จนกระทั่งวันนี้ ประเด็นสนทนาโซเชียลฯ ก็ยังพูดถึงการละเมิดหลัก ‘นิติธรรม’ ของศาลรัฐธรรมนูญไทยอยู่ไม่วาย แม้วันที่ ๗ สิงหา (เวลาราวบ่ายสามโมง) จะเป็นวันที่ศาลฯ อาจมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองอีกครั้งจนได้
“ศาลรัฐธรรมนูญ (ไทย) ไม่ได้มีบทบาทและสถานะเป็นองค์กรตุลาการ ที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจรัฐอย่างเกินขอบเขต” ไอลอว์ระบุไว้ตอนหนึ่งในจดหมายร้องเรียนถึงกรรมาธิการเวนิช
“แต่เป็นองค์กรทางการเมืองที่ปราศจากความเป็นกลาง เป็นมรดกของคณะรัฐประหาร ที่ทำหน้าที่รักษาระบอบและฐานอำนาจของคณะรัฐประหารให้คงอยู่ต่อไป แม้มีการเลือกตั้งแล้วเท่านั้น” นี่คือเหตุผลรองรับคำร้องให้กรรมาธิการฯ ทบทวนการร่วมสังฆกรรมกับศาลฯ ไทย
‘กรรมาธิการเวนิช’ สำคัญไฉน นี่เป็นองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ เป็นส่วนหนึ่งของคณะมนตรีแห่งยุโรป (The Council of Europe) ซึ่งได้เขียน “แนวทางการปฏิบัติว่าด้วยการสั่งห้ามและยุบพรรคการเมืองและวิธีการที่ใกล้เคียง” เอาไว้
เป็น “หลักปฏิบัติหากจำเป็นที่จะต้องมีการยุบพรรคการเมืองไว้ทั้งหมดเจ็ดข้อ โดยระบุชัดเจนว่าการยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ ต่อเมื่อพรรคการเมืองสนับสนุนการใช้ความรุนแรงเพื่อล้มล้างระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
อีกทั้งการยุบพรรคการเมืองที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอย่างสันติวิธี จะกระทำมิได้” ศาลรัฐธรรมนูญไทยจึงละเมิดหลักเกณฑ์ของกรรมาธิการเวนิชล้วถึง ๔ ครั้ง และการยุบพรรคก้าวไกลในวันนี้ (ถ้ามี) ก็จะเป็นครั้งที่ ๕
เป็นความน่าทึ่ง ซึ่งศาลไทยละเมิด “เป้าหมายขององค์กรความร่วมมือที่ประเทศไทยเป็นประธานเสียเอง เนื่องจากสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (หรือ AACC) มีเป้าหมายทั้งหมดห้าข้อ” ไอลอว์ชี้
โดยมีการปฏิบัติตามหลัก ‘นิติธรรม’ และ “สร้างความมั่นคงให้กับการสถาปนาระบอบประชาธิปไตย” ถูกระบุไว้ในหลักการเหล่านั้น หากศาลรัฐธรรมนูญไทยจะละเมิดอีกครั้ง ก็ควรที่จะละอายแก่ใจ มิควร ‘หน้าด้าน’ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมในเดือนหน้า
เหตุนี้คำร้องของไอลอว์จึงขอให้กรรมาธิการเวนิช ทบทวน การมาร่วมประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญแห่งเอเซีย ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในเดือนกันยายน ๒๕๖๗
(https://www.ilaw.or.th/articles/40834, https://www.facebook.com/iLawClub/posts/wxGFKTjWATBS และ https://www.facebook.com/thestandardth/posts/sn9LCur48Spjt)