วงการหนังไทยไม่พัฒนาเพราะเราไม่เป็นประชาธิปไตย?
ช่วงที่ผ่านมา หลายคนตื่นเต้นกับภาพยนตร์เกาหลีใต้ จนกลับมาตั้งคำถามว่า ทำไมหนังเกาหลีใต้จึงก้าวหน้านัก ซึ่งงานวิจัยหลายเล่มมักบอกตรงกันว่า หนังเกาหลีพัฒนาขึ้นมาได้เพราะความเป็นประชาธิปไตย แล้วหนังไทยไม่พัฒนาเพราะไม่เป็นประชาธิปไตย?
โดย ประภาภูมิ เอี่ยมสม
ผู้ดำเนินรายการ Voice World Wide ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ Voice TV
Voice TV
31 สิงหาคม 2559
ช่วงที่ผ่านมา หลายคนตื่นเต้นกับหนังจากเกาหลีใต้ทั้งเรื่อง Train To Busan และ The Handmaiden แม้แต่คนที่ไม่เคยดูหนังเกาหลีมาก่อน เพราะหลายคนคิดว่าหนังเกาหลีคงจะเหมือนกับซีรีส์เกาหลีที่เคยดู ที่บางเรื่องก็จะมีความน้ำเน่าตามขนบของซีรีส์เกาหลีอยู่ แต่หนังทั้ง 2 เรื่องกลับลบล้างความคิดเดิมๆของหลายคนออกไป ซึ่งก็ไม่แปลกนัก เนื่องจากหนังทั้ง 2 เรื่อง และเรื่อง The Wailing (ไม่แน่ใจว่าได้เข้าไทยไหม) ได้ไปเปิดตัวที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ เรื่องคุณภาพจึงได้รับการันตีในระดับหนึ่ง แต่ก็อดชมไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ก้าวหน้ามากจริงๆ และไม่ได้มีไว้สำหรับติ่งเกาหลีเท่านั้น
หากลองหาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ จะมีการวิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้นั้นพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเมื่อประเทศชาติหลุดพ้นจากเผด็จและเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ โดยปี 1995 มีการผ่านกฎหมายสนับสนุนภาพยนตร์ ซึ่งรัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือเงินทุนแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ และเลิกควบคุมเนื้อหาและทิศทางของภาพยนตร์อย่างที่เคยเป็นในยุคเผด็จการ ซึ่งทำให้คนทำหนังมีอิสระมากขึ้นในการทดลองทำอะไรใหม่ๆ ทั้งบท การเล่าเรื่อง พลอต เทคโนโลยีที่ใช้ถ่ายภาพ สไตล์หนัง
ทีนี้ ย้อนกลับมาดูวงการหนังไทยที่จริงๆแล้วมีประวัติมายาวนาน มีบุคคลากรในวงการหนังที่มีความสามารถโดดเด่นหลายคน แต่หนังกลับก็ยังวนเวียนอยู่กับหนังตลก หนังผี หนังรัก ที่จะมีขนบของหนังคล้ายๆกัน ดังนั้น หากหนังเกาหลีใต้พัฒนาด้วยประชาธิปไตย แล้วหนังไทยไม่พัฒนาเพราะเราไม่มีประชาธิปไตยหรือไม่? คำตอบก็คือ "ใช่" และ "ไม่ใช่"
ประชาธิปไตยในที่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ระบอบการปกครองที่มีรัฐบาลจากระบอบประชาธิปไตยสลับกับคณะรัฐประหาร แต่ยังรวมไปถึงแง่มุมอื่นๆด้วย ซึ่งประเด็นที่เป็นปัญหาหนักคือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยด้านเนื้อหา ที่รายงานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรมก็ระบุไว้ว่า ไทยมี "ปัญหาด้านกฎหมายการตรวจพิจารณาจัดประเภทหรือเซนเซอร์ภาพยนตร์ ขณะนี้ยังใช้ทั้งระบบเซนเซอร์และระบบจัดประเภท (Rating) ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านการตลาด" และที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่เหล่านี้ประกอบไปด้วยข้าราชการและนักวิชาการ ดังนี้
1. ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
3. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป จาก กลุ่มภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
4. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
5. นักวิชาการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป จาก กลุ่มภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Insects in the Backyard - Trailer
WFFBKK
6 YEARS AGO
จะเห็นว่าทางการไทยไม่ให้การสนับสนุนหนังไทยและคอยเซนเซอร์"สิ่งที่ไม่ถูกต้องตามจริยธรรม" เพราะเรามีแต่คนที่อยู่กับกฎหมายและกฎเกณฑ์ในตำรา แต่ไม่มีคนที่"เข้าใจ"หนังและอุตสาหกรรมหนัง ขณะที่เกาหลีใต้จะมีคณะกรรมการภาพยนตร์ (KOFIC) ที่มีคนทำงานหรือมีความเข้าใจวงการภาพยนตร์อยู่ด้วย เป็นผู้พิจารณานำงบประมาณมาลงทุนเข้ากองทุนภาพยนตร์ พิจารณาสนับสนุนภาพยนตร์ และพัฒนาสคริปต์เพื่อนำไปทำเป็นหนังต่อไป แน่นอนว่า เกาหลีใต้ก็มีการเซนเซอร์หนังเหมือนกัน เช่นตอนที่หนังสารคดีเกี่ยวกับเรือเซวอลล่ม The Truth Shall Not Sink With Sewol ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ถูกวิจารณ์อย่างหนัก แต่โดยทั่วไปเกาหลีใต้ไม่ได้ห้ามทำเรื่องนู้นเรื่องนี้ไปเสียหมดเหมือนของไทย
ไทยมักมีปัญหากับหนังที่มีเรื่องเกี่ยวกับพระสงฆ์ ทหาร ตำรวจ จะทำเรื่องเพศก็ไม่ได้ อะไรที่ขัดกับศีลธรรมก็มีปัญหาไปเสียหมด ทั้งที่ก็มีระบบจัดเรตติ้งอยู่แล้ว ถ้าอายุเกิน 18 ปีแล้วไม่มีวิจารณญาณอะไรเลยจริง ต้องให้ข้าราชการระดับสูงๆมาเป็นคนคิดแทนให้ก็ถือว่า ประเทศไทยเป็นรัฐล้มเหลวที่ผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพเลย หนังที่ชาติอื่นเขาได้ดูกันนานมากแล้วและได้รับคำชมมากมายอย่าง Insects in the Backyard ของพี่กอล์ฟ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ก็ไม่ได้เข้าฉายในไทย หนังเรื่อง นาคปรก ของภวัต พนังคศิริ ก็ต้องรอ 3 ปีกว่าจะได้เข้าโรง ทั้งที่เนื้อหาก็แค่โจรปลอมตัวมาเป็นพระ ศาสนาจะขัดเกลาจิตใจได้ไหม? หรือหนังเรื่อง อาบัติ ก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น อาปัติ เพราะมองว่าเนื้อหาไม่เหมาะสม ทั้งที่จริงๆแล้วหนังมีแนวคิดล้าหลังที่โทษว่า พระกับสีกามีความสัมพันธ์กัน คนที่บาปหนักคือผู้หญิง ซึ่งน่าเศร้าที่สมัยก่อน(ช่วง 2530s)เรามีหนังแบบ "อย่าบอกว่าเธอบาป" "ช่างมันฉันไม่แคร์" "หย่าเพราะมีชู้" เป็นต้น ที่มีเนื้อหาค่อนข้างแรง(สำหรับสมัยนั้น) อุตส่าห์บุกเบิก ฝ่าเสียงวิจารณ์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมมาได้ แต่ยุคนี้กลับไม่ยอมก้าวต่อไปข้างหน้า และในเมื่อแตะเรื่องอะไรไม่ได้เลย หนังไทยจึงต้องกลับไปอยู่ที่หนังรัก ตลก ผี ทั้งผู้กำกับและค่ายหนังไม่ต้องปวดหัวมาต่อสู้อะไรกับกองเซนเซอร์
Nước 2030 - CGV Cinemas Vietnam - Trailer
CGV CINEMAS VIETNAM
2 YEARS AGO
ทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการจะสื่อว่า หนังไทยจะไม่มีวันเจริญได้ถ้ายังมีการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง แต่จะสื่อว่า ต่อให้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งอีกกี่ชุด หนังไทยไม่มีวันเจริญได้ ถ้าคนที่ทำงานเกี่ยวกับกับภาพยนตร์ยังมีความคิดที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องทำอะไรอยู่ในกรอบ ในขนบเดิมๆ ความล้าหลังไม่เปิดพื้นที่ให้ความคิดใหม่ๆกับภาพยนตร์ หากรามองไปที่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ประเทศคอมมิวนิสต์ที่แต่ก่อนมีแต่หนังสงคราม กลับพัฒนาวงการหนังขึ้นมาได้อย่างก้าวกระโดด เพราะรัฐบาลเวียดนามเปิดพื้นที่ให้คนทำหนังได้พูดถึงเรื่องต่างๆ รวมถึงปัญหาสังคมด้วย หนังเวียดนามหลายเรื่องจึงมีพลอตแปลกๆเช่น NUOC 2030 หนังไซไฟที่จินตนาการว่า ปี 2030 น้ำจะท่วมโลก เวียดนามจะจมไปครึ่งหนึ่ง จะเกิดปัญหาอะไรบ้างสอดแทรกไปกับเรื่องราวความรัก เป็นต้น
อีกหนึ่งอุปสรรคใหญ่ของวงการภาพยนตร์ไทยก็คือ โรงภาพยนตร์ที่เป็นผู้บอกว่า หนังเรื่องไหนขายได้หรือขายไม่ได้ และมักบอกว่า หนังตลก หนักรัก หลังผีขายได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมันก็จริง แต่หลายครั้งหนังตลก หรือหนังผีที่เห็นแค่ตัวอย่างหนังก็รู้แล้วว่าเป็นหนังราคาถูกที่ไปดูแล้วจะต้องเสียดายตังค์แน่ๆ และรายได้ก็แย่มากไม่ผิดคาด แต่หนังพวกนี้ก็ยังเข้าโรงได้ ในขณะที่หนังแนวอื่นต้องดิ้นรนมากกว่าจะได้ฉาย และยังไม่มีการโปรโมตอะไรมากมายเท่าหนังราคาถูกบางเรื่อง กว่าเพื่อนจะมาบอกว่าหนังดีหนังสนุก หนังก็ออกโรงไปแล้ว
ตัวอย่าง นาคปรก (Official Tr.)
SAHAMONGKOLFILM INTERNATIONAL CO.,LTD
7 YEARS AGO
บางคนกำลังแย้งว่า ไทยก็มีหนังดีๆได้รางวัลมี เช่น หนังของพี่เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุเช่น หนังของพี่เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่เพิ่งมีหนัง 3 เรื่องติดอยู่ในโผรายชื่อหนัง 100 เรื่องที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 21 ของบีบีซี ได้แก่เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (อันดับ 37), สัตว์ประหลาด (52) และแสงศตวรรษ (60) แต่หนังดีๆคนไทยไม่ได้ดู ถ้าได้ดูก็เข้าไม่ถึง ไม่ชอบ ไม่ทำกำไร พร้อมโทษว่า คนไทยไม่ดูหนังดี ส่วนอีกกลุ่มก็ชอบโทษว่า คนไทยไม่ช่วยหนังไทย ไม่ดูหนังไทย
ประการแรก ด้วยราคาตั๋วหนังที่เท่ากัน ถ้าหนังไทยไม่น่าดูเท่าหนังฮอลลีวูด หนังเกาหลี หรือหนังชาติอื่น เราจำเป็นต้องนั่งทนอยู่ในโรงหนังหลายชั่วโมงเพื่อเชื่อคนไทยด้วยกันด้วยหรอ? คนที่พูดแบบนี้คือคนที่ดูถูกคนไทย คิดว่าผู้กำกับ คนเขียน และทั้งองคาพยพที่ทำงานในวงการภาพยนตร์ไทยไม่มีทางพัฒนาฝีมือให้ทำหนังได้ดีไปกว่านี้ และคนดูก็ไม่คู่ควรกับหนังที่ดีกว่านี้ เพราะการแข่งขันในตลาดทำให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาสินค้าของตัวเองให้ไปสู้กับคนอื่นเขาได้ ต้องมีพลอตที่แข็งแรง บทที่ดี ถ่ายสวย ค้นข้อมูลที่จำเป็นกับหนัง คอสตูมถูกที่ถูกทางถูกยุคสมัย ฯลฯ ถ้าหนังทำออกมาดี คนถูกปากต่อปาก รีวิวในโซเชียลมีเดีย ก็มีคนแห่ไปดูเอง เหมือน Train To Busan ที่ช่วงแรกๆคนนึกว่าจะเป็นหนังซอมบี้ไก่กา จนคนบอกว่าสนุกมากดีมากก็แห่กันไปดู หรืออย่างหนัง "ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้" ที่ตอนแรกไม่เข้าโรงหนังในกทม.ด้วยซ็ำ แต่กระแสแรงมากในต่างจังหวัด จนต้องเข้าโรงกทม.
