Suniti Kerdsongkran
2 days ago
·
"ในประเทศเกาหลี สื่อเขาสร้างหนัง
ที่พระเอกเป็นผู้ชายอบอุ่น โรแมนซ์
เพราะสังคมเขาผู้ชายที่แต่งงานแล้วถือว่า
มีสิทธิ์เด็ดขาดในตัวภรรยาและบ้านเมืองเขา
มีข่าวตบตีภรรยาในครอบครัวสูงมาก
เขาจึงใช้กลยุทธ์ของ modeling process
สร้างค่านิยมใหม่ในสังคมให้ผู้ชายเป็นคนโรแมนติคมากขึ้น
"นี่คือการสร้างหนังเพื่อปรับพฤติกรรม"
แม้กระทั่งในญี่ปุ่น เขาก็สร้างการ์ตูนผู้พิทักษ์ต่างๆ
อุลตร้าแมน ฯลฯ เพื่อให้เด็กซึมซับความยุติธรรม
การต่อสู้กับความชั่ว หรือในประเทศจีน
ก็จะมีหนังในทำนองนี้เช่นกัน ...
ย้อนกลับมามองประเทศไทย
ทำไมละครไทยถึงมีแต่เรื่องเดิมๆ เป็นอยู่อย่างนี้มา 50 กว่าปี
พอไปถามผู้จัด ก็ได้รับคำตอบว่า
'เราสร้างละครเหล่านี้เพื่อสะท้อนสังคม'
เราจะไป"สะท้อนสังคม"เพื่ออะไร!!
เพราะเราสะท้อนมา กว่า 50 ปีแล้ว
และเนื้อเรื่องมันก็วนเวียนอยู่แค่แย่งตบตีกันแค่นั้น
ทำไมเราไม่สร้างละคร "เพื่อนำสังคม"
เพื่อจูงใจให้เกิดพฤติกรรมดีๆ ล่ะ
มัวแต่ไปสร้างเพื่อสะท้อนสังคม มันก็ไม่เห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมเลยสักนิด
ในทางจิตวิทยาแล้วสื่อมีบทบาทสำคัญมากๆ
ในกระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวแบบ ..."
จากคำบรรยายของอาจารย์ภาคจิตวิทยา
ขอบคุณที่มา
ค่ายจับจิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.....
Jom Petchpradab
7 hours ago
·
องค์กรที่ทำงานด้านสื่อ หรือแม้แต่สื่อมวลชนเองก็เช่นกัน ทำหน้าที่สะท้อนปัญหาสังคม รายงานข้อเท็จจริงในสังคมอย่างรอบด้าน มาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน แต่ สังคมโดยรวมก็ยังคงมีปัญหาแบบเดิม หรือซ้ำร้ายกว่าเดิมในทุกด้าน. คนในวงการสื่อ เคยเปรียบเทียบตัวเองเหมือนเป็น กระจก แทนที่จะเป็น ตะเกียง. ผมเคยเสนอว่า มีแต่กระจก หากไม่มี ตะเกียง ก็ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อไร้ตะเกียง ก็ไร้แสง มองอะไรไม่เห็นอยู่ดี
กระจก คือภาระและไร้ประโยชน์ในยามที่สังคมต้องการแสงสว่างในการนำพาประเทศไปสู่หนทางที่เป็นทางออกและมองเห็นความหวัง
ได้เวลา "ทุบกระจก" และเริ่มต้น "จุดตะเกียง" กันได้แล้วครับ