อดอาหาร วิธีประท้วงที่หมดน้ำยา?
โดย พรรณิการ์ วานิช
นักข่าวและพิธีกร iASEAN/ Tonight Thailand/ Voice World Wide
Voice TV
18 สิงหาคม 2559
กรณีไผ่ ดาวดิน นักโทษคดีประชามติอดอาหารประท้วง แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากสังคมไทยมากนัก กลายเป็นภาพสะท้อนว่าการประท้วงด้วสันติวิธีแบบนี้ หมดน้ำยาแล้วในดลกยุคใหม่ หรือนี่เป็นแค่ความป่วยไข้ของสังคมไทยกันแน่?
ไผ่ ดาวดิน นักศึกษาที่ถูกคุมขังจากการรณรงคืไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่นักเคลื่อนไหวคนแรกในเมืองไทยที่ใช้วิธีอดอาหารประท้วงกลไกอันไม่ชอบธรรมของรัฐ ในเหตุการณ์พฤษภาฯ35 การอดอาหารประท้วงของพลตรีจำลอง ศรีเมือง และเรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร เพื่อยืนยันหลักการให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่เอานายกฯคนนอก เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของการชุมนุมประท้วงในหมู่ประชาชน และได้ใจชนชั้นกลางในกรุงเทพฯอย่างมาก แม้ว่าการอดอาหารครั้งนั้นจะถูกดิสเครดิตโดยฝ่ายทหารอย่างไร ก็ไม่ได้ผลมากนัก
แต่การอดอาหารประท้วงคณะรัฐประหารเมื่อปี 2549 ของฉลาด กลับไม่ได้รับความสนใจจากสังคมที่อยู่ในอารมณ์มอบดอกไม้ให้ทหารประหนึ่งเป็นฮีโร่กู้ชาติ เขากลายเป็นตัวตลกทางการเมือง ถูกหาว่าเป็นนักฉวยโอกาส สร้างกระแส อยากดัง หรือแม้แต่เป็นคนโง่ที่ไร้มวลชนสนับสนุน
ในกรณีของไผ่ ดาวดิน ก็ไม่ต่างกันนัก การอดอาหารประท้วงของเขา นอกจากจะแทบไม่ได้รับความสนใจจากสังคมและสื่อไทย ยังถูกดิสเครดิตได้อย่างง่ายดายโดยภาครัฐ เมื่อกรมราชทัณฑ์ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าไผ่ไม่ได้อดอาหาร แต่ยังกินน้ำ นม และขนม กระแสในโลกออนไลน์ก็รีบออกมากระหน่ำซำเติมอย่างรวดเร็ว ว่าไผ่ไม่ได้อดอาหารจริง เป็นเพียงการสร้างกระแสเรียกร้องความสนใจเท่านั้น
สังคมไทยอาจจะยังไม่เข้าใจการอดอาหารประท้วงมากพอ
วิธีการนี้ใช้กันมาเป็นพันๆปีแล้ว ปรากฏหลักฐานการประท้วงด้วยการอดอาหารตั้งแต่ในมหากาพย์รามายณะ ซึ่งพระภรตใช้วิธีอดอาหารเพื่อเรียกร้องให้พระราม พระเชษฐาที่ถุกเนรเทศมาอยู่ป่า ยอมกลับไปปกครองบ้านเมือง มาจนถึงยุคเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ที่มหาตมะ คานธี ใช้วิธีอดอาหารเป็นอาวุธหลักในการต่อสู้แบบอหิงสา ควบคู่กับกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์อย่างการปั่นฝ้ายและทำเกลือใช้เอง เพื่อต่อต้านการปกครองของ British Raj หรือรัฐบาลอังกฤษแห่งอินเดีย
ตลอดชีวิต 78 ปี คานธีอดอาหารถึง 14 ครั้ง ทำให้เขากลายเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังของการต่อสู้โดยสันติวิธีของมนุษย์ตัวเล็กๆที่ไร้พลังอำนาจ ได้แต่ใช้ชีวิตของตนเองเป็นเครื่องต่อรองกับพลังที่ยิ่งใหญ่ของรัฐ
การอดอาหารประท้วงทั่วโลกมีวิธีแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ประท้วงจะเลือก มีตั้งแต่อดทั้งอาหารและน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประท้วงระยะสั้นมาก ประมาณ 1-3 วัน หรือการอดอาหารโดยกินเฉพาะของเหลวอย่างน้ำ น้ำเกลือแร่ น้ำผึ้ง นม เพื่อให้สามารถประท้วงได้ยาวนาน บางครั้งถึง 30-40 วัน แต่การอดอาหารประท้วงทุกรูปแบบตั้งอยู่บนหลักการเดียวกัน ก็คือการใช้พลังบริสุทธิ์อย่างชีวิตของประชาชนคนธรรมดาเป็นเดิมพัน เพื่อสะท้อนความไม่พอใจในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรมของรัฐ การประท้วงแบบนี้มุ่งหมายสร้างความอับอายให้กับผู้มีอำนาจ นำไปสู่การสูญเสียความชอบธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและในประชาคมระหว่างประเทศ
แน่นอนว่าการอดอาหารประท้วงจะบรรลุผลก็ต่อเมื่อเหตุผลในการประท้วงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีความชอบธรรม หากไม่ชัดเจนว่าผู้ประท้วงถูกรังแก หรือกำลังเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง การอดอาหารก็เป็นเพียงการจับตัวเองเป็นตัวประกันเท่านั้น
แต่คำถามสำคัญก็คือ ในสังคมไทย เหตุใดการประท้วงอย่างสันติของไผ่ ดาวดิน หรือการอดอาหารประท้วงการรัฐประหารของฉลาด วรฉัตร กลับกลายเป็นการประท้วงที่สูญเปล่าและถูกหมิ่นแคลน?
