วันพุธ, สิงหาคม 17, 2559

สุชาณี รุ่งเหมือนพร พาไปรู้จัก สภาพการเครียดจากการเมือง' (Political Stress Syndrome)





พาไปรู้จัก'โรคป่วยการเมือง'(Political Stress Syndrome)

โดย สุชาณี รุ่งเหมือนพร
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ
Voice TV

17 สิงหาคม 2559


การลงประชามติที่เพิ่งผ่านไป และสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ คงทำให้หลายคนเกิดอาการเครียดและกังวลใจได้ง่าย ข่าวที่เราเสพในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือแม้แต่บนหน้าจอโทรทัศน์ขณะนี้ อาจทำให้หลายคนรู้สึกหงุดหงิด เครียด กดดัน จนบางครั้งอยากจะปิดมือถือ ไอแพด แล้วไม่อยากจะรับรู้อะไรทั้งนั้น

อาการแบบนี้ มีคำจำกัดความทางการแพทย์ว่าเป็นกลุ่มอาการ "ความเครียดจากการเมือง (Political Stress Syndrome) หรือเรียกสั้นๆว่า PSS ที่กระทรวงสาธารณสุข เคยออกคำเตือนเมื่อต้นปี 2557 (โปรดอย่าสับสนกับ PMS หรือ Premenstrual Syndrome อาการหงุดหงิดของผู้หญิงก่อนวันมีรอบเดือนนะคะ)

PSS คืออะไร?

อาการ"ความเครียดจากการเมือง" หรือ PSS ไม่ใช่โรคเครียด แต่เป็นภาวะอารมณ์และจิตใจที่ไม่ปกติ หลังเสพข่าวที่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองอย่างต่อเนื่อง จนรู้สึกเครียด กดดัน ไม่สบาย หดหู่ หมดหวัง วิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง เช่น กังวลว่าเหตุการณ์ในอดีตจะเกิดขึ้นอีกครั้ง อาการแบบนี้ ถ้าสะสมมากเข้าจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง จะกลายเป็นกลุ่มอาการPSSได้

แล้วอาการเป็นอย่างไร?

คนที่ป่วยเป็น PSS จะมีอาการแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. อาการทางกาย - ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ตึงขมับ ต้นคอ แขน ขา นอนหลับๆตื่นๆ นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ เพราะคิดมากเกินไป แน่นท้อง ปวดท้อง ชาตามร่างกาย (หรือรู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้ คล้ายจะอาเจียน เมื่อคิดถึงการเมือง และประชาธิปไตย)

2.อาการทางใจ - กังวล คิดมาก หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก

อันตรายอย่างไร?

ผลกระทบอาจเหมือนผลกระทบที่เกิดจากอาการเครียดจากสาเหตุอื่น เช่น ฉุนเฉียวง่าย ไม่อยากจะคุยกับผู้อื่น อารมณ์เสียง่ายเพราะอยากจะโต้เถียงกับผู้ที่เห็นต่าง สิ่งเหล่านี้ จะกระทบกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น คนในครอบครัว หรืออาจจะกลายเป็นคนที่เพื่อนๆเหม็นขี้หน้า ไม่อยากคุยด้วย

ใครคือกลุ่มเสี่ยง?

ตามข้อมูลทางการแพทย์ กลุ่มเสี่ยงมี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มนักการเมือง 2.กลุ่มที่สนับสนุนฝ่ายการเมือง 3.กลุ่มผู้ติดตาม 4.กลุ่มผู้ที่สนใจข่าวสารการเมือง 5.กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ ใครๆก็เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ทุกคนนั่นแหละ




เป็น PSSแล้ว ทำอย่างไร?

-เลิกเสพข่าวการเมือง ไปดูอย่างอื่นแทน

-ออกกำลังกายค่ะ เพราะกีฬาเป็นยาวิเศษ และช่วยระบายความเครียดได้เป็นอย่างดี

-เลิกสนทนาการเมืองกับผู้อื่นชั่วขณะ

หมายเหตุ กลุ่มอาการนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายกลุ่มอาการที่เกิดจากการได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองมากเกินไป อีกอาการหนึ่งที่สนใจคืออาการเครียดระหว่างการเลือกตั้ง (election stress disorder) ที่เกิดจากการเสพข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนักการเมืองและพรรคการเมืองมากเกินไป ซึ่งจะเผยแพร่ให้คุณผู้อ่านทราบอีกครั้ง เมื่อมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่ดูแล้ว กว่าจะได้เขียนบทความเรื่องนี้ คงต้องรออีกนานทีเดียวค่ะ...
.....

Political Stress Syndrome


   

https://www.youtube.com/watch?v=XI83QAMgyxA

Kampanart Tansithabudhkun

Published on Jan 7, 2014
ภาวะตึงเครียดจากการเมือง จากรายการผู้หญิงรู้จริง S Channel

ooo

เชิญชมคลิปพิสูจน์ นายก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นคนตลกจริงหรือ




https://www.youtube.com/watch?v=87CIpIPgiCY

moviezulu

Published on Mar 23, 2015

มุมหนึ่งที่หลายคนอาจไม่เคยทราบว่านายกฯ เป็นคนมีอารมณ์ขัน แตกต่างภาพข่าวการทำงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ที่เคร่งขรึม รวมทั้งการให้สัมภาษณ์ที่ดุดันเสียงดังแบบทหาร อาจทำให้นึกภาพไม่ออกว่ายามที่นายกฯ อารมณ์ดี มีอารมณ์ขันหยอกเย้าผู้สื่อข่าวเป็นอย่างไร เชิญชมได้จากคลิป