วันพุธ, มีนาคม 15, 2560

คนสูญหายและการทรมานในประเทศไทย





ในห้องประชุมเล็ก (Side event ) ของการประชุมใหญ่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน มีการอภิปรายพิเศษหัวข้อ คนสูญหายและการทรมานในประเทศไทย จัดโดยคณะกรรมการนิติศาสตร์นานาชาติ มีคุณอังคณา นิลไพจิต กรรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมอภิปรายด้วย

.....

เช้านี้ อ.จรัล ดิษฐาอภิชัยไปพบเจ้าหน้าที่ของGuillaume Pfeiffle ผู้เขียนรายงานพิเศษด้านเสรีภาพแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม ของสำนักงานข้าหลวง สหประชาชาติ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวไผ่ ดาวดิน เธอบอกว่า กำลังติดตามคดีนี้อย่างใกล้ชิด รู้ว่า เมื่อวาน ศาลไม่ให้ประกันตัวเป็นครั้งทึ่7


http://www.tlhr2014.com/th/?p=3718


ที่มา FB

Jaran Ditapichai

ooo

บทความเก่า 2558

ครบ 11 ปี อุ้มหาย 'สมชาย นีละไพจิตร'

Fri, 2015-03-13 12:24
ที่มา ประชาไท

ย้อนกลับไปเมื่อ 11 ปี ก่อน วันที่ 12 มีนาคม 2547 บริเวณหน้าปากซอยรามคำแหง 69 เวลา 20.30 น. รถฮอนด้า ซีวิค สีเขียวของทนายสมชายถูกเฉี่ยวชนโดยรถเก๋งสีดำที่ขับตามมา ขณะวิ่งอยู่บนถนนรามคำแหงมุ่งหน้าสู่ลำสาลี เมื่อทนายสมชายได้จอดรถลงมาพูดคุยกับเจ้าของรถคันข้างหลัง ทนายสมชายถูกชายฉกรรจ์ที่อยู่ในรถคันหลังใช้กำลังบังคับขึ้นรถ ในขณะที่รถของเขาถูกชายอีกคนขับออกไป ท่ามกลางผู้คนพลุกพล่าน ทนายสมชายพยายามร้องขอให้คนช่วยเหลือ หลังจากรถสีดำถูกขับออกไป ก็ไม่มีผู้ใดพบทนายสมชายอีกเลย





เมื่อวันที่ 12 มี.ค.58 เวลา 13.00 น. บริเวณหน้าปากซอย รามคำแหง 69 มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมีการจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 11 ปี อุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร “รำลึกถึงคนที่หายไป เพื่อปกป้องคนทุกคน” โดยการเริ่มกิจกรรม “ปักหมุดที่นี่มีคนหาย” บริเวณหน้าปากซอย รามคำแหง 69 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พบเห็นทนายสมชายเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงให้ผู้ที่สัญจรไปมาและผู้คนในสังคมไทยตระหนักว่า ความจริงการสูญหายของ ทนายสมชาย นีละไพจิต ยังไม่ได้รับการเปิดเผย ดังนั้นจึงยังถือว่าเป็นผู้สูญหาย และบริเวณดังกล่าวจึงเป็นสถานที่แห่งสัญลักษณ์ว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงดำเนินอยู่ในบริเวณดังกล่าว ทำให้สาธารณะชนไทยยังคงตกอยู่ในความไม่แน่นอนของการละเมิดสิทธิมนุษยชน

นางอังคณา นีละไพจิตร กล่าวว่าจุดประสงค์ของการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้เพื่ออยากบอกกับสังคมว่าผ่านไป 11 ปี คดียังไม่มีความคืบหน้า ผู้กระทำผิดยังคงลอยนวน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สังคมควรตระหนักร่วมกันว่าหากยังคงละเลย เพิกเฉย และไม่ร่วมกันรณรงค์เพื่อแจ้งปัญหาการลักพาตัว การบังคับสูญหายในสังคม ทุกคนนั้นก็สามารถตกเป็นเหยื่อได้





