วันอาทิตย์, สิงหาคม 14, 2559

Thai Voice Media สัมภาษณ์ 'อาจารย์ฮาร่า ชินทาโร่' (Hara Shintaro) เรื่อง "จักรพรรดิญี่ปุ่น" 4 ตอนจบ




https://www.youtube.com/watch?v=M9sijRPlNIs

"จักรพรรดิญี่ปุ่น" ตอนที่ 1 เหตุใด..คนญี่ปุ่นเห็นด้วยให้"จักรพรรดิ"สละราชสมบัติ"?

jom voice

Published on Aug 11, 2016

กรณีที่ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อ ประชาชนชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาซึ่งมีนัยยะถึงการ สละราชสมบัติด้วยเหตุผลเพราะว่าทรงชราภาพมากแล้ว ด้วยพระชนมมายุ 82 พรรษาซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทรงปฎิบัติหน้าที่ในฐานะองค์จักรพรรดิ์ได้อย่างสมบูรณ์นั้น

Thaivoicemedia รายการ"เสียงไทเพื่อเสรีภาพคนไทย" ได้สัมภาษณ์ อาจารย์ฮาร่า ชินทาโร่ (Hara Shintaro)นักวิชาการด้านภาษาวัฒนธรรมมาลายู อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ในฐานะที่เป็นคนญี่ปุ่น ถึงบทบาทความสำคัญของสถาบันจักรพรรดิที่ต่อประชาชนชาวญี่ปุ่น โดยมีความยาวจำนวน 4 ตอน

ในตอนแรกที่จะนำเสนอนี้ อาจารย์ฮาร่า ได้กล่าวถึง นัยยะแห่งกระแสพระราชดำรัสของ องค์จักรพรรดิอากิฮิโตะว่า เป็นพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ที่ต้องการจะสละราชสมบัติ เพราะเมื่อชราภาพมากแล้วจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ หากล้มป่วยหรือสื่อสารไม่ได้จะยิ่งเป็นภาระของประเทศและประชาชน ซึ่งในประวัติศาสตร์ของจักรพรรดิญี่ปุ่น จำนวน 125 พระองค์( 123 พระองค์ มี 2 พระองค์ที่ครองราชย์สองสมัย)เคยมีการสละราชสมบัติก่อนที่จะสวรรคต 20 พระองค์ แม้จะไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า องค์จักรพรรดิจะสละราชสมบัติไม่ได้ แต่คนญี่ปุ่นจะรู้โดยธรรมชาติว่า รัชทายาทที่ขึ้นเป็นจักรพรรดิจะอยู่ในตำแหน่งจนสวรรคต หลังจากที่มีพระราชดำรัสออกมาแล้ว คนญ๊่ปุุ่นส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่จะให้พระองค์ได้ทรงพักผ่อน แม้จะยังจงรักภักดี เพราะความเชื่อของคนญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ไม่ได้มองว่า องต์จักรพรรดิเป็นเทพอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นคนธรรมดาที่เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ เมื่อแก่ชราก็ต้องพักผ่อนเป็นธรรมดา ( ตอนที่ 2 - อาจารย์ ฮาร่า จะอธิบายถึงเหตุผลทำไม อเมริกา จึงยังคงสถาบันจักรพรรดิของญี่ปุ่นไว้ให้เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ และบทบาทของ กองทีพ และการเมืองที่มีต่อสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่น เป็นอย่างไร ...โปรดติดตาม)

.....

"จักรพรรดิญี่ปุ่น"ตอนที่ 2 "รธน.ม.4" กฎเหล็กที่รักษา"จักรพรรดิ"ปลอดภัยและยืนยง



https://www.youtube.com/watch?v=GTcaBxHB3T8

"จักรพรรดิญี่ปุ่น"ตอนที่ 2 "รธน.ม.4" กฎเหล็กที่รักษา"จักรพรรดิ"ปลอดภัยและยืนยง

jom voice

Published on Aug 12, 2016

กรณีที่ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อ ประชาชนชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาซึ่งมีนัยยะถึงการ สละราชสมบัติด้วยเหตุผลเพราะว่าทรงชราภาพมากแล้ว ด้วยพระชนมมายุ 82 พรรษาซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทรงปฎิบัติหน้าที่ในฐานะองค์จักรพรรดิ์ได้อย่างสมบูรณ์นั้น

