ภาพโดย มิตรสหายท่านหนึ่ง
รายงานเสวนา : ประชาธิปไตยไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2559
'โตโต้' เทียบประชามติเหมือนหุบเหว เผยเหตุที่ฉีกบัตรหวังให้เป็นโมฆะแต่ต้น 'จ่านิว' ชี้เป็นมายาของรบ.ทหารเพื่อยืดระยะเวลา แถมอุดขี้ปากต่างชาติ 'ษัษฐรัมย์' มองเผด็จการประยุทธ์อยู่ยาว ย้อนไปสมัย พล.อ.เปรม 'ไนซ์' สะท้อนปัญหาการเมืองเทียบพวกคนแก่กำลังจะตาย ขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ โชติศักดิ์ขอสังคม-นักกิจกรรมไม่ยอมรับผลประชามตินี้
ที่มา ประชาไท
Wed, 2016-08-24 19:14
เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา เวลา 19.00 น. คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) หรือ People's Party for Freedom (PPF.) จัดเสวนา "ประชาธิปไตยไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ2559" ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) อาคารมณียาเซ็นเตอร์ (BTS เพลินจิต) โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปิยรัฐ จงเทพ หรือ โตโต้ นายกสมาคมเพื่อเพื่อน(For Friend Association) ณัฐนันท์ วรินทรเวช อดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท และโชติศักดิ์ อ่อนสูง สมาชิกกลุ่มประกายไฟ
ประชามติหุบเหว
ปิยรัฐ ซึ่งเป็นผู้ฉีกบัตรลงประชามติ เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา กล่าวว่า ประชามติที่ผ่านมาเป็นเหมือนหุบเหว ด้วยการที่รัฐบาลทหารวางระบบการปกครองประเทศช่วงเปลี่ยนผ่านทำให้เขามองข้ามปัญหาที่จะปะทุในอนาคตอันใกล้ จึงเป็นสิ่งที่ตนตัดสินใจไม่ยอรับกระบวนการประชามติทั้งหมด นอกจากนี้รัฐยังมีการการทำประชามติครั้งนี้มันทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งสับสน จากกลไกต่างๆ จนทำให้ประชาชนรู้สึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เขาจะให้ความสำคัญเนื่องจากไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างทั่วถึงจนทำให้ผู้ไปใช้สิทธิกับไม่ไปใช้สิทธิค่อนข้างสูสี
ปิยรัฐ กล่าวต่อว่าทำให้วันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนตัดสินใจเพื่อแสดงออกเพื่อปฏิเสธการทำประชามติครั้งนี้ด้วยการฉีกบัตรประชามติ ส่งผลให้ตนถูกดำเนินคดีด้วยโทษสูงสุดถึง 10 ปี ซึ่งตนได้แถลงการณ์ออกไปก่อนฉีก เพื่อยืนยันว่ามีสติในการตัดสินใจ และยอมรับผลของการฉีกบัตร รวมทั้งขอให้กระบวนการยุติธรรมนำสืบไปว่าเป็นการตอบโต้อำนาจของรัฐที่จัดประชามติไม่เสรีและไม่มีความชอบธรรม
ปิยรัฐ จงเทพ (ขวา) ภาพโดยมิตรสหายท่านหนึ่ง
ปิยรัฐ กล่าวว่า ตนเกรงว่าการทำประชามติผ่าน การบังคับใช้ รธน. น่าจะมีผลหลังจากที่คณะรัฐประหารลงจากอำนาจไป แต่ผู้ที่มาจากประชาชนก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างแท้จริง แต่อาจต้องพ่ายแพ้ต่ออำนาจเก่า อันนำมาซึ่งนายกคนนอก และความขัดแย้งจะตามมาและไม่จำกัดตัวอยู่กับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ปิยรัฐ กล่าวด้วยว่า การที่ทหารเข้ามาแทรกแซงการปกครองจากเข้ามาจัดการกับรัฐธรรมนูญ นำมาสู่การสูญเสีย การเขียนรัฐธรรมนูญที่สร้างกับดักต่างๆ เช่น นายกคนนอก นำมาสู่การกระจายผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว อันนมาสู่การขัดแย้ง รวมทั้งการทำเช่นนี้ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ สุดท้ายมองไปถึงว่าการแตกแยกหรือขัดแย้งจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่าช้าๆ และจะรุนแรง เนื่องจาก รธน.