Protester Andrés Thomas (R) is force-fed by Dr. Terry Fitzgerald (L) during a demonstration in solidarity with hunger-striking inmates at the US prison at Guantanamo Bay, in front of the White House in Washington on September 6, 2013. The US government on September 5 called for the dismissal of a legal appeal filed by hunger-striking detainees at Guantanamo Bay who want to ban the practice of force-feeding, official filings showed. A federal judge in July declared that the practice of feeding inmates by nasal tubes at the controversial military jail constituted 'torture' and said it should be stopped, but she rejected the lawsuit filed by four prisoners. AFP PHOTO/Nicholas KAMM (Photo credit should read NICHOLAS KAMM/AFP/Getty Images)
นกรณีประเทศอื่นๆ การประท้วงไม่สำเร็จอาจเกิดได้จากรัฐเข้าไปขวางการอดอาหารโดยการบังคับให้อาหารผ่านสายยาง เช่นกรณีนักโทษกวนตานาโม ในอีกหลายกรณี การประท้วงไม่สำเร็จ เพราะรัฐเป็นเผด็จการที่แข็งแกร่ง ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงแรงกดดันจากสังคมมากนัก เช่นการอดอาหารของโจชัว หว่อง แกนนำนักศึกษาฮ่องกง
แต่ในกรณีของไทย ปัจจัยที่จะทำให้การอดอาหารประท้วงสำเร็จหรือไม่สำเร็จดูจะอยู่ที่ "ใคร" ประท้วง มากกว่าประท้วงเพื่อ "อะไร"
พลตรีจำลอง ได้รับการยอมรับว่าเป็น "คนดี" การอดอาหาร เอาชีวิตของ "คนดี" มาเป็นเครื่องมือต่อรอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยซาบซึ้งในฐานะการเสียสละของคนดีเพื่อผลประโยชน์ของบ้านเมือง คล้ายกับการอดอาหารของคานธี แต่ในกรณีไผ่ ดาวดิน และฉลาด วรฉัตร ไม่มีต้นทุนความเป็นคนดีมากพอที่จะทำให้เกิดความซาบซึ้ง ทำให้การอดอาหารประท้วงของทั้งคู่ถูกดิสเครดิตได้ง่าย ส่วนเหตุผลในการประท้วง คือการสู้เพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพ เพื่อประชาธิปไตย ยังไม่ใช่เหตุผลทีหนักแน่นศักดิ์สิทธิ์พอ อาจจะเพราะคนไทยยังไม่ซาบซึ้งกับ 2 คำนี้เท่ากับวาทกรรมคนดีมีคุณธรรมที่ถูกปลูกฝังมานานนับสิบนับร้อยปี
คงต้องถือเป็นความอับโชคของฝ่ายประชาธิปไตยในไทย ที่อยู่ในประเทศซึ่งพล็อตคนดีเสียสละเพื่อบ้านเมือง ขายได้ง่ายกว่าพล็อตนักเคลื่อนไหวที่ใช้ชีวิตตัวเองแลกกับเสรีภาพและประชาธิปไตย
Somsak Jeamteerasakul
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/1063456250374320
อันนี้พูดในเชิงยุทธวิธีล้วนๆนะครับ
(ถือเป็นการ exercise ทางการคิด เผื่อจะเป็นประโยชน์ในอนาคต)
ในฐานะยุทธวิธี การอดอาหาร มีทางลงเอยได้ 2 ทาง ในแต่ละทาง ยังมีความเป็นไปได้ 2 อย่าง
ทางที่ 1 - คนอดอาหารเสียชีวิต
ในแง่ผลลัพท์ อาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.1 ไม่เกิดอะไรขึ้น
