วันศุกร์, มีนาคม 11, 2559

ต้นฉบับอังกฤษ และแปลไทย ปาฐกถาทักษิณที่ World Policy Institute นครนิวยอร์ค 9 มีนาคม 2559




ที่มา FB

Thaksin Shinawatra


Thaksin Shinawatra in Private Discussion
World Policy Institute Global Leader Briefing Series Thinking Points
World Policy Institute, 9th March 2016, New York

———————————————————

Excellencies, Distinguished Guests, Ladies and Gentlemen,

I must thank you World Policy Institute for providing me an opportunity to share my thought on the challenges that revolve around the economic, regional and global implications of how Thailand will make its way through a period of transition and change.

We all know that no society in the twenty-first century can sustain any form of “progress” in the well-being of its people without at least two basic foundations:
The first one is political stability. The second one is the ability to create economic activities that allow growth and readiness to shift its creativities to sustain wealth.

Ladies and Gentlemen,

Let me tell you the tale of the two cities, which is not written by Charles Dickens. It is the tale of parallel progress of Washington D.C. and Beijing. Each has its own history, pain and loathing. As the years go by, the two cities have been seen as rivals which offers competing models for growth and prosperity.

One is Free Market-Capitalism with the so-called “Open Democracy” as the foundation of its economic model. The other one is State-Led Capitalism with the central control system by one party.

Both of the models have proven to be successful in a very dramatic way from the past to the present. Admitting that the Chinese model was fitting to the change of attitude among the leadership of the country at that time, in parallel with the change of economic model in the West, in which the definition of “free trade” benefits China’s shifting position from a close market to a semi-open market.

But we must admit also that both models are now having to adjust itself to the new reality; the reality of dramatic change in speed and character of technology for industrial production; the change from “a country-based product” to “network of global design, global sourcing,and global production for just one product”. This extraordinary change upends the “normal” internal economic adjustment of the country and made it very difficult to find a simple economic adjustment.

We must recognize that advancement in the wealth management technique and technology also upend the normal linkage between capital and changes in production. However, we probably agree, that one common threat for survival in this present so-called “New Normal” is either you have the ability and willingness to change or you don’t. Thailand, like the other countries, cannot get away from this New Normal in the international context.

Ladies and Gentleman,

There is a tale of a poor English teacher in China who soared to the list of the world’s wealthiest people. He neither built a big factory nor invested in any production facility. But, people paid for his service simply to reach the network of supply and demand on a grand scale. I believe, he must feel thank you to the internet.

Ladies and Gentleman,

Amid the global economic slowdown, the pattern of trade has significantly changed. Due to the development of information technology infrastructure and increasing number of population who is able to access to the internet, e-commerce has become a new engine that sustains growth for both developed and developing economies. According to UNCTAD’s report last year, the value of global business-to-business (B2B) e-commerce in 2013 exceeded $15 trillion USD. While global business-to-consumer (B2C) e-commerce still accounted for an estimated $1.2 trillion USD, this segment has grown at a rapid pace; especially in the Asia and Oceania region where B2C segment is expected to surge from 20 to 37 percent between 2013 to 2018. Due to the incremental growth of cross-border e-commerce trade, international postal deliveries of small packets and parcels have risen by 48 percent between 2011 to 2014 globally.

For both Asia and the West, I believe these numbers provide us with clues for the new growth opportunities where “access to networks” is the key: meaning, the networks of consumers and factors of production across geographical boundaries. Unlike the economy of twentieth century when “access to centers” is the rules of the game, today, businessmen who do not have big factories and are not the owners of multinational corporations, can manage to reach and satisfy the needs of their customers worldwide through networks of production and distribution with an assist of the new communication technology. Today’s economy is increasingly decentralized. Consumption and production are more and more dispersed. We could imagine that an American producers can sell their products online directly to consumers in the western part of China without having to spend business hours in Beijing or Shanghai. Vice versa, a Chinese producer can bypass New York to offer their products to customers in New England and Mid-Atlantic states. The network economy has provided the people, both in small and large businesses, with the ability to produce and access to consumers at lower costs. We, as a global community, must put special emphasis on how each country can invest and share risk with the people to create growth collectively.

