วันอาทิตย์, มกราคม 14, 2567

บทเรียนจาก “ศรีลังกา” อ.สมพงษ์เปรียบเทียบการขายโครงการ #แลนด์บริดจ์ ของรบ. #เศรษฐา ว่าเหมือนความคลั่งไคล้ใน Mega-Project ของ #ศรีลังกา สาเหตุที่เกิดวิกฤตศก.ครั้งใหญ่กลางปี 2565 ใน #ศรีลังกา ก็เพราะรบ.ตระกูลราชปักษาทุ่มงบประมาณสร้าง #เมเกะโปรเจกต์ มากมาย ทั้งสนามบิน ท่าเรือนานาชาติที่ไม่มีคนใช้


Pipob Udomittipong
17h·

อ.สมพงษ์เปรียบเทียบการขายโครงการ #แลนด์บริดจ์ ของรบ. #เศรษฐา ว่าเหมือนความคลั่งไคล้ใน Mega-Project ของ #ศรีลังกา สาเหตุที่เกิดวิกฤตศก.ครั้งใหญ่กลางปี 2565 ใน #ศรีลังกา ก็เพราะรบ.ตระกูลราชปักษาทุ่มงบประมาณสร้าง #เมเกะโปรเจกต์ มากมาย ทั้งสนามบิน ท่าเรือนานาชาติที่ไม่มีคนใช้
 
ภายในเวลาทศวรรษเศษ เงินสำรองระหว่างปท. 6 พันล้านเหรียญของ #ศรีลังกา หายหมด สุดท้ายต้องดีฟอลต์ ชักดาบหนี้ 7 พันล้านเหรียญ ค่าเงินร่วงอย่างแรง ศก.จมดิ่ง คนต่อคิวเติมน้ำมันกันยาวเหยียดเพราะไม่มี hard currency ไปนำเข้าสินค้าที่จำเป็น หนึ่งในโครงการที่สร้างหนี้ใหญ่สุดคือ ท่าเรือนานาชาติ #Hambantota

อ.สมพงษ์บอกว่า ตอนจะสร้างท่าเรือ รบ.ก็อ้างว่าจะสร้างเศรษฐกิจ ต้องทำเดี๋ยวนี้ รอไม่ได้ จะจ้างงาน 50,000 ตำแหน่ง เราจะเป็นศก.ร่ำรวยขึ้น middle income country ก่อนทำ สหรัฐฯ เตือนแล้ว โครงการมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญนี้ตั้งอยู่ผลประโยชน์ทางการเมือง มากกว่าการวางแผนการพัฒนาอย่างมีเหตุผล
 
สุดท้ายเพราะโครงการนี้ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ทำโดยไม่มียุทธศาสตร์ ไม่เข้าใจลูกค้า จึงแป๊ก ไม่มีเรือเข้ามาใช้บริการมากเหมือนที่รบ.คุยไว้ สนามบินที่สร้างก็มีผดส.น้อยสุดในโลก เกิดภาระหนี้มหาศาล นำไปสู่หายนะทางศก. ท่าเรือใหญ่โตถูกปล่อยเช่าระยะยาวให้กับจีน แทนการจ่ายหนี้ ตกอยู่ใน debt trap ของจีน
(https://youtu.be/9mNKLm_4HU4)
.....





..... 


SleeplessBKK @SleeplessBKK

**ตระกูลราชปักษากับเมกะโปรเจ็กของจีน: ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจศรีลังกา** 

ถ้ายังจำได้ ในต้นปี 2023 เราได้ยินข่าวศรีลังกาประกาศภาวะล้มละลายอย่างเป็นทางการ กลายเป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรง สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจศรีลังกานั้นมีหลายประการ แต่หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีกคือ นโยบายการลงทุนในเมกะโปรเจ็กขนาดใหญ่ของจีนที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจของศรีลังกา แต่ทำไปเพื่อสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของจีนในการสร้างเส้นทางสายไหมยุคใหม่เท่านั้น 

การลงทุนในเมกะโปรเจ็กขนาดใหญ่ของจีนกลับกลายเป็นภาระทางการเงินที่หนักอึ้งสำหรับศรีลังกา รัฐบาลศรีลังกาต้องกู้เงินจากจีนเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาลงทุนในโครงการเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงโครงการท่าเรือน้ำลึก Hambantota โครงการสนามบิน Mattala Rajapaksa International Airport และโครงการทางรถไฟทางใต้ โครงการเหล่านี้ล้วนมีมูลค่ามหาศาลและใช้เวลาก่อสร้างนานหลายปี ส่งผลให้รัฐบาลศรีลังกามีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 

โครงการท่าเรือน้ำลึก Hambantota กลายเป็นท่าเรือที่เกือบร้างตั้งแต่เปิดให้บริการ เนื่องจากขาดการเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมและโลจิสติกส์ของประเทศ โครงการสนามบิน Mattala Rajapaksa International Airport ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน เนื่องจากอยู่ห่างจากเมืองหลักของศรีลังกามากเกินไป โครงการทางรถไฟทางใต้ก็ล่าช้ากว่ากำหนดและเกินงบประมาณที่ตั้งไว้หลายเท่า 

ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการทุจริตในการลงทุนในเมกะโปรเจ็กเหล่านี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจศรีลังกาถดถอยลงอย่างรวดเร็ว อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ประชาชนขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ส่งผลให้เกิดกระแสประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง ในที่สุด ตระกูลราชปักษาก็ถูกขับไล่ออกจากอำนาจ 

ตอนปี 2023 เราเพิ่งได้เห็นบทเรียนการทำเมกะโปรเจ็กที่ขาดความสมเหตุผลในเชิงเศรษฐกิจไปหยกๆ 

ตอนนั้นทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เราจะต้องไม่ทำอะไรโง่ๆ แบบศรีลังกา 

แต่มาวันนี้ หลายคนลืมเรื่องนี้ไปหมดแล้ว เพียงเพราะต้องการแบกพรรคที่ตนเลือก แม้ผลการศึกษาเขาจะระบุว่ามันไม่สมเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ มีทางเลือกอื่นในการลงทุนที่คุ้มกว่า แต่ก็ยังพยายามอ้างจินตนาการนอกเหนือผลการศึกษาว่าจะทำให้ภาคใต้การเป็นด้ามขวานทองที่ทุกอย่างจะถูกเนรมิตขึ้นมาดั่งฝันจากแลนด์บริดจ์ ผู้คนจะแห่แหนกันมาลงทุนในภาคใต้ ร่ำรวยไปตามๆกัน โดยที่ไม่มีรายละเอียดความเป็นไปได้และผลตอบแทนของสิ่งที่ฝันจินตนาการเอาไว้มาแสดงให้ดูได้เลย 

มีแต่เพียงคำพูดยกตัวเองว่าพวกมึงไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่เข้าใจการพัฒนาแบบ CEO หรอก  😂😂

(https://twitter.com/SleeplessBKK/status/1746048146373775818)