1.2 ก่อให้เกิดความไม่พอใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (ผมนึกตัวอย่างการอดอาหารไม่ออก.. ที่นึกได้ กรณีตูนีเซีย เผาตัวตาย อาจจะพอจัดได้ว่าคล้ายๆกัน)
พิจารณาในแง่เป็นยุทธวิธีล้วนๆ ผมไม่เคยเห็นด้วยกับยุทธวิธีนี้ ในแง่ที่โอกาสจะที่จะลงเอย 1.2 นั้น เป็นเรื่องอะไรที่จะเกิดขึ้นหรือคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก การเสียคนที่จะสู้ไปหนึ่งชีวิต โดยผลลัพท์ไม่แน่นอน หรือเป็นไปได้ยากขนาดนี้ เป็นยุทธวิธีที่ผมไม่สนับสนุน
ทางที่ 2 - คนอดอาหาร หยุดอดเอง
ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งคือ
2.1 ไม่ประสบความสำเร็จ เลยต้องหยุดอดไป หรือถูกบังคับให้หยุด (บังคับป้อนอาหาร) ซึ่งก็คือหยุดโดยไม่ประสบความสำเร็จอะไร
2.2 ประสบความสำเร็จ ในแง่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุข้อเรียกร้องบางอย่าง
กรณีของคุณ "ไผ่ ดาวดิน" นั้น ยังอาจจะนำมาซึ่่งผลลัพท์แบบนี้ก็ได้ คือถึงวันขึ้นศาล ศาลอาจจะปล่อยตัวออกมาโดยไม่ต้องให้ประกันอะไรก็ได้ (อต่คดียังอยู่เหมือน โรมกับเพื่อน)
แต่ถ้าเช่นนั้น พิจารณาในเชิงยุทธวิธี ผมก็ยังเห็นว่า (ก) ถ้าจะอดอาหาร น่าจะรอถึงวันที่ใกล้การขึ้นศาล ค่อยอด ไม่จำเป็นต้องอดวันแรกสุด หรือ (ข) ใช้ยุทธวิธีไม่ประกันตัวก่อน ซึ่งอาจจะทำให้ได้ผลลัพท์นี้เช่นกัน โดยไม่ต้องอดอาหาร (กรณีโรมกับเพื่อน)
ถ้าในวันขึ้นศาลครั้งต่อไป (โดยที่คุณไผ่ยังคงอดอาหารอยู่) ศาลปล่อย ก็ยากจะบอกว่า เป็นเพราะคุณไผ่อดอาหาร หรือเป็นเพราะ (เหมือนกรณีโรม) เมื่อไม่ประกัน ศาลมีแนวโน้มอาจจะปล่อยอยู่
ในแง่นี้ พูดในเชิงยุทธวิธีล้วนๆ ผมก็ยังเห็นว่าการอดอาหารครั้งนี้ อาจจะเร็วเกินไป และเสี่ยงต่อผลลัพท์ทางอื่น (2.1) ที่ไม่ได้อะไรมากเกินไป
..................
ต้องย้ำว่า ที่พูดมาทั้งหมดนี้ พูดในเชิงยุทธวิธีล้วนๆ ผมคิดว่าคุณไผ่ อดอาหารด้วยความรู้สึกทางจิตใจ ที่ต้องการประท้วงการจับที่ไม่ชอบธรรม คงไม่ได้คิดคำนวนทางยุทธวิธี อย่างที่บรรยายมา
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป ผมเห็นว่า ในฐานะผู้ที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้ว่า ถ้าไม่มี "ใจ" ก็จะทำอะไรไม่ได้ แต่การมี "ใจ" อย่างเดียว ควรต้องมีองค์ประกอบของการคิดในเชิงอื่นๆ (ยุทธวิธี ฯลฯ) อยู่ด้วยควบคู่กันไปเสมอ
ภัควดี วีระภาสพงษ์
นักข่าวและพิธีกร iASEAN/ Tonight Thailand/ Voice World Wide
Voice TV
18 สิงหาคม 2559
กรณีไผ่ ดาวดิน นักโทษคดีประชามติอดอาหารประท้วง แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากสังคมไทยมากนัก กลายเป็นภาพสะท้อนว่าการประท้วงด้วสันติวิธีแบบนี้ หมดน้ำยาแล้วในดลกยุคใหม่ หรือนี่เป็นแค่ความป่วยไข้ของสังคมไทยกันแน่?
