คอนเฟิร์ม เป็นประวัติการณ์ทางการเมืองไทย สถาบันกษัตริย์ flexing muscles กับรัฐบาล คสช. อย่างเปิดเผย
โดยเมื่อวันที่ ๙ มกราคม “๓ องคมนตรี คือ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา และนายวิรัตน์ ชินวินิจกุล เดินทางมาเข้าพบนายกรัฐมนตรี”
(http://www.bbc.com/thai/thailand-38559720…)
รุ่งขึ้นวันที่ ๑๐ ม.ค. “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ให้สัมภาษณ์หลังประชุม ครม. ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ ว่า...
เมื่อวานนี้องคมนตรีมาพบ นอกจากเรื่องน้ำ ยังหารือกับรัฐบาลในเรื่องร่างรัฐธรรมนูญหมวดกษัตริย์ที่ต้องแก้ไขตามพระราชอำนาจพระองค์ท่าน
โดยต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อนำร่างรัฐธรรมนูญลงมาแก้ เชื่อใช้เวลาไม่เกิน ๑ เดือน”
(http://www.komchadluek.net/news/politic/255465)
ส่วนว่าต้องแก้เรื่องอะไรบ้าง ข่าวส่วนใหญ่บอกแต่เพียงว่า “เป็นการแก้ไขเพียงไม่กี่มาตรา และไม่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือโครงสร้างทางการเมือง การเลือกตั้ง
ไม่กระทบรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ หรือกระบวนการใดๆ ในทางการเมืองทั้งสิ้น แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์”
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีชี้แจงกระบวนการแก้ไขให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ว่า
“ที่ประชุมร่วม ครม.และคสช.ไม่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยมีมติให้ใช้มาตรา ๔๖ ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ ที่บัญญัติไว้ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ให้สามารถขอรับร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว กลับลงมาปรับปรุงแก้ไขบางมาตราเฉพาะประเด็นที่มีการแจ้งมา”
(http://www.thairath.co.th/content/832714)
แต่ “ประเด็นที่แจ้งมา” ยังไม่คอนเฟิร์ม แค่แบ่งรับแบ่งสู้ “เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่ว่าจะมีการแก้ไขใน ๓ มาตราของร่างรัฐธรรมนูญ คือ มาตรา ๕, ๑๗ และ ๑๘๒
นายวิษณุกล่าวว่า ในหลักการเป็นเช่นนั้น แต่เราต้องไปพิจารณาว่าไปเกี่ยวพันกับประเด็นหลักหรือไม่ ถ้าเกี่ยวโยงกับมาตราอื่นๆ ก็ต้องไปแก้ไขตรงนั้นด้วย”
ทว่าจาก ‘ข่าวสดอิงลิช’ เขาฟันธงว่าวิษณุยอมรับ ๓ มาตรานั้นแน่นอน และอาจเพิ่มถ้าจำเป็น
(http://www.khaosodenglish.com/…/prayuth-change-constitutio…/)
มาตรา ๕ เกี่ยวกับพระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญหมกเม็ดของมีชัย (ฤชุพันธุ์) ตัดออกไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นตัวการเรียกประชุมแม่น้ำหลายสายเวลาเจอะทางตันการเมือง แทนที่จะวิ่งไปหากษัตริย์แบบ ม.๗ ที่พวกสลิ่มเคยใช้เรียกร้อง ‘นายกฯ พระราชทาน’
มาตรา ๑๗ เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อพระมหากษัตริย์ประทับอยู่นอกประเทศ หรือมิได้ทรงแต่งตั้งไว้ ให้องคมนตรีเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาอนุมัติ
เรื่องนี้สำนักข่าวรอยเตอร์ ‘ฟันม่าน’ (เหมือนขุนแผนฟันม่านเข้าห้องวันทอง) ว่า “ตามเอกสารราชการที่เราได้เห็น ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมถึง ให้ถอดข้อความที่ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทุกครั้งที่พระมหากษัตริย์เสด็จนอกประเทศ ออกไปเสีย”
รอยเตอร์แถมคอมเม้นต์ด้วยว่า “พระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ ทรงใช้ชีวิตเมื่อเจริญวัยของพระองค์ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ”
(http://www.reuters.com/arti…/us-thailand-king-idUSKBN14U0QW…)
เป็นอันว่างานนี้สถาบันกษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ทรงกระชับอำนาจที่รัฐธรรมนูญ คสช. ดึงเอาไปให้ศาล กลับคืนแล้ว ที่วิษณุว่าไม่กระทบกระบวนการใดๆ ในทางการเมืองทั้งสิ้น นั่นพูดเฉพาะกระบวนการแก้ไข
แต่ในบริบทของทิศทางการเมืองตามยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี คสช. ละก็กระทบไปหมดต่อพวก establishments เดิมๆ (เว้นทหาร) โดยเฉพาะพวกศาล และตุลาการณ์ภิวัฒน์
ประวัติการณ์ muscles flexing ของรัชกาลใหม่ น่าจะยังไม่หมด หากข่าวซุบซิบที่ว่ากำลังจะมีการตรวจสอบพวกผู้พิพากษาที่ร่ำรวยผิดปกติหลายร้อยคน กันขนานใหญ่ กลายเป็นความจริง