นี่ไง ประยุทธ์แย้มแคมอวดสยิวแล้วนะ “ถ้าได้อยู่ต่อก็พอใจ”
(แปลเป็นไทยจากถ้อยข่าวอิงลิชของ ‘เดอะ เนชั่น’ เขานะ)
“I will be pleased to stay. แต่ต้องผ่านทางวิถีประชาธิปไตย และด้วยความสง่างาม...แม้ว่างานจะหนักแล้วผมไม่ได้รับค่าจ้างก็เอา” Prayut said.
(http://www.nationmultimedia.com/…/Prayut-offers-to-serve-ag…)
โหย พูดอย่างนี้ซึ้งใจสลิ่ม เข้ากับบรรยากาศศาลทหารให้ประกันตัวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่พรรคเพื่อไทย กับการอภัยโทษ ‘ดา ตอร์ปิโด’ หรือดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี ๑๑๒ ที่ติดคุกมาแปดปี
ไม่เท่านั้น ทั่นเปรยว่า “ตอนนี้จะยังไม่รู้ว่าเป็นไปได้ยังไง” หาย..ทั่นก็ ไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งทำโง่เนี่ย
ไว้รอ กรธ. กับ ‘มีชัย’ ช่วยกัน design กฎหมายลูกๆ อีกสิบฉบับ เดี๋ยวก็เข้าสเป็คให้พรรคการเมืองเป็นเบี้ยหัวแตกในสภาผู้แทนฯ เสนอชื่อใครในตะกร้าก็ไม่น่ารักเท่า ‘คนนอก’ นั่งยิ้มกริ่มรอนิด เสลี่ยงจะมาเกยเอง
ไม่เช่นนั้นไพบูลย์ นิติตะวัน เขาบอกแล้วจะตั้งพรรครอทั่นไปเสวย ส่วนไอ้ที่โบ้ยบ้ายไม่เอาไว้นั้น ตระบัดง่ายจะตาย ทั่นเคยหลายหนแล้วน่ะ
ช่วงนี้อีกไม่ถึงปีปล่อยให้ศาลเขาค่อยๆ ทำความสะอาดเส้นทาง เด็ดพวกนักการเมืองมีฝีมือทิ้งทีละกลีบสองกลีบเสียก่อน
อันนี้พูดตามสัญญานที่ปรากฏชัดแจ้งจากคดี ‘หมอเลี้ยบ’ เลยละว่าเวลาศาลฎีกา ‘ชุดนี้’ พิพากษา ทั่นดูหน้าว่าจำเลยพรรคไหน เครือข่ายใคร
ตามข้อมูลที่เก็บมาจาก ‘Atukkit Sawangsuk with Surapong Suebwonglee’ เรื่อง “หมอเลี้ยบสู้คดีอย่างไร” ซึ่งโคว้ตมาจากข่าว http://www.matichon.co.th/news/262665
“หมอเลี๊ยบให้การต่อศาลว่า เมื่อชินแซทฯ ขอลดสัดส่วนการถือหุ้นของชินคอร์ปจาก ๕๑% เป็น ๔๐% กระทรวงไอซีทีได้ถามสำนักงานอัยการสูงสุดว่าทำได้หรือไม่ สำนักงานอัยการฯ ตอบว่าทำได้ ชินคอร์ปยังต้องรับผิดชอบและไม่ได้ลดค่าสัมปทาน รัฐไม่เสียประโยชน์ แต่ตั้งข้อสังเกตว่าให้เสนอ ครม.ก่อน
กระทรวงไอซีทีจึงนำเรื่องเข้า ครม. แต่เลขาธิการ ครม. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ส่งเรื่องคืนโดยให้เหตุผลว่าไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องขออนุมัติ ครม. และ ครม.มีนโยบายลดเรื่องเสนอ ครม.จึงส่งคืน
สำนักงานกิจการอวกาศจึงจะเสนอเรื่องให้หมอเลี๊ยบอนุมัติ แต่หมอเลี๊ยบไม่วางใจ ให้สอบถามไปยังสำนักงานอัยการฯ อีกครั้งว่าทำได้หรือไม่ สำนักงานอัยการบอกว่างั้นก็ทำได้ หมอเลี๊ยบจึงอนุมติ
แต่กลายเป็นว่า เมื่อถึงชั้น ปปช. ชั้นศาล บวรศักดิ์ให้การว่า เมื่ออ่านหนังสือเสนอ ครม.แล้ว ไม่อาจเข้าใจได้ว่าจะให้ ครม.มีมติอย่างไร หนังสือนำเสนอไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ทั้งยังอ้างว่าทักษิณซึ่งขณะนั้นเป็นนายกฯ เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ จึงไม่อาจเสนอเรื่องให้ ครม.พิจารณาได้ ที่ตนมีหนังสือตอบนั้นเป็นการตอบทางเทคนิค เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับนายกฯ และรักษาหน้าหมอเลี้ยบ
