ที่มา เวป พันทิป
เรื่องของวงการสงฆ์ในอดีตที่ผิดพลาด
เรื่องในอดีต เอามาเล่าเพื่อเป็นกรณีศึกษา ให้ชาวพุทธได้มีความรู้และช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนา ยาวหน่อย แต่รับรองอ่านแล้วไม่อยากละสายตาเลยครับ
กรณีพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)
รัฐบาลได้มีหนังสือกราบเรียนสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อขอให้ทางคณะสงฆ์ออกกฎห้ามรับคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านสังฆนายกนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรี ปรากฏว่าสังฆมนตรีหลายรูปเห็นชอบด้วย และมีมติมอบให้พระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถร) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐบาล
แต่วันนั้นพระพิมลธรรมมิได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทำให้ท่านตกอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกต่อการดำเนินการเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าจะเป็นผลเสียแก่พุทธศาสนามากกว่าผลดี แต่หากปฏิเสธก็เท่ากับเป็นการขัดนโยบายของรัฐบาลและมติคณะสังฆมนตรี เมื่อยังหาทางออกไม่ได้ท่านจึงต้องเก็บเรื่องนี้ไว้ก่อน
อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ยังคงติดตามเรื่องและทวงถามอยู่เสมอ ๆ ทำให้ท่านสังฆนายกและคณะสังมนตรีอีกหลายรูปต่างร้อนใจไปตาม ๆ กัน และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่าพระพิมลธรรมหัวดื้อบ้าง อวดดีบ้าง เป็นคอมมิวนิสต์บ้าง ฯลฯ จนมีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งไปขอสัมภาษณ์พระพิมลธรรมว่า การที่ท่านไม่ยอมออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชนั้น หมายความว่าท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์ใช่หรือไม่ ท่านก็ตอบว่า ท่านไม่กลัว เพราะท่านเป็นศิษย์พระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งจึงไม่กลัว
เมื่อข่าวถูกตีพิมพ์ออกไป ทำให้รัฐบาลร้อนใจ จนต้องให้ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้นไปพบพระพิมลธรรมด้วยตนเอง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงว่าท่านมีเหตุผลอย่างไรต่อเรื่องนี้ พระพิมลธรรมจึงได้ชี้แจงว่า ที่ท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์นั้น เพราะเชื่อมั่นว่าถ้าเราชาวพุทธเคารพสักการะพระรัตนตรัย ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ศึกษาให้รู้ให้เข้าใจศาสนา ปฏิบัติตามคำสอนในทางศาสนาอย่างจริงจังแล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาทำลายสถาบันที่เราเคารพอยู่ได้เลย ขณะนี้ปัญหาเฉพาะหน้าจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรคนจึงจะรู้และปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องและจริงจัง เมื่อแก้ปัญหานี้ได้แล้วท่านเชื่อว่า ความหวาดกลัวภัยพิบัติต่าง ๆ ก็จะหมดไป และท่านยังเห็นต่อไปว่า หากเราสามารถสอนพวกคอมมิวนิสต์ให้รู้ธรรมะ ให้เลื่อมใสในศาสนาได้ ก็จะเป็นการดี เป็นบุญกุศลด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่กลัวคอมมิวนิสต์ และอยากเทศน์ให้คอมมิวนิสต์ฟังด้วย
เมื่อเหตุผลเป็นเช่นนี้ พล.ต.อ. เผ่า จึงกล่าวว่าเห็นด้วยกับท่าน และนำความไปกราบเรียนให้ท่านนายกทราบ ซึ่งเมื่อ จอมพล ป. ได้รับทราบแล้ว ทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีการขัดขวางในเรื่องนี้อีก
การเป็นประธานไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ประเทศพม่า
นอกจากเหตุการณ์ข้างต้นแล้ว ในสมัยหนึ่ง เมื่อประเทศพม่าตกลงจะประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎก ที่มหาปาสณาคูหา กรุงย่างกุ้งนั้น ทางราชการพม่าได้อาราธนามายังคณะสงฆ์ไทย ขอให้ส่งพระคณะสังคีติการกะไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนานี้ด้วย แต่เมื่อนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรีพิจารณา ที่ประชุมส่วนมากกลับไม่เห็นด้วยในการนี้ เพราะเห็นว่าพม่าเพิ่งจะได้เอกราชใหม่ ๆ การคิดจะกระทำฉัฏฐสังคายนา เป็นการคิดใหญ่เกินตัว บางท่านก็เห็นว่าควรส่งไปร่วมสังเกตการณ์ด้วยแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ไปร่วมประชุมลงมติ มีเพียงพระพิมลธรรมรูปเดียว ที่เห็นว่าควรส่งพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมลงมติด้วย เพราะท่านเห็นว่าเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ไม่ควรนำอคติทางชนชาติและการปกครองมาข้องเกี่ยว
เรื่องนี้ประเทศพม่าได้เสนอเรื่องไปยังคณะรัฐบาลไทยด้วย เมื่อคณะรัฐบาลมีมติให้คณะสงฆ์ไทยจัดส่งคณะพระสังคีติการกะไปร่วม พระพิมลธรรมจึงต้องรับหน้าที่เป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมยังประเทศพม่า ทั้งนี้เพราะท่านเป็นเพียงรูปเดียวในคณะสังฆมนตรีที่เห็นว่าควรส่งพระไทยไปร่วมประชุมสังคยานาดังกล่าว พระเถระสังฆมนตรีในสมัยนั้นจึงยกให้งานนี้เป็นภาระของท่านแต่เพียงผู้เดียว
พระพิมลธรรมกับ เอ็ม. อาร์. เอ.
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่ได้รับนิมนต์ จาก ดร.แฟรงค์ บุชแมน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของขบวนการส่งเสริมศีลธรรม (Moral Rearmament : M.R.A.) ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ เอ็ม.อาร์.เอ. เพื่อไปร่วมงานฉลองอายุครบ ๘๐ ปีของดร.แฟรงค์ บุชแมน และฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ของเอ็ม.อาร์.เอ. ที่มลรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเสร็จจากการเดินทางไปประชุมดังกล่าวแล้ว
พระพิมลธรรมพร้อมด้วยคณะยังได้เดินทางไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมลรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรปร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. อีกด้วย
ถือได้ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เดินทางไปประกาศพุทธธรรมยังประเทศเหล่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีพระสงฆ์ไทยรูปใดเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวมาก่อนเลย นอกจากนี้พระพิมลธรรมยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เข้าพบองค์พระสันตะปาปา ประมุขแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ณ กรุงวาติกัน เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และหาทางแลกเปลี่ยนศาสนฑูตระหว่างศาสนาต่อกันและกันอีกด้วย
หลังจากการเดินทางในครั้งนั้น พระพิมลธรรมก็ได้รับนิมนต์จากองค์กร เอ็ม.อาร์. เอ. มาอีกเกือบทุกปีให้ไปร่วมเผยแผ่ศีลธรรมในประเทศต่าง ๆ ด้วยกัน ซึ่งท่านสามารถหาโอกาสเดินทางไปร่วมกับเอ็ม.อาร์. เอ. ได้อีก ๒–๓ ครั้ง ซึ่งท่านได้เล่าว่า “ปรากฏว่า สำหรับพระสงฆ์ไทยนั้น เขานิมนต์ไปร่วมเผยแผ่แต่ข้าพเจ้ารูปเดียว และการนิมนต์นั้น เขานิมนต์มาเกือบทุกปี แต่เราไม่มีโอกาสที่จะไปร่วมทุกปี” ๖
อนึ่งการเดินทางไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับ เอ็ม.อาร์.เอ. เป็นไปอย่างที่ไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าสำคัญ แต่ให้ยึดถือธรรม ๔ ประการเหมือนกันคือ ๑. จริงที่สุด ๒. บริสุทธิ์ที่สุด ๓. อดทนที่สุด ๔. เสียสละที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกับฆราวาสธรรม ๔ ข้อของศาสนาพุทธ คือ ๑. สัจจะ ๒. ทมะ ๓. ขันติ ๔. จาคะ จึงเป็นโอกาสให้ท่านเดินทางไปทำงานร่วมกับเขาได้โดยไม่ขัดข้อง เพราะท่านเห็นว่าการที่ไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับคณะบุคคลากร เอ็ม.อาร์.เอ. นั้น ก็เหมือนกับการไปเผยแผ่ธรรมในพุทธศาสนานั่นเอง ซึ่งท่านก็ได้กล่าวถึงความรู้สึกของท่านที่มีต่อการทำงานร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. ไว้ว่า “...เราจึงไปร่วมกันได้อย่างสนิทชิดชอบเหมือนอย่างพี่น้องตลอดกาล” ๗
การที่พระพิมลธรรมได้ทุ่มเทสติปัญญา แรงกาย แรงใจ ในการพัฒนางานด้านพระพุทธศาสนาเหล่านี้จนประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏอยู่ กลับกลายเป็นเหตุให้เกิดความไม่เข้าใจกันกับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่าน และคณะสังฆมนตรีบางรูป อันเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้ง การใส่ร้ายป้ายสี และเหตุการณ์ที่ตามมาคุกคามพระพิมลธรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ คือ ถึงกับทำให้ท่านต้องถูกปลดออกจากสมณศักดิ์ โดยเฉพาะงานสำคัญประการที่สาม คือการริเริ่มตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้นในวัดมหาธาตุนั้น ได้กลายเป็นข้ออ้างที่ฝ่ายตรงข้ามใช้กล่าวหาท่านว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ คือมีการซ่องสุมกำลังเพื่อก่อการบ่อนทำลายประเทศชาติ จนเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกจับกุมตัวไปคุมขังไว้ ณ กรมตำรวจเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา
ซึ่งก่อนหน้าที่เหตุการณ์จะดำเนินไปจนถึงขั้นนั้น ก็ได้มีเสียงติฉินนินทาท่านนานัปการ จากบรรดาฆราวาสและพระเถระบางรูปที่มีจิตริษยาและมีความเห็นขัดแย้งกับท่าน มีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนตำแหน่ง หรือลาออกจากตำแหน่งเสีย ฯลฯ เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งท่านได้รับลิขิตจากสมเด็จสังฆนายกในสมัยนั้น คือ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ที่ตำหนิการทำงานของท่านอย่างรุนแรง ทั้งยังแนะนำให้ท่านลาออกจากคณะสังฆมนตรีเสีย ท่านจึงได้ตัดสินใจไปพบสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายก เพื่อเรียนชี้แจงเรื่องราวการทำงาน และเรื่องต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงนานถึง ๔ ชั่วโมง
แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าตลอดเวลา ๔ ชั่วโมง ที่ท่านพยายามเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายกนั้นกลับไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด หนำซ้ำอาจจะยิ่งเพิ่มไม่พอใจ ไม่เข้าใจกันให้มากขึ้น ดังคำพูดของสมเด็จพระวันรัตที่กล่าวกับพระพิมลธรรม หลังจากที่คุยกันมานานถึง ๔ ชั่วโมงว่า “ท่านพิมลธรรมนี่ คุยกันตั้งแต่ ก–ฮ หาช่องลงกันไม่ได้สักตัวเลย” ๘
เมื่อกลายเป็นเช่นนี้พระพิมลธรรมจึงต้องยึดอุเบกขาธรรมเป็นที่ตั้ง ด้วยการวางเฉยต่อเสียงติฉินนินทาทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดก็คงต้องปล่อยให้เกิด และท่านยังคงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ พัฒนางานด้านศาสนาเหล่านี้ต่อไป โดยไม่สนใจหรือหวั่นไหวต่อคำคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ด้วยเชื่อว่างานเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยในอนาคต และยังผลให้กิจการพระพุทธศาสนาที่มีอยู่แล้วให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้นไปตามลำดับ
การเปลี่ยนแปลงทางอำนาจในคณะสงฆ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงสังฆนายก และคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก และได้เสนอชื่อคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ
ซึ่งในคณะสังฆมนตรีชุดใหม่นั้นไม่ได้มีชื่อของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) รวมอยู่ด้วย ทั้งที่ท่านมีผลงานและเกียรติคุณมากมาย ตลอดจนมีอายุยังไม่มาก ยังพร้อมที่จะบริหารงานต่อไปได้อีกหลายปี (ขณะนั้นท่านมีอายุ ๕๗ ปี) นับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจภายในคณะสงฆ์ในครั้งนี้ ทำให้พระพิมลธรรมได้พ้นออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง สมดังพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่นี้
เมื่อท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางอำนาจใด ๆ ในคณะสังฆมนตรีแล้ว เหตุการณ์ก็น่าจะยุติลงเพียงเท่านั้น แต่เป้าหมายแท้จริงของผู้มีอำนาจระดับสูงในคณะสงฆ์ มิใช่เพียงเพื่อกันพระพิมลธรรมออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีเท่านั้น หากแต่มุ่งที่จะกำจัดออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว ดังที่เคยมีพระภิกษุที่เคารพรักและนับถือพระพิมลธรรมได้มากราบเรียนท่านว่า สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้ทรงตั้งพระทัยและปรารภไว้ว่า “จะทำพระพิมลธรรมให้เป็นพระมหาอาจ และจะทำพระมหาอาจให้เป็นนายอาจในที่สุด” ๙
แม้พระพิมลธรรมจะได้รับทราบความข้อนี้แล้ว แต่ท่านกลับรู้สึกเฉย ๆ เพราะท่านมีความมั่นใจอยู่เสมอในพระพุทธพจน์ที่ว่า “หมู่สัตว์ที่มีชีวิตทุกจำพวก มีกรรมเป็นของแห่งตน” และได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อเรารับสนองกรรมใดก็ตามที่คู่ควรกัน กรรมอันนั้นก็จะหมดสิ้นอายุกันเสียที ถ้าเรามีเจตนาหลบเลี่ยงไม่ยอมรับผลกรรมนั้นแต่โดยดีในครั้งนี้ ครั้งต่อไปก็จะต้องรับผลสนองกรรมนั้นอีกจนได้ ท่านจึงไม่สนใจที่จะป้องกันตัว หรือระวังอะไรเป็นพิเศษ ยังคงมุ่งหน้าปฏิบัติภารกิจที่ยังมีอยู่ต่อไป
ต่อมาไม่นานแผนการที่มุ่งหมายจะกำจัดพระพิมลธรรมก็เริ่มปรากฏให้เห็นจริงดังคาด กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อุฏฺ€ายีมหาเถร สังฆนายก ได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร มีความว่า พระพิมลธรรม วัดมหาธาตุฯ ได้เสพเมถุนทางเวจมรรคกับศิษย์ภายในวัด และทำอัชฌาจารปล่อยสุกกะ ทั้งนี้ทางการตำรวจสันติบาล มีรองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจสันติบาล ได้นำพยานในฐานะผู้เสียหาย ๕ คนมาให้คำยืนยันรับรองคำให้การในคดีดังกล่าวต่อหน้ากรรมการสงฆ์ทีละคน พร้อมกับได้จดบันทึกและลงนามเป็นหลักฐานไว้พร้อมกันนี้แล้ว คณะกรรมการสงฆ์จึงลงความเห็นว่า พระพิมลธรรมต้องศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศเป็นบรรพชิต และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป พร้อมกับขอประทานเสนอให้สมเด็จพระสังฆราช ทรงจัดการในชั้นปกครองต่อไป
โดยไม่คาดฝัน พระพิมลธรรมก็ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๓ ให้ท่านออกเสียจากสมณเพศภายใน ๑๕ วัน ดังมีข้อความว่า “..คณะกรรมการฝ่ายสงฆ์เห็นว่า ท่านถึงศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป ...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่านออกเสียจากสมณเพศและหลบหายตัวไปเสีย ...ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ปรากฏในลิขิตนี้” ๑๐
หลังจากได้รับลิขิตดังกล่าว พระพิมลธรรมตลอดจนคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ จึงได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช และผู้มีอำนาจฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอความเป็นธรรม และขอโอกาสชี้แจงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าวหลายครั้ง แต่กลับไม่เคยได้รับโอกาสแก้ข้อกล่าวหา หรือมีการสอบสวนรับฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
จนกระทั่งวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระสังฆราชทรงอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๖ แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้มีพระบัญชาให้พระพิมลธรรมพ้นออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ฐานประพฤติผิดอย่างร้ายแรง
และในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) สังฆนายกในสมัยนั้นได้เรียกคณะสังฆมนตรีมาประชุมเพื่อลงมติให้ถอดพระพิมลธรรมและพระศาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส ออกจากสมณศักดิ์ และได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอให้ดำเนินการถอดพระพิมลธรรมออกจากสมณศักดิ์ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
ต่อมาวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีถอดพระพิมลธรรม ออกจากสมณศักดิ์ มีความว่า “ด้วยพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งคณะสังฆมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติว่า ไม่สมควรจะได้ดำรงอยู่ในสมณศักดิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ถอดพระพิมลธรรมออกเสียจากสมณศักดิ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...”