ลุงบุญมีระลึกชาติ Uncle Boonmee trailer HD YouTube
ธนภัทร สายเสมา
2 YEARS AGO
ประการที่สอง พี่เจ้ย อภิชาติพงศ์หรือผู้กำกับคนอื่นที่ต้องการทำหนังดี เข้าถึงยาก ก็มีสิทธิ์ทำหนังแบบนั้นต่อไป และเชื่อว่าเขาเลือกแล้วว่าจะมีคนเข้าไม่ถึงหนังเขาเยอะ ส่วนคนที่เข้าไม่ถึงหนังพี่เจ้ยก็ไม่ผิดเลย หลายคนมีสิทธิ์ชอบหรือไม่ชอบ ซึ้งหรือไม่เข้าใจกับศิลปะชิ้นนึง แต่วงการหนังไทยไม่ได้มีพี่เจ้ยคนเดียว และไม่ควรพึ่งพาพี่เจ้ยในการเป็นหน้าเป็นตาประเทศอยู่คนเดียว เราควรมีผู้กำกับที่ดี ทีมเขียนบทที่ดี และทีมงานส่วนอื่นๆที่ดี นอกเหนือไปจากพี่เจ้ย มีให้เยอะขึ้น หลากหลายขึ้น เพื่อผลิตหนังที่ดีในหลากหลายแนว
หนังที่ดีไม่จำเป็นต้องอินดี้หรือเข้าถึงยาก หนังที่ดีและสนุกก็สามารถเป็นหนังตลาดที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ Train To Busan เป็นหนังที่ดูสนุก ทั้งที่หนังซอมบี้ถ้าทำไม่ดีก็แป้กไปเลย แต่เรื่องนี้สนุก ได้รับคำชมมากมาย และยังทำรายได้ดีมากอีกด้วย เรื่อง The Handmaiden ตอนแรกก็เหมือนจะไม่มีใครพูดถึง และดูจะเฉพาะทาง เป็นพวกที่ชอบหนังดาร์กๆแบบฉบับพักชานวุกเท่านั้น จนกลัวว่าจะอยู่ในโรงไม่ถึงสัปดาห์ กลับมีคนบอกกันปากต่อปาก แม้จะจำกัดโรง จะดูทีต้องเข้าเมือง ไปดูกันคนละหลายรอบ และหนังที่สนุกก็ไม่จำเป็นต้องมีซีจีสวยงาม ไซไฟจริงจัง หนังดราม่าดีๆก็สามารถขายได้เช่น The Danish Girl, Forrest Gump, หรือ Carol
ดังนั้น สิ่งที่จะปลดปล่อยวงการหนังไทยออกจากวังวนเดิมๆ ก็คือ เสรีภาพทางความคิดของผู้ผลิตภาพยนตร์ และการเคารพสิทธิของผู้อื่นในการเลือกสิ่งที่ดีให้กับตนเอง ไม่ใช่การตีกรอบให้ตัวเอง ดูถูกตัวเอง หรือโทษคนอื่น
Nước 2030 - CGV Cinemas Vietnam - Trailer
CGV CINEMAS VIETNAM
2 YEARS AGO
ทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการจะสื่อว่า หนังไทยจะไม่มีวันเจริญได้ถ้ายังมีการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง แต่จะสื่อว่า ต่อให้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งอีกกี่ชุด หนังไทยไม่มีวันเจริญได้ ถ้าคนที่ทำงานเกี่ยวกับกับภาพยนตร์ยังมีความคิดที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องทำอะไรอยู่ในกรอบ ในขนบเดิมๆ ความล้าหลังไม่เปิดพื้นที่ให้ความคิดใหม่ๆกับภาพยนตร์ หากรามองไปที่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ประเทศคอมมิวนิสต์ที่แต่ก่อนมีแต่หนังสงคราม กลับพัฒนาวงการหนังขึ้นมาได้อย่างก้าวกระโดด เพราะรัฐบาลเวียดนามเปิดพื้นที่ให้คนทำหนังได้พูดถึงเรื่องต่างๆ รวมถึงปัญหาสังคมด้วย หนังเวียดนามหลายเรื่องจึงมีพลอตแปลกๆเช่น NUOC 2030 หนังไซไฟที่จินตนาการว่า ปี 2030 น้ำจะท่วมโลก เวียดนามจะจมไปครึ่งหนึ่ง จะเกิดปัญหาอะไรบ้างสอดแทรกไปกับเรื่องราวความรัก เป็นต้น