นี่คือข้ออ้างของบวรศักดิ์ ขณะที่การมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรกลับเป็นอีกอย่าง”
ศาลก็พิพากษาโดยให้น้ำหนักคำให้การของบวรศักดิ์ (โดยละเลยคำให้การจำเลย ไม่ได้สืบสาวหลักฐานข้อเท็จจริงให้ถ้วนทั่วทั้งหมด) แล้วพิพากษาจำคุก ๑ ปี ไม่รอลงอาญา จับหมอเลี้ยบเข้าคุกทันที
กว่าจะได้ออกมา ประเทศไทยมีนายกฯ สง่างาม ตามวิถีประชาธิปไตย (แบบไทยๆ) ไม่รับเงินเดือน ไปแล้ว
พอมาถึงคดี ปรส. ศาลฎีกาพิพากษาไล่เลี่ยคดีหมอเลี้ยบห่างกันสองวัน ศาลทั่นกลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำคุกนายอมเรศ ศิลาอ่อน และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตประธานและอดีตเลขาฯ คณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน คนละ ๒ ปี ปรับ ๒ หมื่นบาท...จ๊าบ
หูย เที่ยงทำ (เอง) ดีแท้ ไม่เหมือนคดีแป๊ะลิ้มที่หลุดง่ายจนน่าเกลียด
แต่ ช้าก่อน คำตัดสินยังไม่หมด ศาลทั่นกรุณาให้รอลงอาญา ๓ ปี (ไม่ต้องติดคุก)...บร๊ะจ่างจ้าวจ๊อด อะไรจะปานนั้น
งั้นต้องไปดูรายละเอียดกันนิด ข้อมูลจากสื่อเจ๋งของ ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ (http://manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx…)
“ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า การกระทำที่จำเลยที่ ๑-๒ รับบริษัทจำเลยที่ ๓ เป็นผู้เข้าร่วมประมูลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแล้วให้บริษัทจำเลยที่ ๓ เป็นผู้ชนะประมูล ทำให้ ปรส.ได้รับชำระราคาน้อยลง
และรัฐบาลไทยเสียหาย เพราะต้องรับผิดชอบในส่วนต่าง อีกทั้งทำให้บริษัทจำเลยที่ ๓ ได้เปรียบผู้ร่วมประมูลรายอื่น อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย...
ซึ่งแม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าสูง แต่ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษหนักขึ้นได้ จึงพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น”
กู้หน้าแก้บาปศาลอุทธรณ์ได้หน่อยนึง ที่ตัดสินยกฟ้องทั้งกระบิหักหน้าศาลชั้นต้นเอาไว้เมื่อปี ๕๗ แต่การกลับไปให้รอลงอาญา ๓ ปีเหมือนศาลชั้นต้นนั่น โดยอ้างว่า “ไม่อาจลงโทษหนักขึ้นได้” ฟังดูไม่น่าจะสมเหตุสมผลเพียงพอ
เทียบกับคดีของหมอเลี๊ยบ ซึ่งจำเลยมีคุณูปการกับประเทศชาติสมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการสาธารณสุข ด้วยผลงานโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค
ขนาดทำให้รัฐบาล คสช. ไปยื่นหน้ารับส่วนบุญที่ยูเอ็นได้ เมื่อเขายกย่องโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่าเป็นตัวอย่างของโลก
อย่างนี้ไม่มีคุณค่ามากกว่าอดีต รมว.พาณิชย์ ที่ก่อความเสียหายแก่ประเทศหลายหมื่นล้านละหรือ จึงไม่สามารถให้รอลงอาญาได้
นี่ละ...ประเทศพัฒนาแล้ว