ไผ่ ดาวดิน นักศึกษาที่ถูกคุมขังจากการรณรงคืไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่นักเคลื่อนไหวคนแรกในเมืองไทยที่ใช้วิธีอดอาหารประท้วงกลไกอันไม่ชอบธรรมของรัฐ ในเหตุการณ์พฤษภาฯ35 การอดอาหารประท้วงของพลตรีจำลอง ศรีเมือง และเรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร เพื่อยืนยันหลักการให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่เอานายกฯคนนอก เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของการชุมนุมประท้วงในหมู่ประชาชน และได้ใจชนชั้นกลางในกรุงเทพฯอย่างมาก แม้ว่าการอดอาหารครั้งนั้นจะถูกดิสเครดิตโดยฝ่ายทหารอย่างไร ก็ไม่ได้ผลมากนัก
การอดอาหารของจำลองดำเนินไป 5 วัน เรียกคนออกมาชุมนุมเรือนแสน และทำให้เกิดการต่อรองรอชอมกับทหาร แม้สุดท้ายจะไม่สำเร็จ pic.twitter.com/THZDdV9enW— Pannika Wanich (@pannikawanich) August 18, 2016
แต่การอดอาหารประท้วงคณะรัฐประหารเมื่อปี 2549 ของฉลาด กลับไม่ได้รับความสนใจจากสังคมที่อยู่ในอารมณ์มอบดอกไม้ให้ทหารประหนึ่งเป็นฮีโร่กู้ชาติ เขากลายเป็นตัวตลกทางการเมือง ถูกหาว่าเป็นนักฉวยโอกาส สร้างกระแส อยากดัง หรือแม้แต่เป็นคนโง่ที่ไร้มวลชนสนับสนุน
ฉลาดกลับมาอดอาหารประท้วงอีกครั้งเมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 แต่ไม่ได้รับความสนใจ กลายเป็นตัวตลกทางการเมือง pic.twitter.com/cLvwl3SoVU— Pannika Wanich (@pannikawanich) August 18, 2016
ในกรณีของไผ่ ดาวดิน ก็ไม่ต่างกันนัก การอดอาหารประท้วงของเขา นอกจากจะแทบไม่ได้รับความสนใจจากสังคมและสื่อไทย ยังถูกดิสเครดิตได้อย่างง่ายดายโดยภาครัฐ เมื่อกรมราชทัณฑ์ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าไผ่ไม่ได้อดอาหาร แต่ยังกินน้ำ นม และขนม กระแสในโลกออนไลน์ก็รีบออกมากระหน่ำซำเติมอย่างรวดเร็ว ว่าไผ่ไม่ได้อดอาหารจริง เป็นเพียงการสร้างกระแสเรียกร้องความสนใจเท่านั้น
กระแสความเห็นในโลกออนไลน์จากเว็บเนชั่น หลังกรมราชทัณฑ์ออกแถลงการณ์ว่าไผ่ ดาวดิน ยังกินนมและขนม ไม่ได้อดอาหาร pic.twitter.com/XbFcLVMPYu— Pannika Wanich (@pannikawanich) August 18, 2016
สังคมไทยอาจจะยังไม่เข้าใจการอดอาหารประท้วงมากพอ
วิธีการนี้ใช้กันมาเป็นพันๆปีแล้ว ปรากฏหลักฐานการประท้วงด้วยการอดอาหารตั้งแต่ในมหากาพย์รามายณะ ซึ่งพระภรตใช้วิธีอดอาหารเพื่อเรียกร้องให้พระราม พระเชษฐาที่ถุกเนรเทศมาอยู่ป่า ยอมกลับไปปกครองบ้านเมือง มาจนถึงยุคเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ที่มหาตมะ คานธี ใช้วิธีอดอาหารเป็นอาวุธหลักในการต่อสู้แบบอหิงสา ควบคู่กับกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์อย่างการปั่นฝ้ายและทำเกลือใช้เอง เพื่อต่อต้านการปกครองของ British Raj หรือรัฐบาลอังกฤษแห่งอินเดีย
ตลอดชีวิต 78 ปี คานธีอดอาหารถึง 14 ครั้ง ทำให้เขากลายเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังของการต่อสู้โดยสันติวิธีของมนุษย์ตัวเล็กๆที่ไร้พลังอำนาจ ได้แต่ใช้ชีวิตของตนเองเป็นเครื่องต่อรองกับพลังที่ยิ่งใหญ่ของรัฐ
