ้านเมืองนี้ แค่ประชาชนเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องไม่กี่เรื่อง ก็จับเข้าคุกเข้าตารางหมด”
เมื่อถามเธอว่าอยากฝากบอกอะไรถึงรัฐบาลตอนนี้ ป้าสาครกล่าวว่า เธอไม่ได้พอใจในสิ่งที่รัฐบาลเป็น แต่อย่างน้อยที่สุดขอให้ฟังเสียงของประชาชนที่เลือกเข้ามา และขอให้ผู้มีอำนาจได้โปรดฟังเรื่องนิรโทษกรรมคดีการเมือง
“ได้เป็นแล้วก็ทำหน่อยเถอะ ต้องช่วยกันดันให้ผ่านให้ได้นะ เพราะคนที่เจ็บคือประชาชน คุณกินเงินเดือนจากภาษีประชาชน”
แต่เมื่อสร้างสมมุติฐาน
ว่าหากนิรโทษกรรมคดีการเมืองไม่เกิดขึ้น เธอก็บอกว่าพร้อมลงถนนเสมอ “จริง ๆ การเลือกรัฐบาลก็เหมือนเลือกผัวนะ (หัวเราะ) มันไม่ดีก็เปลี่ยนใหม่แค่นั้นแหละ”
“ทำไมเราต้องจมปลักอยู่กับคนแย่ ๆ ล่ะ ในเมื่อเรามีโอกาส เราก็เปลี่ยนใหม่สิ ใช่ไหม?”