อ่านอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
เขียนถึง อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
แล้ว น้ำตาซึม
จากเพจอาจารย์ชาญวิทย์ Charnvit Kasetsiri
Somsak was an outstanding student,
a good academic and a good teacher.
สมศักดิ์ เป็นนักศึกษาเก่ง เป็นนักวิชาการ และอาจารย์ที่จริงจ้ง
เขาพูดตรงตามวิชาชีพ เขาไม่เข้าหูคน
เขาถูกคุกคาม ถึงชีวิต เพราะพูดในที่แจ้ง
ในสิ่งที่คนส่วนใหญ่พูดในที่ลับ แอบๆ หลบๆ ซ่อนๆ
การขาดงานสอน การไม่ปรากฏตัว หลังรัฐประหาร 22 พค. 2557
เป็นสิ่งที่ทั้งนายกสภาฯ นรนิติ กับ อธิการฯ สมคิด
ที่เคยรู้เคยเห็น เคยผ่านอาชญากรรมรัฐ 14 และ 6 ตุลา
น่าจะสำเหนียกได้
น่าจะรู้ว่า ผู้หลักผู้ใหญ่รุ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นป๋วย ปรีดี นงเยาว์
เขา/เธอ ทำอะไร และไม่ทำอะไรกันบ้าง
อ.รุ่นนั้น ของ อย่างทวี อย่างนิตยา อย่างชาญวิทย์ มีทางออกอย่างไร
ถ้าไม่ใจดำอำมหิต เป็นวัวลืมตีน ก็คงไม่จัญไร ได้ขนาดนี้
หวังว่าขุนศาลตุลาการ คงไม่หูหนวก ตาบอด อย่างผู้บริหาร มธ.
ปล่อยสมศักดิ์เขาไปเถิด ครับ
สมศักดิ์เขาเลือกทางเดินของเขาแล้ว
สมศักดิ์ได้จากแผ่นดินของคนดีที่ใจคด ไปแล้ว
เฉกเช่นบูรพาจารย์ของเขา
ชว1March2016
ที่มา FB
ยงจังกึม สิริ
ooo
สรุปคำแถลงตุลาการผู้แถลงคดี ทำไม ‘สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล’ ไม่ควรถูกไล่ออก
Tue, 2016-03-01 22:15
ที่มา ประชาไท
1 มี.ค.2559 เวลา 13.30 น. ศาลปกครองกลางนัดพิจารณาคดีครั้งแรกในคดีที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ฟ้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ขอเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีนางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดียื่นคำแถลงเป็นหนังสือและวาจาต่อศาล ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้นิติกรผู้รับมอบอำนาจเข้าร่วมการพิจารณาโดยไม่มีการแถลง ขณะที่ ก.พ.อ.ไม่ได้เข้าร่วม
จากนั้นตุลาการผู้แถลงคดีได้อ่านความเห็น โดยศาลแจ้งว่าปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์อยู่ร่วมรับฟังด้วย แต่ครั้งนี้เห็นควรอนุญาต ตุลาการผู้แถลงคดีสรุปความเห็นว่า เห็นควรให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออกดังกล่าวเนื่องจากเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่มีคำสั่งดังกล่าว (อ่านรายละเอียดด้านล่าง) อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนแจ้งว่า การให้ความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีนั้นเป็นระบบปกติของศาลปกครอง ไม่มีผลผูกพันกับคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิจารณาคดี และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 8 มี.ค.นี้ ห้องพิจารณาคดี 8 เวลา 9.30 น.