ในช่วงชีวิต 78 ปีของคานธี เขาอดอาหาร 14 ครั้งเพื่อประท้วงการปกครองอันกดขี่ของ British Raj หรือรัฐบาลอังกฤษในอินเดีย pic.twitter.com/Btzni5j7F1— Pannika Wanich (@pannikawanich) August 18, 2016
การอดอาหารประท้วงทั่วโลกมีวิธีแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ประท้วงจะเลือก มีตั้งแต่อดทั้งอาหารและน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประท้วงระยะสั้นมาก ประมาณ 1-3 วัน หรือการอดอาหารโดยกินเฉพาะของเหลวอย่างน้ำ น้ำเกลือแร่ น้ำผึ้ง นม เพื่อให้สามารถประท้วงได้ยาวนาน บางครั้งถึง 30-40 วัน แต่การอดอาหารประท้วงทุกรูปแบบตั้งอยู่บนหลักการเดียวกัน ก็คือการใช้พลังบริสุทธิ์อย่างชีวิตของประชาชนคนธรรมดาเป็นเดิมพัน เพื่อสะท้อนความไม่พอใจในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรมของรัฐ การประท้วงแบบนี้มุ่งหมายสร้างความอับอายให้กับผู้มีอำนาจ นำไปสู่การสูญเสียความชอบธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและในประชาคมระหว่างประเทศ
แน่นอนว่าการอดอาหารประท้วงจะบรรลุผลก็ต่อเมื่อเหตุผลในการประท้วงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีความชอบธรรม หากไม่ชัดเจนว่าผู้ประท้วงถูกรังแก หรือกำลังเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง การอดอาหารก็เป็นเพียงการจับตัวเองเป็นตัวประกันเท่านั้น
แต่คำถามสำคัญก็คือ ในสังคมไทย เหตุใดการประท้วงอย่างสันติของไผ่ ดาวดิน หรือการอดอาหารประท้วงการรัฐประหารของฉลาด วรฉัตร กลับกลายเป็นการประท้วงที่สูญเปล่าและถูกหมิ่นแคลน?
Protester Andrés Thomas (R) is force-fed by Dr. Terry Fitzgerald (L) during a demonstration in solidarity with hunger-striking inmates at the US prison at Guantanamo Bay, in front of the White House in Washington on September 6, 2013. The US government on September 5 called for the dismissal of a legal appeal filed by hunger-striking detainees at Guantanamo Bay who want to ban the practice of force-feeding, official filings showed. A federal judge in July declared that the practice of feeding inmates by nasal tubes at the controversial military jail constituted 'torture' and said it should be stopped, but she rejected the lawsuit filed by four prisoners. AFP PHOTO/Nicholas KAMM (Photo credit should read NICHOLAS KAMM/AFP/Getty Images)
นกรณีประเทศอื่นๆ การประท้วงไม่สำเร็จอาจเกิดได้จากรัฐเข้าไปขวางการอดอาหารโดยการบังคับให้อาหารผ่านสายยาง เช่นกรณีนักโทษกวนตานาโม ในอีกหลายกรณี การประท้วงไม่สำเร็จ เพราะรัฐเป็นเผด็จการที่แข็งแกร่ง ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงแรงกดดันจากสังคมมากนัก เช่นการอดอาหารของโจชัว หว่อง แกนนำนักศึกษาฮ่องกง
แต่ในกรณีของไทย ปัจจัยที่จะทำให้การอดอาหารประท้วงสำเร็จหรือไม่สำเร็จดูจะอยู่ที่ "ใคร" ประท้วง มากกว่าประท้วงเพื่อ "อะไร"