ฉบับนี้ไม่เปิดโอกาสให้แก้ได้เลย เมื่อไม่มีทางออกก็อาจจะนำไปสู่อะไรบางอย่างที่อาจคาดกาลไม่ได้ แต่วันหนี่งประชาชนจะตระหนักว่าอำนาจที่ยกให้คณะรัฐประหารไปเพื่อออกมาควบคุมเขาเป็นสิ่งที่เลวร้ายต่อเขา และหวังว่าเขาจะมารวบมือกันเพื่อกระชากหน้ากากคนที่อยู่เบื้องหลังการควบคุมอำนาจ
ภาพปิยรัฐ ฉีกบัตรประชามติเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
หวังให้เป็นโมฆะแต่ต้น
ปิยรัฐ กล่าวตอนหนึ่งด้วยว่า ช่วงแรกตนนั้นยังสับสนอยู่ว่าจะโหวตโนเพื่อสร้างแรงกดดันทางการเมือง แต่เมื่อได้ผ่านไปสักระยะ 1 เดือนก่อนประชามติ ก็ตัดสินใจไม่ไปใช้สิทธิและปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่ของ คสช. ตั้งแต่ต้น เป็นโมฆะทั้งหมด ดังนั้นตนต้องต่อต้านสิ่งที่ไม่มีตัวตนนั้นก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ส่วนที่ตนทำคือการฉีกบัตรเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์เลยว่าอย่างน้อยมีคนที่ไม่ยออมรับ สิ่งนี้อาจไม่มีผลในวันนี้ แต่อาจจะนำมาใช้รื้อฟื้นในการใช้ให้ประชามติครั้งนี้ไม่ชอบธรรมในอนาคตได้
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ภาพโดยมิตรสหายท่านหนึ่ง
ชี้เผด็จการประยุทธ์อยู่ยาว ย้อนไปสมัย พล.อ.เปรม
ษัษฐรัมย์ กล่าวว่าเรายืนยันมาโดยตลอดว่าไม่ว่าเราจะโหวตโนเราก็มีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับผลประชามติ แม้แต่ในระบอบประชาธิปไตยเราก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผลประชามตินั้นได้ ษัษฐรัมย์ ชี้ด้วยว่า ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีรูปแบบรัฐเผด็จการ 2 แบบ คือมีเผด็จการหม้อสังกะสีกับเผด็จการเต็มรูปแบบ อย่างแรกจะอยู่สั้นๆ เช่น การทำรัฐประหารปี 34 กับปี 49 จะอยู่ในอำนาจในระยะเวลาไม่นาน แต่อย่างไรก็ตามระบบเผด็จการก็จะกลับมา หากมองที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะเห็นว่าแผนการอยู่ในระบอบเผด็จการเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในระยะสั้น โดยดูจาก ร่าง รธน. มีชัย ที่แสดงให้เห็นว่าจะมีการวางในระยะยาว รวมทั้งร่างของบวรศักดิ์ ที่ต้องการให้มีส่วนร่วมในระดับหนึ่ง จึงนำมาสู่การปฏิเสธ จนนำมาสู่ร่างของมีชัย ซึ่งตัวเนื้อหานั้นไม่เป็นประชาธิปไตย
ษัษฐรัมย์ กล่าวด้วยว่า ผลจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พรรคการเมืองต่างๆ จะไม่สามารถพัฒนาการต่อไปได้ แสดงให้เห็นว่ามีความพยายามดึงระบบการเมืองไทยไปเหมือนสมัย พล.อ.เปรม และไปสู่ระบบการเมืองที่สะอาดมากขึ้นในความหมายที่ชนชั้นนำอธิบาย ทำให้เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดอาจไม่ได้เป็นรัฐบาลได้
