วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 16, 2566

ช่วง 8 ปีของระบอบประยุทธ์ ธุรกิจสีเทา ธุรกิจลักลอบ ตั้งแต่ค้าของเถื่อนยันค้ามนุษย์ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เอากองทัพมาปกครองประเทศ มันก็แบบนี้แหละ


1. กล่องหมูลักลอบนำเข้า

ภัควดี วีระภาสพงษ์
15h·
ช่วง 8 ปีของระบอบประยุทธ์ ธุรกิจสีเทา ธุรกิจลักลอบ ตั้งแต่ค้าของเถื่อนยันค้ามนุษย์ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เอากองทัพมาปกครองประเทศ มันก็แบบนี้แหละ

Baryee Taow
17h·
หมูเถื่อน หรือเนื้อหมูลักลอบนำเข้าผิดกฎหมาย

นับเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงอย่างหนึ่งของ “รัฐบาลที่แล้ว” ที่ฝากไว้ให้คนในประเทศ การปล่อยปละละเลย จนทำให้เกิดการลักลอบนำเข้ากันอย่างสนุกสนานโดยกลุ่มทุนไทยและต่างชาติที่มีความกว้างขวางและเป็นที่เกรงอกเกรงใจ

หรือการปล่อยปละละเลยของรัฐบาลเอาเฉพาะสามหน่วยงานที่กำกับดูแลคือ

- กรมปศุสัตว์ ด่านกักกันสัตว์ มีหน้าที่ตรวจสอบ กักกัน ห้ามหรืออนุญาตในการนำเข้า รวมถึงโรงเชือดชำแหละ ห้องเย็น
- กรมศุลกากร ด่านศุลกากร มีหน้าที่ตรวจสอบ เปิดตู้
- กระทรวงพานิชย์ การค้าภายใน ตรวจสอบสต๊อค ห้องเย็น ค้าส่ง/ค้าปลีก

จึงทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบที่รุนแรงอย่างที่เป็นอยู่

[ตู้คอนเทนเนอร์หรือรถห้องเย็นบรรทุกหมูเถื่อนมิได้ดำดินมาแล้วโผล่ขายส่งขายปลีกเลยนะครับ แต่เสียบปลั๊กทำความเย็นแล่นเข้ามาจอดที่ท่าเรือ ผ่านด่านศุลการกรและด่านกักกันสัตว์ ขึ้นรถบรรทุก วิ่งผ่านด่านกักกันสัตว์อีกรอบ เพื่อนำไปเก็บยังห้องเย็น ขายส่ง/ขายปลีกมารับที่ห้องเย็น — ต่อให้สำแดงเท็จ (การนำเข้า) ก็ไปไม่รอดครับ มีจุดจับ จุดสังเกตอยู่หากไม่ปล่อยให้เข้ามา]

ขณะเดียวกัน “รัฐบาลนี้” ก็พยายามเข้ามาจัดการ/แก้ไขปัญหาและเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งที่มีหลักฐาน มีชื่อผู้กระทำความผิด ผู้เกี่ยวข้องครบครันและแน่นหนา สร้างความเสียหายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนคุณเศรษฐาถึงกับต้องออกงิ้วกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา (คลิปเป็นไวรัลกันเลยทีเดียว)

การลักลอบนำเข้าโดยผิดกฎหมายนั้นมีมาโดยตลอด ทว่าไม่ได้เป็นล่ำเป็นสันเท่าช่วงปี 2021-2022 (ว่ากันว่าอาจมากถึง 2,385 ตู้; ส่วน 161 ตู้ที่ยึดไว้และทำลายไปได้เพียง 21 ตู้เป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง)

*ไทย ไม่อนุญาตให้นำเข้าเนื้อหมู หรือหากมีการอนุญาตให้นำเข้าก็มีปริมาณที่น้อยมากๆ (เนื้อพรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น) แต่ที่อนุญาตมีเพียงเครื่องในและผลิตภัณฑ์*

ดูภาพ 5-6: ปี 2021-2022 การผลิตหมูในไทยเสียหายจากการระบาดของโรค ASF (แล้วแต่ตัวเลขข้อมูลของใครของมันว่าเสียหายไปกี่ % มีตั้งแต่ 20% จนถึง 50%) ทำให้หมูหายไปจากตลาด ขาดแคลน ราคาจึงสูงขึ้นมาก และเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก
[ตั้งแต่ปลายปี 2021 และตลอดปี 2022 จนถึงต้นปี 2023 ราคาหมู+เนื้อหมูในประเทศเพิ่มขึ้นสูงมากอย่างเป็นประวัติการณ์]

ดูภาพ 7-8: หมูที่นำเข้ามาเป็นหมูราคาถูก (มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า) และเป็นหมูที่กำลังจะหมดอายุ หรือหมดอายุไปแล้ว (ภาพ 9. หมูหมดอายุตั้งแต่ 09-03-2022 แต่มาถึงท่าเรือแหลมฉบัง 02-10-2022)
อย่างคร่าวๆ ไวๆ หมูเถื่อนก่อความเสียหายต่อ:

- ระบบการผลิตหมู โดยเฉพาะเกษตรกรรายเล็ก รายย่อยที่มีสายป่านสั้น มิอาจยืนระยะ แบกรับการขาดทุนได้นาน (จำนวนผู้เลี้ยงในระบบการผลิตกว่า 90% และมีผลผลิต 50% ของทั้งหมด)