พลตรีจำลอง ได้รับการยอมรับว่าเป็น "คนดี" การอดอาหาร เอาชีวิตของ "คนดี" มาเป็นเครื่องมือต่อรอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยซาบซึ้งในฐานะการเสียสละของคนดีเพื่อผลประโยชน์ของบ้านเมือง คล้ายกับการอดอาหารของคานธี แต่ในกรณีไผ่ ดาวดิน และฉลาด วรฉัตร ไม่มีต้นทุนความเป็นคนดีมากพอที่จะทำให้เกิดความซาบซึ้ง ทำให้การอดอาหารประท้วงของทั้งคู่ถูกดิสเครดิตได้ง่าย ส่วนเหตุผลในการประท้วง คือการสู้เพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพ เพื่อประชาธิปไตย ยังไม่ใช่เหตุผลทีหนักแน่นศักดิ์สิทธิ์พอ อาจจะเพราะคนไทยยังไม่ซาบซึ้งกับ 2 คำนี้เท่ากับวาทกรรมคนดีมีคุณธรรมที่ถูกปลูกฝังมานานนับสิบนับร้อยปี
คงต้องถือเป็นความอับโชคของฝ่ายประชาธิปไตยในไทย ที่อยู่ในประเทศซึ่งพล็อตคนดีเสียสละเพื่อบ้านเมือง ขายได้ง่ายกว่าพล็อตนักเคลื่อนไหวที่ใช้ชีวิตตัวเองแลกกับเสรีภาพและประชาธิปไตย
ooo
Somsak Jeamteerasakul
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/1063456250374320
อันนี้พูดในเชิงยุทธวิธีล้วนๆนะครับ
(ถือเป็นการ exercise ทางการคิด เผื่อจะเป็นประโยชน์ในอนาคต)
ในฐานะยุทธวิธี การอดอาหาร มีทางลงเอยได้ 2 ทาง ในแต่ละทาง ยังมีความเป็นไปได้ 2 อย่าง
ทางที่ 1 - คนอดอาหารเสียชีวิต
ในแง่ผลลัพท์ อาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.1 ไม่เกิดอะไรขึ้น
1.2 ก่อให้เกิดความไม่พอใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (ผมนึกตัวอย่างการอดอาหารไม่ออก.. ที่นึกได้ กรณีตูนีเซีย เผาตัวตาย อาจจะพอจัดได้ว่าคล้ายๆกัน)
พิจารณาในแง่เป็นยุทธวิธีล้วนๆ ผมไม่เคยเห็นด้วยกับยุทธวิธีนี้ ในแง่ที่โอกาสจะที่จะลงเอย 1.2 นั้น เป็นเรื่องอะไรที่จะเกิดขึ้นหรือคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก การเสียคนที่จะสู้ไปหนึ่งชีวิต โดยผลลัพท์ไม่แน่นอน หรือเป็นไปได้ยากขนาดนี้ เป็นยุทธวิธีที่ผมไม่สนับสนุน
ทางที่ 2 - คนอดอาหาร หยุดอดเอง
ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งคือ
2.1 ไม่ประสบความสำเร็จ เลยต้องหยุดอดไป หรือถูกบังคับให้หยุด (บังคับป้อนอาหาร) ซึ่งก็คือหยุดโดยไม่ประสบความสำเร็จอะไร
2.2 ประสบความสำเร็จ ในแง่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุข้อเรียกร้องบางอย่าง
กรณีของคุณ "ไผ่ ดาวดิน" นั้น ยังอาจจะนำมาซึ่่งผลลัพท์แบบนี้ก็ได้ คือถึงวันขึ้นศาล ศาลอาจจะปล่อยตัวออกมาโดยไม่ต้องให้ประกันอะไรก็ได้ (อต่คดียังอยู่เหมือน โรมกับเพื่อน)
แต่ถ้าเช่นนั้น พิจารณาในเชิงยุทธวิธี ผมก็ยังเห็นว่า (ก) ถ้าจะอดอาหาร น่าจะรอถึงวันที่ใกล้การขึ้นศาล ค่อยอด ไม่จำเป็นต้องอดวันแรกสุด หรือ (ข) ใช้ยุทธวิธีไม่ประกันตัวก่อน ซึ่งอาจจะทำให้ได้ผลลัพท์นี้เช่นกัน โดยไม่ต้องอดอาหาร (กรณีโรมกับเพื่อน)
ถ้าในวันขึ้นศาลครั้งต่อไป (โดยที่คุณไผ่ยังคงอดอาหารอยู่) ศาลปล่อย ก็ยากจะบอกว่า เป็นเพราะคุณไผ่อดอาหาร หรือเป็นเพราะ (เหมือนกรณีโรม) เมื่อไม่ประกัน ศาลมีแนวโน้มอาจจะปล่อยอยู่
ในแง่นี้ พูดในเชิงยุทธวิธีล้วนๆ ผมก็ยังเห็นว่าการอดอาหารครั้งนี้ อาจจะเร็วเกินไป และเสี่ยงต่อผลลัพท์ทางอื่น (2.1) ที่ไม่ได้อะไรมากเกินไป
..................