ษัษฐรัมย์ ชี้ด้วยว่า การประชามติเผด็จการสร้างตัวเลือกเพียง 2 ตัวเลือก แต่ความเป็นจริงไม่ว่าจะเลือกตัวเลือกไหน พล.อ.ประยุทธ์ ก็สามารถอยู่ต่อได้ แสดงให้เห็นว่าสภาพเผด็จการในสมัย พล.อ.สนธิ และชนชั้นนำไทยเองก็ไม่เชื่อในระบบประชาธิปไตย เป็นการออกแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ แบบที่เรากำลังจะมีอย่างเช่น พม่า แต่ข้อเสนอของตนนั้นคือเราไม่สามารถย้อนเข็มนาฬิกาได้ ชนชั้นนำเองก็ไม่สามารถย้อนไปสู่ตรงนั้นได้ แต่ตนเสนอว่าในเมื่อชนชั้นนำไม่สามารถย้อนกลับไปสู่ปี 2520 ได้ แต่ก็มีจีนเป็นโมเดล จะเห็นว่าอียูหรืออเมริกาก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเผด็จการได้
ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า ตนอยากเสนอทางออก โดยการไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามโรดแมปในสิ่งที่รัฐบาลทหารวางไว้ เช่น มีการเลือกตั้งภายใน 3-4 เดือนนี้ โดยพรรคการเมืองอาจตกลงร่วมกันว่าประเด็นหลักในแก้รัฐธรรมนูญ และตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ใหม่ที่สะท้อนความตั้งใจของประชาชน
ษัษฐรัมย์ กล่าวด้วยว่า ผลจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พรรคการเมืองต่างๆ จะไม่สามารถพัฒนาการต่อไปได้ แสดงให้เห็นว่ามีความพยายามดึงระบบการเมืองไทยไปเหมือนสมัย พล.อ.เปรม และไปสู่ระบบการเมืองที่สะอาดมากขึ้นในความหมายที่ชนชั้นนำอธิบาย ทำให้เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดอาจไม่ได้เป็นรัฐบาลได้
ษัษฐรัมย์ ชี้ด้วยว่า การประชามติเผด็จการสร้างตัวเลือกเพียง 2 ตัวเลือก แต่ความเป็นจริงไม่ว่าจะเลือกตัวเลือกไหน พล.อ.ประยุทธ์ ก็สามารถอยู่ต่อได้ แสดงให้เห็นว่าสภาพเผด็จการในสมัย พล.อ.สนธิ และชนชั้นนำไทยเองก็ไม่เชื่อในระบบประชาธิปไตย เป็นการออกแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ แบบที่เรากำลังจะมีอย่างเช่น พม่า แต่ข้อเสนอของตนนั้นคือเราไม่สามารถย้อนเข็มนาฬิกาได้ ชนชั้นนำเองก็ไม่สามารถย้อนไปสู่ตรงนั้นได้ แต่ตนเสนอว่าในเมื่อชนชั้นนำไม่สามารถย้อนกลับไปสู่ปี 2520 ได้ แต่ก็มีจีนเป็นโมเดล จะเห็นว่าอียูหรืออเมริกาก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเผด็จการได้
ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า ตนอยากเสนอทางออก โดยการไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามโรดแมปในสิ่งที่รัฐบาลทหารวางไว้ เช่น มีการเลือกตั้งภายใน 3-4 เดือนนี้ โดยพรรคการเมืองอาจตกลงร่วมกันว่าประเด็นหลักในแก้รัฐธรรมนูญ และตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ใหม่ที่สะท้อนความตั้งใจของประชาชน
ภาพโดยมิตรสหายท่านหนึ่ง
เยาวชน Say No พวกคนแก่กำลังจะตาย ขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้
ณัฐนันท์ กล่าวว่า ตนขอพูดในฐานเยาวชนคนหนึ่งในประเทศไทย เยาวชนมองผลประชามติอย่างไร ไม่ว่าผลออกมาเป็นอย่างไร รัฐบาลชุดนี้ก็ยังอยู่ในอำนาจเผด็จการอยู่ดี แต่เราไม่ได้มองผลนี้ในมุมมองการเมืองเท่าไหร่ แต่เรามองการออกเสียงประชามติเป็นการแสดงออกต่ออำนาจการปกครองของรัฐบาลไทย โดยการทำประชามติที่มันไม่แฟร์เลย คสช. การรณรงค์เดียวที่ได้รับการยอมรับคือการไปโหวตเยส นักศึกษาวิชาทหารในประเทศไทยก็ไปตามหมู่บ้านคนเพื่อไปโหวตเยสเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่แฟร์ที่ให้เราออกไป