Ladies and Gentleman,

Another tale is about the rebirth of a road that nobody cares since the Portuguese discovered a possible sea route from Europe to Asia. The Portuguese did offer an alternative trade route with substantial margins for the goods carried. Although you might lose half of the cargoes on the way, you still did not lose your shirt. Since the demand for spices were overwhelming, the merchant marines heavily charge everybody.

Ladies and Gentleman,

The heavy-load transport through the sea has been with us till now, and the land routes from Asia to Europe have been neglected. If the world’s economy is thriving like the good old days, probably, not so many people would be interested in finding an alternative in life. But, since the situation goes awry, I believe, any country should consider all possibilities.

Ladies and Gentlemen,

Today, there are two major initiatives that, I think, have great potential to accelerate growth and leverage “quality of growth” that brought into being by the emergence of network economy. One is the China-led “One Belt, One Road” (OBOR) plan to develop transport and logistics connectivity encompassed some 60 countries, which include about 50 percent of the world’s GDP. And, the other is the US-led Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP) between 12 Pacific Rim countries, which account for more than 40 percent of the world’s GDP. I have not seen these two initiatives as antagonistic, but rather a kind of two parallel processes that, at a certain point, will create mutual economic benefits for Asia and the West.

We must overcome the stereotype that perceive China and the US as merely the two opposing political superpowers. In reality, the economic development during the past decade has shown us how far these two major economies are interdependent. China is the largest foreign holder of US government securities with $1.24 trillion USD worth. With the total trade volume of $521 billion USD in 2014, the US is China’s biggest trade partner. Total US foreign direct investment (FDI) in China stood at $65.77 billion USD at the end of 2014, while the Chinese FDI in the US is estimated to have reach $11.9 billion USD.

Given this interdependence in mind, I believe Southeast Asia- the region that sits in between the two great initiatives of the two major economies- must put special emphasis on how to enhance the mutual economic benefits with its counterparts. For Southeast Asia in the twenty-first century, the geopolitics should be about how to reinforce the networks of wealth creation for the people that stretch across national and regional borders.

Ladies and Gentlemen,

Let me tell you the last tale about a Thai restaurant. No matter how many times the master chef tries to teach his protege, the young man keeps making mistakes in mixing the ingredients. Customers are kept waiting, hungry and mad. Once the customers are served, half of them get diarrhea afterward. The moral of this tale is one must make the written recipe right.

Ladies and gentlemen,

While some people may underline the unique characteristics of Thailand in terms of its history and developmental path, the country itself cannot avoid to come to terms with the global challenges of the twenty-first century. For half a century, the Thai economy has incrementally integrated into global economy. Values of Thailand’s exports per GDP and FDI in the country have shown us clearly how far the growth of Thai economy has been interwoven with the fate of global economy.

Against this context, we shall consider Thailand’s draft constitution with a very simple question: will the latest draft constitution “enable” the country to grow and become stronger in the present world? Or, will the latest draft constitution provide Thailand with a sufficient institutional infrastructure for investment, production, cooperation, and businesses?

Ladies and Gentlemen,

Due to the framework set out by the latest draft constitution, it is difficult to foresee a government that is responsive to the people and the challenges of the twenty-first century. According to the new draft, the 200-seat upper house, or Senate, will be appointed by the so-called “experts”. The Senate will also have greater powers to block legislation. Regarding the Constitutional Court, its scope of jurisdiction will be expanded. The Court will have the power to examine cases based on petitions filed directly by individuals, without the requirement that an actual dispute being brought by political organs or other courts.

