วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 26, 2566

นายชัยธวัช ตุลาธนเดียงสาจริงหรือ จากการที่เดินทางไปพบนายสุวิทย์อย่างเปิดเผย...


อาคม ซิดนี่ย์
9h·

นายชัยธวัช ตุลาธนเดียงสาจริงหรือ
- ผมไม่เคยผิดหวังที่รักและชื่นชอบวิธีการทำงานของพรรคก้าวไกล ที่เปิดเผยและเห็นหัวประชาชนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม การที่คุณชัยธวัช ตุลาธน เดินทางไปพบอดีตพุทธอิสระหรือนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ ถ้าคนที่มีใจเป็น
กลางและปราศจากอคติ ก็จะเข้าใจได้ไม่ยากว่าพรรคก้าวไกลยื่นร่างกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองให้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ก็สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อต่อเนื่องมายาวนาน นับตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนฯที่นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุลเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 และลุกลามบานปรายจนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549และวันที่ 22พฤษภาคม 2557
- การยื่นร่างกฏหมายนิรโทษกรรมทางการเมือง พรรคก้าวไกลนำโดยนายชัยธวัช ตุลาธนได้วอนทุกพรรคการเมืองให้สนับสนุน รวมทั้งการรณรงค์ให้ฝ่ายต่างๆเห็นความสำคัญของการยื่นร่างกฏหมายนิรโทษกรรมในครั้งนี้ รวมถึงการเดินทางไปสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งก็เป็นไปตามหลักสากล ที่ประเทศเจริญแล้วทั้งหลายต่างก็ทำกัน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยการจะ
ออกกฏหมายสำคัญๆ จำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากประชาชนที่เรียกว่า ประชาพิจารณ์ (Public Hearing)
- การที่คุญชัยธวัชเดินทางไปพบนายสุวิทย์อย่างเปิดเผย และมีคนวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอดีตนักการเมืองขี้ตกใจลี้ภัยไปอยู่ประเทศอเมริกาทั้งที่ไม่มีความผิด ได้ออกมาถากถางอย่างเมามันว่า “ก้าวไกลเดียงสาทางการเมือง ฤาฝันว่าเผด็จการเป็นนักบุญ” จึงเป็นเรื่องที่น่าสมเพศกึ่งน่าสงสารเพราะนักการเมืองคนนี้เคยคุยอวดอยู่เสมอว่า “อดีตเคยเป็นถึงประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ” แต่กลับไม่รู้ว่านายชัยธวัชกำลังรณรงค์ควบคู่ไปกับการทำประชาพิจารณ์ ที่ต้องรับฟังความเห็นของทุกคนและทุกฝ่ายอย่างเปิดเผย ไม่ได้มีพฤติกรรมปกปิดที่เรียกว่า “ดีลลับ” เหมือนใครบางคน
- “ประชาพิจารณ์” (Public Hearing) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง “การฟังความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่” ในทางรัฐธรรมนูญ หมายถึง “กระบวนการที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และประชาชนมีส่วนร่วมนำเสนอข้อมูล คำแถลง จุดยืน ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น ทั้งในเชิงสนับสนุนหรือคัดค้าน เกี่ยวกับนโยบาย ร่างกฎหมาย หรือการริเริ่มโครงการของรัฐ เพื่อให้รัฐนำข้อพิจารณาของทุกฝ่ายไปเปรียบเทียบผลดีผลเสีย หาจุดสมดุล ที่เหมาะสม และใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ โปร่งใส และมีความรับผิดชอบ ก่อนที่จะตัดสินใจตามอำนาจที่มีอยู่ต่อไป” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งประชาพิจารณ์จะต้องเกิดขึ้นก่อนการตัดสินใจของรัฐ ดังนั้น หากรัฐได้ตัดสินใจในโครงการใด ๆ ไปก่อนแล้วกระบวนการที่เกิดขึ้นจึงมิใช่การรับฟังหรือการปรึกษาหารือ หากเป็นเพียงแต่การประชาสัมพันธ์เท่านั้น
https://www.senate.go.th/.../S%E0%B9.../9legal/legal16.pdf
อาคม ซิดนี่ย์
25 พฤศจิกายน 2566
สุวิทย์ขี้ข้าเผด็จการและหมาทรงเลี้ยงตัวหนึ่งของวชิราลงกรณ์