ณัฐนันท์ ยกข้อมูลประชามติของ 4 มหาวิทยาลัย คือ ธรรมศาสตร์ เชียงใหม่ นเรศวรและ ขอนแก่น ซึ่ง ณัฐนันท์ ระบุว่าโหวตโนชนะ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการบันทึกสถิติว่าใครไปโหวตโน อยากใช้ตัวอย่าง 4 มหาลัยนี้เพื่อมาบอกว่าเยาวชนคิดอย่างไรกับประชามติครั้งนี้ โดยตนเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกผิดหวังกับผลประชามติ เช่นเดียวกับเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก โดยตนได้เขียนสถานะในเฟซบุ๊กหลังทราบผลประชามติ โดยระบุว่าการให้ ส.ว.แต่งตั้ง มีอำนาจในการเลือกนายกฯ โดยคำถามพ่วงในประชามติ สเตตัสนี้ได้รับการตอบรับจากเพื่อนที่เป็นเยาวชนจำนวนมาก
ณัฐนันท์ กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่อนุญาตให้เกิดความเข้มแข็งแก่พรรคการเมือง นักการเมืองส่วนที่ได้รับการเลือกตั้งจะกลายเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดกลาง และส่งผลต่อขนาดของพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง รวมทั้งอีกด้านหนึ่ง ส.ว.ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. ทำให้ ส.ว.มีความเข้มแข็ง จึงต้องข้อสงสัยว่าประเทศไทยถูกปกครองโดยคนที่แต่งตั้งนั้น แบบนี้หรือที่เรียกว่าประชาธิปไตย ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างไร
แผนปฏิรูป 20 ปีกดทับเสียงประชาชนที่เลือกนโยบาย
ณัฐนันท์ ต้องคำถามถึงเป้าหมายของแผนระดับชาติในช่วง 20 ปีที่เกิดขึ้น ด้วย โดย ณัฐนันท์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องการให้ประเทศถูกปฏิรูปใน 20 ปี แต่ความเห็นของประชาชนที่ต้องการให้ประเทศไปทางไหนกลับถูกกดทับโดยแผน 20 ปีออกมา ทั้งที่รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งควรได้ดำเนินการตามนโยบายที่หาเสียง
ณัฐนันท์ ยังกล่าวถึงช่วงอายุด้วยว่า เรื่องเบบี้บูม อำนาจเก่าและความวิตกกังวลของคนกลุ่มนี้ นี่ไม่ได้กล่าวโทษคนกลุ่มนี้ แต่หากมองการเมืองของไทย ดูที่อายุคนที่อยู่ในรัฐสภาไม่มีคนที่อายุน้อยอยู่ในนั้น แม้แต่รัฐบาล หรือคสช. ก็เช่นกัน อีกทั้งคนที่ร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นคนกลุ่มนั้น และเป็นกลุ่มที่ไม่สนใจเทคโนโลยีหรืออำนาจของประชาชน ทำให้เจตจำนงของคนรุ่นใหม่เหมือนถูกวิตกกังวลของคนที่มีอำนาจ เรากำลังเข้าสู่การแปลเปลี่ยนอำนาจ วิธีการที่คนรุ่นเบบี้บูมที่จะบริหารความกังวลต่อคนรุ่นใหม่ ดังนั้นจึงควรมาดูสิ่งที่เยาวชนคิดนั้นไม่ใช่แย่ และอนุญาตให้เยาวชนสามารถคิดและเสนอได้ แต่ประชามติที่ผ่านมานั้นก็ไม่ได้เชื่อถือประชาชนด้วยซ้ำว่าจะสามารถเลือกได้
ณัฐนันท์ ได้ชี้ถึงปัญหาด้วยว่า พวกคนแก่กำลังจะตาย ขณะที่คนรุนใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ เพราะว่าคนรุ่นเก่าไม่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความหวังของตนในฐานคนรุ่นใหม่ คิดว่าเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่คิดตรงกันคือขอให้เราได้ตัดสินใจต่ออนาคตของตนเองเถอะ มันเกิดจากการที่คนรุ่นเก่าไม่ยอมปล่อยมือจากอำนาจ มากกว่าการที่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่สามารถพูดได้
ขอสังคม-นักกิจกรรมไม่ยอมรับผลประชามตินี้