ต้องย้ำว่า ที่พูดมาทั้งหมดนี้ พูดในเชิงยุทธวิธีล้วนๆ ผมคิดว่าคุณไผ่ อดอาหารด้วยความรู้สึกทางจิตใจ ที่ต้องการประท้วงการจับที่ไม่ชอบธรรม คงไม่ได้คิดคำนวนทางยุทธวิธี อย่างที่บรรยายมา
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป ผมเห็นว่า ในฐานะผู้ที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้ว่า ถ้าไม่มี "ใจ" ก็จะทำอะไรไม่ได้ แต่การมี "ใจ" อย่างเดียว ควรต้องมีองค์ประกอบของการคิดในเชิงอื่นๆ (ยุทธวิธี ฯลฯ) อยู่ด้วยควบคู่กันไปเสมอ
ooo
เราเหนื่อยที่จะต้องพูดประเด็นที่คิดว่าพื้นฐานมาก ๆ จนไม่น่าต้องพูดแล้ว แต่หลังจากดูบรรยากาศรอบตัว เราคิดว่าควรจะพูด กขค กันอีกที
เรื่องการอดอาหารประท้วงนั้น เราคิดว่าคนไทยควรทำความเข้าใจและศึกษาการเมืองและชีววิทยาของการอดอาหารประท้วงบ้าง เรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือ *การอดอาหารประท้วงไม่ใช่การฆ่าตัวตาย* ดังนั้น ผู้ประท้วงจึงดื่มน้ำกับของเหลว บางทีก็มีการเสริมกลูโคสและสารอาหารอื่น ๆ เพราะถ้าไม่กินอะไรเลยก็คงอยู่ได้ไม่กี่วัน การดื่มนมหรือรับอาหารเหลวจึงยังถือเป็นการอดอาหารประท้วงอยู่ การเยาะหยันว่าไม่อดจริงแสดงถึงความไม่รู้ของคนพูดมากกว่า
เนื่องจากการอดอาหารประท้วงยังมีการรับสารอาหารอยู่ (แม้ว่าในระดับต่ำกว่าปรกติ) ดังนั้น การอดอาหารประท้วงจึงสามารถทำได้ยาวนาน เช่น นักกิจกรรมหญิงชาวอินเดียผู้หนึ่งทำมานานถึง 16 ปี (หาอ่านบทความได้ในประชาไทเมื่อไม่นานนี้) นักโทษในเรือนจำ ทั้งนักโทษการเมืองและนักโทษทั่วไป มักใช้วิธีการอดอาหารประท้วง ซึ่งทำกันนานตั้งแต่ไม่กี่วันจนถึงเกือบร้อยวัน แน่นอน การอดอาหารประท้วงนั้นถ้านานเกินไป ก็มีผู้ประท้วงเสียชีวิตได้ เพราะร่างกายแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
โปรดสังเกตด้วยว่า การ force-feeding นั้น ยูเอ็นถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ประท้วงด้วยการอดอาหารด้วย แค่นี้ก็น่าจะพอทำให้คิดอะไรได้บ้าง
เราคิดว่าการตอบโต้กันตอนนี้ ส่วนหนึ่งมาจากความไม่เข้าใจของคนไทยต่อการประท้วงด้วยการอดอาหาร (รวมไปถึงการประท้วงแบบสันติวิธี/ไม่ใช้ความรุนแรงแทบทั้งหมด ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่นักวิชาการด้านสันติวิธีควรพิจารณาตัวเอง) เราเข้าใจว่าทุกคนเป็นห่วง ไม่อยากให้เป็นอันตราย แต่แทนที่ความเป็นห่วงนี้จะแปรไปสู่กระแสสังคมที่จะกดดันรัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมไทยให้ปล่อยตัวไผ่ กระแสของคนจำนวนมากกลับกดดันไผ่และคนรอบตัวเขา โดยแสดงความคิดเห็นว่าการกระทำของไผ่เป็นสิ่งที่โง่ ไม่คุ้ม ไม่มีประโยชน์ ไอ้พวกนักกิจกรรมรอบตัวก็ดีแต่เชียร์เพื่อสร้างวีรชนคนใหม่ สงสารพ่อแม่ไผ่ (ทั้งๆ ที่พ่อแม่เขารับรู้ทุกกระบวนการและใกล้ชิดลูกมากที่สุด) ฯลฯ กระแสแบบนี้ไม่ได้สร้างทางลงให้ไผ่เลย คนที่ประท้วงด้วยการอดอาหารนั้น จำเป็นต้องมีทางลงอย่างสมศักดิ์ศรี เพราะฝ่ายตรงข้ามรอเยาะหยันอยู่แล้ว แต่กรณีของเมืองไทยนั้นพิเศษหน่อย ตรงที่กลุ่มคนที่ดูเหมือนเป็น "ฝั่งเดียวกัน" ก็รอเยาะหยันเหมือนกัน
เราคิดว่าการอดอาหารประท้วงของไผ่ไม่ได้เป็นการกระทำที่โง่เง่าไร้ประโยชน์ มันเป็นการบอกว่าการต่อสู้ยังไม่จบ ไม่ต้องเสียใจกับผลประชามติ มันเป็นการเปิดโปงว่า กกต.และกระบวนการยุติธรรมของไทยมันเฮงซวย มันเป็นการเปิดโปงว่าประเทศเรายังเป็นเผด็จการ ฯลฯ หลายคนคงบอกว่ารู้แล้ว ไม่ต้องบอกแล้ว แต่ไผ่กำลังบอกว่า พวกคุณกำลังทำตัวเคยชินกับมัน ถ้าอยู่นิ่ง ๆ และชินกับมันไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งทุกคนก็จะไม่รู้สึกว่าประเทศนี้เป็นเผด็จการอีกต่อไป