เมื่อเหตุการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว พระพิมลธรรมจึงจำต้องยอมรับปฏิบัติตามพระบรมราชโองการนั้น โดยไม่ได้ขัดขืนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี คดีความที่ท่านถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเสพเมถุนวิตถารกับศิษย์ในวัดนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย หากเป็นการใส่ร้ายป้ายสี และสร้างความมัวหมองในการดำรงสมณเพศของท่านอย่างเลวร้าย ท่านจึงจำต้องหาทางแก้ข้อกล่าวหานี้ เมื่อไม่อาจได้รับความเป็นธรรมจากคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่และฝ่ายปกครองบ้านเมือง ท่านจึงต้องขอพึ่งศาลยุติธรรม โดยท่านได้มอบอำนาจให้ศิษย์ดำเนินการฟ้องจำเลยที่ให้การแก่ตำรวจเหล่านั้น เป็นคดีอาญาฐานใส่ร้ายแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท โดยเฉพาะนายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ซึ่งเป็นพยานปากสำคัญที่ให้การแก่ตำรวจ
ในที่สุดนายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ก็ได้สารภาพต่อศาล เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๓ ว่า
“...ข้าพเจ้านายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ได้กราบเรียนต่อศาลรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาจริง และเพื่อรับบาปกรรมที่กระทำผิดไปแล้ว ตามวิธีการทางศาสนา ข้าพเจ้าได้กราบขอขมาโทษและขออโหสิกรรมแต่พระเดชพระคุณท่านต่อหน้าศาลแล้ว จึงขอโฆษณา ณ ที่นี้ว่า พระเดชพระคุณพระอาจ อาสโภ มิเคยได้ประพฤติล่วงละเมิดสิกขาบทเป็นศีลวิบัติ ดังที่ข้าพเจ้าต้องกล่าวใส่ร้ายพระเดชพระคุณท่านแต่ประการใด...”
ถูกจับกุมและบังคับให้สึก
แม้ท่านจะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง ต่อคดีใส่ร้ายป้ายสีถึงขั้นอาบัติปาราชิกมาได้ในภายหลัง แต่บรรดาพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่พยายามเอาความผิดท่านทางพระวินัย จนท่านต้องพ้นออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และถูกถอดสมณศักดิ์นั้น ก็ยังไม่ลดละความพยายามที่จะกำจัดท่าน ให้พ้นออกจากการดำรงสมณเพศให้ได้ ตามประสงค์ที่เขาได้มีมาแต่ต้น ด้วยเหตุนี้ หลังจากเหตุการณ์ที่ท่านถูกถอดสมณศักดิ์ผ่านไปได้เพียงปีกว่า ๆ ท่านก็ต้องเผชิญกับมรสุมแห่งการคุกคามอย่างเลวร้ายจากผู้มีอำนาจเหล่านั้นอีกครั้ง
ในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๐๕ เวลาประมาณ ๑๒.๓๐ น. ได้มีคณะนายตำรวจ อันประกอบด้วย พ.ต.อ. เอื้อ เอมมะปาน พ.ต.ต.สุพันธ์ แรมวัลย์ พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจนครบาล และนายร้อย นายสิบ สารวัตรทหารจำนวนมาก ได้บุกไปล้อมจับกุมท่านถึงกุฏิ โดยตั้งข้อหาว่า ท่านมีการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์ และกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดอาญามีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต
เมื่อท่านได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใหญ่ จนเข้าใจเรื่องโดยตลอดแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้นำตัวท่านไปสอบสวน ณ สันติบาลกอง ๑
และภายในวันเดียวกันนั้นก็ได้มีบันทึกคำสั่งจากสมเด็จสังฆนายก (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ให้จัดการสึกพระภิกษุอาจ อาสโภ เสียจากสมณเพศ เพื่อสะดวกแก่การสอบสวนคดี และเพื่อรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและพระพุทธศาสนาไว้ โดยสมเด็จสังฆนายกได้มอบอำนาจให้พระธรรมวโรดม สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เป็นผู้บังคับบัญชาการให้เป็นไปตามความมุ่งหมาย ซึ่งท่านสังฆมนตรีได้มีบันทึกสั่งการให้เจ้าคณะจังหวัดพระนครดำเนินการสึกพระพิมลธรรม หรือ ภิกษุอาจ อาสโภในขณะนั้นทันที
ด้วยเหตุนี้ ค่ำวันเดียวกันนั้นพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดพระนคร พร้อมด้วยพระธรรมมหาวีรานุวัตร ได้เดินทางไปยังกรมตำรวจสันติบาลกอง ๑ เพื่อสึกพระภิกษุอาจ อาสโภ แต่ท่านได้ร้องขอความเป็นธรรมว่า ขอให้ท่านได้มีโอกาสต่อสู้คดีนี้ในเพศบรรพชิตจนกว่าจะชนะหรือแพ้ในที่สุด แต่เจ้าคณะจังหวัดพระนครก็ไม่สามารถยินยอมได้ตามลำพัง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของท่านที่จะอนุญาตได้ ทั้งการจับสึกครั้งนี้ยังเป็นคำสั่งโดยตรงจากสมเด็จสังฆนายก และท่านสังฆมนตรี
ในที่สุดเมื่อเจรจาตกลงกันไม่ได้ พระพิมลธรรม หรือ ภิกษุอาจ อาสโภ จึงขอโอกาสเขียนคำร้องทุกข์ต่อผู้มีอำนาจ ให้ท่านได้มีโอกาสต่อสู้คดีในเพศบรรพชิต แต่บันทึกที่ได้รับตอบกลับมาในคืนนั้น คือ คำสั่งเฉียบขาดจากสมเด็จสังฆนายก (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ให้สึกท่านเสีย โดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนผันให้แต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจึงได้ทำหนังสือปฏิญาณตนร้องขอความเป็นธรรมเป็นครั้งสุดท้าย มีข้อความว่า
“...กระผมก็จะขอความกรุณาอีก คือไม่ยอมสึกตามข้อบังคับอันมิชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎหมายนั้น จะยอมเอาชีวิตบูชาพระรัตนตรัยไปจนถึงที่สุด ...และกระผมจะยังปฏิญญาณเป็นพระภิกษุในพระศาสนาอยู่ตลอดไป ถึงแม้จะมีผู้ใจโหดร้ายทารุณแย่งชิงผ้ากาสาวพัสตร์ของกระผมไป กระผมก็จะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ชุดอื่นแทน ซึ่งกระผมมีสิทธิตามพระธรรมวินัยและกฎหมาย จึงขอให้ท่านเจ้าคุณผู้รู้เห็นอยู่ ณ ที่นี้โปรดทราบและเป็นสักขีพยานให้แก่กระผม ตามคำปฏิญาณนี้ด้วย”
จากนั้นพระพิมลธรรม ก็นั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้นวม หลับตานับลูกประคำ ใจเจริญพระพุทธคุณ ๑๐๘ บท ปล่อยให้ผู้มีอำนาจทำตามอำนาจ คือ ปล่อยให้เจ้าคณะจังหวัด และพระธรรมมหาวีรานุวัตรเข้ามาเปลื้องผ้าเหลืองออก เมื่อเสร็จสิ้นแล้วพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดและพระธรรมมหาวีรานุวัตรก็เดินทางกลับไป
จำพรรษาที่สันติปาลาราม
นับตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๐๕ เป็นต้นมา พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ต้องจำพรรษาอยู่ในห้องขัง ณ กรมตำรวจสันติบาลกอง ๑ หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้ถูกคุมขังเมื่อพระพิมลธรรมมาจำพรรษาอยู่ว่า สันติปาลาราม สภาวะของพระพิมลธรรม ในตอนนั้นยังคงเต็มไปด้วยความสงบ สบายใจ เป็นปกติอยู่เช่นเดิม มิได้หวั่นไหว ทุกข์ร้อนใจในชะตากรรมที่ประสบแต่อย่างใด ดังที่ท่านได้บันทึกไว้ว่า
“รู้สึกขอบใจพระเจ้าอยู่มาก ที่พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้เรามีน้ำใจเป็นนักกีฬา นับแต่วาระที่นายตำรวจเข้าไปติดต่อที่ห้องรับแขก แจ้งถึงการที่เขาจะมาจับกุมตัว จนกระทั่งถึงในขณะที่กำลังนั่งเขียนหนังสืออยู่นี้ จิตไม่เสื่อมทรุดหรือเรียกว่าไม่ย่นย่อต่ออารมณ์เลย คงเป็นปกติอยู่เช่นเดิม โทมนัสจิตไม่ได้โอกาส แม้แต่อุทธัจจะสหรคตก็ไม่บังเกิด กุศลจิตได้โอกาสมากอยู่ ...ก็ได้แต่ปีติโสมนัสจิตก็เกิดขึ้นว่า เป็นโอกาสที่ดีหาได้ยากที่ประสบอยู่นี้ คนอื่น ๆ นับจำนวนหมื่น ๆ แสน ๆ ไม่เคยได้ประสบเลย เราจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีโชคดีที่สุดและเป็นการประลองกำลังใจไปในตัว...”
