ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้นั้นสำคัญไฉน
‘Namaste’ นามัสเต คำสันสกฤตที่ตรงกับ ‘นมัสการ’ ในภาษาบาลี สองมือประกบเข้าหากัน ที่ไทยเอากรรมวิธีมาใช้ในความหมายอย่างเดียวกับแขก
คือ คารวะต่อท่าน หรือเพียงการทักทายก็ได้ โดยเรียกว่า ‘ไหว้’
ต้นตำหรับไหว้อยู่ในระดับอก ไทยยังมีการเพิ่มขยายลีลาออกไปหลายแบบ ไหว้ต่ำ ไหว้สูง ไหว้แล้วย่อตัว ก้มหัว หรือไหว้ส่ายไปทั่วๆ อย่างที่นักการเมืองไทยชอบใช้
ถ้าไหว้ก่อนก็แสดงความนอบน้อม ไหว้ทีหลังแสดงความปราณี เรียกว่า ‘รับไหว้’ ฉะนั้นจะ ‘อุ๊งอิ๊ง’ ไหว้ประยุทธ์ ซึ่งวางท่าขรึมสมกับเป็นองค มนตรี ก็สมแล้วสำหรับผู้ใหญ่รับไหว้เด็ก
ส่วนบิดาของอุ๊งอิ๊งจะยกมือประกบกันโร่มาแต่ไกล ยิ้มแย้มให้กันเมื่อมาอยู่ต่อหน้า แสดงถึงความเป็นมิ่งมิตรภายใต้ร่มพฤกษ์เดียวกัน ในบรรยากาศการเมืองของการข้ามขั้ว ที่อาจมีการตะเกียกตะกายบ้างเล็กน้อย
เป็นธรรมดาของยุคที่ตระบัดสัตย์แล้วอาจได้ดี ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่ตระหนักไว้