แน่นอน ในหมู่นักกิจกรรมรอบตัวไผ่ ไม่มีใครบ้ายุให้ไผ่อดอาหารจนตายหรอก อาทิเช่นตัวเรา ถ้าวันที่ 19 นี้ ศาลไม่ปล่อยตัวไผ่โดยไม่มีเงื่อนไข เราก็เป็นคนหนึ่งที่จะเกลี้ยกล่อมให้ไผ่ยุติการอดอาหารประท้วง แต่เราจะไม่ใช้เหตุผลว่ามันไร้ประโยชน์ โง่เง่า ทำไปทำไม ฯลฯ
ส่วนกรณีที่มีการทำกิจกรรมห้าบาทสิบบาท เขียนโปสการ์ด จดหมายลูกโซ่ ที่มีคนเยาะหยันว่าทำ "เล่นๆ" อวยกันเอง ชมกันเองนั้น ในแง่หนึ่งพวกเราก็คิดว่ามันจะเป็นการจุดกระแสสังคมขึ้นมา กับอีกแง่หนึ่งคือ องค์กร สถาบันและบุคคลพันธมิตรของเราก็มีหลากหลาย หลายแห่งก็ทำงานหลายประเด็น กิจกรรมพวกนี้มันเป็นการสะกิดพวกเขาว่า อย่าลืมไผ่นะ เพราะบางทีพวกเขาก็มัวทำประเด็นอื่นอยู่ (และในรัฐบาลเผด็จการ มันมีประเด็นเยอะจนทำไม่ทัน!) ถ้าถามว่ากิจกรรมห้าบาทสิบบาทพวกนี้ได้ผลไหมในแง่สะกิดพันธมิตร ก็ขอบอกว่าได้ผล เรื่องบางเรื่องก็มีหลายด้าน โปรดอย่าดูแคลนกันมากเกินไป
สุดท้ายนี้ เราคิดว่าสิ่งหนึ่งที่การอดอาหารประท้วงของไผ่ทำให้เราตระหนักขึ้นมาก็คือ เรารู้แล้วว่า "คนฝั่งเดียวกัน" จริง ๆ นั้นมีน้อย แต่เพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมโลกนั้นมีเยอะกว่า ถ้าไผ่เกิดเป็นอะไรขึ้นมา คนพร้อมกระทืบซ้ำคงมีเต็มไปหมด ซึ่งเราก็ทำใจแล้ว เรายังรู้สึกดีต่อคนจำนวนมากในฐานะเพื่อนร่วมโลก แต่เพื่อนร่วมทางจริง ๆ คงมีไม่มากนัก ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการอยู่บนโลกใบนี้
.....
เรื่องเกี่ยวเนื่อง...
Pai's Friends - Jane Okerman from USA.
https://www.youtube.com/watch?v=LCAnDKEC0vY
jom voice
Published on Aug 17, 2016
My friend Pai has been in prison for the past 11 days simply for passing out leaflets advocating for basic human rights in Thailand. While in prison, Pai has become sick and is not receiving the proper care he needs.
We're circulating this Facebook chain message to support Pai during these tough times and to send him the strength he needs.
Dear Pai,
1) How did you get to know Pai?
I first officially met Pai when I was living abroad in Thailand for a year. We were kicking off our Mining Justice Campaign and Pai was one of Dao Din's (our project partner) main leaders so we attended a ton of planning meetings together. Eventually Pai became much more than someone sitting on the other side of the room as me. He was someone who made being in Thailand fun again - during some not-so-fun months.
2) What is Pai like?
Pai is a role model. Even before I was working and living in Thailand I knew who he was. He would hang around the CIEE office (when I was a student there), smoking cigarettes - he completely embodied a true activist fighting for his country, something us students admired. On top of that, Pai is a funny, caring, and sweet person.
3) What would you like to say to Pai?
Pai I look up to you in so many ways and am hoping you get well soon. Stay strong! Miss you - xoxo
.....
https://www.facebook.com/100000942179021/videos/1171518126222915/