Thaivoicemedia รายการ"เสียงไทเพื่อเสรีภาพคนไทย" ได้สัมภาษณ์ อาจารย์ฮาร่า ชินทาโร่(Hara Shintaro)นักวิชาการด้านภาษาวัฒนธรรมมาลายู อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ในฐานะที่เป็นคนญี่ปุ่น ถึงบทบาทความสำคัญของสถาบันจักรพรรดิที่ต่อประชาชนชาวญี่ปุ่น โดยมีความยาวจำนวน 4 ตอน

ในตอนที่ 2 นี้ อาจารย์ฮาร่า ชินทาโร ได้กล่าวถึง สถานะของสถาบันจักรพรรดิหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกา ได้ปรับเปลี่ยนให้สถาบันจักรพรรดิอยู่ภายในใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้ใน ม.4 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำหน้าที่เพียงสัญญลักษณ์ประเทศเท่านั้น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และการเมืองจะใช้สถาบันจักรพรรดิเพื่อประโยชน์ทางการเมืองก็ทำไม่ได้ ขณะเดียวกัน สถาบันจักรพรรดิหรือข้าราชบริพาร องค์รัชทายาทก็ห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะผิดรัฐธรรมนูญ ในส่วนของ กองทัพ ก็ถูกปรับบทบาทให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลพลเรือนแต่เพียงเท่านั้น ห้ามยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศ มีหน้าที่ปกป้องประเทศจากอริราชศัตรูเท่านั้น การที่อเมริกา ให้คงสถาบันจักรพรรดิไว้ไม่ได้ทำลายไปด้วย เพราะไม่ต้องการให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศคอมมินิสต์เหมือนหลายประเทศในเอเชีย (ตอนที่ 3 อาจารย์ฮาร่า จะพูดถึง การสร้างอุดมการณ์ชาตินิยม ไม่อาจจะสร้างโดยอาศัยสถาบันจักรพรรดิได้ เพราะเข้าข่ายผิดกฎหมาย และความมั่นคงยั่งยืนของสถาบันจักรพรรดิขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง..โปรดติดตาม)

.....

"จักรพรรดิญี่ปุ่น" ตอนที่ 3 อุดมการณ์"ชาตินิยม"สร้างผ่านสถาบันจักรพรรดิไม่ได้



https://www.youtube.com/watch?v=UQf483LqKQ4

"จักรพรรดิญี่ปุ่น" ตอนที่ 3 อุดมการณ์"ชาตินิยม"สร้างผ่านสถาบันจักรพรรดิไม่ได้

jom voice

Published on Aug 12, 2016

กรณีที่ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อ ประชาชนชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาซึ่งมีนัยยะถึงการ สละราชสมบัติด้วยเหตุผลเพราะว่าทรงชราภาพมากแล้ว ด้วยพระชนมมายุ 82 พรรษาซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทรงปฎิบัติหน้าที่ในฐานะองค์จักรพรรดิ์ได้อย่างสมบูรณ์นั้น

Thaivoicemedia รายการ"เสียงไทเพื่อเสรีภาพคนไทย" ได้สัมภาษณ์ อาจารย์ฮาร่า ชินทาโร่ (Hara Shintaro)นักวิชาการด้านภาษาวัฒนธรรมมาลายู อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ในฐานะที่เป็นคนญี่ปุ่น ถึงบทบาทความสำคัญของสถาบันจักรพรรดิที่ต่อประชาชนชาวญี่ปุ่น โดยมีความยาวจำนวน 4 ตอน

ในตอนที่ 3 นี้อาจารย์ฮาร่า ได้กล่าวถึง อุดมการณ์ชาตินิยมในญี่ปุ่นไม่ได้สร้างผ่านสถาบันจักรพรรดิเหมือนในอดีต เพราะถือเป็นการดึงสถาบันจักรพรรดิมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง และเป็นเรือ่งที่ผิดรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลอาจจะพยายามสร้างความเป็นชาตินิยมด้วยวิถีทางอื่น สถาบันจักรพรรดิ ไม่อยู่ในฐานะที่จะลงมาแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ถ้ามี หรือแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาการดำเนินชีวิตประจำวัน หน้าที่นี้ชาวญี่ปุ่นถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่แล้ว ยกเว้นหากเกิดภัยพิบัติร้ายแรงทั่วประเทศ ประชาชนก็ไม่หวังที่จะให้องค์จักรพรรดิลงมาช่วยเหลือ เพราะพระองค์เป็นเพียงสัญญลักษณ์เท่านั้น แต่ลงมาช่วยเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจนั้นทำได้แค่นั้นซึ่งมีค่าทางใจอย่างใหญ่หลวงสำหรับชาวญี่ปุ่น สรุปคือการจะรักษาสถาบันจักรพรรดิให้ ปลอดภัยมั่นคงและยั่งยืนได้มี 3 ปัจจัยหลักคือ 1 ปัจจัยจากภายในของสถาบันจักรพรรดิเอง 2. รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่กำหนดบทบาทไว้ให้ชัดเจน และ 3 ประชาชน และรัฐบาล ที่จะไม่คาดหวัง หรือดึง หรือใช้ สถาบันจักรพรรดิ เกินขอบเขตหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ( ตอนสุดท้าย อาจารย์ฮาร่า จะพูดถึง สถานะทางการเงินของสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่น ทำไม จักรพรรดิญี่ปุ่นจึงไม่อาจจะรับเงินบริจาคจากประชาชนได้ และทำการค้าการลงทุนไม่ได้...โปรดติดตาม)

