วันพฤหัสบดี, มกราคม 11, 2567

เรื่องอย่าง Gabriel Attal (นายกฯฝรั่งเศสคนใหม่ ที่อายุน้อยที่สุด) โคตรไม่มีทางเกิดขึ้นแน่ๆในเมืองไทย เพราะความคิดแบบอาวุโส "เป็นสามเณรไร้ประสบการณ์" และ"ระบบอุปถัมภ์" ที่ใช้ connection ยิ่งเป็น LGBTQ+ ยิ่งยาก

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=925410129149952&set=a.808136554210644)
ตุ๊ดส์review
16h ·

1) ก่อนที่จะมาวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นนี้ เรามาดูความเจ๋งของ #GabrielAttal ในวัย 34 ปีกันก่อนดีกว่า ว่าเขาเก่งขนาดไหนครับ

จากข้อมูลที่รวบรวมโดยสำนักข่าวคมชัดลึก ระบุว่า

เขาเริ่มเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมในปี 2006 ได้เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มารีโซล ตูแรน ระหว่างปี 2012 - 2017 อีกด้วย จนกระทั่งปี 2016 นายอัตตัล เข้าร่วมพรรคอ็องมาร์ชและกลายเป็นโฆษกพรรคในปี 2018 และสมาชิกคณะกรรมการบริหารพรรคตั้งแต่ปี 2021

- 2018 "กาเบรียล อัตตัล" ได้รับตำแหน่งเลขาธิการแห่งรัฐถึงอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติและเยาวชน ฌ็อง-มีแชล บล็องแกร์ ในขณะนั้นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี เอดัวร์ ฟีลิป
- 2020 เขาได้รับตำแหน่งโฆษกรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ฌ็อง กัสแต็กซ์
- 2022 ดำรงตำแหน่งผู้แทนรัฐมนตรีรับผิดชอบบัญชีสาธารณะ ซึ่งตำแหน่งนี้เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลัง และอุตสาหกรรมและอธิปไตยดิจิทัล
- 2023 โยกย้ายตำแหน่งไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติและเยาวชน ต่อจากปั๊บ แอนด์เดีย ซึ่งได้ถูกพ้นจากตำแหน่ง
- 2024 หลังจากนายกรัฐมนตรี เอลีซาแบ็ต บอร์น ได้ยืนหนังสือลาออกจากตำแหน่ง และประธานาธิบดี แอมานุแอล มาครง ได้แต่งตั้ง "กาเบรียล อัตตัล" เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

ซึ่งถ้าเขาทำงานการเมืองมีตำแหน่งมาตั้งแต่ 2018 แสดงว่าความสามารถและความสนใจด้านการเมืองของเขาเข้มข้นมาตั้งแต่ก่อนวัย 30 ปี เขาเจ๋งมากๆคนหนึ่งเลยนะครับ

2) เมื่อเห็นความสามารถแล้ว เราไม่กังขาเลยว่า เขาน่าจะทำงานบริหารประเทศได้ โดยอายุยังน้อย แต่สิ่งที่คนปรามาศตามค่านิยมไทย เรามักจะ "มองประสบการณ์จากอายุของคน มากกว่าศักยภาพ และการให้โอกาสคน" ซึ่งจริงๆ ผู้ใหญ่ที่ไม่ยอมให้โอกาสเด็ก กลับลืมไปว่า ตอนตัวเองยังเด็ก ก็ถูกปิดประตูจากอุปสรรคทางอายุ กว่าจะขึ้นมาเป็นใหญ่เป็นโตได้ก็ต้องรอแก่หงำ หมดแรงบริหาร สมองล้าไปก่อน แล้วเราจะรอสานต่อวัฒนธรรมระบบอาวุโสไปทำไมกัน?

3) ระบบอาวุโส เป็นวัฒนธรรมที่ล้าหลังมากของประเทศเรา คนที่จะได้ขึ้นบริหารในตำแหน่งสูงๆ ต้องอยู่มานาน ต้องผ่านประสบการณ์มาเยอะๆเสียก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้เป็น candidate ในตำแหน่งสำคัญ ซึ่งถ้าจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ โดยไม่อาวุโส ก็มีอีกทางคือ "ระบบอุปถัมภ์" ใช้ connection รู้จักคนใหญ่คนโต หรือไม่ก็เป็นญาติใครสักคน จึงจะประสบความสำเร็จในการได้ขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่โต

4) เราเชื่อเรื่อง "การให้โอกาสของก้าวแรก" เพราะก่อนที่คนแก่ๆที่จะมีประสบการณ์อย่างทุกวันนี้ พวกคุณต่างต้องเคยไร้ประสบการณ์มาก่อน แล้วมันต้องมีคนให้ก้าวแรกกับคุณ คุณถึงจะเกิดโอกาสแสดงความสามารถ ประเทศที่ไม่ให้ก้าวแรกกับคนรุ่นใหม่ แล้วมาบอกเขาไม่มีประสบการณ์ ควรตั้งคำถามกลับไปอย่างแรงว่า "แล้วเคยวางมือ วางใจ ปล่อยให้คนรุ่นใหม่ ได้ทำงานบริหารบ้างรึยัง?" เขาไม่มีวันจะมีประสบการณ์ ถ้าไม่ให้โอกาสเขาทำงานตามศักยภาพของเขาจริงๆ