โชติศักดิ์ กล่าวว่า หนึ่ง ประชามติครั้งนี้มีปัญหาความชอบธรรมคือมันไม่ฟรีไม่แฟร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะเข้าใจกันได้ แล้วเราจะทำอย่างไร สิ่งที่ตนอยากเรียกร้องต่อสังคมไทยและนักกิจกรรมคือการไม่ยอมรับประชามติครั้งนี้ ด้านหนึ่งการยอมรับนอกจากเป็นการยอมรับตัวรัฐธรรมนูญนี้ที่แย่แล้ว มันจะยังสร้างบรรทัดฐานประชามติที่แย่ๆ อีก
โชติศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ในระยะยาวเราต้องพยามรณรงค์ให้ยกเลิกประชามติครั้งนี้ ตนมองไปถึงหลังเลือกตั้ง ถึงมันจะยากแต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปได้ หากมีการกดดัน ส.ว. ก็สามารถเปลี่ยนใจโหวตได้ โดยก่อนเลือกตั้งก็อาจไปกดดันพรรคการเมือง หรือการมีพรรคการเมืองเพื่อชูประเด็นนี้ เพื่อให้พรรคต่างๆ รับปากเพื่อบรรจุนโยบายการทำรัฐธรรมนูญใหม่เป็นสิ่งสำคัญ แม้คนที่ประกาศยอมรับผลไปแล้ว ก็ยากให้คิดทบทวนว่าจะมีการเปลี่ยนความเห็นต่อเรื่องนี้ไหม
สำหรับการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยต้องอาศัยเสียงทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ในสภานั้น โชติศักดิ์ กล่าวว่า เรื่อง ส.ว. นั้นแม้จะมาจาก คสช. แต่ก็อยู่ภายใต้การกดดันทางสังคมอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เท่า ส.ส. ดังนั้นกลุ่มที่เราคาดหวังหลักนั้นก็ต้อเป็น ส.ส. แต่ รธน. ระบุว่าจะแก้ต้องได้รับเสียง ส.ว. 1 ใน 3 ซึ่งก็คือว่าสามารถถูกกดดันได้
นายกคนนอกไม่ใช่ตัวเลือกแรกของชนชั้นนำ
ต่อคำถามเรื่องหากมีนายกฯ คนนอกนั้นจะนำมาสู่วิกฤติหรือไม่นั้น ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า ประเด็นนนี้เป็นเงื่อนไขในการลุกหือในปี 35 แต่ต้องไม่ลืมว่า อานันท์ ปันยารชุน หรือ สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นโดยสภาพของภาคประชาสังคมที่เปลี่ยนไปมาก เช่น เสื้อแดง รวมทั้งการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หากเรามองเงื่อนไขเหล่านี้ ตนไม่สามารถการันตีได้ว่าประชาชนจะไปประท้วง แต่คิดว่าชนชั้นนำได้คำนวณแล้ว ดังนั้นจึงคิดว่านายกฯ คนนอกจะไม่ใช่ตัวเลือกแรกที่ชนชั้นนำจะเลือก
โหวตรับเพราะหวังเลือกตั้งแล้วจะชนะเหมือนเคย
ณัฐนันท์ ประเมินด้วยว่า ประชามติครั้งนี้ คนที่ไปโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ในส่วนที่อยู่ในอีสานก็เพราะเขาเชื่อว่าหากมีการเลือกตั้งสุดท้ายเขาจะกลับมาชนะ รวมทั้งความกังวลของคนไทยคือการหลีกเลี่ยงความวุ่นวาย ต้องการสันติภาพ ดังนั้นเหตุผลใหญ่อันหนึ่งคือการหลีกเลี่ยงความรุนแรง ดันนั้นไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นใน 2-3 ปีนี้
ขณะที่ ปิยรัฐ มองต่างออกไปว่า การมีนายกคนนอกอาจนำมาสู่เงื่อนไขความขัดแย้งได้หากการเกลี่ยผลประโยชน์ทางการเมืองไม่ลงตัว
ต่อกรณีข้อถกเถียงเรื่องพลังของโซเชียลเน็ตเวิร์ก นั้น ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า เฉพาะโซเซียลมีเดียอย่างเดียวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่มันต้องมีพรรคที่มีความหลากหลายทาอุดมการณ์มากกว่าการมีเพียงพรรคเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์ ที่อุดมการณ์ไม่ค่อยต่างกัน เนื่องจากการเมืองพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่สำคัญในการเมืองแบบตัวแทน