ก่อนหน้าการพิจารณาคดี ภาวิณีให้ข้อมูลว่า หากมหาวิทยาลัยเห็นว่าการไม่กลับมาสอนหนังสือของสมศักดิ์ผิดวินัย ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยให้เป็นอำนาจวินิจฉัยได้ว่าจะ “ปลดออก” หรือ “ไล่ออก” หากปลดออกสิทธิประโยชน์ เช่น บำเหน็จบำนาญราชการก็ยังอยู่ แต่กรณีไล่ออกนั้นผู้ถูกไล่ออกจะไม่ได้อะไรเลย ทั้งที่สมศักดิ์เป็นอาจารย์มายาวนานมาก กรณีนี้ไม่ใช่การทุจริตคอรัปชั่น หรือประพฤติผิดกฎหมาย แต่มีเหตุที่จำเป็นถึงชีวิตที่ทำให้ต้องลี้ภัยไปประเทศฝรั่งเศส
สำหรับกระบวนการพิจารณาคดี ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปข้อเท็จจริงแห่งคดีเบื้องต้นและตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า คำสั่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสต์ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของ ก.พ.อ.นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบตามกฎหมายหรือไม่
จากนั้นภาวิณีได้แถลงด้วยวาจาจต่อศาลขอให้องค์คณะเพิ่มเติมการพิจารณาถึงเหตุจำเป็นที่ทำให้สมศักดิ์ไม่สามารถกลับมาปฏิบัติราชการได้ เนื่องจากการถูกฟ้องคดีมาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรมโดยกองทัพ การถูกลอบยิงบ้านพักไม่กี่วันก่อนการรัฐประหาร การออกคำสั่ง คสช.เรียกรายงานตัวซึ่งในขณะนั้นไม่มีใครรู้ว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ และผู้รายงานตัวจะโดนอะไรเนื่องจากไม่ได้รับการอนุญาตให้ติดต่อโลกภายนอก 7 วัน อีกทั้งสมศักดิ์เองยึดถือระบอบประชาธิปไตยจึงดำเนินการตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ในการต่อต้านการกระทำที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ทำให้เขาตัดสินใจที่จะไม่กลับมารายงานตัวและปฏิบัติราชการต่อ อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมามีความพยายามในการติดต่อกับคณะศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีความจงใจละทิ้งการปฏิบัติราชการ
ภาวิณีแถลงต่อว่า จนถึงปัจจุบันผู้ฟ้องคดีก็ยังอยากกลับมาเป็นอาจารย์ตลอดเวลา เพราะรักการสอนและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างยิ่ง หากเหตุการณ์คลี่คลาย อันตรายต่างๆ พ้นไปก็ยังอยากกลับมาสอนหนังสือที่นี่จนเกษียณอายุราชการ
ภาวิณีแถลงอีกว่า นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 ยังมีสภาพไม่เป็นกลาง โดยสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ได้รับการแต่งตั้งจาก คสช.ให้เป็น สนช. ขณะที่ ประธาน ก.พ.อ. คือ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาสัย เป็นสมาชิก คสช. และ รมว.ศึกษาธิการ ในวันประชุมออกคำสั่งไม่รับอุทธรร์ของสมศักดิ์ พล.ร.อ.ณรงค์ก็ร่วมประชุมด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นายวิจิตต์ รักถิ่น ตุลาการผู้แถลงคดีได้อ่านความเห็นที่เห็นควรเพิกถอนคำสั่งไล่ออกดังกล่าว โดยสรุปความได้ว่า
ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่ามีประเด็นต้องวินิจฉัยก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการอันทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง และละทิ้งหน้าที่เกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุสมควรอันเป็นความผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่
ปรากฏตามข้อเท็จจริงว่า ผู้ฟ้องคดียื่นคำขอลาไปปฏิบัติงานเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการในวันที่ 16 พ.ค.2557 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการคณะและคณบดีแล้ว แม้ไม่จะยังไม่ได้รับอนุมัติจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ผู้ฟ้องคดีเคยได้รับอนุมัติลาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการเป็นเวลา 4 เดือน ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.-30 ก.ย.2545 โดยได้รับอนุมัติในวันที่ 15 ต.ค.2545 อันเป็นการอนุมัติภายหลังสิ้นสุดการลาแล้ว การที่ผู้ฟ้องคดีได้ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ตั้งแต่ 1 ส.ค.2557 จนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคำสั่งยุติการขออนุญาตของผู้ฟ้องคดี ลงวันที่ 28 ม.ค.2558 จึงถือไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการและละทิ้งหน้าที่เกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันควร ดังนั้นการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.2557 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนข้ออ้างผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ระบุว่าได้ ผู้ฟ้องคดีได้รับบันทึกจากหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ ลงวันที่ 18 ธ.