- เศรษฐกิจ เฉพาะเรื่องภาษี - เกษตรกรขาดทุนไม่ต่ำกว่าตัวละ 2,000-3,000 บาท (หมู 15-20 ล้านตัว/ปี) และผู้บริโภคปลีกแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรมากมายนัก ราคาปลีกของหมูเถื่อนอาจจะต่ำกว่าราคาปลีกของหมูถูกกฎหมายบ้าง ทว่าแทบจะไม่มีข้อแตกต่าง (ราคาส่งจึงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ) เพียงเท่านี้ก็เสียหายเยอะมากแล้ว

- สุขภาพผู้บริโภคและโรคระบาด สารเร่งเนื้อแดง (กระทบต่อหัวใจคน ก่อมะเร็ง), ยาปฏิชีวนะที่ตกค้าง (การดื้อยาในคน), โรคระบาดทั้งคนและในสัตว์ (asf, fmd, salmo., สารพิษจากเชื้อรา, ฯ), หมูหมดอายุ

- ความมั่นคงทางอาหาร ผู้ผลิตรายเล็ก รายย่อยหายไปจากระบบ เหลือแต่รายใหญ่ๆ ในการค้าเสรีนิยมแบบไทยๆ + การทำงานของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบแบบไทยๆ ลองจินตนาการดูครับว่าจะบันเทิงแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม หมูเถื่อนไม่น่าจะใช่เรื่องยากและใช้เวลาเนิ่นนานในการแก้ไขปัญหาครับ หากเพียงแค่รัฐบาลไม่ลูบหน้าปะจมูก หรือเอ้อระเหยธุระไม่ใช่ หากเพียงแค่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำตามหน้าที่ของตนเองอย่างจริงจังเต็มที่และสุจริต มีการติดตามตรวจสอบการทำงานและหาผู้รับผิดชอบ และประชาชนทั่วไป ผู้บริโภคตระหนักร่วมกัน ระวังระแวงร่วมกันเวลาจะซื้อ จะบริโภค

กระนั้น แม้ว่าจะแก้ไขปัญหาหมูเถื่อนได้ ปัญหาอื่นๆ ของอุตสาหกรรมหมูไทยก็ยังคงน่าเป็นห่วงอยู่ดีเช่นเดิม และจะเป็นปัญหาเดิมๆ นั่นแหละคือ ราคาหมูมีชีวิตตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูงกว่าชาวบ้านชาวช่องเขา ราคาเนื้อหมูขายปลีกไม่ได้มีราคาถูกมากนักและพร้อมที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้ทุกเวลา โรคระบาดร้ายแรง ฯ

การจะทุเลาเบาบาง หรือการที่จะไม่ให้ปัญหากลายเป็นปัญหาหนักอกคงหนีไม่พ้นที่ต้องว่ากันตั้งแต่เรื่อง:
- ส่วนการผลิต: การลดต้นทุนการผลิต (ราคาอาหารสัตว์, พันธุ์สัตว์, โรงเชือดชำแหละ), การเพิ่มศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายเล็ก ย่อย กลาง, การสร้างและรักษาสมดุลย์หมู+สมดุลย์ผู้ผลิต, การป้องและจัดการโรคระบาดร้ายแรง และอื่นๆ

- ตลาดและขาย: ปัญหาการขยายสาขา shop จำนวนมากและกระจายไปในทุกพื้นที่ของบริษัทใหญ่ที่ผลิตครบวงจร, ข้อมูลสต๊อค การตรวจสต๊อค การตรวจห้องเย็น โรงเชือดชำแหละ (จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำ), ระบบนายหน้า/โบรกเกอร์จับหมู, การขยาย/เพิ่มตลาดส่งออก และอื่นๆ

- หน่วยงานรัฐ: กรมปศุสัตว์, pig board, พานิชย์, กรมการแข่งขันทางการค้า, ศุลกากร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แค่ทำตามหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ด้วยความสุจริตและคำนึงถึงประชาชน

- การเพิ่มค่าแรงและการทำให้ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ เฟื่องฟูขึ้นมาและมีการกระจายรายได้ที่ดีมากขึ้นไปกว่านี้มากๆ
[เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น โปรดคลิกดูภาพด้วยครับ]


2. กล่องหมูลักลอบนำเข้า

3. กล่องหมูลักลอบนำเข้า

4. ภายในตู้คอนเทนเนอร์


5. ปริมาณการผลิต ราคาขาย (รายปี 2564-2566) (A)


6. ปริมาณการผลิต ต้นทุน ราคา (รายปี 2562-2564) (B)
เมื่อเทียบข้อมูลกับ (A) จะพบว่า ปี 2564 ตัวเลขต่างกันถึง 4 ล้านตัว คือ (A) 18 ล้านตัว (B) 14 ล้านตัว


7. ต้นทุนการผลิตและราคาประกาศขาย (ไทย)


8. ต้นทุนการผลิตและราคาขาย (โลก)


9. เรือเข้าเทียบท่าแหลมฉบัง 2 ตค.2022
ชิ้นส่วนหมูหมดอายุ 9 มีค.2022