จ่านิวชี้ประชามติเป็นมายาของรบ.ทหารเพื่อยืดระยะเวลา
สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์หรือจ่านิว ได้ร่วมแลกเปลี่ยนด้วยว่า การประชามติครั้งนี้ จุดประสงค์ของรัฐบาลทหารถ้าดูภาพรวมคือการคืนภาพให้ดูเหมือนเป็นการเลือกตั้ง และยืดระยะเวลาของรัฐบาล รัฐธรรมนูญฉบับนี้สามารถอุดขี้ปากต่างชาติ ทำให้ตอนนี้ คสช. ที่ทำให้มีความชอบธรรมมากขึ้น ส่วนแนวทางต่อไปหลายคนคิดว่าเป็นรัฐเผด็จการทหาร แต่ตนคิดว่าไม่ใช่ แต่เป็นเผด็จการภายใต้รัฐข้าราชการ ซึ่งตอนนี้ทหารเข้าไปแทรกซึมกลไกระบบราชการมากขึ้น และรัฐบาลทหารเองก็เข้าไปควบคุมกลไกต่างๆ ที่ฝ่ายต่อต้านคิดว่าหมดพลังไปแล้ว
เตือนอย่าดูถูกสื่อเก่าๆ
สิรวิชญ์ กล่าวว่า ปัญหาของฝ่ายต่อต้านให้ความหวังกับโซเชียลมีเดียจนละเลยกลไกเดิมๆ ที่ฝ่ายต่อต้านคิดว่าหมดพลังไปแล้ว เช่น วิทยุชมชน ครู ก ข ค ซึ่งกลไกเหล่านี้เป็นตัวทำให้ประชามติผ่าน โดยคนรับแล้วคิดว่าจะนำไปสู่การเลือกตั้งได้เร็วโซเชียลมีเดียมีพลังก็จริงแต่มันก็ทำให้เราละเลยกลไกการสื่อสารอื่นที่มีพลัง เสนอเรื่องการใช้การเข้าถึงมวลชนทางกายภาพควรทำให้มากขึ้น เครื่องมือการสื่อสารเดิมๆ ให้เข้าถึงมากขึ้น
โชติศักดิ์ กล่าวถึงพลังของโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วยว่า หากย้อนไป 3-4 ปีที่แล้วช่วงอาหรับสปริง โลกแวดวงนักกิจกรรมเราตื่นเต้นกับโซเชียลมีเดียมาก แต่ถึงวันนี้กลายเป็นว่าคนที่ตื่นเต้นกับโซเชียลมีเดียหันมาโจมตีโซเชียลมีเดียหมด ที่สุดตนมองว่าโซเชียลมีเดียวเป็นพื้นที่ๆ หนึ่ง วิธีคิดตนนั้นคิดว่าใครถนัดอะไรก็ทำไป
ส่วนประเด็นคนไม่สนใจประชามติ โชติศักดิ์ กล่าวว่ามันไม่ใช่เรื่องการตกอยู่กับวาทกรรมนอนหลับทับสิทธิ แต่เราต้องตั้งคำถามว่าทำไมคนกลุ่มหนึ่งเมื่อเลือกตั้งเขาออกมา แต่เมื่อประชามติเขาไม่ออกมา ก็เขาก็มีการตัดสินใจของเขาแล้ว การไม่สนใจมันตั้งอยู่ปัญหาของประชามติด้วย
โชติศักดิ์ ยังได้แจกเอกสารความเห็นต่อการทำประชามติครั้งที่ผ่านมาด้วยดังนี้
ประชามติที่ไม่ฟรีและไม่แฟร์: ประชามติเก๊ ประชามติที่ไม่มีความชอบธรรม
โชติศักดิ์ อ่อนสูง
ประชามติครั้งนี้เป็นประชามติที่ประชาชนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือรณรงค์ได้อย่างเสรี มีการจับกุมดำเนินคดีผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์หรือชี้ให้เห็นข้อเสียจุดบกพร่องของร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะที่รัฐใช้กลไกข้าราชการต่างๆ เช่น ข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน (ครู ก ครู ข ครู ค) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงนักศึกษาวิชาทหาร เพื่อเอื้อต่อการลงคะแนนรับร่าง ที่แม้จะอ้างว่าเป็นการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนไปลงประชามติ แต่ในความเป็นจริงคือการโฆษณาให้เห็นเฉพาะข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญเพียงด้านเดียว (และเอาเข้าจริงอาจจะเป็นการโฆษณาเกินจริงด้วย)