ท่านยังเห็นว่าการที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในห้องขังนั้น เป็นโอกาสอันดียิ่งที่ท่านจะได้ใช้เวลาเขียนหนังสือ ศึกษาพระธรรม และเจริญภาวนาอย่างเต็มที่ เพราะไม่ต้องถูกรบกวนด้วยภาระหน้าที่การงานด้านอื่น เหมือนเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งอำนาจอยู่ ท่านกล่าวว่า “...จะอยู่ไหน ก็ใต้ฟ้าเหนือดินเหมือนกัน ทำประโยชน์ได้ทั้งนั้น แม้ในห้องขังเล็ก ๆ เราก็เป็นใหญ่ได้ เพราะใจของเราเป็นอิสระเสรีในขอบเขตของธรรม”
ตลอดเวลาที่ท่านถูกคุมขังอยู่นั้น ท่านได้รักษาความประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยทุกประการ นับได้ว่าท่านเป็นพระที่แท้ คือเป็นพระที่หัวใจ ในยามนี้ความเป็นพระของท่านไม่ได้ขึ้นอยู่กับผ้าเหลืองหรือการให้ตำแหน่งแต่งตั้งของสถาบันใด ๆ หากแต่อยู่ที่ใจที่ยึดมั่นในธรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนผืนแผ่นดินนี้ ท่านก็ดำรงอยู่ในธรรม ยึดธรรมะเป็นที่พึ่งและปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา เมื่อหัวใจที่มั่นคงในธรรม ย่อมมีความหาญกล้าและเบิกบานในธรรมนั้นเป็นธรรมดา ไม่มีภยันอันตรายใด ๆ จะมาทำให้หวาดกลัว เสียกำลังใจไปได้
ศาสพิพากษาพิจารณาคดี
เมื่อคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดดังกล่าวจับกุมพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มาแล้ว ก็พยายามหาหลักฐานเพื่อเอาผิดท่านอย่างเต็มที่ เพื่อจะประมวลให้ได้ว่า พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์ และกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามข้อกล่าวหาที่ได้ยัดเยียดไว้ให้ท่าน แต่การหาหลักฐานเพื่อเอาผิดกับคนที่ไม่ได้ทำความผิดไม่อาจทำได้ง่ายเหมือนการตั้งข้อกล่าวหา เรื่องนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหนักใจไม่น้อย
ทางฝ่ายกลุ่มพระเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นั้น ก็มีการสูญเสียและการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เพราะในกาลต่อมา สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้สิ้นพระชนม์ลง เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์จับกุมพระพิมลธรรมไปคุมขังได้ไม่กี่เดือน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาโณทยมหาเถร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชสืบแทน
แต่กระนั้นคดีของพระพิมลธรรมก็ยังคงยืดยื้ออยู่ ทางกรมตำรวจได้พยายามสืบหาหลักฐานมาสรุปสำนวน จนสามารถยื่นฟ้องต่ออัยการศาลทหารกรุงเทพฯ ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ศาลทหารกรุงเทพฯ จึงได้นัดสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลยหลายครั้งหลายหนเป็นระยะเวลานานยืดยื้อถึง ๓ ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗–๒๕๐๙
ในระหว่างนั้นบรรดาพระภิกษุสามเณร และสาธุชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจำนวนนับพันที่เชื่อมั่นว่า พระพิมลธรรมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความผิดตามข้อกล่าวหาได้พากันยื่นจดหมายร้องขอความเป็นธรรมให้กับท่าน และเรียกร้องให้มีการพิจารณาคดีนี้เพื่อพิสูจน์ความจริงอยู่ไม่ขาดสาย
จนกระทั่งในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๐๙ เวลา ๙.๐๐ ศาลทหารกรุงเทพได้นัดให้โจทก์และจำเลยมาฟังคำพิพากษาตัดสินคดีประวัติศาสตร์ดังกล่าว อนึ่งคำวินิจฉัยพิพากษาคดีนี้ยืดยาวเป็นเอกสารหนาถึง ๖๘ หน้า จึงขอคัดเฉพาะข้อความบางตอน อันเป็นการสรุปผลการตัดสินของศาลไว้ดังนี้
“...ตามที่ศาลได้ประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฟ้อง และกล่าวหามาหลายข้อหา หลายประเด็นนี้ มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ก็ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดๆเลย พอที่จะชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำหรือน่าจะกระทำผิด ...แต่กลับมาต้องถูกออกจากเจ้าอาวาส ถูกออกจากสมณศักดิ์ ถูกจับกุม ถูกบังคับให้สละเพศพรหมจรรย์ นับว่ารุนแรงที่สุดสำหรับพระเถระผู้ใหญ่ที่ปวงชนเคารพนับถือ พระธรรมโกศาจารย์ถึงกลับกล่าวว่า คิดได้อย่างเดียวว่า เกิดขึ้นเพราะความอิจฉาริษยากันในวงการสงฆ์ หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรรมเก่าของจำเลยเท่านั้นเอง ...จำเลยถูกกลั่นแกล้งโดยไม่เป็นธรรมจริง ๆ ไม่ได้กระทำผิดตามกล่าวหา ...ศาลนี้รู้สึกสลดใจและเห็นใจจำเลย แต่เชื่อว่าจำเลยซึ่งอบรมอยู่ในพระศาสนามานาน คงจะทราบซึ้งดีในอุเบกขาญาณที่ว่า สัตว์ทั้งปวงมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะเป็นกรรมทายาทรับผลของกรรมนั้น และคงจะตั้งอยู่ในคุณธรรมอันเป็นลักษณะของบัณฑิตในพระพุทธศาสนาสืบไป
อาศัยเหตุผลและดุลยพินิจที่ได้วินิจฉัยมา จึงพร้อมกันพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป”
ในครั้งนั้นพระภิกษุสามเณร และบรรดาพุทธศาสนิกจำนวนนับพันที่ไปร่วมฟังคำพิพากษาตัดสินคดีครั้งสำคัญนี้ ต่างพากันชื่นชมยินดีอนุโมทนาสาธุการต่อพระพิมลธรรม ในการที่ท่านได้พ้นจากมลทินข้อกล่าวหาอันฉกรรจ์นั้น ทั้งนี้รวมระยะเวลาที่ท่านถูกคุมขังอยู่ในสันติบาลโดยไม่มีความผิดใด ๆ เป็นเวลานานถึง ๕ พรรษา
ส่วนตัวท่านเองนั้นทันทีที่สิ้นคำพิพากษาของศาล ก็ได้ผลัดเปลี่ยนนุ่งห่มผ้าไตรจีวรสีกลักที่ได้เตรียมมาให้พร้อมแล้วทันที ณ ศาลทหารกรุงเทพฯ กระทรวงกลาโหมนั่นเอง จากนั้นท่านก็ได้กลับมาพำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ ดังเดิม ท่ามกลางความชื่นชมยินดีและการยอมรับของคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ท่านได้กลับมาจำพรรษาและปฏิบัติศาสนกิจอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นี้ ท่านก็ได้ช่วยทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มกำลังเกือบเหมือนเดิมแทบทุกอย่าง ท่านได้ช่วยอุปถัมภ์การศึกษาพระอภิธรรมปิฎกและการวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยดีตลอดมา ทั้งยังได้เดินทางไปเทศน์ ปาฐกถา และอบรมศีลธรรมแก่ภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ
แม้ท่านจะได้รับยอมรับนับถือ และได้รับการเคารพยกย่องจากคณะศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยดี ไม่ต่างไปจากเมื่อครั้งที่ยังคงครองสมณศักดิ์และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ แต่ท่านก็มิได้ต้องการจะกลับคืนสู่สมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯอีก เพราะได้รู้อย่างเท่าทันแล้วว่าตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงสิ่งสมมติที่โลกแต่งตั้งให้เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จีรังยั่งยืนแต่ประการใด เท่าที่ท่านได้ถูกโลกแต่งตั้งตำแหน่งสมมติมาแล้ว และรับใช้โลกมาตามสมควรแก่เหตุแล้วนั้น ก็เป็นการเพียงพอและสมควรแก่เวลาแล้ว ท่านต้องการจะใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นปฏิบัติธรรม บำเพ็ญอัตหิตประโยชน์ ตาม
เอกสารอ้างอิง
๑. พิมลธรรม. ๒๕๒๖. ผจญมาร. กรุงเทพฯ: เทพนิมิตการพิมพ์.
๒. มหาพล. ๒๕๒๑. พระพิมลธรรมกับเอ็ม. อาร์. เอ. กรุงเทพฯ: หจก. การพิมพ์พระนคร.
๓. ส. ศิวรักษ์. ๒๕๔๒. ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัยจากมุมมองของ ส. ศิวรักษ์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
๔. แสวง อุดมศรี. ๒๕๒๘. ศึกสมเด็จ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
เรื่องของวงการสงฆ์ในอดีตที่ผิดพลาด
เรื่องในอดีต เอามาเล่าเพื่อเป็นกรณีศึกษา ให้ชาวพุทธได้มีความรู้และช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนา ยาวหน่อย แต่รับรองอ่านแล้วไม่อยากละสายตาเลยครับ
กรณีพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)
เขียนโดย พระมหาวัฒนวงศ์ อาภสฺสรเมธี
ข้าพเจ้าเชื่อว่าคงมีน้อยคนในยุคนี้ ที่เคยได้ยินเรื่องราวของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) พระผู้พัฒนางานด้านพระพุทธศาสนา และการฟื้นฟูเผยแผ่พระพุทธศาสนาหัวก้าวหน้า ในยุครัฐบาลเผด็จการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จวบจนถึงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ งานที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกไว้ ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายต่อความคิดและความรู้สึกผู้คนในสมัยนั้นไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ความริษยา และการคุกคามของผู้มีอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม เรื่องราวความเป็นมาของท่านนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นตำนานแห่งการยืนหยัดต่อสู้กับความขัดแย้ง มิจฉาทิฐิ และการใช้อำนาจอันอยุติธรรมที่แอบแฝงอยู่ในสถาบันสงฆ์
การนำเรื่องราวของท่านมาเล่าสู่กันฟัง อาจช่วยให้เราได้ทบทวนความทรงจำ และรำลึกถึงหนทางการต่อสู้กับอำนาจอยุติธรรมด้วยการยึดมั่นในธรรมของท่านด้วยจิตคารวะ
ในยุคนั้นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างแนวทางการทำงานของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ที่มีต่อความคิด ความรู้สึกของพระผู้ใหญ่และคณะสังฆมนตรีบางรูปในคณะสงฆ์ รุนแรงถึงขั้นที่ฝ่ายตรงข้ามต้องยืมมือรัฐบาลเผด็จการในสมัยนั้นเข้ามาใช้อำนาจแทรกแซง เพื่อกำจัดท่านออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว จนภายหลังแม้ท่านจะถูกถอดถอนจากสมณศักดิ์ ถูกรัฐบาลสั่งจับคุมขังด้วยข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (อันเป็นข้อหายอดนิยมที่อุกฉกรรจ์มากในสมัยนั้น) และถูกบีบบังคับให้สึกออกจากสมณเพศ ท่านก็ยังคงยืนหยัดยึดมั่นอยู่ในธรรม ปฏิบัติธรรมอยู่ในห้องขัง ไม่ต่างจากตอนที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นเวลาถึง ๕ พรรษา จนเมื่อรัฐบาลเดิมหมดอำนาจไป กอรปกับมีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ศาลทหารกรุงเทพฯ จึงได้มีการสอบสวนและพิสูจน์ได้ว่าท่านบริสุทธิ์ ในครั้งนั้นท่านได้รับอิสรภาพ และได้กลับมาครองสมณเพศท่ามกลางความยินดีของศาสนิกจำนวนมาก แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะได้รับสมณศักดิ์กลับคืน จนในภายหลังที่พระสงฆ์ได้รวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ท่าน ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืนกลับมาดังเดิม
สาเหตุเบื้องหลังเหตุการณ์อันอยุติธรรม และความขัดแย้งที่รุนแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีรากเหง้ามาจากอำนาจกิเลส มิจฉาทิฐิ ความริษยา และการผูกใจอาฆาตอย่างที่คนทั่วไปนึกไม่ถึง ว่าพระผู้ใหญ่ระดับชั้นสมเด็จฯ และสังฆมนตรีบางรูปในสมัยนั้นจะเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ ดังที่จะขอกล่าวต่อไปโดยลำดับ
ประวัติโดยสังเขป
พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีนามเดิมว่า อาจ ดวงมาลา ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งทางด้านปฏิบัติและปริยัติเรื่อยมา เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปีก็ได้ย้ายเข้ามาศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในกรุงเทพฯ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยได้พำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นั้นเอง ต่อมาท่านได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมหาธาตุฯ โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อาสโภ”
ท่านได้หมั่นเพียรศึกษาเรื่อยมาจนสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และได้เป็นครูสอนประจำสำนักวัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๗ ปี (๒๔๖๗–๒๔๗๕) ต่อมาจึงได้ถูกส่งไปเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อไปฟื้นฟูการงานพระพุทธศาสนาที่นั่น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ท่านได้ทำงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่นั่นเป็นระยะเวลาถึง ๑๖ ปี (๒๔๗๕–๒๔๙๑) ในระหว่างนั้นท่านได้สร้างผลงานด้านการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาไว้ไม่น้อย และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายประการ เป็นต้นว่า สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา เจ้าคณะตรวจการภาค แม่กองธรรมสนามหลวง และยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี และเลื่อนชั้นเรื่อยมาจนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้ย้ายกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ และได้เลื่อนสมณศักด์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้ารองสมเด็จที่ “พระพิมลธรรม” ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองถึง ๔ สมัย
เหตุแห่งความขัดแย้ง
เหตุความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพระพิมลธรรม จนท่านถึงกับต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนสมณศักดิ์ ตลอดจนจับกุมคุมขังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เพราะในช่วงเวลาที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่านได้สร้างสรรค์งานทางด้านการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างใหม่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสงฆ์ อันก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และมีทั้งผู้ที่ริษยาในความสำเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านอยู่ไม่น้อย งานสำคัญ ๆ ที่ท่านได้บุกเบิกไว้ในยุคนั้นมีสามประการคือ
๑.การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย
๒. การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เพื่อต่อปริญญาโท และปริญญาเอก ดังที่ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
๓.การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ
นอกจากงานสำคัญทั้งสามประการนี้แล้ว ท่านยังได้มีการทำงานด้านอื่น ๆ ที่ท้าทายความรู้สึกของคนยุคนั้นและมหาเถระสมาคมอีกไม่น้อย เช่น การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา การเป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคยานาพระไตรปิฎก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า การนำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ อินเดีย และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น และการทำงานร่วมกับองค์กรฟื้นฟูศีลธรรรมจากต่างประเทศ (Moral Rearmament : M.R.A. ) หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อว่า เอ็ม. อาร์. เอ. โดยไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าเป็นสำคัญ เป็นต้น
งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะพระมหาเถระระดับสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) และสังฆมนตรีบางท่าน เพราะท่านเหล่านั้นไม่เข้าใจและมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาในทางใด แต่ไม่กล้าขัดขวางโดยตรง ได้แต่แสดงความเห็นคัดค้าน ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ก่อให้เกิดเป็นพลังกดดันและความขัดแย้งที่ค่อย ๆ สะสมเพิ่มมากขึ้นภายในสังฆสมาคมชั้นสูง
สาเหตุที่สำคัญอีกประการ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงก็คือ ความอิจฉาริษยาในชื่อเสียงเกียรติคุณของพระพิมลธรรมที่เฟื่องฟูมากในยุคนั้น เนื่องจากงานบุกเบิกใหม่ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้มุ่งมั่นทำขึ้นเหล่านี้ยังผลให้ชื่อเสียง เกียรติคุณของท่านขจรขจายไปไกลยังนานาประเทศ ได้รับความเชื่อถือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า และกัมพูชา และยังได้รับเชิญเป็นรูปแรกให้เดินทางไปร่วมงานกับองค์กรทางศีลธรรมและศาสนาระดับนานาชาติ เช่น เอ็ม. อาร์. เอ. เป็นต้น
เพื่อให้เห็นสาเหตุและประเด็นความขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น เราอาจทำได้ด้วยการย้อนพิจารณาถึงงานสำคัญ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกทำขึ้นในยุคนั้นตามลำดับดังนี้
งานประการแรก คือ การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ พระพิมลธรรมได้เคยปรึกษากับเอกอัครราชฑูตพม่า เพื่อขอให้ทางพม่าช่วยจัดส่งพระภิกษุ ชั้นธัมมาจริยะที่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดส่งพระไตรปิฎกภาษาบาลี อรรถกา และฎีกาฉบับอักษรพม่ามาให้ด้วย ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นอย่างมาก
ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าจึงได้จัดส่งพระภิกษุระดับบัณฑิต ชั้นธัมมาจริยะ มายังประเทศไทย ๒ รูปคือ ท่านสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และท่านเตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ ซึ่งท่านอาจารย์ทั้งสองนี้ได้ช่วยฝังรากฐานวิชาความรู้พระอภิธรรมปิฎกไว้ให้อย่างดี เป็นระเบียบ เป็นหลักฐาน คือได้เขียนและแปลทำเป็นหลักสูตรไว้ให้ได้ใช้ศึกษาสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน
ในปี ๒๔๙๓ ทางพม่าได้จัดส่งสมณฑูต พร้อมทั้งอัญเชิญพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรพม่าพร้อมอรรถกถาและฎีกามายังประเทศไทยอีก ๓ ชุด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทางการคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดส่งพระสมณฑูตพร้อมทั้งพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย ไปเยี่ยมตอบและมอบให้ประเทศพม่าด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระพิมลธรรมได้ขอให้สภาการพุทธศาสนาสหภาพพม่า จัดส่งพระเถระฝ่ายวิปัสสนาจารย์ ให้มาสอนวิปัสสนาในเมืองไทย ๒ รูปคือ ท่านอูอาสภะ กัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอูอินทวํสะ กัมมัฏฐานาจริยะ ซึ่งท่านพระอาจารย์ทั้งสองน ี้ก็ได้ช่วยเป็นกำลังเสริมสร้างการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานให้เจริญขึ้นในประเทศไทย โดยเริ่มเปิดฝึกสอนขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ก่อนเป็นแห่งแรก และได้ดำเนินสืบเนื่องเรื่อยมาดังที่ปรากฏผลให้เห็นในปัจจุบัน
แม้งานเหล่านี้จะปรากฏผลให้เห็นว่า ได้สร้างประโยชน์ให้กับการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างมาก แต่เนื่องจากในยุคนั้นยังมีคนไทยและพระภิกษุอีกไม่น้อยที่ยังมีอคติต่อพม่า จึงเป็นไปได้ว่างานที่พระพิมลธรรมได้ริเริ่มขึ้นนี้ คงมีฆราวาสและพระเถระหลายรูปที่นึกค้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่กล้าออกมาต่อต้านขัดขวางโดยตรงในตอนนั้น
งานประการที่สอง คือ การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เมื่อพระพิมลธรรมได้ประกาศถึงความตั้งใจในการนี้ออกไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ปรากฏว่ามีเสียงคัดค้านอย่างหนักหน่วง เพราะเป็นงานใหม่ที่ผู้บริหารคณะสงฆ์ไทยไม่เคยคิดมาก่อน และมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร แต่พระพิมลธรรมยังคงยืนยันในเจตนาเดิมต่อคณะสังฆมนตรี เพราะเห็นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการศาสนา และยังอาจได้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนิกในประเทศต่าง ๆ อีกด้วย (แม้จะมีผู้พบในภายหลังว่า การส่งพระเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศจะให้ทั้งคุณและโทษไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ข้าพเจ้าไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดไว้ ณ ที่นี้ หากท่านสนใจประเด็นดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ –ผู้เขียน)
เมื่อพระพิมลธรรมซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีในขณะนั้นได้แสดงเจตจำนง และแจ้งเรื่องไปว่า จะเดินทางไปส่งพระภิกษุสามเณรไปศึกษาวิชาพระพุทธศาสนายังประเทศพม่า อธิบดีกรมการศาสนา (นายบุญช่วย สมพงศ์) กับท่านสังมนตรีในสมัยนั้นต่างพากันคัดค้านโดยอ้างเหตุผลหลายประการ อาทิเช่น
“ประเทศพม่าเพิ่งหลุดจากความเป็นทาสของอังกฤษมาไม่นาน (คือเมื่อ ๔ มกราคม ๒๔๙๑) ส่วนประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์เป็นประเทศอิสระมาเป็นเวลานาน ตามรูปการณ์นี้แสดงว่า สถาบันของประเทศพม่าย่อมต่ำกว่าของประเทศไทย ไม่ควรไปศึกษาในประเทศที่ต่ำกว่า” ๑
เหตุผลอีกประการที่นำมาอ้างก็คือ “พระพุทธศาสนาของประเทศไทย มีค่าสูงกว่าพระพุทธศาสนาของประเทศใดในโลก ไม่มีชาติใดสู้ได้ การนำนักศึกษาของเราไปศึกษาพระพุทธศาสนาของเขา จึงไม่เป็นการสมควร แต่ควรให้คนอื่นมาศึกษาในประเทศของเราจึงจะถูก ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การที่ท่านเจ้าคุณสังฆมนตรีนำพระภิกษุไปศึกษาในประเทศพม่าคราวนี้ จะเป็นการเสียสถาบันของประเทศ...” ๒
พระพิมลธรรมมิได้ต่อรองเป็นทำนองหักล้างข้ออ้างของอธิบดีกรมการศาสนามากนัก ท่านปรารภเพียงแต่ว่า การเดินทางในครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากกรรมสัมปาทิก ของสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพร้อมกันแล้ว และได้เตรียมการทุกอย่าง พร้อมทั้งติดต่อเป็นการส่วนตัวกับผู้รู้จักในประเทศพม่า โดยการช่วยเหลือของอุปฑูตพม่าไว้พร้อมแล้ว จึงยากที่จะระงับการเดินทางได้
และท่านยังได้ยืนยันการเดินทางต่ออธิบดีกรมการศาสนาเป็นครั้งสุดท้ายว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของตำแหน่งและทางราชการแต่อย่างใด
ครั้นเมื่อพระพิมลธรรมได้นำพระภิกษุที่จะเดินทางไปศึกษาต่อ ไปกราบลาท่านสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อรับโอวาทและอนุโมทนา แต่แทนที่ท่านสังฆนายกจะให้โอวาทอันไพเราะ ท่านกลับแสดงข้อขัดแย้งที่ท่านมีอยู่ออกมาให้พระหนุ่มที่จะเดินทางไปศึกษาต่อได้ฟังว่า “ท่านพิมลธรรมเอ๋ย ท่านจะเอาดีไปถึงไหน การพระศาสนาในเมืองไทยเราดีที่สุดอยู่แล้ว” ๓
แต่กระนั้นการที่พระพิมลธรรมนำพระภิกษุไปศึกษาต่อยังประเทศพม่านี้ก็ประสบความสำเร็จ และได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่และรัฐบาลพม่าเป็นอย่างดี และในกาลต่อมา ท่านยังได้ขยายขอบเขตในการส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อไปยังประเทศอินเดีย ที่สถาบันนวนาลันทา และประเทศศรีลังกา ที่สถาบันธรรมฑูตวิทยาลัย เหล่านี้เป็นต้น นับว่าเป็นการทำงานชนิดท้าทายความคิดของสงฆ์และฆราวาสในยุคนั้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีการส่งภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศที่พระพิมลธรรมได้วางรากฐานไว้ในสมัยนั้น ก็ยังคงดำเนินการสืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้ ทั้งยังได้ขยายขอบเขตออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปและอเมริกาอีกด้วย
การริเริ่มตั้งสำนักสอนวิปัสสนาขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
งานประการที่สาม คือ การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ
นับตั้งแต่ครั้งที่พระพิมลธรรมได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อให้นำความรู้กลับมาช่วยเสริมสร้างงานด้านพุทธศาสนาในประเทศไทย รวมทั้งการที่ท่านได้ขอเชิญพระพม่ามาช่วยทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระร่วมกันนั้น ได้ช่วยให้งานศาสนาในประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จนก่อให้เกิดการตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นวัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นต้นมา มีพระเถรานุเถระและคณะอุบาสก–อุบาสิกาสมัครเข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก จนเต็มพระวิหารหลวงและระเบียงพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน และภายใน ๑ ปีต่อมา ก็สร้างพระเถระวิปัสสนาจารย์ออกมาไม่น้อย ซึ่งวิปัสสนาจารย์เหล่านี้ก็ได้ออกไปช่วยขยายงานพระศาสนาด้านวิปัสสนาธุระให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยได้ไปตั้งสำนักสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ อีกเกือบทั่วประเทศ
การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา
นอกจากงานสำคัญสามประการข้างต้นแล้ว พระพิมลธรรมยังได้บุกเบิกงานพระพุทธศานาด้านอื่น ๆ ที่เป็นการท้าทายความรู้สึกของคนในยุคนั้นอีกไม่น้อย เช่น การที่ท่านไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา ตามความตอนหนึ่งที่เล่าไว้ในหนังสือศึกสมเด็จ ๔ ว่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีองค์การปกครองนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยรัฐบาลได้ใช้กลไกทุกชนิดในการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงอันตราย และความร้ายกาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์
ข้าพเจ้าเชื่อว่าคงมีน้อยคนในยุคนี้ ที่เคยได้ยินเรื่องราวของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) พระผู้พัฒนางานด้านพระพุทธศาสนา และการฟื้นฟูเผยแผ่พระพุทธศาสนาหัวก้าวหน้า ในยุครัฐบาลเผด็จการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จวบจนถึงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ งานที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกไว้ ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายต่อความคิดและความรู้สึกผู้คนในสมัยนั้นไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ความริษยา และการคุกคามของผู้มีอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม เรื่องราวความเป็นมาของท่านนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นตำนานแห่งการยืนหยัดต่อสู้กับความขัดแย้ง มิจฉาทิฐิ และการใช้อำนาจอันอยุติธรรมที่แอบแฝงอยู่ในสถาบันสงฆ์
การนำเรื่องราวของท่านมาเล่าสู่กันฟัง อาจช่วยให้เราได้ทบทวนความทรงจำ และรำลึกถึงหนทางการต่อสู้กับอำนาจอยุติธรรมด้วยการยึดมั่นในธรรมของท่านด้วยจิตคารวะ
ในยุคนั้นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างแนวทางการทำงานของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ที่มีต่อความคิด ความรู้สึกของพระผู้ใหญ่และคณะสังฆมนตรีบางรูปในคณะสงฆ์ รุนแรงถึงขั้นที่ฝ่ายตรงข้ามต้องยืมมือรัฐบาลเผด็จการในสมัยนั้นเข้ามาใช้อำนาจแทรกแซง เพื่อกำจัดท่านออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว จนภายหลังแม้ท่านจะถูกถอดถอนจากสมณศักดิ์ ถูกรัฐบาลสั่งจับคุมขังด้วยข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (อันเป็นข้อหายอดนิยมที่อุกฉกรรจ์มากในสมัยนั้น) และถูกบีบบังคับให้สึกออกจากสมณเพศ ท่านก็ยังคงยืนหยัดยึดมั่นอยู่ในธรรม ปฏิบัติธรรมอยู่ในห้องขัง ไม่ต่างจากตอนที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นเวลาถึง ๕ พรรษา จนเมื่อรัฐบาลเดิมหมดอำนาจไป กอรปกับมีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ศาลทหารกรุงเทพฯ จึงได้มีการสอบสวนและพิสูจน์ได้ว่าท่านบริสุทธิ์ ในครั้งนั้นท่านได้รับอิสรภาพ และได้กลับมาครองสมณเพศท่ามกลางความยินดีของศาสนิกจำนวนมาก แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะได้รับสมณศักดิ์กลับคืน จนในภายหลังที่พระสงฆ์ได้รวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ท่าน ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืนกลับมาดังเดิม
สาเหตุเบื้องหลังเหตุการณ์อันอยุติธรรม และความขัดแย้งที่รุนแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีรากเหง้ามาจากอำนาจกิเลส มิจฉาทิฐิ ความริษยา และการผูกใจอาฆาตอย่างที่คนทั่วไปนึกไม่ถึง ว่าพระผู้ใหญ่ระดับชั้นสมเด็จฯ และสังฆมนตรีบางรูปในสมัยนั้นจะเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ ดังที่จะขอกล่าวต่อไปโดยลำดับ
ประวัติโดยสังเขป
พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีนามเดิมว่า อาจ ดวงมาลา ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งทางด้านปฏิบัติและปริยัติเรื่อยมา เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปีก็ได้ย้ายเข้ามาศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในกรุงเทพฯ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยได้พำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นั้นเอง ต่อมาท่านได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมหาธาตุฯ โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อาสโภ”