If we consider the doctrine of separation of powers as the foundation for growth and stability, the critical issue that we shall examine is whether the judicial power will trespass the provinces of legislature/ and executive or not? For a government to be able to manage the economy against the global slowdown, I do hope that there will be no over-enforcement of the judicial power. Experiences of several countries show us that, if unchecked, judicial review can be inappropriately used as “delaying tactic”; thus, in turn, become an impediment to economic policy implementation.

Ladies and Gentlemen,

I believe that the foundation for the country to create growth and prosperity is to build trust in the global community. The constitution shall protect the rule of law and provide at least a minimum level of freedom of speech that facilitates economic cooperation between the people and the global community. Trade and investment cannot flourish if there is no certain degree of confidence provided by the rule of law. Against the transition and change, Thailand must reevaluate its strength and weakness. The country shall find a sensible way to regain its political stability and economic dynamism. I have only proposed the way of how should we think of the phenomena that is the world today.

ooo

แปลไทยจาก FB

Oak Panthongtae Shinawatra





ปาฐกถา ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ในงาน “สนทนาเป็นการส่วน ตัวกับทักษิณ ชินวัตร”
(Thaksin Shinawatra in Private Discussion)
ณ สถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute)
9 มี.ค. 2559, มหานครนิวยอร์ก

———————————————————

ท่านผู้ทรงเกียรติ แขกผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

ผมต้องขอขอบคุณสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่ให้โอกาสผมได้มาร่วมบอกเล่าหลักคิดของผม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องความท้าทายต่างๆ ซึ่งเกิดมาจากคําถามที่ว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าและผ่านพ้น ช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร โดยเฉพาะในแง่มุมที่เชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาค และโลกในบริบทปัจจุบัน

พวกเราทุกคนคงทราบกันดีว่า ไม่มีสังคมใดในศตวรรษที่ 21 ที่จะสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีให้แก่ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง หากสังคมคมนั้นขาดซึ่งหลักพื้นฐาน 2 ประการ

ประการที่หนึ่ง ได้แก่ ความมีเสถียรภาพทางการเมืองประการที่สอง ได้แก่ ศักยภาพในการสร้างกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ ซึ่งนําไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศ และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความสร้างสรรค์ให้กลายเป็น ความมั่งคั่งที่ต่อเนื่อง

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

ผมขออนุญาตเล่าถึง “เรื่องของสองนคร” ที่ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยชาร์ลส์ ดิกคินส์ เรื่องเล่านี้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่ ขนานของกรุงวอชิงตัน ดีซี และปักกิ่ง ซึ่งแต่ละนครมีประวัติศาสตร์ ความทุกข์ และความชิงชังของตนเอง เมื่อ ระยะเวลาผ่านไปนานปี ทั้งสองนครถูกมองว่าเป็นคู่ปรับที่แข่งขันกันนําเสนอโมเดลการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

โมเดลที่หนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมตลาดเสรีซึ่งมีระบอบ “ประชาธิปไตยแบบเปิด” เป็นรากฐานของการพัฒนา เศรษฐกิจ อีกโมเดลหนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมซึ่งนําโดยรัฐ (รูปแบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่กํากับด้วย อํานาจศูนย์กลางจากพรรคเดียว

ทั้งสองโมเดลได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถนําไปปรับใช้จนประสบความสําเร็จจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยโมเดลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติของคณะผู้นําในประเทศ ณ เวลาขณะ นั้น ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติดังกล่าว เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในโลก ตะวันตก ที่ “การค้าเสรี” ได้สร้างประโยชน์แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนที่กําลังปรับตัว จากระบบตลาดปิด สู่ระบบ ตลาดเปิดครึ่งใบ

อย่างไรก็ตาม เราคงต้องยอมรับว่าทั้งสองโมเดลจะต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงใหม่ ซึ่งเกิดขึ้น จากความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบอุตสาหกรรม จากรูปแบบ “การผลิตสินค้าใน ประเทศเดียว” สู่ “ระบบเครือข่ายการออกแบบ การสรรหาปัจจัยการผลิต และการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ เพื่อ ที่จะนําสินค้าชิ้นหนึ่งๆ ออกสู่ตลาด” ความเปลี่ยนแปลงนี้ ได้กลับตาลปัตรโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ภายในประเทศต่างๆ และส่งผลให้การปรับตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในอดีต

พวกเรายังต้องทราบอีกว่าความก้าวหน้าของเทคนิคและเทคโนโลยีการบริหารความมั่งคั่งได้กลับตาลปัตรความ สัมพันธ์ระหว่างทุนและวิธีการผลิต ทั้งนี้ พวกเราทั้งหลายคงต่างเห็นพ้องกันว่า “สภาวะปกติใหม่ของโลกปัจจุบัน” (New Normal) จะเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณพร้อมและมีศักยภาพที่จะ เปลี่ยนแปลงหรือไม่

ประเทศไทยก็ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสภาวะปกติ ใหม่ในเวทีโลก

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

อีกเรื่องราวหนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขานถึง คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับครูสอนภาษาอังกฤษในสาธารณรัฐประชาชนจีนผู้เคย ยากจน แต่ปัจจุบันติดอันดับผู้ร่ำรวยที่สุดของโลก ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้สร้างโรงงานหรือลงทุนในปัจจัยการผลิตใด แต่ ผู้คนทั่วไปกลับยินดีจ่ายเพื่อใช้บริการของเขา เพื่อเข้าถึงโครงข่ายอุปทานและอุปสงค์ขนาดใหญ่ ผมเชื่อว่าชาวจีน คนนี้คงต้องรู้สึกขอบคุณระบบอินเทอร์เน็ตเป็นแน่

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รูปแบบทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ คุณูปการจาก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็นกลจักรใหม่ที่คอยส่งเสริมให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่บ้างทั้งในประเทศพัฒนา แล้วและประเทศกําลังพัฒนา

จากรายงานของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่าการค้าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ของโลกในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่ามากกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคของโลกยังคงอยู่ที่ระดับราว 1.2 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ รูปแบบการค้าดังกล่าวกลับมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและโอเชีย เนีย ซึ่งมีการประมาณการว่าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคจะขยายตัวจากระดับร้อยละ 20 สู่ระดับร้อยละ 37 ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง 2561 นอกจากนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซข้ามแดนที่ค่อยๆ ขยายตัวขึ้น ยังส่งผลให้ปริมาณ การขนส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กระหว่างประเทศของโลกเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 48 ระหว่างปี พ.ศ. 2554 ถึง 2557

สําหรับภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก ผมเชื่อว่าข้อมูลความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวคือเค้าลางของ โอกาสการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ที่ “การเข้าถึงเครือข่าย” (Access to Network) คือหัวใจของ ความสําเร็จ โดยในที่นี้ หมายถึงเครือข่ายผู้บริโภคและปัจจัยการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ แตกต่างออกไปจากรูปแบบเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 20 ซึ่ง “การเข้าถึงศูนย์กลาง” (Access to Center) คือเงื่อนไขของความสําเร็จ

ในปัจจุบัน นักธุรกิจผู้ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานขนาดใหญ่หรือบรรษัทข้ามชาติ สามารถเข้าถึงลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก และตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าของพวกเขาได้ โดยการเข้าถึงเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าซึ่ง เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ เศรษฐกิจในวันนี้กระจายตัวออกจากศูนย์กลางอํานาจเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับการกระจายตัวของการบริโภคและการผลิต พวกเราคงสามารถ จินตนาการได้ง่ายๆ ถึงสถานการณ์ที่นักธุรกิจชาวอเมริกันสามารถขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์โดยตรงให้แก่ผู้บริโภคในฝั่งตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นักธุรกิจเหล่านั้นไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทําธุรกรรมที่นครปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ผลิตชาวจีนสามารถขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในแถบนิวอิงแลนด์และมิดแอตแลนติกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องผ่านนครนิวยอร์ก

