เจดีย์พุกามถล่ม ความสูญเสียที่ยากเยียวยาhttps://t.co/aqgnw8GmdY #Bagan #Myanmar #VoiceNews pic.twitter.com/Oj5Ubyh1dc— VoiceTV21 (@Voice_TV) August 26, 2016
เจดีย์พุกามถล่ม ความสูญเสียที่ยากเยียวยา
by พรรณิการ์ วานิช2
6 สิงหาคม 2559 เวลา 17:55
Voice TV
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเมียนมา ไม่ได้หมายถึงรายได้จากการท่องเที่ยวที่จะลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นความสูญเสียเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญ และที่น่ากังวลก็คือการฟื้นฟูมรดกโลกเหล่านี้ให้ดีเหมือนเดิม อาจจะแทบเป็นไปไม่ได้
ภาพเจดีย์ที่หักพังเสียหายจากแผ่นดินไหวในพุกาม ดินแดนแห่งเจดีย์พันองค์อันเลื่องชื่อของเมียนมา เป็นภาพที่สะเทือนใจนักท่องเที่ยวและผู้หลงใหลโบราณคดีทั่วโลก ทุกคนต่างรู้สึกตรงกันว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่ทัศนียภาพอันละลานตาของยอดเจดีย์สูงเสียดฟ้านับพันๆองค์จะขาดความสมบูรณ์ลงไปอันเนื่องจากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
แต่ทัศนียภาพที่ขาดความสวยงาม ยังถือเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างมากเมื่อเทียบกับความสูญเสียทางโบราณคดี ผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโกสำนักงานกรุงเทพฯ ยอมรับว่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเมียนมา ถือเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
แต่สำหรับชาวพม่าความสูญเสียทางวัฒนธรรมอาจจะยังเป็นเรื่องไกลตัว สิ่งที่พวกเขากังวลยิ่งกว่าก็คือรายได้ที่จะหดหายจากการที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพุกามถูกทำลายลง เส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงคนท้องถิ่นที่นี่ก็คือการท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวลดลง ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจท้องถิ่นที่จะฝืดเคืองตามไปด้วย
เจดีย์ในพุกามไม่ใช่โบราณสถานแห่งแรกที่เสียหายจากแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติอื่นๆ อันที่จริงแล้วในวันเดียวกับที่เกิดแผ่นดินไหวในเมียนมา ภาคกลางของอิตาลี ซึ่งเต็มไปด้วยอาคารเก่าแก่และโบราณสถานสำคัญก็เจอแผ่นดินไหว พังเสียหายไปไม่น้อยเช่นกัน แต่ความแตกต่างสำคัญก็คืออิตาลีเป็นประเทศที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลโบราณสถาน มีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการอยู่เป็นจำนวนมาก และมีงบประมาณชัดเจนที่จัดสรรไว้สำหรับดูแลมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้โดยเฉพาะ
ในทางตรงข้าม สิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมา กลับไปคล้ายกับเหตุแผ่นดินไหวในเนปาลเมื่อปีที่แล้ว แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวทำให้โบราณสถานมรดกโลกส่วนใหญ่ในกาฐมัณฑุเสียหายอย่างหนัก และการฟื้นฟูก็เป็นไปอย่างล่าช้าและยากลำบาก เนื่องจากการบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล บวกกับการขาดการบริหารงานฟื้นฟูทางโบราณคดีที่ดีพอ แม้ว่ายูเนสโกและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกจะเข้าไปช่วยดูแลฟื้นฟูวัดวาอารามต่างๆอย่างต่อเนื่อง
นายติ่น จ่อ ประธานาธิบดีเมียนมา ที่เดินทางไปตรวจเยี่ยมโบราณสถานในพุกามด้วยตัวเอง ยอมรับว่าการบูรณะซากปรักหักพังเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน อย่างน้อยก็ต้องให้พ้นฤดูฝนไปก่อนจึงจะเริ่มงานก่อสร้างได้ แต่ในระหว่างนี้ ซากปรักหักพังได้ถูกกวาดไปกองรวมกันโดยไม่แยกที่มา ผิดหลักการบูรณะโบราณสถาน และจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอนในการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์เหล่านี้ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
และแม้ยูเนสโกจะยืนยันว่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการขอขึ้นทะเบียนพุกามเป็นมรดกโลกที่รัฐบาลเมียนมากำลังดำเนินการอยู่ แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าพุกามที่บูรณะขึ้นมาใหม่ จะยังมีคุณค่าทางโบราณคดีหลงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด
...