อีกหนึ่งอุปสรรคใหญ่ของวงการภาพยนตร์ไทยก็คือ โรงภาพยนตร์ที่เป็นผู้บอกว่า หนังเรื่องไหนขายได้หรือขายไม่ได้ และมักบอกว่า หนังตลก หนักรัก หลังผีขายได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมันก็จริง แต่หลายครั้งหนังตลก หรือหนังผีที่เห็นแค่ตัวอย่างหนังก็รู้แล้วว่าเป็นหนังราคาถูกที่ไปดูแล้วจะต้องเสียดายตังค์แน่ๆ และรายได้ก็แย่มากไม่ผิดคาด แต่หนังพวกนี้ก็ยังเข้าโรงได้ ในขณะที่หนังแนวอื่นต้องดิ้นรนมากกว่าจะได้ฉาย และยังไม่มีการโปรโมตอะไรมากมายเท่าหนังราคาถูกบางเรื่อง กว่าเพื่อนจะมาบอกว่าหนังดีหนังสนุก หนังก็ออกโรงไปแล้ว
ตัวอย่าง นาคปรก (Official Tr.)
SAHAMONGKOLFILM INTERNATIONAL CO.,LTD
7 YEARS AGO
บางคนกำลังแย้งว่า ไทยก็มีหนังดีๆได้รางวัลมี เช่น หนังของพี่เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุเช่น หนังของพี่เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่เพิ่งมีหนัง 3 เรื่องติดอยู่ในโผรายชื่อหนัง 100 เรื่องที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 21 ของบีบีซี ได้แก่เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (อันดับ 37), สัตว์ประหลาด (52) และแสงศตวรรษ (60) แต่หนังดีๆคนไทยไม่ได้ดู ถ้าได้ดูก็เข้าไม่ถึง ไม่ชอบ ไม่ทำกำไร พร้อมโทษว่า คนไทยไม่ดูหนังดี ส่วนอีกกลุ่มก็ชอบโทษว่า คนไทยไม่ช่วยหนังไทย ไม่ดูหนังไทย
ประการแรก ด้วยราคาตั๋วหนังที่เท่ากัน ถ้าหนังไทยไม่น่าดูเท่าหนังฮอลลีวูด หนังเกาหลี หรือหนังชาติอื่น เราจำเป็นต้องนั่งทนอยู่ในโรงหนังหลายชั่วโมงเพื่อเชื่อคนไทยด้วยกันด้วยหรอ? คนที่พูดแบบนี้คือคนที่ดูถูกคนไทย คิดว่าผู้กำกับ คนเขียน และทั้งองคาพยพที่ทำงานในวงการภาพยนตร์ไทยไม่มีทางพัฒนาฝีมือให้ทำหนังได้ดีไปกว่านี้ และคนดูก็ไม่คู่ควรกับหนังที่ดีกว่านี้ เพราะการแข่งขันในตลาดทำให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาสินค้าของตัวเองให้ไปสู้กับคนอื่นเขาได้ ต้องมีพลอตที่แข็งแรง บทที่ดี ถ่ายสวย ค้นข้อมูลที่จำเป็นกับหนัง คอสตูมถูกที่ถูกทางถูกยุคสมัย ฯลฯ ถ้าหนังทำออกมาดี คนถูกปากต่อปาก รีวิวในโซเชียลมีเดีย ก็มีคนแห่ไปดูเอง เหมือน Train To Busan ที่ช่วงแรกๆคนนึกว่าจะเป็นหนังซอมบี้ไก่กา จนคนบอกว่าสนุกมากดีมากก็แห่กันไปดู หรืออย่างหนัง "ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้" ที่ตอนแรกไม่เข้าโรงหนังในกทม.ด้วยซ็ำ แต่กระแสแรงมากในต่างจังหวัด จนต้องเข้าโรงกทม.