นอกจากนั้นยังเป็นประชามติที่อยู่ภายใต้บรรยากาศของความกลัว ทั้งจากรัฐบาลทหารซึ่งได้อำนาจมาจากการทำรัฐประหาร และจากกฎหมายเผด็จการซึ่งลิดรอนสิทธิเสรีภาพต่างๆของประชาชน เช่น ม.44 ประกาศ คสช.
และที่สำคัญ เป็นประชามติที่ไม่มีความชัดเจน คือมีใครทราบว่าถ้าโหวตไม่รับแล้วจะนำไปสู่อะไรหรือจะได้รัฐธรรมนูญแบบไหนมาแทนร่างรัฐธรรมนูญนี้
คะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญมีเพียง 33.59% ไม่ใช่ 61.35%
มีผู้ลงคะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญ 16,820,402 เสียง จากผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 50,071,589 คน คิดเป็น 33.59%
ผู้ลงคะแนนรับร่างจำนวนหนึ่งโหวตรับเพราะต้องการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
ประชาชนจำนวนหนึ่งเบื่อหน่ายรัฐบาล คสช. และต้องการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว การตัดสินใจลงคะแนนรับร่างของคนกลุ่มนี้จึงไม่ใช่การลงคะแนนเพราะพอใจตัวเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ และยิ่งไม่ใช่การแสดงออกเพื่อสนับสนุนรัฐบาล คสช. แต่ในความเป็นจริงแล้วตรงกันข้าม เพราะเขาเห็นว่านี่คือวิธีการที่จะทำให้รัฐบาล คสช.ออกไปโดยเร็วที่สุด
แม้จะไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน แต่คนกลุ่มนี้มีตัวตนจริง หากสื่อต้องการสัมภาษณ์ผมก็สามารถประสานงานให้ได้
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ไร้ความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากคณะเผด็จการทหาร และมีเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่แม้แต่เผด็จการทหารก็รู้ตัวดี จึงพยายามชุบตัวสร้างความชอบธรรมด้วยการทำประชามติ แต่ในความเป็นจริงกลับทำได้เพียงประชามติปลอมๆ
ประชามติที่ไม่ฟรีและไม่แฟร์ ซึ่งไม่มีความชอบธรรม ย่อมไม่สามารถทำให้รัฐธรรมนูญนี้กลายเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรมขึ้นมาได้
สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องไม่ยอมรับผลของประชามติครั้งนี้
การยอมรับผลของการทำประชามติครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการเท่านั้น แต่ในระยะยาวมันคือการสร้างบรรทัดฐานว่าจะสามารถมีประชามติที่แย่ ไม่แฟร์ ไม่มีความชอบธรรมแบบนี้ได้อีก ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องรีบทำคือการประกาศไม่ยอมรับผลของการทำประชามติครั้งนี้ ทั้งในแง่ปัจเจกและองค์กร
การที่ประชาชนส่วนหนึ่งไปร่วมรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ทำให้ประชามติครั้งนี้มีความชอบธรรมขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้าม คือการที่เขารณรงค์แล้วถูกเจ้าหน้าที่รัฐขัดขวางหรือจับกุมดำเนินคดีมันเป็นการเปิดโปงให้เห็นว่าประชามติครั้งนี้มันเป็นเพียงของปลอมเท่านั้นเอง
และไม่จำเป็นเลยที่ประชาชนที่ได้ร่วมรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะต้องยอมรับผลการประชามติครั้งนี้ เพราะการที่คนกลุ่มนี้ไปร่วมรณรงค์มันไม่ได้เปลี่ยนข้อเท็จจริงที่ว่าประชามติครั้งนี้มันไม่ฟรีและไม่แฟร์
ทุกคน รวมถึงคนที่เคยรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มีความชอบธรรมที่จะประกาศไม่ยอมรับผลประชามติ เพราะโดยข้อเท็จจริงมันเห็นกันอยู่ตำตา มีหลักฐานรูปธรรมมากมาย ว่าประชามติครั้งนี้มันไม่ฟรีและไม่แฟร์