ดูคลิปข่าวเต็มได้ที่
http://news.voicetv.co.th/world/404976.html
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเมียนมา ไม่ได้หมายถึงรายได้จากการท่องเที่ยวที่จะลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นความสูญเสียเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญ และที่น่ากังวลก็คือการฟื้นฟูมรดกโลกเหล่านี้ให้ดีเหมือนเดิม อาจจะแทบเป็นไปไม่ได้
ภาพเจดีย์ที่หักพังเสียหายจากแผ่นดินไหวในพุกาม ดินแดนแห่งเจดีย์พันองค์อันเลื่องชื่อของเมียนมา เป็นภาพที่สะเทือนใจนักท่องเที่ยวและผู้หลงใหลโบราณคดีทั่วโลก ทุกคนต่างรู้สึกตรงกันว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่ทัศนียภาพอันละลานตาของยอดเจดีย์สูงเสียดฟ้านับพันๆองค์จะขาดความสมบูรณ์ลงไปอันเนื่องจากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
แต่ทัศนียภาพที่ขาดความสวยงาม ยังถือเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างมากเมื่อเทียบกับความสูญเสียทางโบราณคดี ผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโกสำนักงานกรุงเทพฯ ยอมรับว่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเมียนมา ถือเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
แต่สำหรับชาวพม่าความสูญเสียทางวัฒนธรรมอาจจะยังเป็นเรื่องไกลตัว สิ่งที่พวกเขากังวลยิ่งกว่าก็คือรายได้ที่จะหดหายจากการที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพุกามถูกทำลายลง เส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงคนท้องถิ่นที่นี่ก็คือการท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวลดลง ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจท้องถิ่นที่จะฝืดเคืองตามไปด้วย
เจดีย์ในพุกามไม่ใช่โบราณสถานแห่งแรกที่เสียหายจากแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติอื่นๆ อันที่จริงแล้วในวันเดียวกับที่เกิดแผ่นดินไหวในเมียนมา ภาคกลางของอิตาลี ซึ่งเต็มไปด้วยอาคารเก่าแก่และโบราณสถานสำคัญก็เจอแผ่นดินไหว พังเสียหายไปไม่น้อยเช่นกัน แต่ความแตกต่างสำคัญก็คืออิตาลีเป็นประเทศที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลโบราณสถาน มีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการอยู่เป็นจำนวนมาก และมีงบประมาณชัดเจนที่จัดสรรไว้สำหรับดูแลมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้โดยเฉพาะ
ในทางตรงข้าม สิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมา กลับไปคล้ายกับเหตุแผ่นดินไหวในเนปาลเมื่อปีที่แล้ว แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวทำให้โบราณสถานมรดกโลกส่วนใหญ่ในกาฐมัณฑุเสียหายอย่างหนัก และการฟื้นฟูก็เป็นไปอย่างล่าช้าและยากลำบาก เนื่องจากการบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล บวกกับการขาดการบริหารงานฟื้นฟูทางโบราณคดีที่ดีพอ แม้ว่ายูเนสโกและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกจะเข้าไปช่วยดูแลฟื้นฟูวัดวาอารามต่างๆอย่างต่อเนื่อง
นายติ่น จ่อ ประธานาธิบดีเมียนมา ที่เดินทางไปตรวจเยี่ยมโบราณสถานในพุกามด้วยตัวเอง ยอมรับว่าการบูรณะซากปรักหักพังเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน อย่างน้อยก็ต้องให้พ้นฤดูฝนไปก่อนจึงจะเริ่มงานก่อสร้างได้ แต่ในระหว่างนี้ ซากปรักหักพังได้ถูกกวาดไปกองรวมกันโดยไม่แยกที่มา ผิดหลักการบูรณะโบราณสถาน และจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอนในการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์เหล่านี้ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
และแม้ยูเนสโกจะยืนยันว่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการขอขึ้นทะเบียนพุกามเป็นมรดกโลกที่รัฐบาลเมียนมากำลังดำเนินการอยู่ แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าพุกามที่บูรณะขึ้นมาใหม่ จะยังมีคุณค่าทางโบราณคดีหลงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด
...
ดูคลิปข่าวเต็มได้ที่
http://news.voicetv.co.th/world/404976.html