วันอังคาร, สิงหาคม 06, 2567

เรายังนึกถึงผู้ลี้ภัยเหล่านี้กันอยู่บ้างหรือเปล่า ??



iLaw
13 hours ago
·
เรายังนึกถึงคนเหล่านี้กันอยู่บ้างหรือเปล่า ??
.
ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี (ฟอร์ด)
สุพิชฌาย์ ชัยลอม (เมนู)
เบญจมาภรณ์ (พลอย)
ภัคภิญญา (แบมบู)
.
และคนอีกมากมายที่กำลังถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ซึ่งตัดสินใจ "ไม่เข้ารายงานตัว" และเดินทางออกไปใช้ชีวิตนอกประเทศไทย
.
หลัง คสช. สิ้นสุดอํานาจและมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเข้ารับหน้าที่ในเดือนมีนาคม 2562 นายกรัฐมนตรียังคงเป็นพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารคนเดิม สืบทอดโครงสร้างและวัฒนธรรมการเมืองแบบเผด็จการทหารต่อมา จนกระทั่งประชาชน นำโดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาล เรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นับตั้งแต่กลางปี 2563 เป็นต้นมา พล.อ.ประยุทธ์ จึงออกแถลงการณ์ให้ใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีกับประชาชนที่แสดงออกในเชิงวิพากษ์วิจารณ์หรือตั้งคำถามกับสถาบันพระมหากษัตริย์
.
จากนั้นมาจำนวนคดีและผู้ถูกดำเนินคดีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะคดีมาตรา 112 ที่มีประชาชน รวมถึงเด็กและเยาวชนถูกดำเนินคดีจำนวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ประกอบกับการที่ศาลไม่ให้ประกันแกนนำและประชาชนบางรายแม้คดียังไม่มีคำพิพากษา หรือคดีที่มีคำพิพากษาแล้วแต่ยังไม่ถึงที่สุด จำเลยยังสู้คดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกาต่อได้ แต่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีแนวโน้มไม่ให้ประกันตัวเลย จากสถิติในช่วงปี 2566-2567 คำสั่งให้ประกันตัวจากศาลสูงมีน้อยมาก
.
สถานการณ์โดยรวมเช่นว่านี้ผลักดันให้มีผู้ลี้ภัยหน้าใหม่เดินทางออกนอกประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แทบทั้งหมดเป็นกรณีลี้ภัย จากคดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนนับข้อมูลผู้ที่เดินทางออกนอกประเทศได้อย่างน้อย 30 คน
.
เรายังจำชื่อคนเหล่านี้ได้หรือไม่??
.
ชนกนันท์ รวมทรัพย์ (การ์ตูน)
จรัล ดิษฐาอภิชัย
จารุพงษ์ เรืองสุวรรณ
ศรัลย์ ฉุยฉาย (อั้ม เนโกะ)
จอม เพชรประดับ
.
ยังมีคนมากกว่า 104 คนที่เดินทางออกนอกประเทศเพราะเหตุความขัดแย้ง และการดำเนินคดีทางการเมือง บางคนออกนอกประเทศตั้งแต่คสช. ทำรัฐประหาร ซึ่งนับเป็นเวลาเกินสิบปีแล้ว ขณะที่บางคนก็ออกนอกประเทศนานกว่านั้น โดยพวกเขาส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยหากตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน แม้ว่าในระหว่างนี้จะมีผู้ลี้ภัยบางคนที่เดินทางกลับมาให้เห็นบ้างแล้ว เช่น ทักษิณ ชินวัตร และจักรภพ เพ็ญแข
.
หากนับผู้ลี้ภัยทั้งหลายเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตจากความขัดแย้งทางการเมือง และนับพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองไทย การ "ยุติความขัดแย้ง" หรือการคืนความสามัคคีปรองดองตามที่รัฐบาลตั้งใจจะทำ จึงจำเป็นต้องให้โอกาสพวกเขาสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสามารถทำได้โดยในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องรวมถึงการยกเลิกการดำเนินคดีตามมาตรา 112 ด้วย
.
อ่านรายงานเรื่องผู้ลี้ภัยของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ทาง