วันพุธ, มกราคม 10, 2567

กรณี คำตอบเรื่อง พ.ร.บ. เงินกู้ 500,000 ล้าน จาก กฤษฎีกา เหตุใด รัฐบาล ไม่นำเอกสาร 2 ชิ้น คือ คำถาม และ คำตอบ มาแสดงต่อประชาชน เพื่อความความโปร่งใสชัดเจน


Ringsideการเมือง
13h
·
“เลขาฯกฤษฎีกา” แจง ไม่มีคำว่า “ไฟเขียว” ในคำตอบเงินดิจิทัล 1 หมื่น เผย ตอบในฐานะนักกฎหมาย ปัดตอบวิกฤตหรือไม่ จะออกเป็น พ.ร.บ.หรือ พ.ร.ก.ก็ได้
วันที่ 9 มกราคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งคำตอบเรื่องการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท มาให้รัฐบาลแล้ว ส่วนรายละเอียดคงจะต้องไปเข้าในคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ก่อน และเรื่องนี้เป็นเรื่องลับ อาจจะต้องนำไปให้กระทรวงการคลังเป็นคนชี้แจงในรายละเอียด แต่ว่าไม่มีคำว่าไฟเขียว
เมื่อถามว่า คำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบในแง่ของข้อกฎหมายใช่หรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า ตอบเป็นข้อกฎหมายอย่างเดียวเลย เพราะกฤษฎีกาเป็นนักกฎหมาย แต่เงื่อนไขตามกฎหมายที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง พ.ศ.2561 มีอะไรบ้าง ซึ่งในเงื่อนไขในนั้นจะบอกว่าเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขวิกฤติของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาดูกันว่ามันเข้าเงื่อนไขนั้นหรือไม่ ซึ่งเราในฐานะนักกฎหมายคงจะตอบได้เพียงเท่านั้น หากจะถามว่าออกเป็นกฎหมายได้หรือไม่นั้น มาตรา 53 ก็บอกแล้วว่าให้ออกเป็นกฎหมายได้ ส่วนจะเป็น พ.ร.บ. หรือพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ก็แล้วแต่ เพราะออกเป็นกฎหมายเหมือนกัน มีเพียงเท่านี้ ไม่ได้มีอะไรมากกว่านี้
#Ringsideการเมือง
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=955075389520604&set=a.504697237891757)
.....

สมชัย ศรีสุทธิยากร
1d
·
กรณี คำตอบเรื่อง พ.ร.บ. เงินกู้ 500,000 ล้าน จาก กฤษฎีกา
เหตุใด รัฐบาลจึงไม่แสดงความโปร่งใส โดย นำเอกสาร 2 ชิ้น คือ คำถาม และ คำตอบ มาแสดงต่อประชาชน
การมาสรุปด้วยคำพูดว่า กู้ได้ โดยให้เป็นไปตาม กฎหมายวินัยการเงินการคลัง นั่นมีความหมายตรงข้ามได้ว่า กู้ไม่ได้หากไม่เป็นไปตาม กฎหมายวินัยการเงินการคลังเช่นกัน
มาตรา 53 ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง ระบุ เงื่อนไข คือ จำเป็น เร่งด่วน ต่อเนื่อง เพื่อแก้วิกฤติของประเทศ และ ไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน
ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการกู้ ระยะเวลากู้เงิน แผนงานโครงการที่จะใช้จ่าย วงเงินอนุญาตให้ใช้ และหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ
มาตรา 57 บอกว่า กระทำได้เฉพาะแผนงานและโครงการที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา 58 บอกว่า ทำแล้วต้องติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้
ดังนั้น แปลว่า รัฐบาลสามารถเสนอเป็น พ.ร.บ. เงินกู้ได้ หากทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ได้ครบถ้วน แต่หากทำได้ไม่ครบแล้วกู้ แปลว่าอะไร เข้าใจว่า สำนักงานกฤษฎีกา ไม่ได้บอกมา
.....