จากนั้นเริ่มกิจกรรม “สมชายไม่ใช่คนแรกและคนสุดท้าย” เป็นกิจกรรมชูป้ายรูปใบหน้าของผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทยและประเทศลาว เพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงความรุนแรงและเรื้อรังของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

อังคณา กล่าวต่อว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีกรณีบังคับสูญหายทั้งหมด 40 กรณี และผู้สูญหาย 59 ราย ช่วงปีที่ผ่านมากรณีของ บิลลี่หรือพอละจี เป็นกรณีที่ 60 ที่หายไป ส่วนนี้เป็นเฉพาะกรณีที่ญาติสามารถที่จะเปิดเผยตัวได้ แต่ยังมีกรณีอีกมากมายที่ญาติยังหวาดกลัวไม่กล้าที่จะเปิดเผยข้อมูล

อังคณาระบุว่า มีผู้สูญหายทางภาคเหนือตามชายขอบ ภาคอีสาน ผู้สูญหายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือผู้ที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงของการปราบปรามการก่อการร้าย รัฐบาลที่ผ่านมามีมติเยียวยาครอบครัวผู้สูญหายในภาคใต้ แต่ยังไม่กระจายไปถึงครอบครัวผู้สูญหายทางภูมิภาคอื่น จึงอยากเรียกร้องให้รัฐจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในเรื่องความยุติธรรม การเปิดเผยความจริง และการฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อ กรณีคนหายกรณีอื่นหากพูดถึงภาคเหนือคือกลุ่มชาติพันธุ์ คดีจะไม่มีความคืบหน้า บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความ ไม่เป็นคดีไม่มีการตามหาตัว ทางภาคใต้ก็เช่นกัน มีหลายคนที่เข้าแจ้งความแต่ไม่สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ โดยส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏตัวว่าใครเป็นผู้ลักพาตัวไป

“เราขอเรียกร้องให้รัฐเรียกคืนความเป็นธรรมและคืนศักดิ์ศรีให้กับทุกคน ต้องมีกฏหมายที่ดี ต้องยุติการงดเว้นโทษ ต้องไม่ปกป้องเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิด”อังคณากล่าว

ถัดมาสุดท้ายเป็นกิจกรรมอ่านคำประกาศและความรู้สึกของครอบครัวทนายสมชาย และผู้เข้าร่วมเพื่อแสดงเจตจำนงร่วมกันในการยุติการบังคับบุคคลสูญหายในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีบุตรสาวเป็นผู้อ่านสารโดยมีความว่า

“เรา... ในฐานะครอบครัว ในฐานะเพื่อนร่วมสังคม ได้มายืนที่นี่เพื่อบอกสังคมไทยว่า ที่นี่เมื่อ 11 ปี ที่ผ่านมา บุคคลซึ่งเป็นพ่อ เป็นสามี เพื่อนร่วมสังคมและเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม ถูกลักพาตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ วันนี้ 11 ปีผ่านไป สมชาย นีละไพจิตร ยังคงเป็นบุคคลสูญหาย ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมๆกับยังมีเพื่อนร่วมสังคมอีกจำนวนมากยังถูกบังคับสูญหายและร่ำร้องให้เกิดความเกิดความจริงและความยุติธรรม เราเรียกร้องห้หน่วยงานรัฐผู้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการให้วามคุ้มครองบุคคลทุกคนต้องยุติการปกป้องผู้กระทำความผิด และคืนความเป็นธรรม คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่ สมชาย นีละไพจิตร ครอบครัว และเหยื่อทุกคน รัฐที่ประชาชนให้ความชอบธรรมต้องไม่เป็นผู้นิ่งเฉยให้ผู้กระทำความผิดลอยนวลโดยปล่อยให้สามัญชนอธรรมอีกต่อไป เราขอเรียกร้องให้สามัญชนลุกขึ้นปกป้องตนเองโดยการเรียกร้องความจริงอย่างไม่ย่อท้อ จนกว่าเราจะได้มาซึ่งมาตรฐานในการอยู่ร่วมกันโดยเคารพศักดิ์ศรีความเป็นนุษย์ร่วมกันกับสามัญชนทั่วโลกที่ยืนหยัดเรียกร้องการแสวงหาความจริงและความยุติธรรม”