ท่านได้หมั่นเพียรศึกษาเรื่อยมาจนสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และได้เป็นครูสอนประจำสำนักวัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๗ ปี (๒๔๖๗–๒๔๗๕) ต่อมาจึงได้ถูกส่งไปเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อไปฟื้นฟูการงานพระพุทธศาสนาที่นั่น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ท่านได้ทำงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่นั่นเป็นระยะเวลาถึง ๑๖ ปี (๒๔๗๕–๒๔๙๑) ในระหว่างนั้นท่านได้สร้างผลงานด้านการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาไว้ไม่น้อย และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายประการ เป็นต้นว่า สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา เจ้าคณะตรวจการภาค แม่กองธรรมสนามหลวง และยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี และเลื่อนชั้นเรื่อยมาจนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้ย้ายกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ และได้เลื่อนสมณศักด์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้ารองสมเด็จที่ “พระพิมลธรรม” ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองถึง ๔ สมัย
เหตุแห่งความขัดแย้ง
เหตุความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพระพิมลธรรม จนท่านถึงกับต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนสมณศักดิ์ ตลอดจนจับกุมคุมขังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เพราะในช่วงเวลาที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่านได้สร้างสรรค์งานทางด้านการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างใหม่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสงฆ์ อันก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และมีทั้งผู้ที่ริษยาในความสำเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านอยู่ไม่น้อย งานสำคัญ ๆ ที่ท่านได้บุกเบิกไว้ในยุคนั้นมีสามประการคือ
๑.การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย
๒. การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เพื่อต่อปริญญาโท และปริญญาเอก ดังที่ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
๓.การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ
นอกจากงานสำคัญทั้งสามประการนี้แล้ว ท่านยังได้มีการทำงานด้านอื่น ๆ ที่ท้าทายความรู้สึกของคนยุคนั้นและมหาเถระสมาคมอีกไม่น้อย เช่น การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา การเป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคยานาพระไตรปิฎก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า การนำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ อินเดีย และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น และการทำงานร่วมกับองค์กรฟื้นฟูศีลธรรรมจากต่างประเทศ (Moral Rearmament : M.R.A. ) หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อว่า เอ็ม. อาร์. เอ. โดยไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าเป็นสำคัญ เป็นต้น
งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะพระมหาเถระระดับสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) และสังฆมนตรีบางท่าน เพราะท่านเหล่านั้นไม่เข้าใจและมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาในทางใด แต่ไม่กล้าขัดขวางโดยตรง ได้แต่แสดงความเห็นคัดค้าน ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ก่อให้เกิดเป็นพลังกดดันและความขัดแย้งที่ค่อย ๆ สะสมเพิ่มมากขึ้นภายในสังฆสมาคมชั้นสูง
สาเหตุที่สำคัญอีกประการ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงก็คือ ความอิจฉาริษยาในชื่อเสียงเกียรติคุณของพระพิมลธรรมที่เฟื่องฟูมากในยุคนั้น เนื่องจากงานบุกเบิกใหม่ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้มุ่งมั่นทำขึ้นเหล่านี้ยังผลให้ชื่อเสียง เกียรติคุณของท่านขจรขจายไปไกลยังนานาประเทศ ได้รับความเชื่อถือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า และกัมพูชา และยังได้รับเชิญเป็นรูปแรกให้เดินทางไปร่วมงานกับองค์กรทางศีลธรรมและศาสนาระดับนานาชาติ เช่น เอ็ม. อาร์. เอ. เป็นต้น
เพื่อให้เห็นสาเหตุและประเด็นความขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น เราอาจทำได้ด้วยการย้อนพิจารณาถึงงานสำคัญ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกทำขึ้นในยุคนั้นตามลำดับดังนี้
งานประการแรก คือ การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ พระพิมลธรรมได้เคยปรึกษากับเอกอัครราชฑูตพม่า เพื่อขอให้ทางพม่าช่วยจัดส่งพระภิกษุ ชั้นธัมมาจริยะที่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดส่งพระไตรปิฎกภาษาบาลี อรรถกา และฎีกาฉบับอักษรพม่ามาให้ด้วย ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นอย่างมาก
ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าจึงได้จัดส่งพระภิกษุระดับบัณฑิต ชั้นธัมมาจริยะ มายังประเทศไทย ๒ รูปคือ ท่านสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และท่านเตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ ซึ่งท่านอาจารย์ทั้งสองนี้ได้ช่วยฝังรากฐานวิชาความรู้พระอภิธรรมปิฎกไว้ให้อย่างดี เป็นระเบียบ เป็นหลักฐาน คือได้เขียนและแปลทำเป็นหลักสูตรไว้ให้ได้ใช้ศึกษาสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน
ในปี ๒๔๙๓ ทางพม่าได้จัดส่งสมณฑูต พร้อมทั้งอัญเชิญพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรพม่าพร้อมอรรถกถาและฎีกามายังประเทศไทยอีก ๓ ชุด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทางการคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดส่งพระสมณฑูตพร้อมทั้งพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย ไปเยี่ยมตอบและมอบให้ประเทศพม่าด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระพิมลธรรมได้ขอให้สภาการพุทธศาสนาสหภาพพม่า จัดส่งพระเถระฝ่ายวิปัสสนาจารย์ ให้มาสอนวิปัสสนาในเมืองไทย ๒ รูปคือ ท่านอูอาสภะ กัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอูอินทวํสะ กัมมัฏฐานาจริยะ ซึ่งท่านพระอาจารย์ทั้งสองน ี้ก็ได้ช่วยเป็นกำลังเสริมสร้างการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานให้เจริญขึ้นในประเทศไทย โดยเริ่มเปิดฝึกสอนขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ก่อนเป็นแห่งแรก และได้ดำเนินสืบเนื่องเรื่อยมาดังที่ปรากฏผลให้เห็นในปัจจุบัน
แม้งานเหล่านี้จะปรากฏผลให้เห็นว่า ได้สร้างประโยชน์ให้กับการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างมาก แต่เนื่องจากในยุคนั้นยังมีคนไทยและพระภิกษุอีกไม่น้อยที่ยังมีอคติต่อพม่า จึงเป็นไปได้ว่างานที่พระพิมลธรรมได้ริเริ่มขึ้นนี้ คงมีฆราวาสและพระเถระหลายรูปที่นึกค้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่กล้าออกมาต่อต้านขัดขวางโดยตรงในตอนนั้น
งานประการที่สอง คือ การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เมื่อพระพิมลธรรมได้ประกาศถึงความตั้งใจในการนี้ออกไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ปรากฏว่ามีเสียงคัดค้านอย่างหนักหน่วง เพราะเป็นงานใหม่ที่ผู้บริหารคณะสงฆ์ไทยไม่เคยคิดมาก่อน และมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร แต่พระพิมลธรรมยังคงยืนยันในเจตนาเดิมต่อคณะสังฆมนตรี เพราะเห็นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการศาสนา และยังอาจได้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนิกในประเทศต่าง ๆ อีกด้วย (แม้จะมีผู้พบในภายหลังว่า การส่งพระเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศจะให้ทั้งคุณและโทษไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ข้าพเจ้าไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดไว้ ณ ที่นี้ หากท่านสนใจประเด็นดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ –ผู้เขียน)
เมื่อพระพิมลธรรมซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีในขณะนั้นได้แสดงเจตจำนง และแจ้งเรื่องไปว่า จะเดินทางไปส่งพระภิกษุสามเณรไปศึกษาวิชาพระพุทธศาสนายังประเทศพม่า อธิบดีกรมการศาสนา (นายบุญช่วย สมพงศ์) กับท่านสังมนตรีในสมัยนั้นต่างพากันคัดค้านโดยอ้างเหตุผลหลายประการ อาทิเช่น
“ประเทศพม่าเพิ่งหลุดจากความเป็นทาสของอังกฤษมาไม่นาน (คือเมื่อ ๔ มกราคม ๒๔๙๑) ส่วนประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์เป็นประเทศอิสระมาเป็นเวลานาน ตามรูปการณ์นี้แสดงว่า สถาบันของประเทศพม่าย่อมต่ำกว่าของประเทศไทย ไม่ควรไปศึกษาในประเทศที่ต่ำกว่า” ๑
เหตุผลอีกประการที่นำมาอ้างก็คือ “พระพุทธศาสนาของประเทศไทย มีค่าสูงกว่าพระพุทธศาสนาของประเทศใดในโลก ไม่มีชาติใดสู้ได้ การนำนักศึกษาของเราไปศึกษาพระพุทธศาสนาของเขา จึงไม่เป็นการสมควร แต่ควรให้คนอื่นมาศึกษาในประเทศของเราจึงจะถูก ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การที่ท่านเจ้าคุณสังฆมนตรีนำพระภิกษุไปศึกษาในประเทศพม่าคราวนี้ จะเป็นการเสียสถาบันของประเทศ...” ๒
พระพิมลธรรมมิได้ต่อรองเป็นทำนองหักล้างข้ออ้างของอธิบดีกรมการศาสนามากนัก ท่านปรารภเพียงแต่ว่า การเดินทางในครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากกรรมสัมปาทิก ของสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพร้อมกันแล้ว และได้เตรียมการทุกอย่าง พร้อมทั้งติดต่อเป็นการส่วนตัวกับผู้รู้จักในประเทศพม่า โดยการช่วยเหลือของอุปฑูตพม่าไว้พร้อมแล้ว จึงยากที่จะระงับการเดินทางได้
และท่านยังได้ยืนยันการเดินทางต่ออธิบดีกรมการศาสนาเป็นครั้งสุดท้ายว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของตำแหน่งและทางราชการแต่อย่างใด
ครั้นเมื่อพระพิมลธรรมได้นำพระภิกษุที่จะเดินทางไปศึกษาต่อ ไปกราบลาท่านสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อรับโอวาทและอนุโมทนา แต่แทนที่ท่านสังฆนายกจะให้โอวาทอันไพเราะ ท่านกลับแสดงข้อขัดแย้งที่ท่านมีอยู่ออกมาให้พระหนุ่มที่จะเดินทางไปศึกษาต่อได้ฟังว่า “ท่านพิมลธรรมเอ๋ย ท่านจะเอาดีไปถึงไหน การพระศาสนาในเมืองไทยเราดีที่สุดอยู่แล้ว” ๓
แต่กระนั้นการที่พระพิมลธรรมนำพระภิกษุไปศึกษาต่อยังประเทศพม่านี้ก็ประสบความสำเร็จ และได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่และรัฐบาลพม่าเป็นอย่างดี และในกาลต่อมา ท่านยังได้ขยายขอบเขตในการส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อไปยังประเทศอินเดีย ที่สถาบันนวนาลันทา และประเทศศรีลังกา ที่สถาบันธรรมฑูตวิทยาลัย เหล่านี้เป็นต้น นับว่าเป็นการทำงานชนิดท้าทายความคิดของสงฆ์และฆราวาสในยุคนั้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีการส่งภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศที่พระพิมลธรรมได้วางรากฐานไว้ในสมัยนั้น ก็ยังคงดำเนินการสืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้ ทั้งยังได้ขยายขอบเขตออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปและอเมริกาอีกด้วย
การริเริ่มตั้งสำนักสอนวิปัสสนาขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
งานประการที่สาม คือ การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ
นับตั้งแต่ครั้งที่พระพิมลธรรมได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อให้นำความรู้กลับมาช่วยเสริมสร้างงานด้านพุทธศาสนาในประเทศไทย รวมทั้งการที่ท่านได้ขอเชิญพระพม่ามาช่วยทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระร่วมกันนั้น ได้ช่วยให้งานศาสนาในประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จนก่อให้เกิดการตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นวัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นต้นมา มีพระเถรานุเถระและคณะอุบาสก–อุบาสิกาสมัครเข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก จนเต็มพระวิหารหลวงและระเบียงพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน และภายใน ๑ ปีต่อมา ก็สร้างพระเถระวิปัสสนาจารย์ออกมาไม่น้อย ซึ่งวิปัสสนาจารย์เหล่านี้ก็ได้ออกไปช่วยขยายงานพระศาสนาด้านวิปัสสนาธุระให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยได้ไปตั้งสำนักสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ อีกเกือบทั่วประเทศ
การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา
นอกจากงานสำคัญสามประการข้างต้นแล้ว พระพิมลธรรมยังได้บุกเบิกงานพระพุทธศานาด้านอื่น ๆ ที่เป็นการท้าทายความรู้สึกของคนในยุคนั้นอีกไม่น้อย เช่น การที่ท่านไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา ตามความตอนหนึ่งที่เล่าไว้ในหนังสือศึกสมเด็จ ๔ ว่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีองค์การปกครองนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยรัฐบาลได้ใช้กลไกทุกชนิดในการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงอันตราย และความร้ายกาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์
รัฐบาลได้มีหนังสือกราบเรียนสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อขอให้ทางคณะสงฆ์ออกกฎห้ามรับคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านสังฆนายกนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรี ปรากฏว่าสังฆมนตรีหลายรูปเห็นชอบด้วย และมีมติมอบให้พระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถร) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐบาล
แต่วันนั้นพระพิมลธรรมมิได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทำให้ท่านตกอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกต่อการดำเนินการเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าจะเป็นผลเสียแก่พุทธศาสนามากกว่าผลดี แต่หากปฏิเสธก็เท่ากับเป็นการขัดนโยบายของรัฐบาลและมติคณะสังฆมนตรี เมื่อยังหาทางออกไม่ได้ท่านจึงต้องเก็บเรื่องนี้ไว้ก่อน
อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ยังคงติดตามเรื่องและทวงถามอยู่เสมอ ๆ ทำให้ท่านสังฆนายกและคณะสังมนตรีอีกหลายรูปต่างร้อนใจไปตาม ๆ กัน และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่าพระพิมลธรรมหัวดื้อบ้าง อวดดีบ้าง เป็นคอมมิวนิสต์บ้าง ฯลฯ จนมีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งไปขอสัมภาษณ์พระพิมลธรรมว่า การที่ท่านไม่ยอมออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชนั้น หมายความว่าท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์ใช่หรือไม่ ท่านก็ตอบว่า ท่านไม่กลัว เพราะท่านเป็นศิษย์พระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งจึงไม่กลัว