ในระยะยาวต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการทหาร และยังมีเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นจะต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญนี้โดยเร็วที่สุด ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วคงจะสามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังการเลือกตั้ง โดยอาจตั้ง สสร.เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ หรืออาจนำรัฐธรรมนูญบางฉบับ เช่น 3 ฉบับหลังสุด มาทำประชามติให้ประชาชนเลือก ซึ่งทั้งหมดจะทำได้ก็ล้วนแต่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ คสช.ทั้งสิ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย
สิ่งที่ฝ่ายประชาธิปไตยต้องร่วมกันทำ ไม่เพียงแต่จะต้องกดดันให้พรรคการเมืองบรรจุประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยไว้เป็นหนึ่งในนโยบายของแต่ละพรรคเท่านั้น แต่ภายหลังเลือกตั้งยังต้องร่วมกันกดดันพรรคการเมืองให้ทำตามสัญญา และยังจะต้องร่วมกันกดดันสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้สามารถแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จด้วย (สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกมาจากการคัดเลือกของ คสช.)
การตั้งพรรคการเมืองโดยมีประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย
เว้นแต่ คสช.จะทำผิดพลาดครั้งใหญ่
มีความเป็นไปได้ที่ คสช. จะตีความว่า คะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญสะท้อนถึงคะแนนนิยมของ คสช. หรือนายกฯ/หัวหน้า คสช. (ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว)
และแม้ว่าในความเป็นจริงจะมีผู้ลงคะแนนรับร่างเพียง 33.59% ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด แต่ตัวเลขดังกล่าวมักถูกขยายเกินจริงเป็น 61.35% เมื่อนับเฉพาะผู้โหวตรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ (คือตัดผู้ไม่ไปออกเสียงและบัตรเสียออก)
เมื่อรวม 2 เรื่องดังกล่าวเข้าด้วยกันอาจทำให้ คสช.เข้าใจผิดไปว่า ประชาชนไทย 61.35% หรือประชาชนไทยส่วนใหญ่ ชื่นชอบหรือมีความนิยมต่อ คสช. และนั่นอาจทำให้ คสช.ใช้อำนาจเผด็จการหนักหน่วงยิ่งขึ้น ซึ่งในด้านหนึ่งจะสร้างความทุกข์ร้อนให้กับประชาชนไทยมากขึ้น แต่ในทางกลับกันมันอาจเป็นแรงบีบที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็ได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ตำรวจเลื่อนส่งสำนวนให้อัยการ คดีโตโต้ฉีกบัตรประชามติ เจ้าตัวลั่นไม่มา เชิญออกหมายจับได้เลย
'โตโต้' ฉีกบัตรประชามติ หลังตะโกน "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" ตร.คุมตัวทันที
นักกิจกรรมแรงงาน ยื่น จม. กกต.หน่วย ขอไม่ออกเสียงประชามติที่ไม่ฟรีไม่แฟร์
หนุ่มเมืองนนท์ กาชื่อจากบัญชีออก บอก "ไม่มีสิทธิ์ร่าง จึงไม่ขอมีสิทธิ์ร่วม" ส.ศิวรักษ์ ประกาศโนโหวต
รายงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' ขอฝ่ายประชาธิปไตยเห็นหัวคนโนโหวต
เดินสาย 'กสม.-กกต.-UN' แจ้งสงวนสิทธิไม่ยอมรับ-นับผลประชามติ ที่ไม่แฟร์ ไม่ฟรี