ลุงบุญมีระลึกชาติ Uncle Boonmee trailer HD YouTube
ธนภัทร สายเสมา
2 YEARS AGO
ประการที่สอง พี่เจ้ย อภิชาติพงศ์หรือผู้กำกับคนอื่นที่ต้องการทำหนังดี เข้าถึงยาก ก็มีสิทธิ์ทำหนังแบบนั้นต่อไป และเชื่อว่าเขาเลือกแล้วว่าจะมีคนเข้าไม่ถึงหนังเขาเยอะ ส่วนคนที่เข้าไม่ถึงหนังพี่เจ้ยก็ไม่ผิดเลย หลายคนมีสิทธิ์ชอบหรือไม่ชอบ ซึ้งหรือไม่เข้าใจกับศิลปะชิ้นนึง แต่วงการหนังไทยไม่ได้มีพี่เจ้ยคนเดียว และไม่ควรพึ่งพาพี่เจ้ยในการเป็นหน้าเป็นตาประเทศอยู่คนเดียว เราควรมีผู้กำกับที่ดี ทีมเขียนบทที่ดี และทีมงานส่วนอื่นๆที่ดี นอกเหนือไปจากพี่เจ้ย มีให้เยอะขึ้น หลากหลายขึ้น เพื่อผลิตหนังที่ดีในหลากหลายแนว
หนังที่ดีไม่จำเป็นต้องอินดี้หรือเข้าถึงยาก หนังที่ดีและสนุกก็สามารถเป็นหนังตลาดที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ Train To Busan เป็นหนังที่ดูสนุก ทั้งที่หนังซอมบี้ถ้าทำไม่ดีก็แป้กไปเลย แต่เรื่องนี้สนุก ได้รับคำชมมากมาย และยังทำรายได้ดีมากอีกด้วย เรื่อง The Handmaiden ตอนแรกก็เหมือนจะไม่มีใครพูดถึง และดูจะเฉพาะทาง เป็นพวกที่ชอบหนังดาร์กๆแบบฉบับพักชานวุกเท่านั้น จนกลัวว่าจะอยู่ในโรงไม่ถึงสัปดาห์ กลับมีคนบอกกันปากต่อปาก แม้จะจำกัดโรง จะดูทีต้องเข้าเมือง ไปดูกันคนละหลายรอบ และหนังที่สนุกก็ไม่จำเป็นต้องมีซีจีสวยงาม ไซไฟจริงจัง หนังดราม่าดีๆก็สามารถขายได้เช่น The Danish Girl, Forrest Gump, หรือ Carol
ดังนั้น สิ่งที่จะปลดปล่อยวงการหนังไทยออกจากวังวนเดิมๆ ก็คือ เสรีภาพทางความคิดของผู้ผลิตภาพยนตร์ และการเคารพสิทธิของผู้อื่นในการเลือกสิ่งที่ดีให้กับตนเอง ไม่ใช่การตีกรอบให้ตัวเอง ดูถูกตัวเอง หรือโทษคนอื่น