เอนก ชี้ ผลประชามติสะท้อนคนไม่รับการนำจากพรรคการเมือง แนะพรรคใหญ่ปรับตัว
ที่มา มติชนออนไลน์
9 ส.ค. 59
“เอนก” ชี้ ปชต. กับสิ่งที่ปชช.คิดไม่เหมือนกัน เตือน สองพรรคใหญ่ทบทวนฐานเสียง-ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ แนะ รัฐบาลสร้างเสถียรภาพ อย่าทำเพื่อให้คนนอกเข้ามาเสวยสุข
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน กล่าวถึงผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เราไม่ควรเน้นว่าใครแพ้ใครชนะ แต่ควรเอาผลการลงประชามติเป็นครู ใครที่อยากทำอะไรให้ประชาชนหรือเพื่อประชาชนก็ควรจะวิเคราะห์ว่าประชาชนจริงๆ คิดอย่างไรและต้องการอะไร มีบางท่านที่คิดว่า ตนเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ท่านก็ต้องคิดว่า ประชาชนเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ และเห็นด้วยกับคำถามพ่วง แม้จะดูไม่เป็นประชาธิปไตยนักก็ตาม เพราะประชาธิปไตยกับสิ่งที่ประชาชนคิดไม่เหมือนกัน รวมถึงสองพรรคการเมืองใหญ่ ที่ควรทบทวนความคิดแผนการ และยุทธศาสตร์รวมทั้งการจัดวางกำลังของตนเองอย่างจริงจังและเร่งรีบ โดยพรรคประชาธิปัตย์ต้องอย่าลืมว่า ไม่รับรัฐธรรมนูญ แต่ผู้คนในกรุงเทพฯ กลับรับร่างรัฐธรรมนูญร่วม 70 เปอร์เซนต์ และภาคใต้รับรัฐธรรมนูญร่วม 80 เปอร์เซนต์ ประชาชนทำท่าจะไม่รับการชี้นำของพรรคเสียแล้ว ดังนั้นจะมั่นใจอย่างไรว่า ถ้าพรรคฯไม่เปลี่ยนอะไรเลย ถึงเวลาเลือกตั้งจะได้คะแนนจากกรุงเทพฯ และภาคใต้ เท่าเดิม
นายเอนก กล่าวต่อว่า ส่วนพรรคเพื่อไทยและ นปช. นั้นไม่รับรัฐธรรมนูญอย่างเปิดเผย แต่ภาคเหนือกลับรับรัฐธรรมนูญ และภาคอีสานรับหรือไม่รับเท่าๆกัน คือ ไม่ได้ปฏิเสธรัฐธรรมนูญชัดเจน ดังนั้นพรรคทำท่าจะห่างเหินจากฐานเสียงเดิมมาก ก็ถึงเวลาที่เพื่อไทย และ นปช.จะทบทวนจุดยืนและยุทธศาสตร์ของพรรคบ้าง เพราะประชาชนดูเหมือนจะยอมรับสิ่งที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และรัฐบาลพล.เอก.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและ หัวหน้า คสช. ทำมาใน 2 ปีนี้ และรับรองสิ่งที่รัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงต้องการทำ พูดง่ายๆคือ จากนี้ไปจนถึงเลือกตั้งและ 5 ปี หลังจากนั้น อาจจะมีคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และมี ส.ว.ที่มาจาก คสช.ทั้ง 250 คนซึ่งส.ว.นี้ มีอำนาจร่วมกับส.ส.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีนั้น อาจเป็นคนนอกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ ที่ผ่านมาเราทั้งหลายมักจะคิดกันเองว่า ประชาชนคิดอย่างนั้น ต้องการอย่างนี้ ไม่เอาสิ่งนั้น แต่นานๆสักครั้งที่ประชาชนจะบอกได้ ด้วยการลงประชามติว่า อยากเห็นบ้านเมือง 6-7 ปีนี้เดินไปทางไหน อย่างไร ฉะนั้นเราต้องนับถือและฟังสิ่งที่ประชาชนบอก อย่างไรก็ตามควรที่ฝ่ายแพ้ก็ควรยอมรับ และฝ่ายชนะเองก็ไม่ควรเหิมเกริม
นายเอนก กล่าวอีกว่า ในทางพฤติกรรมนั้น ยากรู้หยั่งถึงถ้านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไม่อยู่ในร่องในรอย ก็ไม่มีใครประกันได้ว่าประชาชนจะไม่ออกมาขับไล่ ดังนั่นสิ่งที่รัฐบาลควรจะทำต่อจากนี้ไปคือ ทำให้ประชาชนพอจะมองเห็นว่า รัฐบาลที่ผิดแปลกจากประชาธิปไตยทั่วไปนั้น จะเอาความมั่นคงและเสถียรภาพไปทำอะไร ไม่ใช่ทำเพื่อการเสวยสุขของฝ่ายคนนอก ฝ่ายพรรคใหญ่ ฝ่ายพรรคกลางและพรรคเล็ก แต่ต้องเป็นไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปฏิรูปสู่สันติสุข หลายสิ่งที่ คสช.ทำ เช่น การพักงานบรรดานักการเมือง และข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่น ที่ต้องสงสัยว่าจะกระทำผิดหรือทุจริตร้ายแรง ควรขยายวงทำให้เป็นระบบ มีแผนในการทำต่อไปถึงจะเป็นการปฏิรูป
ooo
Jonathan Head on the lies and despair that allowed the Thai junta to win the referendum
Source: BBC
Thai referendum: Why Thais backed a military-backed constitution
...
Many factors have been cited for the result. The repressive climate that preceded it is one. All campaigning was banned, and dozens of activists who tried to criticise the constitution were detained and charged.
That meant that very few Thais were exposed to arguments about the charter's flaws and merits: few even saw a copy, and those that did were hardly likely to wade through its 279 articles.
So most voters went to the polling stations with little idea what was in the charter.
They had frequently heard the drafters' argument that it would address political corruption and help reform the country. But it was very difficult to hear an opposing view.
Some people believed in the military's project to restore a guided democracy. Others trusted the generals to do the right thing. But many voters were simply weary of Thailand's endless crisis, and saw this constitution as the only way back to some kind of normality.
ooo
http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1056669/the-voters-behind-the-referendum
That meant that very few Thais were exposed to arguments about the charter's flaws and merits: few even saw a copy, and those that did were hardly likely to wade through its 279 articles.
So most voters went to the polling stations with little idea what was in the charter.
They had frequently heard the drafters' argument that it would address political corruption and help reform the country. But it was very difficult to hear an opposing view.
Some people believed in the military's project to restore a guided democracy. Others trusted the generals to do the right thing. But many voters were simply weary of Thailand's endless crisis, and saw this constitution as the only way back to some kind of normality.
ooo
http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1056669/the-voters-behind-the-referendum