“เศรษฐกิจเครือข่าย” ได้ส่งเสริมให้ประชาชน ซึ่งประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการผลิตและเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง พวกเราในฐานะประชาคมโลกต้องให้ความสําคัญเป็นพิเศษแก่การสรรหาวิถีทางให้ประเทศต่างๆ สามารถร่วมลงทุนและร่วมเสี่ยงกับประชาชน เพื่อสร้างแนวร่วมการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

อีกหนึ่งเรื่องเล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่ของถนนสายหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสนใจมานานนับตั้งแต่โปรตุเกสได้ค้นพบ เส้นทางเดินเรือจากทวีปยุโรปสู่เอเชีย โปรตุเกสเคยได้นําเสนอเส้นทางการค้าใหม่ซึ่งสร้างผลกําไรเป็นกอบเป็นกํา จากกิจกรรมการเดินเรือขนสินค้า แม้บางครั้งสินค้าอาจเสียหายไปกว่าครึ่ง แต่ก็ไม่ได้ทําให้ใครขาดทุนจนล้มละลาย เพราะด้วยเหตุที่ว่าอุปสงค์ความต้องการเครื่องเทศในยุคดังกล่าวมีมาก จึงทําให้พ่อค้าเดินเรือสามารถตั้งราคาขายที่สูงลิบได้

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

การขนส่งสินค้าหนักทางเรือเป็นสิ่งที่พวกเราคุ้นชินจนถึงยุคปัจจุบัน ในขณะที่เส้นทางการค้าทางบกจากทวีปเอเชีย ไปยังยุโรปกลับถูกลืมเลือนไปเป็นเวลานาน หากเศรษฐกิจโลกยังคงเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับในอดีตที่อ้างว่า หอมหวน คนส่วนใหญ่คงไม่จําเป็นต้องคิดที่จะสรรหาทางเลือกในชีวิต แต่ด้วยเหตุที่สถานการณ์โลกปัจจุบันดูไม่สู้ดี นัก ผมจึงเชื่อว่าแต่ละประเทศควรที่จะพิจารณาถึงทุกๆ ความเป็นไปได้

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามียุทธศาสตร์ 2 ประการที่มีศักยภาพในการเร่งการเติบโตและยกระดับ “คุณภาพของการ เติบโตทางเศรษฐกิจ” ที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเครือข่าย ประการที่หนึ่ง คือ ยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” (OBOR) หรือยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่นําโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ระหว่าง 60 ประเทศ ซึ่งมีรายได้ประชาชาติรวมกันคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของรายประชาชาติของโลก

และยุทธศาสตร์อีกประการหนึ่ง คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership, TPP) ที่นําโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว 12 ประเทศ มีรายได้ประชาชาติรวมกันมากกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติของโลก ทั้งนี้ ผมไม่ได้มองว่า ยุทธศาสตร์ทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่เป็นกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะสร้างผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจร่วมให้แก่ทั้งภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก

พวกเราคงต้องก้าวข้ามมุมมองแบบเหมารวมที่ว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงมหาอํานาจทางการเมืองซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ในสภาพความเป็นจริง พัฒนาการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะทําให้พวกเราได้เห็นถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ถือครองพันบัตรรัฐบาลสหรัฐรายใหญ่ที่สุดคิดเป็นมูลค่า 1.24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมูลค่าการค้ารวม (Total Trade) ที่ระดับ 5.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนโดยตรง (FDI) ของสหรัฐอเมริกาในสาธารณรัฐประชาชนจีนคิดเป็นมูลค่า 6.58 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับมูลค่า 1.19 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อพิจารณาถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจดังกล่าว ผมเชื่อว่าภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างยุทธศาสตร์การ พัฒนาอันสําคัญของสองมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ ควรให้ความสําคัญแก่การขยายความร่วมมือเพื่อสร้างผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศคู่ค้าต่างๆ

ภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคเอเชียแห่งศตวรรษที่ 21 ควรเป็น เรื่องของการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชนแบบระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาค

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

ผมขออนุญาตเล่าถึงนิทานเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับร้านอาหารไทย ซึ่งไม่ว่าหัวหน้าพ่อครัวจะพร่ำสอนลูกศิษย์ใน อุปถัมภ์ของเขาอย่างไร ลูกศิษย์ก็กลับไม่สามารถผสมเครื่องปรุงได้ถูกต้อง ลูกค้าก็ถูกปล่อยปละให้นั่งรอจนหิวและหัวเสีย เมื่อลูกค้ากว่าครึ่งที่ได้รับประทานอาหาร ก็กลับต้องท้องร่วงตามๆ กันไป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การเขียนตําราอาหารไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ถูกต้องเป็นเรื่องสําคัญ

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

ในขณะที่หลายคนอาจเน้นย้ำถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไปของประเทศไทยในแง่มุมทางประวัติศาสตร์และทิศทางการพัฒนา ประเทศไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ ตลอดช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อรายได้ประชาชาติของประเทศไทยและมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทยได้แสดงให้พวกเราได้เห็นอย่างชัดเจนถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นเข้ากับชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก

เมื่อพิจารณาถึงบริบทดังกล่าว พวกเราควรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทยด้วยคําถามง่ายๆที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดนี้จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศสามารถเติบโตและแข็งแกร่งได้มากยิ่งขึ้นในภาวะโลกปัจจุบันหรือไม่ หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถวางโครงสร้างพื้นฐานเชิงสถาบันที่ เพียงพอเพื่อการลงทุน การผลิต การสร้างความร่วมมือ และธุรกิจให้แก่ประเทศไทยได้หรือไม่

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชนและความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้กําหนดให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดย “ผู้เชี่ยวชาญ” วุฒิสภาจะมีอํานาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้ง การออกพระราชบัญญัติต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอํานาจในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะ มีอํานาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดําเนินการร้องเรียน โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ว่ากรณีดัง กล่าวต้องเป็นข้อพิพาทจริงที่องค์กรทางการเมืองหรือศาลอื่นได้ดําเนินการยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญ

หากพวกเราคิดว่าหลักการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตย คือรากฐานเพื่อการสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของประเทศ หัวข้อสําคัญที่พวกเราต้องพิจารณาคงเป็นเรื่องที่ว่า อํานาจตุลาการจะล่วงล้ำอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารหรือไม่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เศรษฐกิจโลกกําลังชะลอตัว ผมหวังว่า คงจะไม่มีการใช้อํานาจตุลาการที่เกินกว่าความจําเป็นอีกในอนาคต กรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่า การใช้อํานาจพิจารณาทบทวนโดยศาล (Judicial Review) โดยไม่ได้มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ อาจกลาย เป็นการใช้อํานาจอย่างไม่เหมาะสมและเป็น “ยุทธวิธีเตะถ่วงงาน” จนสุดท้ายก่อให้เกิดอุปสรรคในการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ

ผมเชื่อว่ารากฐานของประเทศในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรือง คือการสร้างความเชื่อถือในประชาคมโลก รัฐธรรมนูญควรยึดหลักนิติธรรมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่ออํานวนความสะดวกและเกื้อหนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนใน ประเทศกับประชาคมโลก การค้าและการลงทุนจะไม่สามารถเจริญงอกงามได้ หากไม่มีหลักนิติธรรม เพราะหลักนิติธรรมคือรากฐานของการสร้างความเชื่อมั่น

ในช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านนี้ ประเทศไทยต้องประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองเสีย ใหม่ และสรรหาวิถีทางที่สมเหตุสมผลเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและพลวัตรทางเศรษฐกิจ ผมเพียงแค่นํา เสนอถึงวิธีคิดและพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน