วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 17, 2558

ธุรกิจรอเก้อ-ลงทุนรัฐแป้ก เศรษฐกิจรากหญ้ากระตุ้นไม่ขึ้น - Bloomberg: Thailand Posts Slowest Growth in Three Years on Exports Drop




ธุรกิจรอเก้อ-ลงทุนรัฐแป้ก เศรษฐกิจรากหญ้ากระตุ้นไม่ขึ้น

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 ก.พ. 2558

"ลงทุนภาครัฐ" เครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี"58 ไม่ขยับ-เบิกจ่ายล่าช้า ส่งผลภาคธุรกิจไม่กล้าลงทุนใหม่ เอกชนร้องขอภาครัฐเร่งเครื่องสร้างความชัดเจนการลงทุน ด้าน รัฐบาลคาดโทษ "ปลัด-อธิบดี" เบิกจ่ายล่าช้า "ทนง พิทยะ" ชี้เศรษฐกิจชนบททรุดหนักจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

เอกชนยังชะลอลงทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรายงานผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือน ม.ค. 2558 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ภาวะธุรกิจในไตรมาส 1/58 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในด้านการลงทุนภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน เมื่อพิจารณาจากความต้องการขอสินเชื่อที่แม้จะปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในอัตราชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า และความต้องการสินเชื่อ

ส่วนใหญ่ยังเป็นสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น สอดคล้องกับความเห็นของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ยังชะลอการลงทุนเพื่อรอดู ความสามารถในการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของภาครัฐที่จะส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ ประกอบการและการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ

อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในภาคก่อสร้างและจำนวนโครงการที่ได้ รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่ม ธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ มีแผนการลงทุนสร้างโรงงานใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในเดือนธันวาคม 2557 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยพบว่าการลงทุนเครื่องจักรชะลอลงตามการนำเข้าสินค้าทุน อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม พลังงานหมุนเวียน ค้าปลีกค้าส่ง และอสังหาริมทรัพย์ ยังมีการลงทุนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในประเทศ

รายงานระบุว่า ภาคธุรกิจยังไม่เพิ่มการลงทุนใหม่มากนัก เพราะรอประเมินความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้น ฐานของภาครัฐดังนั้นความต่อเนื่องและความชัดเจนของนโยบายภาครัฐจะเป็นปัจจัย สำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กับภาคธุรกิจ

อุปโภคบริโภคไม่ฟื้นตัว

ขณะ ที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเดือนธันวาคม 2557 พบว่าชะลอจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงและราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำทำให้ครัว เรือนระมัดระวังการใช้จ่าย สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคตของผู้บริโภคที่ทรงตัวต่อ เนื่อง ประกอบกับความระมัดระวังของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้การใช้จ่ายในสินค้าคงทนโดยเฉพาะในรถยนต์ยังไม่ฟื้น รวมทั้งการใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทนที่อ่อนแรงลง หลังจากปรับตัวดีขึ้นก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มในช่วงต้นปี 2558 จะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมากที่จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อภาคครัว เรือน

"ประสาร" ชี้ค่อยเป็นค่อยไป

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเริ่มมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เรื่องการอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการลงทุนเริ่มกลับมาเล็กน้อย

ขณะที่ภาคการส่งออกเป็นส่วนที่ยัง ไม่ดี โดยคาดว่าครึ่งแรกของปี"58 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี จะขยายตัวเฉลี่ยกว่า 4% ส่วนครึ่งปีหลังน่าจะเห็นการเติบโตกว่า 3% ทำให้ทั้งปีน่าจะเติบโตตามเป้าหมายที่ ธปท.ตั้งไว้ 4%

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไปจะต้องพิจารณาข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ จะประกาศในวันจันทร์ที่ 16 ก.พ.นี้ก่อน ซึ่งจะมีรายละเอียดของแต่ละภาคส่วนเป็นสำคัญ

นายประสารกล่าวว่า ในส่วนข้อกังวลเรื่องภาวะเงินฝืดที่อาจจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของประชาชนที่ มีการระมัดระวังเรื่องของการใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อรอดูทิศทางของเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของความรู้สึก แต่เวลาที่ ธปท.พิจารณาก็จะมองในภาพรวมเป็นหลัก ซึ่งจะมองจากการอุปโภคบริโภค โดยเท่าที่รับรู้ข้อมูลก็มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น แม้จะไม่ได้รวดเร็วมากนัก

ด้านนายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงทิศทางการปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจปี"58 ว่า มีแนวโน้มเติบโตหากเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยสินเชื่อธุรกิจที่ยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะกลุ่มสาธารณูโภคที่ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องจากที่ยังคงมีความ ต้องการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้า เช่นเดียวกับภาคก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ที่ยังเติบโตได้

"แม้สัญญาณจะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ต้องติดตามการลงทุนของภาครัฐด้วยว่าเป็นอย่างไร ขณะนี้ยังเร็วไปที่จะพูดว่าสินเชื่อธุรกิจจะโตหรือไม่"

เบิกจ่ายช้าคาดโทษปลัด-อธิบดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 ที่ยังล่าช้าส่งผลต่อเนื่องต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากเงินหมุนเวียนเข้าไปในระบบน้อย ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการเข้มข้นในการเร่งรัดผลักดันให้เกิดการใช้จ่ายงบฯเป็นพิเศษ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน พล.อ.ประวิตร ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ คสช. ได้สั่งการให้หน่วยงานราชการทุกแห่งเร่งรัดทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างให้แล้ว เสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้า และให้สำนักงบประมาณรายงานความคืบหน้าต่อ ครม. และ คสช.

ขณะเดียวกัน ให้ 9 หน่วยงาน ประกอบด้วยกรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้รับจัดสรรงบฯรายจ่ายด้านการลงทุนจำนวนมาก รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง และจัดทำแผนเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯเสนอ ครม.พิจารณา วันที่ 18 ก.พ.นี้

พร้อมกับมอบหมายให้ รองนายกฯและ รมต.แต่ละกระทรวงไปเร่งรัดหน่วยงานในการกำกับดูแลให้เร่งเบิกจ่ายงบฯให้เป็น ไปตามเป้าที่วางไว้ หากหน่วยงานใดไม่เร่งรัดติดตามและการเบิกจ่ายยังล่าช้า ผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ระดับอธิบดีขึ้นไป จนถึงรองปลัดกระทรวง ปลัดกระทรวง จะต้องรับผิดชอบ และจะมีผลต่อการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวด้วย

ยอดเบิกจ่าย 4 เดือนแรกต่ำเป้า

รายงาน ข้อมูลจากกระทรวงการคลังพบว่า ช่วงต้นปีงบประมาณ 2558 (ต.ค. 2557-ม.ค. 2558) มียอดเบิกจ่ายดังนี้ 1.เงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี 2548-2556 มียอดเบิกจ่ายที่ 16,790.5 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินที่มี 24,892.4 ล้านบาท 2)เงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี 2557 มียอดเบิกจ่าย 78,786 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินวางไว้ที่ 147,050.8 ล้านบาท

3)งบฯลงทุนปีงบประมาณ 2558 เบิกจ่ายได้ 58,082 ล้านบาท ขณะที่มีการตั้งเป้าหมายจะเร่งเบิกจ่ายในไตรมาสแรก 129,522.2 ล้านบาท และ 4)งบฯกลางที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีและงบฯไทยเข้มแข็งปี 2552 ส่วนที่เหลือ ซึ่งพบว่ามีการเบิกจ่าย1,426 ล้านบาท จากวงเงินรวมที่มี 23,000 ล้านบาท

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การใช้จ่ายภาครัฐในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 ที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายในส่วนงบฯลงทุนยังต่ำ เนื่องจากเป็นเรื่องเทคนิคที่ต้องมีการปรับงบฯลงทุนบางส่วนไปเป็นงบฯประจำ แต่หากมองภาพรวมทั้งงบประมาณ เงินนำส่งรัฐวิสาหกิจ เงินจากโครงการไทยเข้มแข็ง พบว่าถึงสิ้นเดือน ธ.ค. มีการเบิกจ่ายกว่า 9 แสนล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นโมเมนตัมให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีในไตรมาสแรกจากนี้ไป

"เพราะจะมีเงินออกใหม่อีกหลายตัว โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐในด้านคมนาคม ถึงสิ้นปีจะมีเม็ดเงินออกมาราว 1 แสนล้านบาท" นายวิสุทธิ์กล่าว

สำหรับ การใช้จ่ายบริโภคเอกชนนั้น หากพิจารณาจากตัวเลขภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการบริโภคในเดือน ม.ค. จัดเก็บได้ 4.2 หมื่นล้านบาท หากคำนวณเป็นตัวเลขการใช้จ่ายด้านบริโภคที่เกิดขึ้นก็จะอยู่ที่กว่า 5 แสนล้านบาท ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) มองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงกว่าในรอบหลายไตรมาสที่ผ่านมา

"ทนง" ห่วง "เศรษฐกิจชนบท"

นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2558 นี้ คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตราว 3-3.5% หากวิเคราะห์ในรายละเอียดจะพบว่า เศรษฐกิจในเมืองใหญ่ยังมีทิศทางการขยายตัวที่ดี เนื่องจากมีสัดส่วนของประชากรที่มีรายได้สูงช่วยขับเคลื่อน

ภาคการบริโภค แต่เศรษฐกิจภาคชนบทจะค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงอย่างมาก ขณะที่รัฐบาลชุดนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้วิธีให้เงินอุดหนุน ซึ่งเป็นแนวทางที่รัฐบาลชุดก่อนหน้าทำได้ ส่งผลให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจไม่ขยายตัวเท่าที่ควร

"เศรษฐกิจชนบท กำลังมีปัญหาเพราะราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงอย่างมาก เราต้องหาทางแก้ ไม่อย่างนั้นจะติดกับดักรายได้ ซึ่งหมายถึง ทุกคนในประเทศมีงานทำ การว่างงานในประเทศมีน้อย แต่เศรษฐกิจกลับไม่โต ทั้งที่ความจริงถ้าทุกคนมีงานทำ เราควรจะโตอย่างน้อย 6-8% แต่นี่เรากลับโตแค่ 1-3% เท่านั้น" นายทนงกล่าวว่า

อสังหาฯรายกลางรีวิวแผนลงทุน

นายปรีชา กุลไพศาลธรรม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทเปี่ยมสุข ผู้พัฒนาโครงการจัดสรรแบรนด์บ้านเปี่ยมสุข เปิดเผยว่า บริษัทได้รีวิวแผนลงทุนปี 2558 เนื่องจากกำลังซื้อที่อยู่อาศัยยังฟื้นตัวช้า และการเบิกจ่ายงบฯภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่เห็นผลชัดเจน จากเดิมมีแผนเปิดโครงการใหม่ปีนี้ 4 โครงการ ขณะนี้ปรับลดเหลือ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการทาวน์โฮม3 ชั้น ทำเลกาญจนาภิเษก-พระราม 5 มูลค่า700 ล้านบาท และโครงการบ้านแฝดทำเลทางด่วนศรีสมาน มูลค่า 400-500 ล้านบาท

สำหรับ อีก 2 โครงการ คือ ทาวน์โฮมทำเลรัตนาธิเบศร์ มูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท และทาวน์โฮมทำเลบางบัวทอง มูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ตัดสินใจชะลอไปเป็นต้นปีหน้า ยกเว้นกำลังซื้อช่วงครึ่งปีแรกจะกลับมาฟื้นตัวชัดเจน อาจเลือกเปิดขายอีก 1 โครงการ

ด้านนายศุภชัย แจ่มมโนวงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท เซ็นจูรี่ 21 (ประเทศไทย) จำกัดที่ปรึกษาการลงทุนและรับบริหารงานขายโครงการอสังหาฯ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ โครงการคอนโดฯบัดเจ็ท ไบร์ท บนถนนจรัญสนิทวงศ์ได้ชะลอเปิดตัวโครงการเป็นทางการจากไตรมาส 1 เป็นไตรมาส 2 เพื่อรอดูความชัดเจนเศรษฐกิจ นอกจากนี้มีโครงการคอนโดฯอีก 1-2 โครงการที่บริษัทกำลังเจรจารับบริหารงานขาย แต่ยังไม่เซ็นสัญญารับงานเลื่อนเปิดตัวจากต้นปีเป็นครึ่งปีหลัง

เอกชนขอความชัดเจนลงทุนรัฐ

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวว่า การที่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐล่าช้าหรือไม่ชัดเจนก็จะส่งผลต่อ บรรยากาศการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งกลุ่มห้างสรรพสินค้าก็จะได้รับผลกระทบตามมาเช่นกัน ดังนั้นโครงการลงทุนของภาครัฐควรจะมีความชัดเจนในไตรมาส 3/2558 เพื่อจะเห็นการลงทุนและเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบได้ภายในปีหน้า

ด้าน นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) และรองประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันกำลังการผลิตโดยเฉลี่ยของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่เพียง 60% เท่านั้นซึ่งยังไม่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่าภาคธุรกิจก็ยังไม่มีการลงทุนเพิ่ม

ขณะที่การบริโภคภายในประเทศที่ยังชะลอตัว ในส่วนของศรีไทยฯจึงเน้นขยายการลงทุนไปในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งการผลิตของบริษัทส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าส่งออก ส่วนที่รองรับตลาดในประเทศค่อนข้างน้อย

อย่างไรก็ตาม มองว่าภาครัฐควรทำให้การลงทุนของภาครัฐมีความชัดเจน เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน การบริโภคภายในประเทศกลับมา

7-11 มองความหวังครึ่งปีหลัง

นาย ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวว่าสภาพตลาดและเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะดีขึ้น เชื่อว่าภาคธุรกิจยังเดินหน้าลงทุน โดยการเปิดเออีซีก็เป็นโอกาสที่ดี ทำให้เกิดการลงทุน ซึ่งไทยก็จะได้รับโอกาสจากการเป็นศูนย์กลางภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในแง่ของจิตวิทยาก็มีผลบ้าง คือมองว่าเศรษฐกิจซึม ก็อาจจะทำให้ธุรกิจและผู้บริโภคยังไม่ต้องการใช้เงิน

"เซเว่นฯจะขยาย สาขาใหม่ 700 สาขา จากที่มีอยู่ 8,100 สาขา ปีนี้น่าจะโต 11-12%ปลายปีที่แล้วเราไม่รู้ว่าน้ำมันจะลดลงมกราคมที่ผ่านมาก็ไม่รู้ว่า เงินยูโรจะอ่อนค่าลงมาก มีผลต่อต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวลดลง บรรยากาศตลาดกำลังซื้อลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่าเมืองไทยไม่ดี ผมไม่ได้มองทั้งปี แต่มองอีก 6 เดือนจะเปลี่ยนไปดูครึ่งปีหลังว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง"
 ooo



An employee fill tubes of VV Vera Co. One & All Traveler shower gel on the production line of the Vera Allied Manufacturing Co. factory in Rangsit Thanyaburi, Pathum Thani province, Thailand. Gross domestic product rose 0.7 percent last year, the National Economic and Social Development Board said in Bangkok on Monday, matching the median estimate of 15 analysts in a Bloomberg survey. Photographer: Dario Pignatelli/Bloomberg

by Suttinee Yuvejwattana
Source: Bloomberg.com
February 15, 2015

(Bloomberg) -- Thailand recorded its slowest economic growth in three years in 2014 as political unrest curbed local consumption, while lower agricultural prices and cooling global demand hurt exports.

Gross domestic product rose 0.7 percent last year, the National Economic and Social Development Board said in Bangkok on Monday, matching the median estimate of 15 analysts in a Bloomberg survey. GDP grew 2.3 percent in the three months through December from a year earlier, compared with the median of 2 percent in a separate survey.

Prayuth Chan-Ocha, the army chief who became prime minister after a coup in May, is struggling to accelerate budget spending after an $11 billion stimulus package failed to spur local demand. Exports fell for a second consecutive year for the first time in at least two decades, and the International Monetary Fund forecasts only a “modest” economic recovery this year as lower oil spurs consumption.

“Fiscal policy clearly needs to lead to jumpstart the economy,” said Weiwen Ng, a Singapore-based analyst at Australia & New Zealand Banking Group Ltd. “The marginal boost from trimming the interest rate from already low levels is minimal,” even as the sequential momentum of the economy is improving, he said.

The baht was little changed at 32.60 against the dollar as of 11:15 a.m. in Bangkok. The yield on government bonds due 2025 rose seven basis points to 2.855 percent, set for the biggest increase in almost a month, while the stock index gained 0.1 percent.
Risk Factors

The economy grew at the slowest pace last year since 2011, when the worst floods in decades shuttered thousands of factories. Consumption expanded 2.4 percent last quarter from a year earlier, compared with 1.8 percent in the previous three-month period, while investment climbed 3.2 percent from 2.9 percent, data showed.

The NESDB maintained its 2015 forecast for expansion at 3.5 percent to 4.5 percent while cutting its export growth estimate to 3.5 percent from 4 percent.

“Risk factors that we are facing are lower agricultural prices, uncertainties in the global economy, weakening key currencies and rising real interest rates,” said NESDB Secretary General Arkhom Termpittayapaisith. “But we believe supporting factors still outweigh the risk factors,” and first-quarter growth should be higher, he said.

The Bank of Thailand held its benchmark interest rate at 2 percent for a seventh straight meeting last month, and has said there is a growing probability that headline inflation may miss its target because of lower oil prices.

The low inflation rate has led to higher real interest rates, Arkhom said. “Monetary policy should be supportive to economic recovery,” he said, adding that businesses still need help with funding costs.
...

Related story from Bloomberg:

How Much Did Thailand’s Military Coup Impact GDP?