ค.2557 แจ้งว่าการพิจารณาอนุมัติการลาล่าช้า ล่วงเลยถึง 6 เดือนแล้วยังไม่ได้รับการพิจารณามหาวิทยาลัย จึงให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่ผู้ฟ้องคดีก็ยังเพิกเฉย แล้วยื่นหนังสือลาออก นับเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ขณะผู้ฟ้องคดีได้รับคำสั่งจากหัวหน้าภาคให้กลับมาสอนดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีต้องลี้ภัยไปต่างประเทศเนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ การที่ผู้ฟ้องคดีไม่กลับเข้ารับราชการและยื่นใบลาออกทันทีเมื่อ 19 ธ.ค.2557 ให้มีผลวันที่ 30 ธ.ค.2557 ถือว่ามีเหตุผลจำเป็นพิเศษ การไม่สามารถยื่นใบลาออกล่วงหน้า 30 วันตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยเสียหายอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด
“คดีหนัง Insect in the backyard ที่ผู้กำกับหนังเรื่องนั้นฟ้องให้เพิกถอนการแบนหนัง ตุลาการผู้แถลงคดีก็อ่านความเห็นในทิศทางเดียวกัน ผู้กำกับฟังความเห็นถึงกับน้ำตาไหล แต่ในการพิพากษาก็กลับออกมาในทิศทางตรงกันข้าม เราจึงต้องจับตาดูวันพิพากษา 8 มี.ค.นี้ และคดีนี้ก็เป็นคดีแรกที่ศาลนัดฟังควาเห็นตุลาการผู้แถลงคดีพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษาที่ห่างกันเพียง 7 วัน โดยปกติจะนัดที่ละนัด และทิ้งช่วง 1 เดือนหรือมากกว่านั้นก่อนการสรุปเป็นคำพิพากษาสุดท้าย” ภาวิณีกล่าว
ภาวิณีกล่าวอีกว่า หากวันที่ 8 มี.ค.องค์คณะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออกด้วยเช่นเดียวกับวันนี้ และผู้ถูกฟ้องไม่อุทธรณ์ก็จะมีผลให้สมศักดิ์ยังคงสถานะอาจารย์มหาวิทยาลัย สมศักดิ์จึงมีสิทธิ์ที่จะลาออกจากราชการตามปกติหากเห็นควรว่ายังไม่สามารถกลับมาได้ซึ่งจะส่งผลจะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญที่สะสมไว้ตลอดชีวิตอาจารย์
1 มี.ค.2559 เวลา 13.30 น. ศาลปกครองกลางนัดพิจารณาคดีครั้งแรกในคดีที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ฟ้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ขอเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีนางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดียื่นคำแถลงเป็นหนังสือและวาจาต่อศาล ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้นิติกรผู้รับมอบอำนาจเข้าร่วมการพิจารณาโดยไม่มีการแถลง ขณะที่ ก.พ.อ.ไม่ได้เข้าร่วม
จากนั้นตุลาการผู้แถลงคดีได้อ่านความเห็น โดยศาลแจ้งว่าปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์อยู่ร่วมรับฟังด้วย แต่ครั้งนี้เห็นควรอนุญาต ตุลาการผู้แถลงคดีสรุปความเห็นว่า เห็นควรให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออกดังกล่าวเนื่องจากเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่มีคำสั่งดังกล่าว (อ่านรายละเอียดด้านล่าง) อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนแจ้งว่า การให้ความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีนั้นเป็นระบบปกติของศาลปกครอง ไม่มีผลผูกพันกับคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิจารณาคดี และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 8 มี.ค.นี้ ห้องพิจารณาคดี 8 เวลา 9.30 น.
ก่อนหน้าการพิจารณาคดี ภาวิณีให้ข้อมูลว่า หากมหาวิทยาลัยเห็นว่าการไม่กลับมาสอนหนังสือของสมศักดิ์ผิดวินัย ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยให้เป็นอำนาจวินิจฉัยได้ว่าจะ “ปลดออก” หรือ “ไล่ออก” หากปลดออกสิทธิประโยชน์ เช่น บำเหน็จบำนาญราชการก็ยังอยู่ แต่กรณีไล่ออกนั้นผู้ถูกไล่ออกจะไม่ได้อะไรเลย ทั้งที่สมศักดิ์เป็นอาจารย์มายาวนานมาก กรณีนี้ไม่ใช่การทุจริตคอรัปชั่น หรือประพฤติผิดกฎหมาย แต่มีเหตุที่จำเป็นถึงชีวิตที่ทำให้ต้องลี้ภัยไปประเทศฝรั่งเศส
สำหรับกระบวนการพิจารณาคดี ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปข้อเท็จจริงแห่งคดีเบื้องต้นและตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า คำสั่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสต์ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของ ก.พ.อ.นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบตามกฎหมายหรือไม่
จากนั้นภาวิณีได้แถลงด้วยวาจาจต่อศาลขอให้องค์คณะเพิ่มเติมการพิจารณาถึงเหตุจำเป็นที่ทำให้สมศักดิ์ไม่สามารถกลับมาปฏิบัติราชการได้ เนื่องจากการถูกฟ้องคดีมาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรมโดยกองทัพ การถูกลอบยิงบ้านพักไม่กี่วันก่อนการรัฐประหาร การออกคำสั่ง คสช.เรียกรายงานตัวซึ่งในขณะนั้นไม่มีใครรู้ว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ และผู้รายงานตัวจะโดนอะไรเนื่องจากไม่ได้รับการอนุญาตให้ติดต่อโลกภายนอก 7 วัน อีกทั้งสมศักดิ์เองยึดถือระบอบประชาธิปไตยจึงดำเนินการตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ในการต่อต้านการกระทำที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ทำให้เขาตัดสินใจที่จะไม่กลับมารายงานตัวและปฏิบัติราชการต่อ อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมามีความพยายามในการติดต่อกับคณะศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีความจงใจละทิ้งการปฏิบัติราชการ