5) เราจะเห็นค่านิยมระบบอาวุโสนี้ แตกต่างนิดหน่อยตอนเราไปอยู่บริษัทข้ามชาติ มีเจ้าของเป็นคนต่างประเทศ หรือ Start Up ฺBusiness ยังจำได้เลยว่า สมัยทำงานบริษัทมหาชนของไทย ที่ใช้ระบบ จ บ ป (เชยมาก) เขาก็จะเลื่อนตำแหน่งไปตามอาวุโส การอยู่มานานกว่า และระบบอุปถัมภ์ (คนของนาย) คู่กัน ซึ่งแน่นอนว่า กว่าจะเป็นผู้บริหาร ใช้เวลาไต่ขั้นต่ำ 12-15 ปีขึ้นไป พอเราย้ายบริษัทไปที่ใหม่ เงินเดือนกระโดดมา 6 หลัก ขึ้นเป็น Director ได้ตั้งแต่เราอายุ 27 ปี นั่นหมายความว่า "ศักยภาพเราถึง ในมุมมองของ HR ไม่ได้ stuck เราไว้ กดคนไม่ให้เติบโต โดยดูคนแค่วัยวุฒิ"

6) ย้อนกลับมาเรื่องการเมืองไทย โคตรไม่มีทางเกิดแน่ๆ เพราะกำหนดอายุตามรัฐธรรมนูญในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้อง 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ก็คืออาวุโสแน่ๆ ยิ่งไปกว่านั้น เท่าที่เห็นที่ผ่านมา ก็มีแต่นายกวัยแก่หงำหน่อย วัยรุ่น วัยทำงานจริงๆ ไม่มีโอกาสได้ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง มันยากมากจะเกิดในบ้านเรา ถ้าเป็นประเทศไทย คงมีคนแซะ "เป็นสามเณรไร้ประสบการณ์"

7) หากยังจำได้ เคยมีวลี "คนหนุ่มต้องสละเรือไปก่อน ให้คนแก่ได้อำนาจ" พูดประมาณนี้ โดยอดีตนักการเมืองอาวุโสท่านหนึ่ง ในสมัยที่เขี่ย #ก้าวไกล ทิ้งไป เพื่อให้ได้ #รัฐบาลข้ามขั้ว และยอมจำนนต่อระบบรัฐสภา ที่ lead โดยเสียงสมาชิกวุฒิสภาสูงอายุ มาปิดโอกาสคนหนุ่มสาวไม่ให้มีพื้นที่หยัดยืนในการบริหาร ช่างตลกร้ายสิ้นดี นี่แหละสะท้อนระบบตรรกะผู้ใหญ่หลายๆคนในบ้านเราที่ปิดโอกาสรับฟังเสียง และให้อำนาจบริหารกับคนรุ่นใหม่ ดังนั้น เหตุผลที่ #พิธา ไม่ได้เป็นนายก คือ ระบบอาวุโส นี่แหละคือต้นตอความดักดานของระบบสภาไทยที่ชัดเจนที่สุด

8 ) ถ้าพูดไปต่อในประเด็นนี้ ขอชื่นชมพรรค #เพื่อไทย เพราะทราบมาว่าตั้งใจจะปรับคณะรัฐมนตรี และกลุ่มผู้บริหารในกระทรวงต่างๆ ให้พื้นที่หยัดยืนกับคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น ตรงนี้โคตรดีเลยครับ และขอสนับสนุน ไปจนถึงเรื่องของการดึงเอาคณะกรรมาธิการด้านภาพยนตร์, soft power และ #สมรสเท่าเทียม เห็นมีคนหลากหลายวัยอยู่ครับ ดึงคนรุ่นใหม่มาร่วมงาน อันนี้ขอชื่นชมจากใจจริง เพราะคิดว่าเป็นมิติที่ดีทางการเมือง ที่ให้เยาวชน และคนหนุ่มสาวมีพื้นที่แสดงความคิดเห็น มีบทบาทหน้าที่สำคัญในสังคมครับ

9) ประเด็นสุดท้ายคือ "การเปิดกว้างให้กับบุคคล LGBTQ+ ที่ให้โอกาสได้บริหารตำแหน่งสำคัญของประเทศ" เราคิดว่านี่คือภาพลักษณ์สำคัญของความประชาธิปไตยในประเทศฝรั่งเศส ที่มองคนให้เป็นคน มองคนที่ความสามารถ และมองคนเท่ากันจริงๆ เพราะปัจจุบันโลกเปิดกว้างอย่างมากแล้ว และตัวบอยเองก็เคยเป็น 1 ในผู้บริหารอายุน้อยที่สุดในบริษัท ที่เป็น LGBTQ+ เรามองว่าตรงนี้เหมือนเป็นทั้งความภาคภูมิใจ และเป็นเครื่องยืนยันว่า เราเป็นได้มากกว่าที่สังคมตัดสินเรา ว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องถูกตีกรอบในบทบาท อาชีพ ตำแหน่ง สถานะทางสังคม และความก้าวหน้าในชีวิต ซึ่งในความจริง ความเป็นเพศไม่ควรจำกัดกรอบการใช้ชีวิตของใครได้ และศักยภาพที่เรามี ควรพัดพาเราไปสู่จุดสูงสุดที่ชีวิตเราจะเป็นได้

ตราบใดที่เราอยู่ในประเทศที่ให้ความเป็นคนเท่ากัน มีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่ากัน วันหนึ่งเราจะได้เห็นภาพแบบนี้ในประเทศของเรา ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ หรือเป็นเพศใด คุณมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และประสบความสำเร็จสูงสุดในบทบาทและเส้นทางที่คุณเลือกเดิน ทั้งการเมือง การบริหารประเทศ และการใช้ชีวิตของเราทุกคน

ประเทศฝรั่งเศสได้สะท้อนให้เราเห็นเรื่องราวดีๆนี้ทั้งหมด ผ่านการแต่งตั้ง "กาเบรียล อัตตัล" เป็นนายกรัฐมนตรี