วันจันทร์, มกราคม 15, 2567
ช่วยกันจับตา! พิพากษาคดีของ “อานนท์-ไมค์-ไผ่-ครูใหญ่” กรณีชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ ข้อต่อสู้ระบุเป็นการฟ้องซ้ำ-ชุมนุมโดยสงบตาม รธน.-พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ (วันที่ 15 ม.ค. 2567)
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
20h·
จับตา! พิพากษาคดีของ “อานนท์-ไมค์-ไผ่-ครูใหญ่” กรณีชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ ข้อต่อสู้ระบุเป็นการฟ้องซ้ำ-ชุมนุมโดยสงบตาม รธน.-พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ
.
.
พรุ่งนี้ (วันที่ 15 ม.ค. 2567) เวลา 9.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดฟังคำพิพากษาคดีของ อานนท์ นำภา (จำเลยที่ 1), “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก (จำเลยที่ 2), “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (จำเลยที่ 3) และ “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์ (จำเลยที่ 4) ในฐานความผิด 10 ข้อหา จากการชุมนุม #18พฤศจิกาไปราษฎรประสงค์ บริเวณสี่แยกราชประสงค์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563
.
เหตุในคดีนี้ต่อเนื่องมาจากการชุมนุม ‘ราษฎรล้อมสภา’ เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่หน้ารัฐสภา เกียกกาย ผู้ชุมนุมพยายามฝ่าแนวกั้นเข้าไปชุมนุมด้านหน้ารัฐสภา เพื่อเกาะติดการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ตลอดทั้งวันมีการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งปิดกั้นเส้นทางไม่ให้เข้าพื้นที่ และพยายามสลายการชุมนุมโดยการฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาและผสมสารเคมี รวมทั้งมีการปะทะกับมวลชนปกป้องสถาบันฯ ในช่วงดึกคืนดังกล่าวจึงมีการนัดหมายชุมนุมในวันถัดมา (18 พ.ย. 2563) เพื่อโต้ตอบและแสดงออกถึงความไม่พอใจของประชาชน
.
การชุมนุมในครั้งนี้มีการดำเนินคดีแยกเป็นสองคดี ได้แก่ คดีที่ สน.ปทุมวัน และคดีที่ สน.ลุมพินี โดยอานนท์กับภาณุพงศ์ถูกดำเนินคดีทั้ง 2 สถานีตำรวจ โดยในระหว่างวันที่ 18 ธ.ค. 2563 ถึง 8 ม.ค. 2564 ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน ได้ทยอยเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีนี้ ที่ สน.ปทุมวัน
.
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 รพีพัฒน์ ภักดีวงศ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ได้ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ใน 10 ข้อหา ดังนี้
.
1.ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคสาม มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
2.ร่วมกันชุมนุมใดๆ โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
3.พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
.
4.พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะตลอดจนผู้ชุมนุมไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะฯ มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
.
5.ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385 ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
.
6.พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 19 ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
.
7.พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 12 ร่วมกันขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ บนถนน โทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
.
8.ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หากฝ่าฝืนให้ปรับไม่เกิน 200 บาท
.
9.ร่วมกันทำร้ายเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
10.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ร่วมกันทําให้เสียทรัพย์ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
คดีนี้มีการสืบพยานโจทก์ไปในระหว่างวันที่ 7-10 พ.ย. 2566 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 14 พ.ย. 2566 โดยในวันสุดท้ายของการสืบพยาน ศาลได้อนุญาตให้ยื่นแถลงการณ์ปิดคดีภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยทั้งสี่ได้ชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ ประกอบข้อต่อสู้ในแถลงการณ์ปิดคดีทั้งสิ้น 5 ประเด็น
.
.
อ่านสรุปประเด็นข้อต่อสู้ต่อบนเว็บไซต์ : (https://tlhr2014.com/?p=63138)