ภาวิณีแถลงต่อว่า จนถึงปัจจุบันผู้ฟ้องคดีก็ยังอยากกลับมาเป็นอาจารย์ตลอดเวลา เพราะรักการสอนและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างยิ่ง หากเหตุการณ์คลี่คลาย อันตรายต่างๆ พ้นไปก็ยังอยากกลับมาสอนหนังสือที่นี่จนเกษียณอายุราชการ
ภาวิณีแถลงอีกว่า นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 ยังมีสภาพไม่เป็นกลาง โดยสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ได้รับการแต่งตั้งจาก คสช.ให้เป็น สนช. ขณะที่ ประธาน ก.พ.อ. คือ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาสัย เป็นสมาชิก คสช. และ รมว.ศึกษาธิการ ในวันประชุมออกคำสั่งไม่รับอุทธรร์ของสมศักดิ์ พล.ร.อ.ณรงค์ก็ร่วมประชุมด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นายวิจิตต์ รักถิ่น ตุลาการผู้แถลงคดีได้อ่านความเห็นที่เห็นควรเพิกถอนคำสั่งไล่ออกดังกล่าว โดยสรุปความได้ว่า
ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่ามีประเด็นต้องวินิจฉัยก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการอันทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง และละทิ้งหน้าที่เกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุสมควรอันเป็นความผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่
ปรากฏตามข้อเท็จจริงว่า ผู้ฟ้องคดียื่นคำขอลาไปปฏิบัติงานเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการในวันที่ 16 พ.ค.2557 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการคณะและคณบดีแล้ว แม้ไม่จะยังไม่ได้รับอนุมัติจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ผู้ฟ้องคดีเคยได้รับอนุมัติลาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการเป็นเวลา 4 เดือน ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.-30 ก.ย.2545 โดยได้รับอนุมัติในวันที่ 15 ต.ค.2545 อันเป็นการอนุมัติภายหลังสิ้นสุดการลาแล้ว การที่ผู้ฟ้องคดีได้ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ตั้งแต่ 1 ส.ค.2557 จนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคำสั่งยุติการขออนุญาตของผู้ฟ้องคดี ลงวันที่ 28 ม.ค.2558 จึงถือไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการและละทิ้งหน้าที่เกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันควร ดังนั้นการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.2557 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนข้ออ้างผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ระบุว่าได้ ผู้ฟ้องคดีได้รับบันทึกจากหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ ลงวันที่ 18 ธ.ค.2557 แจ้งว่าการพิจารณาอนุมัติการลาล่าช้า ล่วงเลยถึง 6 เดือนแล้วยังไม่ได้รับการพิจารณามหาวิทยาลัย จึงให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่ผู้ฟ้องคดีก็ยังเพิกเฉย แล้วยื่นหนังสือลาออก นับเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ขณะผู้ฟ้องคดีได้รับคำสั่งจากหัวหน้าภาคให้กลับมาสอนดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีต้องลี้ภัยไปต่างประเทศเนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ การที่ผู้ฟ้องคดีไม่กลับเข้ารับราชการและยื่นใบลาออกทันทีเมื่อ 19 ธ.ค.2557 ให้มีผลวันที่ 30 ธ.ค.2557 ถือว่ามีเหตุผลจำเป็นพิเศษ การไม่สามารถยื่นใบลาออกล่วงหน้า 30 วันตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยเสียหายอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด
“คดีหนัง Insect in the backyard ที่ผู้กำกับหนังเรื่องนั้นฟ้องให้เพิกถอนการแบนหนัง ตุลาการผู้แถลงคดีก็อ่านความเห็นในทิศทางเดียวกัน ผู้กำกับฟังความเห็นถึงกับน้ำตาไหล แต่ในการพิพากษาก็กลับออกมาในทิศทางตรงกันข้าม เราจึงต้องจับตาดูวันพิพากษา 8 มี.ค.นี้ และคดีนี้ก็เป็นคดีแรกที่ศาลนัดฟังควาเห็นตุลาการผู้แถลงคดีพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษาที่ห่างกันเพียง 7 วัน โดยปกติจะนัดที่ละนัด และทิ้งช่วง 1 เดือนหรือมากกว่านั้นก่อนการสรุปเป็นคำพิพากษาสุดท้าย” ภาวิณีกล่าว
ภาวิณีกล่าวอีกว่า หากวันที่ 8 มี.ค.องค์คณะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออกด้วยเช่นเดียวกับวันนี้ และผู้ถูกฟ้องไม่อุทธรณ์ก็จะมีผลให้สมศักดิ์ยังคงสถานะอาจารย์มหาวิทยาลัย สมศักดิ์จึงมีสิทธิ์ที่จะลาออกจากราชการตามปกติหากเห็นควรว่ายังไม่สามารถกลับมาได้ซึ่งจะส่งผลจะได้รับเงินบำเหน็จบำนาญที่สะสมไว้ตลอดชีวิตอาจารย์