วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 23, 2566

EnLAW และกรีนพีซ Greenpeace Thailand ต้องการ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers หรือ PRTR) เข้าสภาในปีนี้


Greenpeace Thailand
November 15·

กว่า 2 ปีไฟไหม้โรงงานหมิงตี้เคมิคอล ถึงเวลาที่ประชาชนจะ ‘รู้’ สักทีว่าโรงงานปล่อยสารเคมีอะไรออกมาบ้าง
.
จากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานหมิงตี้เคมิคอลเมื่อวันที่ 5 กรฎาคม 2564 โดยมีต้นตอมาจากการระเบิดของถังเก็บสไตรีนโมโนเมอร์ซึ่งเป็นสารอันตรายขั้นสูงตามคู่มือการจัดการสารเคมีอันตรายสูงของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็งและเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ
.
อย่างไรก็ตามประชาชนแทบ ‘ไม่รู้’ อะไรเลย
“กรณีหมิงตี้เคมิคอล คนที่อยู่แถวนั้นไม่เคยรู้มาก่อนว่าโรงงานผลิตอะไร ใช้สารเคมีอะไรบ้าง ไม่รู้เลยว่าต้องรับมืออย่างไร สมัยก่อนเวลาเกิดอุบัติภัยขึ้นจะมีคำพูดว่าให้หน่วยงานรัฐและผู้เชี่ยวชาญดูแล แต่สมัยนี้มันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว มีคำว่า 'วิทยาศาสตร์ภาคประชาชน’ ดังนั้น PRTR จะทำให้เกิดการรู้ข้อมูลซึ่งสำคัญที่สุด" - สมพร เพ็งค่ำ ผอ.สถาบันพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบโดยชุมชน
.
ตั้งแต่โรงงานไฟไหม้จนถึงตอนนี้ 2 ปีผ่านไป ประชาชนก็ยังไม่รู้เช่นเดิมว่าโรงงานปล่อยสารเคมีอะไรออกมาบ้าง และจะกระทบสุขภาพประชาชนระยะยาวแค่ไหน มากไปกว่านั้น ในขณะที่ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมอีกกว่า 73,509 โรงงาน อย่างไรก็ตามกลับไม่มีใครรู้ว่าโรงงานเหล่านั้นปล่อยมลพิษอันตรายอะไรออกมาบ้าง
.
เมื่อการไม่รู้คือปัญหา ถึงเวลาที่เราจะต้อง ‘รู้’ สักที ด้วยการมีกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers หรือ PRTR) สักที!
.
กฎหมาย PRTR กฎหมายจะบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมเปิดเผยข้อมูลมลพิษ ว่าใช้สารเคมีชนิดใด และปริมาณเท่าใดบ้างที่ถูกปล่อยออกไปทางดิน น้ำ และอากาศ กฎหมาย PRTR จะช่วยป้องกันอุบัติภัยและจัดการกับแผนรองรับเหตุฉุกเฉินได้ดีขึ้น เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าปลายเหตุอย่างที่เคยเป็นมา
.
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW และกรีนพีซเชิญชวนทุกคนร่วมลงชื่อสนับสนุนกฎหมาย #ThaiPRTR ภาคประชาชน
.
เราต้องการ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นกฎหมายเข้าสภาในปีนี้ >> https://act.gp/ThaiPRTR
.
อ่านเพิ่มเติม > https://act.gp/PRTR-article
.
#OpenDataมลพิษ #ThaiPRTR


มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW
6d·

เปิดประวัติอุบัติภัยในรอบ 10 ปีที่ไทยไม่มีกฎหมาย #ThaiPRTR
.
ในแต่ละปีเกิดอุบัติภัยเกี่ยวกับสารเคมีขึ้นมากมาย ซึ่งมีทั้งอุบัติภัยที่มีผลกระทบขนาดเล็ก ไปจนถึงอุบัติภัยที่มีผู้ได้รับความเสียหายมากหลายหมื่นคน และยังไม่รวมถึงความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องใช้ทรัพยากรและระยะเวลาอันยาวนานกว่าจะฟื้นฟูกลับมาให้สมบูรณ์ได้เหมือนเดิม
.
เรามาย้อนดูเหตุอุบัติภัยเกี่ยวกับสารเคมีสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมกับร่วมตั้งคำถามว่าเราจะต้องใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อเหตุการณ์เหล่านี้ต่อไปหรือ
.
เมื่อปี 2555 ถังบรรจุสารโทลูอีนของโรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส (BSTE) ระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ เสียงระเบิดดังต่อเนื่องในรัศมี 8 กิโลเมตรจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน มีผู้เสียชีวิตทันที 11 ราย ประชาชนนับพันเข้ารับการรักษาจนโรงพยาบาลมาบตาพุดรองรับไม่ไหว
.
ปี 2564 เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานหมิงตี้ซึ่งภายในโรงงานมีสารเคมีไวไฟหลายชนิด กว่าจะทราบข้อมูลก็เกิดการระเบิดและควบคุมเพลิงได้ยาก มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 33 ราย และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบรัศมี 5 กิโลเมตรต่างต้องอพยพ
.
ล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้เลยก็เหตุการณ์ที่ซีเซียม-137 หายไปปริศนาจากโรงไฟฟ้าจังหวัดปราจีนบุรี ที่กว่าจะตามหาเจอก็ถูกเข้าเตาหลอมกลายเป็นผงฝุ่นเหล็กปนเปื้อนกัมมันตรังสีไปแล้วกว่า 24 ตันซึ่งกลายเป็นปัญหาด้านการกำจัดต่อไปอีก
.
เหตุที่ไทยยังไม่สามารถติดตามข้อมูลเหล่านี้ได้ หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์อะไร เราไม่รู้เลยว่ามีสารประเภทใดหายไปบ้าง หรือถูกเคลื่อนย้ายไปไหน หรือแพร่กระจายออกมาเท่าไหร่
.
ถึงเวลาที่คนไทยสามารถ ‘รู้’ และ “เข้าถึง” ข้อมูลสักที ด้วยการมี ‘กฎหมาย PRTR’ (Pollutant Release and Transfer Register หรือ PRTR) หรือกฎหมายที่บังคับให้โรงงานอุตสาหกรรม ‘เปิดเผยข้อมูล’ หรือ Open data มลพิษที่ปล่อยสู่ดิน น้ำ หรืออากาศ
.
เมื่อข้อมูลคือพลัง กฎหมาย PRTR จะทำให้ประชาชนรู้ทั้งชนิดและปริมาณสารเคมีที่ปล่อยออกมาและยังทำให้รัฐกำกับและควบคุมการปล่อยมลพิษ พร้อมป้องกันการเกิดเหตุอุบัติภัยสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถึงเวลาแล้วที่รัฐต้องควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง
.
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW และกรีนพีซ Greenpeace Thailand เชิญชวนทุกคนร่วมลงชื่อสนับสนุนกฎหมาย #ThaiPRTR ภาคประชาชน
.
เราต้องการ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นกฎหมายเข้าสภาในปีนี้ >> https://act.gp/ThaiPRTR
#OpenDataมลพิษ