.....

"จักรพรรดิญี่ปุ่น"ตอนจบ "จักรพรรดิ"สัญลักษณ์ความเป็นชาติ-ไม่ควรแสวงหาประโยชน์ใด ๆ



https://www.youtube.com/watch?v=LOBaihs6Xss

"จักรพรรดิญี่ปุ่น"ตอนจบ "จักรพรรดิ"สัญลักษณ์ความเป็นชาติ-ไม่ควรแสวงหาประโยชน์ใด ๆ

jom voice

Published on Aug 13, 2016

กรณีที่ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อ ประชาชนชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาซึ่งมีนัยยะถึงการ สละราชสมบัติด้วยเหตุผลเพราะว่าทรงชราภาพมากแล้ว ด้วยพระชนมมายุ 82 พรรษาซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทรงปฎิบัติหน้าที่ในฐานะองค์จักรพรรดิ์ได้อย่างสมบูรณ์นั้น
Thaivoicemedia รายการ"เสียงไทเพื่อเสรีภาพคนไทย" ได้สัมภาษณ์ อาจารย์ฮาร่า ชินทาโร่ (Hara Shintaro)นักวิชาการด้านภาษาวัฒนธรรมมาลายู อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ในฐานะที่เป็นคนญี่ปุ่น ถึงบทบาทความสำคัญของสถาบันจักรพรรดิที่ต่อประชาชนชาวญี่ปุ่น โดยมีความยาวจำนวน 4 ตอน
ในตอนสุดท้าย อาจารย์ฮาร่า ได้กล่าวถึง สถานะทางเศรษฐกิจของจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งจะได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลปีละประมาณ 4 พันกว่าล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสำนักพระราชวัง และรัชทายาท ข้าราชบริพารซึ่งเมื่อเป็นรายได้เฉพาะพระองค์แล้วถือว่าน้อยมาก จักรพรรดิญี่ปุ่นไม่สามารถลงทุน ทำธุรกิจแข่งกับภาคเอกชนได้ เพราะเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทรัพย์สินส่วนพระองค์ก็มีบ้างแต่ไม่มาก สามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งไม่มีการรับบริจาคเงินเสด็จพระราชกุศลให้กับองค์จักรพรรดิ ทั้งนี้องค์จักรพรรดิและครอบครัว ทำหน้าที่เสียสละเพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเป็นชาติ และศูนย์รวมแห่งความเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่น ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะแสวงหากำไรทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและครอบครัว คนญี่ปุ่น ไม่คิดว่า จักรพรรดิคือเทพเจ้าอีกต่อไป แต่ถือว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่คนญี่ปุ่นจะต้องให้เกียรติเพราะเป็นสํญญลักษณ์ของความเป็นชนชาติญี่ปุ่น
อาจารย์ฮาร่า ยังบอกด้วยว่า สมัยวัยรุ่นก็เคยเป็นคนที่คิดว่า สถาบันจักรพรรดิไม่จำเป็นสำหรับประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นสัญญลักษณ์ของความไม่เท่าเทียมกันของคน แต่เมื่อโตขึ้น หลายประเทศที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์ อย่างอเมริกา ก็มีปัญหาดูถูกคนผิวดำ สร้างค่านิยมคนไม่เท่ากัน ขณะที่ อังกฤษ สวีเดน และญี่ปุ่นเอง สิทธิเสรีภาพ ความเป็นคนก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันกับประเทศที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์ อีกทั้ง การปรับตัว การวางพระองค์ของจักรพรรดิทำให้ ตนเปลี่ยนใจแล้วในขณะนี้ว่า สถาบันจักรพรรดิมีความจำเป็นสำหรับความเป็นชนชาติญี่ปุ่น