เมื่อข่าวถูกตีพิมพ์ออกไป ทำให้รัฐบาลร้อนใจ จนต้องให้ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้นไปพบพระพิมลธรรมด้วยตนเอง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงว่าท่านมีเหตุผลอย่างไรต่อเรื่องนี้ พระพิมลธรรมจึงได้ชี้แจงว่า ที่ท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์นั้น เพราะเชื่อมั่นว่าถ้าเราชาวพุทธเคารพสักการะพระรัตนตรัย ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ศึกษาให้รู้ให้เข้าใจศาสนา ปฏิบัติตามคำสอนในทางศาสนาอย่างจริงจังแล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาทำลายสถาบันที่เราเคารพอยู่ได้เลย ขณะนี้ปัญหาเฉพาะหน้าจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรคนจึงจะรู้และปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องและจริงจัง เมื่อแก้ปัญหานี้ได้แล้วท่านเชื่อว่า ความหวาดกลัวภัยพิบัติต่าง ๆ ก็จะหมดไป และท่านยังเห็นต่อไปว่า หากเราสามารถสอนพวกคอมมิวนิสต์ให้รู้ธรรมะ ให้เลื่อมใสในศาสนาได้ ก็จะเป็นการดี เป็นบุญกุศลด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่กลัวคอมมิวนิสต์ และอยากเทศน์ให้คอมมิวนิสต์ฟังด้วย
เมื่อเหตุผลเป็นเช่นนี้ พล.ต.อ. เผ่า จึงกล่าวว่าเห็นด้วยกับท่าน และนำความไปกราบเรียนให้ท่านนายกทราบ ซึ่งเมื่อ จอมพล ป. ได้รับทราบแล้ว ทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีการขัดขวางในเรื่องนี้อีก
การเป็นประธานไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ประเทศพม่า
นอกจากเหตุการณ์ข้างต้นแล้ว ในสมัยหนึ่ง เมื่อประเทศพม่าตกลงจะประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎก ที่มหาปาสณาคูหา กรุงย่างกุ้งนั้น ทางราชการพม่าได้อาราธนามายังคณะสงฆ์ไทย ขอให้ส่งพระคณะสังคีติการกะไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนานี้ด้วย แต่เมื่อนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรีพิจารณา ที่ประชุมส่วนมากกลับไม่เห็นด้วยในการนี้ เพราะเห็นว่าพม่าเพิ่งจะได้เอกราชใหม่ ๆ การคิดจะกระทำฉัฏฐสังคายนา เป็นการคิดใหญ่เกินตัว บางท่านก็เห็นว่าควรส่งไปร่วมสังเกตการณ์ด้วยแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ไปร่วมประชุมลงมติ มีเพียงพระพิมลธรรมรูปเดียว ที่เห็นว่าควรส่งพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมลงมติด้วย เพราะท่านเห็นว่าเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ไม่ควรนำอคติทางชนชาติและการปกครองมาข้องเกี่ยว
เรื่องนี้ประเทศพม่าได้เสนอเรื่องไปยังคณะรัฐบาลไทยด้วย เมื่อคณะรัฐบาลมีมติให้คณะสงฆ์ไทยจัดส่งคณะพระสังคีติการกะไปร่วม พระพิมลธรรมจึงต้องรับหน้าที่เป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมยังประเทศพม่า ทั้งนี้เพราะท่านเป็นเพียงรูปเดียวในคณะสังฆมนตรีที่เห็นว่าควรส่งพระไทยไปร่วมประชุมสังคยานาดังกล่าว พระเถระสังฆมนตรีในสมัยนั้นจึงยกให้งานนี้เป็นภาระของท่านแต่เพียงผู้เดียว
พระพิมลธรรมกับ เอ็ม. อาร์. เอ.
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่ได้รับนิมนต์ จาก ดร.แฟรงค์ บุชแมน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของขบวนการส่งเสริมศีลธรรม (Moral Rearmament : M.R.A.) ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ เอ็ม.อาร์.เอ. เพื่อไปร่วมงานฉลองอายุครบ ๘๐ ปีของดร.แฟรงค์ บุชแมน และฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ของเอ็ม.อาร์.เอ. ที่มลรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเสร็จจากการเดินทางไปประชุมดังกล่าวแล้ว
พระพิมลธรรมพร้อมด้วยคณะยังได้เดินทางไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมลรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรปร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. อีกด้วย
ถือได้ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เดินทางไปประกาศพุทธธรรมยังประเทศเหล่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีพระสงฆ์ไทยรูปใดเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวมาก่อนเลย นอกจากนี้พระพิมลธรรมยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เข้าพบองค์พระสันตะปาปา ประมุขแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ณ กรุงวาติกัน เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และหาทางแลกเปลี่ยนศาสนฑูตระหว่างศาสนาต่อกันและกันอีกด้วย
หลังจากการเดินทางในครั้งนั้น พระพิมลธรรมก็ได้รับนิมนต์จากองค์กร เอ็ม.อาร์. เอ. มาอีกเกือบทุกปีให้ไปร่วมเผยแผ่ศีลธรรมในประเทศต่าง ๆ ด้วยกัน ซึ่งท่านสามารถหาโอกาสเดินทางไปร่วมกับเอ็ม.อาร์. เอ. ได้อีก ๒–๓ ครั้ง ซึ่งท่านได้เล่าว่า “ปรากฏว่า สำหรับพระสงฆ์ไทยนั้น เขานิมนต์ไปร่วมเผยแผ่แต่ข้าพเจ้ารูปเดียว และการนิมนต์นั้น เขานิมนต์มาเกือบทุกปี แต่เราไม่มีโอกาสที่จะไปร่วมทุกปี” ๖
อนึ่งการเดินทางไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับ เอ็ม.อาร์.เอ. เป็นไปอย่างที่ไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าสำคัญ แต่ให้ยึดถือธรรม ๔ ประการเหมือนกันคือ ๑. จริงที่สุด ๒. บริสุทธิ์ที่สุด ๓. อดทนที่สุด ๔. เสียสละที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกับฆราวาสธรรม ๔ ข้อของศาสนาพุทธ คือ ๑. สัจจะ ๒. ทมะ ๓. ขันติ ๔. จาคะ จึงเป็นโอกาสให้ท่านเดินทางไปทำงานร่วมกับเขาได้โดยไม่ขัดข้อง เพราะท่านเห็นว่าการที่ไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับคณะบุคคลากร เอ็ม.อาร์.เอ. นั้น ก็เหมือนกับการไปเผยแผ่ธรรมในพุทธศาสนานั่นเอง ซึ่งท่านก็ได้กล่าวถึงความรู้สึกของท่านที่มีต่อการทำงานร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. ไว้ว่า “...เราจึงไปร่วมกันได้อย่างสนิทชิดชอบเหมือนอย่างพี่น้องตลอดกาล” ๗
การที่พระพิมลธรรมได้ทุ่มเทสติปัญญา แรงกาย แรงใจ ในการพัฒนางานด้านพระพุทธศาสนาเหล่านี้จนประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏอยู่ กลับกลายเป็นเหตุให้เกิดความไม่เข้าใจกันกับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่าน และคณะสังฆมนตรีบางรูป อันเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้ง การใส่ร้ายป้ายสี และเหตุการณ์ที่ตามมาคุกคามพระพิมลธรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ คือ ถึงกับทำให้ท่านต้องถูกปลดออกจากสมณศักดิ์ โดยเฉพาะงานสำคัญประการที่สาม คือการริเริ่มตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้นในวัดมหาธาตุนั้น ได้กลายเป็นข้ออ้างที่ฝ่ายตรงข้ามใช้กล่าวหาท่านว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ คือมีการซ่องสุมกำลังเพื่อก่อการบ่อนทำลายประเทศชาติ จนเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกจับกุมตัวไปคุมขังไว้ ณ กรมตำรวจเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา
ซึ่งก่อนหน้าที่เหตุการณ์จะดำเนินไปจนถึงขั้นนั้น ก็ได้มีเสียงติฉินนินทาท่านนานัปการ จากบรรดาฆราวาสและพระเถระบางรูปที่มีจิตริษยาและมีความเห็นขัดแย้งกับท่าน มีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนตำแหน่ง หรือลาออกจากตำแหน่งเสีย ฯลฯ เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งท่านได้รับลิขิตจากสมเด็จสังฆนายกในสมัยนั้น คือ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ที่ตำหนิการทำงานของท่านอย่างรุนแรง ทั้งยังแนะนำให้ท่านลาออกจากคณะสังฆมนตรีเสีย ท่านจึงได้ตัดสินใจไปพบสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายก เพื่อเรียนชี้แจงเรื่องราวการทำงาน และเรื่องต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงนานถึง ๔ ชั่วโมง
แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าตลอดเวลา ๔ ชั่วโมง ที่ท่านพยายามเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายกนั้นกลับไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด หนำซ้ำอาจจะยิ่งเพิ่มไม่พอใจ ไม่เข้าใจกันให้มากขึ้น ดังคำพูดของสมเด็จพระวันรัตที่กล่าวกับพระพิมลธรรม หลังจากที่คุยกันมานานถึง ๔ ชั่วโมงว่า “ท่านพิมลธรรมนี่ คุยกันตั้งแต่ ก–ฮ หาช่องลงกันไม่ได้สักตัวเลย” ๘
เมื่อกลายเป็นเช่นนี้พระพิมลธรรมจึงต้องยึดอุเบกขาธรรมเป็นที่ตั้ง ด้วยการวางเฉยต่อเสียงติฉินนินทาทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดก็คงต้องปล่อยให้เกิด และท่านยังคงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ พัฒนางานด้านศาสนาเหล่านี้ต่อไป โดยไม่สนใจหรือหวั่นไหวต่อคำคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ด้วยเชื่อว่างานเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยในอนาคต และยังผลให้กิจการพระพุทธศาสนาที่มีอยู่แล้วให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้นไปตามลำดับ
การเปลี่ยนแปลงทางอำนาจในคณะสงฆ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงสังฆนายก และคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก และได้เสนอชื่อคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ
ซึ่งในคณะสังฆมนตรีชุดใหม่นั้นไม่ได้มีชื่อของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) รวมอยู่ด้วย ทั้งที่ท่านมีผลงานและเกียรติคุณมากมาย ตลอดจนมีอายุยังไม่มาก ยังพร้อมที่จะบริหารงานต่อไปได้อีกหลายปี (ขณะนั้นท่านมีอายุ ๕๗ ปี) นับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจภายในคณะสงฆ์ในครั้งนี้ ทำให้พระพิมลธรรมได้พ้นออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง สมดังพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่นี้
เมื่อท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางอำนาจใด ๆ ในคณะสังฆมนตรีแล้ว เหตุการณ์ก็น่าจะยุติลงเพียงเท่านั้น แต่เป้าหมายแท้จริงของผู้มีอำนาจระดับสูงในคณะสงฆ์ มิใช่เพียงเพื่อกันพระพิมลธรรมออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีเท่านั้น หากแต่มุ่งที่จะกำจัดออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว ดังที่เคยมีพระภิกษุที่เคารพรักและนับถือพระพิมลธรรมได้มากราบเรียนท่านว่า สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้ทรงตั้งพระทัยและปรารภไว้ว่า “จะทำพระพิมลธรรมให้เป็นพระมหาอาจ และจะทำพระมหาอาจให้เป็นนายอาจในที่สุด” ๙
แม้พระพิมลธรรมจะได้รับทราบความข้อนี้แล้ว แต่ท่านกลับรู้สึกเฉย ๆ เพราะท่านมีความมั่นใจอยู่เสมอในพระพุทธพจน์ที่ว่า “หมู่สัตว์ที่มีชีวิตทุกจำพวก มีกรรมเป็นของแห่งตน” และได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อเรารับสนองกรรมใดก็ตามที่คู่ควรกัน กรรมอันนั้นก็จะหมดสิ้นอายุกันเสียที ถ้าเรามีเจตนาหลบเลี่ยงไม่ยอมรับผลกรรมนั้นแต่โดยดีในครั้งนี้ ครั้งต่อไปก็จะต้องรับผลสนองกรรมนั้นอีกจนได้ ท่านจึงไม่สนใจที่จะป้องกันตัว หรือระวังอะไรเป็นพิเศษ ยังคงมุ่งหน้าปฏิบัติภารกิจที่ยังมีอยู่ต่อไป
ต่อมาไม่นานแผนการที่มุ่งหมายจะกำจัดพระพิมลธรรมก็เริ่มปรากฏให้เห็นจริงดังคาด กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อุฏฺ€ายีมหาเถร สังฆนายก ได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร มีความว่า พระพิมลธรรม วัดมหาธาตุฯ ได้เสพเมถุนทางเวจมรรคกับศิษย์ภายในวัด และทำอัชฌาจารปล่อยสุกกะ ทั้งนี้ทางการตำรวจสันติบาล มีรองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจสันติบาล ได้นำพยานในฐานะผู้เสียหาย ๕ คนมาให้คำยืนยันรับรองคำให้การในคดีดังกล่าวต่อหน้ากรรมการสงฆ์ทีละคน พร้อมกับได้จดบันทึกและลงนามเป็นหลักฐานไว้พร้อมกันนี้แล้ว คณะกรรมการสงฆ์จึงลงความเห็นว่า พระพิมลธรรมต้องศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศเป็นบรรพชิต และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป พร้อมกับขอประทานเสนอให้สมเด็จพระสังฆราช ทรงจัดการในชั้นปกครองต่อไป
โดยไม่คาดฝัน พระพิมลธรรมก็ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๓ ให้ท่านออกเสียจากสมณเพศภายใน ๑๕ วัน ดังมีข้อความว่า “..คณะกรรมการฝ่ายสงฆ์เห็นว่า ท่านถึงศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป ...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่านออกเสียจากสมณเพศและหลบหายตัวไปเสีย ...ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ปรากฏในลิขิตนี้” ๑๐
หลังจากได้รับลิขิตดังกล่าว พระพิมลธรรมตลอดจนคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ จึงได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช และผู้มีอำนาจฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอความเป็นธรรม และขอโอกาสชี้แจงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าวหลายครั้ง แต่กลับไม่เคยได้รับโอกาสแก้ข้อกล่าวหา หรือมีการสอบสวนรับฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
จนกระทั่งวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระสังฆราชทรงอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๖ แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้มีพระบัญชาให้พระพิมลธรรมพ้นออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ฐานประพฤติผิดอย่างร้ายแรง
และในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) สังฆนายกในสมัยนั้นได้เรียกคณะสังฆมนตรีมาประชุมเพื่อลงมติให้ถอดพระพิมลธรรมและพระศาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส ออกจากสมณศักดิ์ และได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอให้ดำเนินการถอดพระพิมลธรรมออกจากสมณศักดิ์ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
ต่อมาวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีถอดพระพิมลธรรม ออกจากสมณศักดิ์ มีความว่า “ด้วยพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งคณะสังฆมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติว่า ไม่สมควรจะได้ดำรงอยู่ในสมณศักดิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ถอดพระพิมลธรรมออกเสียจากสมณศักดิ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...”
เมื่อเหตุการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว พระพิมลธรรมจึงจำต้องยอมรับปฏิบัติตามพระบรมราชโองการนั้น โดยไม่ได้ขัดขืนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี คดีความที่ท่านถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเสพเมถุนวิตถารกับศิษย์ในวัดนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย หากเป็นการใส่ร้ายป้ายสี และสร้างความมัวหมองในการดำรงสมณเพศของท่านอย่างเลวร้าย ท่านจึงจำต้องหาทางแก้ข้อกล่าวหานี้ เมื่อไม่อาจได้รับความเป็นธรรมจากคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่และฝ่ายปกครองบ้านเมือง ท่านจึงต้องขอพึ่งศาลยุติธรรม โดยท่านได้มอบอำนาจให้ศิษย์ดำเนินการฟ้องจำเลยที่ให้การแก่ตำรวจเหล่านั้น เป็นคดีอาญาฐานใส่ร้ายแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท โดยเฉพาะนายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ซึ่งเป็นพยานปากสำคัญที่ให้การแก่ตำรวจ
ในที่สุดนายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ก็ได้สารภาพต่อศาล เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๓ ว่า
“...ข้าพเจ้านายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ได้กราบเรียนต่อศาลรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาจริง และเพื่อรับบาปกรรมที่กระทำผิดไปแล้ว ตามวิธีการทางศาสนา ข้าพเจ้าได้กราบขอขมาโทษและขออโหสิกรรมแต่พระเดชพระคุณท่านต่อหน้าศาลแล้ว จึงขอโฆษณา ณ ที่นี้ว่า พระเดชพระคุณพระอาจ อาสโภ มิเคยได้ประพฤติล่วงละเมิดสิกขาบทเป็นศีลวิบัติ ดังที่ข้าพเจ้าต้องกล่าวใส่ร้ายพระเดชพระคุณท่านแต่ประการใด...”
ถูกจับกุมและบังคับให้สึก
แม้ท่านจะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง ต่อคดีใส่ร้ายป้ายสีถึงขั้นอาบัติปาราชิกมาได้ในภายหลัง แต่บรรดาพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่พยายามเอาความผิดท่านทางพระวินัย จนท่านต้องพ้นออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และถูกถอดสมณศักดิ์นั้น ก็ยังไม่ลดละความพยายามที่จะกำจัดท่าน ให้พ้นออกจากการดำรงสมณเพศให้ได้ ตามประสงค์ที่เขาได้มีมาแต่ต้น ด้วยเหตุนี้ หลังจากเหตุการณ์ที่ท่านถูกถอดสมณศักดิ์ผ่านไปได้เพียงปีกว่า ๆ ท่านก็ต้องเผชิญกับมรสุมแห่งการคุกคามอย่างเลวร้ายจากผู้มีอำนาจเหล่านั้นอีกครั้ง
ในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๐๕ เวลาประมาณ ๑๒.๓๐ น. ได้มีคณะนายตำรวจ อันประกอบด้วย พ.ต.อ. เอื้อ เอมมะปาน พ.ต.ต.สุพันธ์ แรมวัลย์ พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจนครบาล และนายร้อย นายสิบ สารวัตรทหารจำนวนมาก ได้บุกไปล้อมจับกุมท่านถึงกุฏิ โดยตั้งข้อหาว่า ท่านมีการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์ และกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดอาญามีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต
เมื่อท่านได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใหญ่ จนเข้าใจเรื่องโดยตลอดแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้นำตัวท่านไปสอบสวน ณ สันติบาลกอง ๑
และภายในวันเดียวกันนั้นก็ได้มีบันทึกคำสั่งจากสมเด็จสังฆนายก (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ให้จัดการสึกพระภิกษุอาจ อาสโภ เสียจากสมณเพศ เพื่อสะดวกแก่การสอบสวนคดี และเพื่อรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและพระพุทธศาสนาไว้ โดยสมเด็จสังฆนายกได้มอบอำนาจให้พระธรรมวโรดม สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เป็นผู้บังคับบัญชาการให้เป็นไปตามความมุ่งหมาย ซึ่งท่านสังฆมนตรีได้มีบันทึกสั่งการให้เจ้าคณะจังหวัดพระนครดำเนินการสึกพระพิมลธรรม หรือ ภิกษุอาจ อาสโภในขณะนั้นทันที
ด้วยเหตุนี้ ค่ำวันเดียวกันนั้นพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดพระนคร พร้อมด้วยพระธรรมมหาวีรานุวัตร ได้เดินทางไปยังกรมตำรวจสันติบาลกอง ๑ เพื่อสึกพระภิกษุอาจ อาสโภ แต่ท่านได้ร้องขอความเป็นธรรมว่า ขอให้ท่านได้มีโอกาสต่อสู้คดีนี้ในเพศบรรพชิตจนกว่าจะชนะหรือแพ้ในที่สุด แต่เจ้าคณะจังหวัดพระนครก็ไม่สามารถยินยอมได้ตามลำพัง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของท่านที่จะอนุญาตได้ ทั้งการจับสึกครั้งนี้ยังเป็นคำสั่งโดยตรงจากสมเด็จสังฆนายก และท่านสังฆมนตรี
ในที่สุดเมื่อเจรจาตกลงกันไม่ได้ พระพิมลธรรม หรือ ภิกษุอาจ อาสโภ จึงขอโอกาสเขียนคำร้องทุกข์ต่อผู้มีอำนาจ ให้ท่านได้มีโอกาสต่อสู้คดีในเพศบรรพชิต แต่บันทึกที่ได้รับตอบกลับมาในคืนนั้น คือ คำสั่งเฉียบขาดจากสมเด็จสังฆนายก (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ให้สึกท่านเสีย โดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนผันให้แต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจึงได้ทำหนังสือปฏิญาณตนร้องขอความเป็นธรรมเป็นครั้งสุดท้าย มีข้อความว่า
“...กระผมก็จะขอความกรุณาอีก คือไม่ยอมสึกตามข้อบังคับอันมิชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎหมายนั้น จะยอมเอาชีวิตบูชาพระรัตนตรัยไปจนถึงที่สุด ...และกระผมจะยังปฏิญญาณเป็นพระภิกษุในพระศาสนาอยู่ตลอดไป ถึงแม้จะมีผู้ใจโหดร้ายทารุณแย่งชิงผ้ากาสาวพัสตร์ของกระผมไป กระผมก็จะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ชุดอื่นแทน ซึ่งกระผมมีสิทธิตามพระธรรมวินัยและกฎหมาย จึงขอให้ท่านเจ้าคุณผู้รู้เห็นอยู่ ณ ที่นี้โปรดทราบและเป็นสักขีพยานให้แก่กระผม ตามคำปฏิญาณนี้ด้วย”
จากนั้นพระพิมลธรรม ก็นั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้นวม หลับตานับลูกประคำ ใจเจริญพระพุทธคุณ ๑๐๘ บท ปล่อยให้ผู้มีอำนาจทำตามอำนาจ คือ ปล่อยให้เจ้าคณะจังหวัด และพระธรรมมหาวีรานุวัตรเข้ามาเปลื้องผ้าเหลืองออก เมื่อเสร็จสิ้นแล้วพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดและพระธรรมมหาวีรานุวัตรก็เดินทางกลับไป
จำพรรษาที่สันติปาลาราม
นับตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๐๕ เป็นต้นมา พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ต้องจำพรรษาอยู่ในห้องขัง ณ กรมตำรวจสันติบาลกอง ๑ หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้ถูกคุมขังเมื่อพระพิมลธรรมมาจำพรรษาอยู่ว่า สันติปาลาราม สภาวะของพระพิมลธรรม ในตอนนั้นยังคงเต็มไปด้วยความสงบ สบายใจ เป็นปกติอยู่เช่นเดิม มิได้หวั่นไหว ทุกข์ร้อนใจในชะตากรรมที่ประสบแต่อย่างใด ดังที่ท่านได้บันทึกไว้ว่า
“รู้สึกขอบใจพระเจ้าอยู่มาก ที่พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้เรามีน้ำใจเป็นนักกีฬา นับแต่วาระที่นายตำรวจเข้าไปติดต่อที่ห้องรับแขก แจ้งถึงการที่เขาจะมาจับกุมตัว จนกระทั่งถึงในขณะที่กำลังนั่งเขียนหนังสืออยู่นี้ จิตไม่เสื่อมทรุดหรือเรียกว่าไม่ย่นย่อต่ออารมณ์เลย คงเป็นปกติอยู่เช่นเดิม โทมนัสจิตไม่ได้โอกาส แม้แต่อุทธัจจะสหรคตก็ไม่บังเกิด กุศลจิตได้โอกาสมากอยู่ ...ก็ได้แต่ปีติโสมนัสจิตก็เกิดขึ้นว่า เป็นโอกาสที่ดีหาได้ยากที่ประสบอยู่นี้ คนอื่น ๆ นับจำนวนหมื่น ๆ แสน ๆ ไม่เคยได้ประสบเลย เราจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีโชคดีที่สุดและเป็นการประลองกำลังใจไปในตัว...”
ท่านยังเห็นว่าการที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในห้องขังนั้น เป็นโอกาสอันดียิ่งที่ท่านจะได้ใช้เวลาเขียนหนังสือ ศึกษาพระธรรม และเจริญภาวนาอย่างเต็มที่ เพราะไม่ต้องถูกรบกวนด้วยภาระหน้าที่การงานด้านอื่น เหมือนเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งอำนาจอยู่ ท่านกล่าวว่า “...จะอยู่ไหน ก็ใต้ฟ้าเหนือดินเหมือนกัน ทำประโยชน์ได้ทั้งนั้น แม้ในห้องขังเล็ก ๆ เราก็เป็นใหญ่ได้ เพราะใจของเราเป็นอิสระเสรีในขอบเขตของธรรม”
ตลอดเวลาที่ท่านถูกคุมขังอยู่นั้น ท่านได้รักษาความประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยทุกประการ นับได้ว่าท่านเป็นพระที่แท้ คือเป็นพระที่หัวใจ ในยามนี้ความเป็นพระของท่านไม่ได้ขึ้นอยู่กับผ้าเหลืองหรือการให้ตำแหน่งแต่งตั้งของสถาบันใด ๆ หากแต่อยู่ที่ใจที่ยึดมั่นในธรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนผืนแผ่นดินนี้ ท่านก็ดำรงอยู่ในธรรม ยึดธรรมะเป็นที่พึ่งและปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา เมื่อหัวใจที่มั่นคงในธรรม ย่อมมีความหาญกล้าและเบิกบานในธรรมนั้นเป็นธรรมดา ไม่มีภยันอันตรายใด ๆ จะมาทำให้หวาดกลัว เสียกำลังใจไปได้
ศาสพิพากษาพิจารณาคดี
เมื่อคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดดังกล่าวจับกุมพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มาแล้ว ก็พยายามหาหลักฐานเพื่อเอาผิดท่านอย่างเต็มที่ เพื่อจะประมวลให้ได้ว่า พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์ และกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามข้อกล่าวหาที่ได้ยัดเยียดไว้ให้ท่าน แต่การหาหลักฐานเพื่อเอาผิดกับคนที่ไม่ได้ทำความผิดไม่อาจทำได้ง่ายเหมือนการตั้งข้อกล่าวหา เรื่องนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหนักใจไม่น้อย
ทางฝ่ายกลุ่มพระเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นั้น ก็มีการสูญเสียและการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เพราะในกาลต่อมา สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้สิ้นพระชนม์ลง เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์จับกุมพระพิมลธรรมไปคุมขังได้ไม่กี่เดือน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาโณทยมหาเถร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชสืบแทน
แต่กระนั้นคดีของพระพิมลธรรมก็ยังคงยืดยื้ออยู่ ทางกรมตำรวจได้พยายามสืบหาหลักฐานมาสรุปสำนวน จนสามารถยื่นฟ้องต่ออัยการศาลทหารกรุงเทพฯ ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ศาลทหารกรุงเทพฯ จึงได้นัดสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลยหลายครั้งหลายหนเป็นระยะเวลานานยืดยื้อถึง ๓ ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗–๒๕๐๙
ในระหว่างนั้นบรรดาพระภิกษุสามเณร และสาธุชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจำนวนนับพันที่เชื่อมั่นว่า พระพิมลธรรมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความผิดตามข้อกล่าวหาได้พากันยื่นจดหมายร้องขอความเป็นธรรมให้กับท่าน และเรียกร้องให้มีการพิจารณาคดีนี้เพื่อพิสูจน์ความจริงอยู่ไม่ขาดสาย
จนกระทั่งในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๐๙ เวลา ๙.๐๐ ศาลทหารกรุงเทพได้นัดให้โจทก์และจำเลยมาฟังคำพิพากษาตัดสินคดีประวัติศาสตร์ดังกล่าว อนึ่งคำวินิจฉัยพิพากษาคดีนี้ยืดยาวเป็นเอกสารหนาถึง ๖๘ หน้า จึงขอคัดเฉพาะข้อความบางตอน อันเป็นการสรุปผลการตัดสินของศาลไว้ดังนี้
“...ตามที่ศาลได้ประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฟ้อง และกล่าวหามาหลายข้อหา หลายประเด็นนี้ มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ก็ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดๆเลย พอที่จะชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำหรือน่าจะกระทำผิด ...แต่กลับมาต้องถูกออกจากเจ้าอาวาส ถูกออกจากสมณศักดิ์ ถูกจับกุม ถูกบังคับให้สละเพศพรหมจรรย์ นับว่ารุนแรงที่สุดสำหรับพระเถระผู้ใหญ่ที่ปวงชนเคารพนับถือ พระธรรมโกศาจารย์ถึงกลับกล่าวว่า คิดได้อย่างเดียวว่า เกิดขึ้นเพราะความอิจฉาริษยากันในวงการสงฆ์ หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรรมเก่าของจำเลยเท่านั้นเอง ...จำเลยถูกกลั่นแกล้งโดยไม่เป็นธรรมจริง ๆ ไม่ได้กระทำผิดตามกล่าวหา ...ศาลนี้รู้สึกสลดใจและเห็นใจจำเลย แต่เชื่อว่าจำเลยซึ่งอบรมอยู่ในพระศาสนามานาน คงจะทราบซึ้งดีในอุเบกขาญาณที่ว่า สัตว์ทั้งปวงมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะเป็นกรรมทายาทรับผลของกรรมนั้น และคงจะตั้งอยู่ในคุณธรรมอันเป็นลักษณะของบัณฑิตในพระพุทธศาสนาสืบไป
อาศัยเหตุผลและดุลยพินิจที่ได้วินิจฉัยมา จึงพร้อมกันพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป”
ในครั้งนั้นพระภิกษุสามเณร และบรรดาพุทธศาสนิกจำนวนนับพันที่ไปร่วมฟังคำพิพากษาตัดสินคดีครั้งสำคัญนี้ ต่างพากันชื่นชมยินดีอนุโมทนาสาธุการต่อพระพิมลธรรม ในการที่ท่านได้พ้นจากมลทินข้อกล่าวหาอันฉกรรจ์นั้น ทั้งนี้รวมระยะเวลาที่ท่านถูกคุมขังอยู่ในสันติบาลโดยไม่มีความผิดใด ๆ เป็นเวลานานถึง ๕ พรรษา
ส่วนตัวท่านเองนั้นทันทีที่สิ้นคำพิพากษาของศาล ก็ได้ผลัดเปลี่ยนนุ่งห่มผ้าไตรจีวรสีกลักที่ได้เตรียมมาให้พร้อมแล้วทันที ณ ศาลทหารกรุงเทพฯ กระทรวงกลาโหมนั่นเอง จากนั้นท่านก็ได้กลับมาพำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ ดังเดิม ท่ามกลางความชื่นชมยินดีและการยอมรับของคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ท่านได้กลับมาจำพรรษาและปฏิบัติศาสนกิจอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นี้ ท่านก็ได้ช่วยทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มกำลังเกือบเหมือนเดิมแทบทุกอย่าง ท่านได้ช่วยอุปถัมภ์การศึกษาพระอภิธรรมปิฎกและการวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยดีตลอดมา ทั้งยังได้เดินทางไปเทศน์ ปาฐกถา และอบรมศีลธรรมแก่ภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ
แม้ท่านจะได้รับยอมรับนับถือ และได้รับการเคารพยกย่องจากคณะศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยดี ไม่ต่างไปจากเมื่อครั้งที่ยังคงครองสมณศักดิ์และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ แต่ท่านก็มิได้ต้องการจะกลับคืนสู่สมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯอีก เพราะได้รู้อย่างเท่าทันแล้วว่าตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงสิ่งสมมติที่โลกแต่งตั้งให้เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จีรังยั่งยืนแต่ประการใด เท่าที่ท่านได้ถูกโลกแต่งตั้งตำแหน่งสมมติมาแล้ว และรับใช้โลกมาตามสมควรแก่เหตุแล้วนั้น ก็เป็นการเพียงพอและสมควรแก่เวลาแล้ว ท่านต้องการจะใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นปฏิบัติธรรม บำเพ็ญอัตหิตประโยชน์ ตาม
วิสัยของชาวพุทธต่อไปอย่างสงบ
อย่างไรก็ดีบรรดาสานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ได้ยืนยันที่จะเรียกร้องขอความเป็นธรรม ให้แก่ท่านและท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภณ วัดราชาธิวาสวิหาร ตลอดมา แม้ว่าพระพิมลธรรมจะได้เคยทักท้วงไว้แล้วก็ตาม แต่บรรดาสานุศิษย์กลับโต้แย้งอย่างมีเหตุผลว่า สิ่งกระทำลงไปนี้ไม่ได้กระทำเพื่อผลประโยชน์ของท่าน หากแต่เป็นการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่สังคมมนุษยชาติต่างหาก หากสังคมมนุษยชาติไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว ก็ยากที่จะหาความสันติสุขได้ ทั้งนี้จำเป็นต้องกราบขออภัยท่านอย่างมาก ที่จำเป็นต้องขออาศัยกรณีของท่านขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานในการดังกล่าว
แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคและการขัดขวางนานัปการ จากกลุ่มพระเถระชั้นผู้ใหญ่บางกลุ่ม ที่ยังทรงอำนาจอยู่ในคณะสงฆ์ กระนั้นบรรดาสานุศิษย์ก็ได้พยายามดำเนินการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ให้แก่พระพิมลธรรมเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าให้คืนสมณศักดิ์ให้ท่านและพระศาสนโศภณดังเดิมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป
ต่อมา ก็ได้มีการประกาศแต่งตั้งให้พระพิมลธรรม กลับคืนสู่ตำแหน่งกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ และได้กลับคืนสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ดังเดิม ในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้รวมระยะเวลานับตั้งแต่ที่ท่านต้องต่อสู้กับอำนาจอยุติธรรม จนถึงวันที่ได้รับสมณศักดิ์และตำแหน่งกลับคืนดังเดิม เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๒๑ ปี
นับได้ว่าเรื่องราวการยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจอธรรมของพระพิมลธรรม บนพื้นฐานแห่งสันติวิธีในพุทธศาสนา ควรได้รับการจดจารจารึกไว้เป็นอนุสรณ์และเป็นตัวอย่างแก่สาธุชนรุ่นหลังสืบไป ทั้งยังอาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้มีอำนาจทางศาสนจักรและอาณาจักรได้พึงสังวร และเจริญโยนิโสมนสิการในการใช้อำนาจของตนในทางที่ชอบธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๑ แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๔๙–๑๕๐
๒ อ้างแล้ว, น. ๑๕๐
๓ พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๖–๗
๔ แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๕๗–๑๖๓
๕ พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๕
๖ อ้างแล้ว, น. ๕
๗ อ้างแล้ว, น. ๕
๘ แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๘๐
๙ พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๙
๑๐ อ้างแล้ว, น. ๑๐
อย่างไรก็ดีบรรดาสานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ได้ยืนยันที่จะเรียกร้องขอความเป็นธรรม ให้แก่ท่านและท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภณ วัดราชาธิวาสวิหาร ตลอดมา แม้ว่าพระพิมลธรรมจะได้เคยทักท้วงไว้แล้วก็ตาม แต่บรรดาสานุศิษย์กลับโต้แย้งอย่างมีเหตุผลว่า สิ่งกระทำลงไปนี้ไม่ได้กระทำเพื่อผลประโยชน์ของท่าน หากแต่เป็นการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่สังคมมนุษยชาติต่างหาก หากสังคมมนุษยชาติไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว ก็ยากที่จะหาความสันติสุขได้ ทั้งนี้จำเป็นต้องกราบขออภัยท่านอย่างมาก ที่จำเป็นต้องขออาศัยกรณีของท่านขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานในการดังกล่าว
แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคและการขัดขวางนานัปการ จากกลุ่มพระเถระชั้นผู้ใหญ่บางกลุ่ม ที่ยังทรงอำนาจอยู่ในคณะสงฆ์ กระนั้นบรรดาสานุศิษย์ก็ได้พยายามดำเนินการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ให้แก่พระพิมลธรรมเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าให้คืนสมณศักดิ์ให้ท่านและพระศาสนโศภณดังเดิมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป
ต่อมา ก็ได้มีการประกาศแต่งตั้งให้พระพิมลธรรม กลับคืนสู่ตำแหน่งกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ และได้กลับคืนสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ดังเดิม ในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้รวมระยะเวลานับตั้งแต่ที่ท่านต้องต่อสู้กับอำนาจอยุติธรรม จนถึงวันที่ได้รับสมณศักดิ์และตำแหน่งกลับคืนดังเดิม เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๒๑ ปี
นับได้ว่าเรื่องราวการยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจอธรรมของพระพิมลธรรม บนพื้นฐานแห่งสันติวิธีในพุทธศาสนา ควรได้รับการจดจารจารึกไว้เป็นอนุสรณ์และเป็นตัวอย่างแก่สาธุชนรุ่นหลังสืบไป ทั้งยังอาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้มีอำนาจทางศาสนจักรและอาณาจักรได้พึงสังวร และเจริญโยนิโสมนสิการในการใช้อำนาจของตนในทางที่ชอบธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๑ แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๔๙–๑๕๐
๒ อ้างแล้ว, น. ๑๕๐
๓ พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๖–๗
๔ แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๕๗–๑๖๓
๕ พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๕
๖ อ้างแล้ว, น. ๕
๗ อ้างแล้ว, น. ๕
๘ แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๘๐
๙ พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๙
๑๐ อ้างแล้ว, น. ๑๐
เอกสารอ้างอิง
๑. พิมลธรรม. ๒๕๒๖. ผจญมาร. กรุงเทพฯ: เทพนิมิตการพิมพ์.
๒. มหาพล. ๒๕๒๑. พระพิมลธรรมกับเอ็ม. อาร์. เอ. กรุงเทพฯ: หจก. การพิมพ์พระนคร.
๓. ส. ศิวรักษ์. ๒๕๔๒. ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัยจากมุมมองของ ส. ศิวรักษ์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
๔. แสวง อุดมศรี. ๒๕๒๘. ศึกสมเด็จ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.