วันจันทร์, ธันวาคม 11, 2566

‘แลนด์บริดจ์’ เมกะโปรเจ็คอีกอย่างของเศรษฐา เจอหนทางขรุขระซะแล้ว

ทำท่าเมกะโปรเจ็คอีกอย่างของเศรษฐา จะเจอหนทางขรุขระเหมือนกับแจกเงินดิจิทัลและซ้อฟพาวเวอร์ซะแล้ว ยังจำคำโฆษณา แลนด์บริดจ์ กันได้ใช่ไหม

เมื่อเดือนที่แล้ว นายกฯ เศรษฐา เอาไปใส่หูนักธุรกิจต่างชาติในที่ประชุมเอเป็คที่ซาน ฟรานซิสโก บอกว่าจะเป็นเส้นทางลัดขนส่ง เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิคกับมหาสมุทรอินเดีย จากอ่าวไทยถึงทะเลอันดามัน

โครงการนี้จะต้องใช้เงินลงทุนราว ๑ ล้านล้านบาท จะเอาจากไหน อ๋อ ก็นี่ไง ไปชวนทุนอเมริกันมาร่วมลงกับไทย ในการสร้างท่าเรือน้ำลึกสองฝั่งทะเลภาคใต้ คือที่ชุมพรและระนอง คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี ค.ศ.๒๐๓๐

โดยอ้างสรรพคุณว่าจะลดค่าขนส่งได้ถึง ๑๕% เพราะท่าเรือทั้งสองฝั่งจะสามารถรับสินค้าได้ ๒๓% ของปริมาณขนส่งที่ท่าเรือมะละกา คือ ๑๙.๔ ล้านตัน ทีอียูที่ฝั่งตะวันตก (ชุมพร) และ ๑๓.๘ ล้านตันที่ฝั่งตะวันออก (ระนอง)

ทุนต่างชาติไหนสนใจร่วมหัวจมท้ายลงทุนด้วย จะได้รับ incentives สิ่งจูงใจหลายอย่าง นายกฯ บอกคร่าวๆ ว่ามีทั้งมาตรการทางภาษี พลังงานสะอาด บริหารจัดการน้ำ ศูนย์การบิน รถไฟเร็วสูง และใช้แหลมฉบังเป็นโลจิสติคส์

โดยเปิดรับทุนต่างชาติได้ถึง ๕๒% ซึ่งตามรายงานของกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่า เป็นการร่วมทุนแบบเอกชนกับรัฐ หรือ พีพีพีใน “จุดยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งและการค้าของเอเชีย...ที่จะเป็นส่วนสำคัญของ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้”

ข้อที่ บีโอไอบอกโครงการนี้จะเป็นเส้นทางรองรับสินค้าจากประเทศจีนไปยังยุโรป หรือจากยุโรปมายังภูมิภาคอาเซียน ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเรื่องการเชื่อมโยงฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย โดยศูนย์โลจิสติคส์ จุฬาฯ ไว้แล้ว

ระบุว่าเส้นทางแลนด์บริดจ์ดังกล่าวนั้น มีความเป็นไปได้อยู่ในอันดับสาม รองจากการพัฒนาพื้นที่การผลิตและการค้าตามแนวชายฝั่งทั้งสองที่เรียกว่า ระเบียงเศรษฐกิจ ‘SEC’ กับการพัฒนาเส้นทางบกจากกาญจนบุรีและตะนาวศรีถึงอันดามัน

ทั้งนี้เนื่องจาก “กลุ่มที่อาจมาใช้โครงการแลนด์บริดจ์นี้ จะมีเฉพาะเรือบรรทุกสินค้าตู้ เนื่องจากมีการเดินเรือในลักษณะการถ่ายลำระหว่างเรือในเส้นทางเดินเรือหลักกับเรือในเส้นทางเดินเรือรอง” ซ้ำร้ายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ “ไม่คุ้มค่า”

งานวิจัยจุฬาฯ แนะว่าควรลดระดับโครงการจากรับส่งสินค้าข้ามสองฝั่งมาเป็น เส้นทางสนับสนุนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เอสอีซี โดยลงเลยจะดีเสียกว่า ทั้งใช้ทุนน้อยกว่า และมีความคุ้มทุนมากกว่า

(https://www.facebook.com/btimesch3/posts/TJ4sqvwqcn7SBV และ https://www.voathai.com/a/srettha-pitches-land-bridge-to-usa-investors/7354879.html)